Post-Concert Depression ความเศร้าใจหลังคอนเสิร์ตเกิดขึ้นเพราะอะไร

Silhouette,of,depressed,man,sitting,on,walkway,of,residence,building.

ทำไมหลังคอนเสิร์ตทีไรมักรู้สึกว่าใจหม่นหมองเสียทุกครั้ง Post-Concert Depression คืออะไร และคนรักการไปคอนควรรับมือภาวะทางใจนี้อย่างไร

เชื่อว่าหลังมาตรการต่างๆ ด้านโรคระบาดทุเลาความเข้มงวดลง หลายคนเริ่มมองหาความบันเทิงจากกิจกรรมนอกบ้านตามปกติอีกครั้ง แน่นอนว่าหนึ่งในเรื่องบันเทิงที่เฝ้ารอคอยนั้นจะขาดคอนเสิร์ตของศิลปินดังในดวงใจไปไม่ได้ การได้ใช้เวลาดื่มด่ำบรรยากาศแสนสนุกและดนตรีแสนไพเราะที่บรรเลงพร้อมกับผู้คนจำนวนมากที่ชื่นชอบในสิ่งเดียวกันย่อมเป็นความทรงจำที่ยากจะลืมเลือน ทว่าความผูกพันธ์กันด้วยความสุขมีอิทธิพลทางความรู้สึกมากกว่าที่คิด จึงเป็นที่มาให้หลังคอนเสิร์ตเสร็จสิ้นทีไร มักตามมาด้วยความรู้สึกเศร้าใจที่อธิบายได้ยาก โดยเรียกกันทั่วไปว่า Post-Concert Depression

Post-Concert Depression คืออะไร

Post-Concert Depression (PCD) คือ อารมณ์เศร้าสร้อยที่ตามมาหลังความรู้สึกตื่นเต้นยินดีที่เกิดในคอนเสิร์ตจบสิ้นลง เป็นภาวะทางอารม์ที่เกิดขึ้นได้เป็นปกติในหมู่แฟนเพลงที่คลั่งไคล้ แต่คนฟังเพลงทั่วไปอาจมีคำถามสงสัยว่าการไปดูคอนเสิร์ตเพียงครั้งเดียวสามารถปรุกเราอารมณ์ผู้ชมได้มากขนาดนี้เชียวหรือ ซึ่งไม่เกินจริงแต่อย่างใด เพราะหากสำรวจผ่านตัวเลขการเติบโตของคอนเสิร์ต หนึ่งรูปแบบความบันเทิงที่ประสบความสำเร็จทั่วโลก ซึ่งเป็นธุรกิจที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องและทวีความรุ่งเรืองในปี 2022 นี้เทียบกับช่วงซบเซาในช่วงปี 2020-2021 ถึง 500% โดยคาดคะเนว่าจะสามารถสร้างความสะพัดให้เม็ดเงินในวงการได้กว่า 20.4 Billion US (สองหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ) และมีแนวโน้มว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ  

เห็นแล้วว่าธุรกิจคอนเสิร์ตเป็นที่นิยมไม่เสื่อมคลาย สาเหตุหนึ่งก็เนื่องด้วยความเฉพาะตัวของประสบการณ์ทางดนตรีที่แฟนเพลงและศิลปินได้สร้างความทรงจำร่วมกันแบบเรียลไทม์ท่ามกลางคอนเสิร์ต ซึ่งยังคงหาสิ่งอื่นใดมาทดแทนไม่ได้ ความพิเศษนี้เองจึงอธิบายได้ว่าทำไมแฟนเพลงหลายคนไม่น้อยพบเจอกับความรู้สึกเศร้าหมองใจเมื่อคอนเสิร์ตจบลง นั่นก็เพราะช่วงเวลาที่มีความสุขอย่างท่วมท้นได้จบลงแล้วนั่นเอง

อาการทางใจที่บอกว่าเรากำลังเผชิญ Post-Concert Depression

การสำรวจอารมณ์ตัวเองหลังอารมณ์ที่คั่งค้างจากความสุขที่เกิดขึ้นหลังคอนเสิร์ตแปรเปลี่ยนเป็นความหม่นหมองอาจช่วยให้เราสามารถทำความเข้าใจเพื่อรับมือกับความเศร้าใจนี้ได้ดีขึ้น เช่น

  • ความรู้สึกเศร้าเหมือนอกหักหรือสูญเสียสิ่งที่เป็นที่รัก
  • ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว จดจ่อแต่เรื่องคอนเสิร์ต
  • ไม่มีสมาธิทำงานหรือโฟกัสเรื่องสำคัญนานๆ
  • วนดูรูปภาพหรือวิดีโอคอนเสิร์ตซ้ำๆ
  • วิตกกังวลว่าอาจไม่มีโอกาสได้ไปคอนเสิร์ตอีกแล้ว
  • รู้สึกไม่ยี่หระกับสิ่งใด

แน่นอนว่าอาการเหล่านี้เป็นเพียงภาวะชั่วคราวทางจิตใจเท่านั้นและหายได้เองตามระยะเวลา ทว่าการฝึกฝนเพื่อรับมือกับอารมณ์เชิงลบที่เกิดขึ้นก็สำคัญต่อสุขภาพทางจิตใจระยะยาวเช่นกัน

ไม่อยากเศร้าใจทุกครั้งหลังคอนเสิร์ตจบ ควรดูแลใจอย่างไร

ท้ายที่สุดทุกงานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา ทว่าความสุขที่เกิดขึ้นในคอนเสิร์ตกลับฟุ้งเฟ้ออยู่ในความรู้สึกนานกว่านั้น สิ่งสำคัญคือการไม่ปล่อยให้ความเศร้าหมองที่อาจเกิดขึ้นได้มาเป็นสิ่งบั่นทอนจิตใจ โดยการปล่อยวางทางอารมณ์ด้วยวิธีต่างๆ ดังเช่น

  • การวางแผนออมเงิน เพื่อคอนเสิร์ตครั้งถัดไป เพราะไม่ว่าจะจัดขึ้นอีกครั้งเมื่อไหร่เราก็พร้อมไฟท์เพื่อบัตรแพงสุดหรือแถวหน้าสุดก่อนใคร
  • ออกไปสถานที่ใหม่ๆ เมื่อไม่จำเป็นต้องกักตัวอยู่แต่ในบ้านอีกต่อไป การออกไปสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ด้วยการเยี่ยมชมสถานที่ไม่คุ้นเคยหรือไม่เคยไป ก็เป็นการกระตุ้นอารมณ์เชิงบวกและเปิดโลกกว้าง
  • ทำอะไรท้าทายตัวเอง เพื่อไม่ต้องจดจ่ออยู่กับอารมณ์โหยหา เช่นลงเรียนคอร์สต่างเพื่อฝึกสกิล ฝึกทักษะสร้างสรรค์ อย่างเช่น การหัดเล่นดนตรี เรียนทำขนม ฝึกวาดรูปสร้างงานศิลปะ
  • เรียนรู้การสงบใจ เช่น การฝึกใจอยู่กับปัจจุบัน การจดบันทึกไดอารี่ ก็เป็นอีกวิธีสร้างเสริมความเข้มแข็งให้กับจิตใจได้เช่นกัน

แชร์

บทความที่เกี่ยวข้อง

Thum Metaverse 1200

ออมสินเมตาเวิร์ส ประสบการณ์ใหม่ กับโลกเสมือนจริง ของธนาคารออมสิน

ขอต้อนรับเข้าสู่ ออมสินเมตาเวิร์สประสบการณ์ใหม่ กับโลกเสมือนจริง ของธนาคารออมสิน

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
ออมสินxขายหัวเราะ Tn

ออมสิน x ขายหัวเราะ

ออมสิน x ขายหัวเราะ

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
Young,people,dancing,in,night,club

ปาร์ตี้อย่างไรให้ร่างไม่พัง เคล็ดลับดูแลสุขภาพสำหรับคนดื่มหนัก

รู้ได้อย่างไรว่าแบบไหนเรียกว่าดื่มหนัก คนรักการปาร์ตี้ควรดูแลตัวเองอย่างไรไม่ให้ดื่มหนักเกินไปจนส่งผลเสียกับสุขภาพร่างกาย

