ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ พ.ร.บ.
แชร์
“สบายใจ ด้วยราคา และความคุ้มครองที่คุ้มค่า”
วันนี้ คุณสามารถทำประกันภัยรถยนต์…..ได้แล้วที่ ธนาคารออมสิน ทุกสาขา ทั่วประเทศ
รับความคุ้มครอง และกรมธรรม์ประกันภัยทันที
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
- มั่นใจ ด้วยความคุ้มครองจากบริษัทประกันวินาศภัย พร้อมทั้งรางวัลยืนยันความเป็นมืออาชีพ จากการเป็น 1 ใน 200 บจ.ชั้นนำจากนิตยสาร Forbes
- สะดวก รวดเร็ว สามารถรับตารางกรมธรรม์ เพื่อนำไปต่อทะเบียนรถได้ทันที
- สบายใจ ด้วยราคา และความคุ้มครองที่คุ้มค่า
ความคุ้มครอง
**ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง**
พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถคืออะไร
- พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ถูกตราขึ้น เพื่อให้ทุกคนที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตอันเนื่องมาจากรถ ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายและได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร่งด่วน ไม่ว่าผู้ประสบภัยนั้นจะเป็นใคร อยู่ในรถหรือนอกรถ เป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือเจ้าของรถ โดยได้รับการชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่ารักษาพยาบาล หรือค่าปลงศพแล้วแต่กรณี อย่างไรก็ตามกฎหมายนี้ให้ความคุ้มครอง เฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ชีวิต ร่างกาย และอนามัยเท่านั้น ไม่รวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สิน เช่น ค่าซ่อมรถแต่อย่างใด
ใครบ้างที่ต้องทำประกันภัย
1. ค่าเสียหายเบื้องต้น
ผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครองในความเสียหายที่เกิดขึ้น เป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บและเป็นค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด บริษัทจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัย/ทายาทของผู้ประสบภัย ภายใน 7 วัน นับแต่บริษัทได้รับคำร้องขอค่าเสียหายดังกล่าวเรียกว่า ค่าเสียหายเบื้องต้น โดยมีจำนวนเงินดังนี้- กรณีบาดเจ็บ จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท
– กรณีบาดเจ็บ จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท
– กรณีเสียชีวิตภายหลังการรักษาพยาบาล จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท และค่าปลงศพ จำนวน 35,000 บาท รวมแล้วจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นไม่เกิน 65,000 บาท
2. ค่าเสียหายส่วนที่เกินจากค่าเสียหายเบื้องต้น
เป็นค่าเสียหายที่บริษัทจะชดใช้ให้ภายหลังจากที่มีการพิสูจน์ความรับผิดตามกฎหมายแล้ว โดยบริษัททรับประกันภัยที่เป็นฝ่ายผิดต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ประสบภัย/ทายาทผู้ประสบภัย เมื่อรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นที่ผู้ประสบภัย/ทายาทได้รับแล้ว เป็นดังนี้
– กรณีบาดเจ็บ เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลรวมกับค่าสินไหมทดแทน ไม่เกิน 80,000 บาท
– กรณีเสียชีวิต หรือสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ จำนวน 300,000 บาท ไม่ว่าจะมีการรักษาพยาบาลหรือไม่ ถ้ามีค่ารักษาพยาบาลก่อนเสียชีวิตให้นำมารวมด้วย และรวมแล้วเท่ากับ 300,000 บาท
การฝ่าฝืนไม่ทำประกันภัยตามกฏหมายมีโทษ
- ตัวอย่าง บทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เช่น
1. เจ้าของรถหรือผู้เช่าซื้อรถผู้ใด ไม่จัดให้มีการประกันภัยตาม พ.ร.บ.นี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000.- บาท
2. ผู้ใดนำรถที่ไม่ได้จัดให้มีการประกันภัยตาม พ.ร.บ.นี้มาใช้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000.- บาท
รถที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องทำ พ.ร.บ.
- รถองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
- รถของสำนักพระราชวังที่จดทะเบียน และมีเครื่องหมายที่เลขาธิการพระราชวังกำหนด
- รถของกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยราชการต่างๆ (ที่เรียกว่ารถราชการ) รถยนต์ทหาร แต่ไม่รวมรถของรัฐวิสาหกิจ
หมายเหตุ
- รับเฉพาะรถยนต์ที่จดทะบียนส่วนบุคคลเท่านั้น ,ไม่จำกัดอายุรถยนต์
- เอกสารนี้เป็นเพียงเอกสารแนะนำ ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกรมธรรม์ประกันภัย โปรดศึกษารายละเอียดต่างๆจากกรมธรรม์ประกันภัย
- ธนาคารออมสิน ในฐานะนายหน้าประกันวินาศภัยใบอนุญาตเลขที่ ว.00023/2549 เป็นผู้นำเสนอผลิตภัณฑ์ และอำนวยความสะดวก ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจรายละเอียดความคุ้มครอง และเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัย การพิจารณาอนุมัติกรมธรรม์เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด ( มหาชน) ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยโดยตรง