6 เรื่องเงินเฟ้อต้องรู้ก่อนวิกฤติ

Shutterstock 2057838890

สถานการณ์เงินเฟ้อนับเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเมื่อหลายประเทศทั่วโลกต่างเผชิญกับแรงกดดันในการฟื้นตัวกลับมาลุกยืนได้อีกครั้ง เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อในประเทศไทยย่อมส่งผลกระทบโดยตรงกับปากท้องคนไทยกับต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น ชวนมาทำความเข้าใจกับภาวะเงินเฟ้อ พร้อมตระหนักในปัญหาข้าวยากหมากแพงแต่ไม่ตระหนกเพื่อให้พร้อมต่อการรับมืออย่างมีสติและผ่านพ้นวิกฤติไปได้ด้วยดี

รู้อย่างไรว่าเรากำลังเจอกับภาวะเงินเฟ้อ

เมื่อต้องเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อ แต่ละภาคส่วนในประเทศสามารถรับรู้ได้ผ่านอำนาจเม็ดเงินที่เปลี่ยนแปลงไปแตกต่างกันคือ

  • ภาวะเงินเฟ้อในระดับประชาชน มีผลให้อำนาจการซื้อของประชาชนที่น้อยลง แสดงให้เห็นผ่านราคาสิ่งของและค่าครองชีพที่สูงขึ้น เงินเท่าเดิมซื้อของได้น้อยลง รายได้ที่มีไม่เพียงพอต่อรายจ่าย
  • ภาวะเงินเฟ้อในระดับผู้ประกอบการ มีผลให้ต้นทุนการผลิตมีราคาสูงขึ้นในขณะที่ยอดขายลดน้อยลง แสดงให้เห็นผ่านการชะลอการผลิต การปิดสาขาหรือยกเลิกบางประเภทสินค้าเพื่อลดต้นทุน ไปจนถึงการเลย์ออฟพนักงานเพื่อให้บริษัทยังไปต่อได้ ส่งผลให้คนตกงานมากขึ้น
  • ภาวะเงินเฟ้อในระดับประเทศ มีผลโดยตรงต่อศักยภาพการผลิตของประเทศในระยะยาวที่ชะลงลงเนื่องจากกำลังซื้อของประชาชนที่ลดลงและการซบเซาของภาคธุรกิจที่ขายไม่ออก ทำให้การลงทุนเพื่อผลิตสินค้าชะงัก

รูปแบบของเงินเฟ้อมีอะไรบ้าง

เงินเฟ้อคือภาวะที่ราคาสินค้าที่เคยใช้จ่ายในชีวิตประจำวันขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นได้ 2 รูปแบบคือ ความต้องการซื้อสินค้าและบริการของประชาชนที่เพิ่มขึ้นแต่ผลการผลิตไม่เพียงพอทำให้ราคาจำต้องปรับสูงขึ้น (Demand-Pull Inflation) และ ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นจนผู้ผลิตไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนได้จึงต้องปรับราคาผลผลิตให้สูงขึ้น (Cost-Push Inflation) ซึ่งส่งผลต่อรายจ่ายของประชาชนที่จำเป็นต้องรับภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้น รายได้เดิมไม่เพียงพอต่อการยังชีพเพราะนำมาใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการได้น้อยลง จึงเป็นหนาที่ของธนาคารกลางในการดูแลอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำและไม่ผันผวน (Low – Stable Inflation) เพื่อให้เศรษฐกิจยังเติบโตได้

 ใครอาจต้องเผชิญกับผลกระทบหนักหนาที่สุด

เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อ ประชาชนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักหนาที่สุดคือกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้น้อยเพราะได้รับผลกระทบหลายทาง อย่างแรกเลยคือการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มครัวเรือนรายได้น้อยที่มีค่าใช้จ่ายอยู่ในหมวดนี้ถึง 45% จึงต้องแบกรับกับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น โดยกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อยนี้ทำงานในธุรกิจที่มีความเปราะบางเป็นทุนเดิม เช่น ภาคบริการ การท่องเที่ยว หรือ อาชีพอิสระซึ่งมีรายได้ที่ไม่แน่นอน ท้ายที่สุดคือ ภาระหนี้สินที่ค่อนข้างสูง ส่งผลให้รายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่พุ่งสูงขึ้นทวีคูณกับหนี้สินที่มีอยู่แล้วทำให้ครัวเรือนรายได้น้อยต้องรับมือกับปัญหาเงินเฟ้ออย่างรอบทิศทาง

กลุ่มสินค้าใดบ้างที่มีราคาพุ่งแรง

เมื่อราคาพลังงานโลกมีราคาขึ้นสูงอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยด้านอุปทานที่มากกว่าอุปสงค์ส่งผลสถานการณ์เงินเฟ้อโดยตรงด้วยต้นทุนราคาวัตถุดิบอย่างก๊าซธรรมชาติเป็นแหล่งเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าและก๊าซหุงต้ม สินค้ากลุ่มโลหะ กลุ่มเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมีที่ยังคงมีราคาสูงขึ้นจากปัจจัยต่างประเทศ ในขณะเดียวกันปัจจัยด้านอุปทานในประเทศอันเป็นผลจากอุทกภัยและโรคระบาดก็ส่งผลให้อาหารสดอย่างผักสดและเนื้อหมูมีราคาที่สูงขึ้น

ควรปรับตัวอย่างไรให้อยู่รอดในวิกฤติของแพง

สิ่งที่ผู้คนธรรมดาสัมผัสได้จากภาวะเงินเฟ้อคือค่าครองชีพที่สูงขึ้นเมื่อสินค้าเดิมที่เคยใช้จ่ายมีราคาที่สูงขึ้น ซึ่งภาวะเงินเฟ้อเกิดจากอุปสงค์และอุปทานที่ไม่สมดุลกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องรับมือกับแรงกดดันทั้งฝั่งบริโภคและฝั่งผลิต สิ่งที่ประชาชนทั่วไปพอจะรับมือได้คือการลำดับความสำคัญทางการเงินเพื่อรักษาสมดุล เช่น

  • ตั้งงบประมาณไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ทุกการใช้จ่ายอยู่ในระดับที่ควบคุมได้และอยู่ในสายตาเสมอเพื่อป้องกันรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
  • จ่ายหนี้ระยะสั้นที่ค้างไว้ เช่น หนี้บัตรเครดิต สินเชื่อกู้ยืม คือสิ่งสำคัญที่ควรจัดการรองลงมาจากค่าครองชีพ
  • สำรองเงินฉุกเฉินก่อนจะลงทุน แม้ราคาที่ตกลงจะล่อตาล่อใจแต่เราควรแน่ใจก่อนว่าเรามีเงินสำรองไว้สำหรับกรณีฉุกเฉินเพื่อในยามคับขันที่จำเป็นต้องใช้
  • ศึกษาตลาดตราสารหนี้ เมื่อแน่ใจแล้วว่าเราปลอดภัยดี ชีวิตปลอดหนี้และมีเงินเก็บสำรอง ตราสารหนี้เป็นอีกวิธีลงทุนที่ความเสี่ยงต่ำแต่ให้ผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอ

การคำนวณอัตราผลตอบแทนสำคัญอย่างไรในยุคเงินเฟ้อ

เพื่อตระหนักแต่ไม่ตระหนกในสถานการณ์ทางการเงินของเราเองเมื่ออยู่ในยุคข้าวของแพงและมีรายจ่ายที่สูงขึ้นอย่างชัดเจน การรับรู้ถึงอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้เราสามารถวางแผนการเงินได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นซึ่งทำได้โดยการนำอัตราผลตอบแทนหักด้วยผลของเงินเฟ้อ

อัตราผลตอบแทนที่แท้จริง = อัตราผลตอบแทนที่ได้รับ – อัตราเงินเฟ้อ

เช่น หากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 0.25% ต่อปี แต่ ปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 2.6% จะทำให้อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงอยู่ที่ -2.35% ซึ่งหากพบว่าอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงจากการออมเงินของเราอยู่ในระดับติดลบ ทางออกของสถานการณ์เงินเฟ้อจนเงินไม่พอใช้คือการหาข้อมูลเพิ่มเติมว่าผลตอบแทนทางการเงินรูปแบบอื่นเช่น เงินฝากประจำแบบปลอดภาษี พันธบัตร หุ้นกู้ หรือ หุ้นกองทุนรวม ว่าเป็นอย่างไร มีอัตราผลตอบแทนสูงกว่าเงินเฟ้อหรือไม่เพื่อให้เราสามารถลงทุนได้อย่างรอบคอบ

 

ที่มาข้อมูล รายงานนโยบายการเงิน กันยายน 2565

แชร์

บทความที่เกี่ยวข้อง

Thum Metaverse 1200

ออมสินเมตาเวิร์ส ประสบการณ์ใหม่ กับโลกเสมือนจริง ของธนาคารออมสิน

ขอต้อนรับเข้าสู่ ออมสินเมตาเวิร์สประสบการณ์ใหม่ กับโลกเสมือนจริง ของธนาคารออมสิน

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
ออมสินxขายหัวเราะ Tn

ออมสิน x ขายหัวเราะ

ออมสิน x ขายหัวเราะ

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
Young,people,dancing,in,night,club

ปาร์ตี้อย่างไรให้ร่างไม่พัง เคล็ดลับดูแลสุขภาพสำหรับคนดื่มหนัก

รู้ได้อย่างไรว่าแบบไหนเรียกว่าดื่มหนัก คนรักการปาร์ตี้ควรดูแลตัวเองอย่างไรไม่ให้ดื่มหนักเกินไปจนส่งผลเสียกับสุขภาพร่างกาย

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
Couple,visit,wedding,studio,to,choose,their,wedding,costume,,a

แต่งงานต้องใช้เงินเท่าไหร่ วางแผนเก็บเงินอย่างไรดี

อยากแต่งงานจะสร้างความพร้อมทางการเงินอย่างไรให้เก็บเงินได้ไว เพื่อจัดงานในฝันและความรักที่สุขสมหวัง

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
Young,happy,excited,asian,business,woman,entrepreneur,winner,standing,on

7 นิสัยเล็กๆ ที่ช่วยดึงดูดโชคลาภเข้าหาตัว

ทำอย่างไรถึงจะเป็นคนโชคดี ด้วยวิธีเปลี่ยนแปลงนิสัยเล็กๆ น้อยๆ ให้เป็นคนที่มองเห็นโอกาส เปิดใจกว้าง และมองโลกในแง่ดี

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
Cheerful,asian,woman,holding,credit,card,ready,to,travel,,tourism

ไปเที่ยวต่างประเทศ ควรทำบัตรเครดิตดีไหม

บัตรเครดิตช่วยให้การเที่ยวต่างประเทศสะดวกคล่องตัวได้มากกว่าอย่างไร ทำไมการมีบัตรเครดิตที่ใช้งานได้ทั่วโลกจึงคุ้มค่ามากกว่าเงินสด

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
Shutterstock 1458778535

วางแผนซื้อรถยนต์คันแรก อะไรบ้างที่ต้องรู้เพื่อการเงินที่ดี

จะซื้อรถสักคันต้องใช้เงินเท่าไหร่ นอกจากค่ารถยังต้องเสียค่าอะไรอีกบ้าง อยากเป็นเจ้าของรถสักคันต้องวางแผนอย่างไรเพื่อการเงินที่ดี

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
Shutterstock 604365356

ทางออกของมนุษย์เงินเดือนในยุคเงินเฟ้อเกินต้าน

เงินเฟ้อขึ้นต่อเนื่อง มนุษย์เงินเดือนจะรับมือกับภาวะข้าวของแพงอย่างไรให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เริ่มต้นตั้งแต่การตั้งงบประมาณรายจ่ายต่อเดือน

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
Shutterstock 1939728814

ปัญหาสุขภาพจากการทำงานที่ไม่เฮลตี้

ทำงานหนักจนเกินไหวย่อมไม่ดีกับสุขภาพกายและใจของคนวัยทำงาน หากปล่อยไว้นานอาจทำให้โรคภัยถามหา รู้ทันปัญหาสุขภาพเพื่อดูแลสภาพร่างกายและจิตใจให้แข็งแรง

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
บทความ

อยากมีการเงินดีไม่จำเป็นต้องเครียด เพียงรู้จักวางแผน

วางแผนทางการเงินอย่างไรให้มีการเงินดี มีเกราะป้องกันความเครียดจากปัญหาทางการเงินที่คาดไม่ถึง

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
Shutterstock 1543917539

อยากมีเงินเก็บตั้งแต่ First Jobber เริ่มต้นออมเงินอย่างไรดี

First Jobber อยากสะสมเงินเก็บให้ตัวเองตั้งแต่ทำงานที่แรกเริ่มต้นอย่างไรดี เคล็ดลับวางแผนออมเงินล่วงหน้า มีเงินเก็บให้ตัวเองได้ตั้งแต่วัยเริ่มทำงาน

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
Shutterstock 286532258

พักฟื้นหัวใจคนหมดไฟ ให้การเดินทางช่วยเยียวยา

หมดไฟจนไร้เรี่ยวแรงจะตื่นไปทำงานแต่ละวัน เป็นเพราะอยู่กับความเครียดมาตลอดหรือเปล่า ถึงเวลาดูแลใจคนทำงานให้การออกไปเที่ยวนอกบ้านช่วยเยียวยาดีกว่า

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
Skip to content