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
Couple,visit,wedding,studio,to,choose,their,wedding,costume,,a

แต่งงานต้องใช้เงินเท่าไหร่ วางแผนเก็บเงินอย่างไรดี

อยากแต่งงานจะสร้างความพร้อมทางการเงินอย่างไรให้เก็บเงินได้ไว เพื่อจัดงานในฝันและความรักที่สุขสมหวัง

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
Young,happy,excited,asian,business,woman,entrepreneur,winner,standing,on

7 นิสัยเล็กๆ ที่ช่วยดึงดูดโชคลาภเข้าหาตัว

ทำอย่างไรถึงจะเป็นคนโชคดี ด้วยวิธีเปลี่ยนแปลงนิสัยเล็กๆ น้อยๆ ให้เป็นคนที่มองเห็นโอกาส เปิดใจกว้าง และมองโลกในแง่ดี

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
Cheerful,asian,woman,holding,credit,card,ready,to,travel,,tourism

ไปเที่ยวต่างประเทศ ควรทำบัตรเครดิตดีไหม

บัตรเครดิตช่วยให้การเที่ยวต่างประเทศสะดวกคล่องตัวได้มากกว่าอย่างไร ทำไมการมีบัตรเครดิตที่ใช้งานได้ทั่วโลกจึงคุ้มค่ามากกว่าเงินสด

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
Shutterstock 1458778535

วางแผนซื้อรถยนต์คันแรก อะไรบ้างที่ต้องรู้เพื่อการเงินที่ดี

จะซื้อรถสักคันต้องใช้เงินเท่าไหร่ นอกจากค่ารถยังต้องเสียค่าอะไรอีกบ้าง อยากเป็นเจ้าของรถสักคันต้องวางแผนอย่างไรเพื่อการเงินที่ดี

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
Shutterstock 604365356

ทางออกของมนุษย์เงินเดือนในยุคเงินเฟ้อเกินต้าน

เงินเฟ้อขึ้นต่อเนื่อง มนุษย์เงินเดือนจะรับมือกับภาวะข้าวของแพงอย่างไรให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เริ่มต้นตั้งแต่การตั้งงบประมาณรายจ่ายต่อเดือน

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
Shutterstock 1939728814

ปัญหาสุขภาพจากการทำงานที่ไม่เฮลตี้

ทำงานหนักจนเกินไหวย่อมไม่ดีกับสุขภาพกายและใจของคนวัยทำงาน หากปล่อยไว้นานอาจทำให้โรคภัยถามหา รู้ทันปัญหาสุขภาพเพื่อดูแลสภาพร่างกายและจิตใจให้แข็งแรง

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
บทความ

อยากมีการเงินดีไม่จำเป็นต้องเครียด เพียงรู้จักวางแผน

วางแผนทางการเงินอย่างไรให้มีการเงินดี มีเกราะป้องกันความเครียดจากปัญหาทางการเงินที่คาดไม่ถึง

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
Shutterstock 1543917539

อยากมีเงินเก็บตั้งแต่ First Jobber เริ่มต้นออมเงินอย่างไรดี

First Jobber อยากสะสมเงินเก็บให้ตัวเองตั้งแต่ทำงานที่แรกเริ่มต้นอย่างไรดี เคล็ดลับวางแผนออมเงินล่วงหน้า มีเงินเก็บให้ตัวเองได้ตั้งแต่วัยเริ่มทำงาน

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
Shutterstock 286532258

พักฟื้นหัวใจคนหมดไฟ ให้การเดินทางช่วยเยียวยา

หมดไฟจนไร้เรี่ยวแรงจะตื่นไปทำงานแต่ละวัน เป็นเพราะอยู่กับความเครียดมาตลอดหรือเปล่า ถึงเวลาดูแลใจคนทำงานให้การออกไปเที่ยวนอกบ้านช่วยเยียวยาดีกว่า

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
Skip to content