Post-Concert Depression ความเศร้าใจหลังคอนเสิร์ตเกิดขึ้นเพราะอะไร

Silhouette,of,depressed,man,sitting,on,walkway,of,residence,building.

ทำไมหลังคอนเสิร์ตทีไรมักรู้สึกว่าใจหม่นหมองเสียทุกครั้ง Post-Concert Depression คืออะไร และคนรักการไปคอนควรรับมือภาวะทางใจนี้อย่างไร

เชื่อว่าหลังมาตรการต่างๆ ด้านโรคระบาดทุเลาความเข้มงวดลง หลายคนเริ่มมองหาความบันเทิงจากกิจกรรมนอกบ้านตามปกติอีกครั้ง แน่นอนว่าหนึ่งในเรื่องบันเทิงที่เฝ้ารอคอยนั้นจะขาดคอนเสิร์ตของศิลปินดังในดวงใจไปไม่ได้ การได้ใช้เวลาดื่มด่ำบรรยากาศแสนสนุกและดนตรีแสนไพเราะที่บรรเลงพร้อมกับผู้คนจำนวนมากที่ชื่นชอบในสิ่งเดียวกันย่อมเป็นความทรงจำที่ยากจะลืมเลือน ทว่าความผูกพันธ์กันด้วยความสุขมีอิทธิพลทางความรู้สึกมากกว่าที่คิด จึงเป็นที่มาให้หลังคอนเสิร์ตเสร็จสิ้นทีไร มักตามมาด้วยความรู้สึกเศร้าใจที่อธิบายได้ยาก โดยเรียกกันทั่วไปว่า Post-Concert Depression

Post-Concert Depression คืออะไร

Post-Concert Depression (PCD) คือ อารมณ์เศร้าสร้อยที่ตามมาหลังความรู้สึกตื่นเต้นยินดีที่เกิดในคอนเสิร์ตจบสิ้นลง เป็นภาวะทางอารม์ที่เกิดขึ้นได้เป็นปกติในหมู่แฟนเพลงที่คลั่งไคล้ แต่คนฟังเพลงทั่วไปอาจมีคำถามสงสัยว่าการไปดูคอนเสิร์ตเพียงครั้งเดียวสามารถปรุกเราอารมณ์ผู้ชมได้มากขนาดนี้เชียวหรือ ซึ่งไม่เกินจริงแต่อย่างใด เพราะหากสำรวจผ่านตัวเลขการเติบโตของคอนเสิร์ต หนึ่งรูปแบบความบันเทิงที่ประสบความสำเร็จทั่วโลก ซึ่งเป็นธุรกิจที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องและทวีความรุ่งเรืองในปี 2022 นี้เทียบกับช่วงซบเซาในช่วงปี 2020-2021 ถึง 500% โดยคาดคะเนว่าจะสามารถสร้างความสะพัดให้เม็ดเงินในวงการได้กว่า 20.4 Billion US (สองหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ) และมีแนวโน้มว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ  

เห็นแล้วว่าธุรกิจคอนเสิร์ตเป็นที่นิยมไม่เสื่อมคลาย สาเหตุหนึ่งก็เนื่องด้วยความเฉพาะตัวของประสบการณ์ทางดนตรีที่แฟนเพลงและศิลปินได้สร้างความทรงจำร่วมกันแบบเรียลไทม์ท่ามกลางคอนเสิร์ต ซึ่งยังคงหาสิ่งอื่นใดมาทดแทนไม่ได้ ความพิเศษนี้เองจึงอธิบายได้ว่าทำไมแฟนเพลงหลายคนไม่น้อยพบเจอกับความรู้สึกเศร้าหมองใจเมื่อคอนเสิร์ตจบลง นั่นก็เพราะช่วงเวลาที่มีความสุขอย่างท่วมท้นได้จบลงแล้วนั่นเอง

อาการทางใจที่บอกว่าเรากำลังเผชิญ Post-Concert Depression

การสำรวจอารมณ์ตัวเองหลังอารมณ์ที่คั่งค้างจากความสุขที่เกิดขึ้นหลังคอนเสิร์ตแปรเปลี่ยนเป็นความหม่นหมองอาจช่วยให้เราสามารถทำความเข้าใจเพื่อรับมือกับความเศร้าใจนี้ได้ดีขึ้น เช่น

  • ความรู้สึกเศร้าเหมือนอกหักหรือสูญเสียสิ่งที่เป็นที่รัก
  • ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว จดจ่อแต่เรื่องคอนเสิร์ต
  • ไม่มีสมาธิทำงานหรือโฟกัสเรื่องสำคัญนานๆ
  • วนดูรูปภาพหรือวิดีโอคอนเสิร์ตซ้ำๆ
  • วิตกกังวลว่าอาจไม่มีโอกาสได้ไปคอนเสิร์ตอีกแล้ว
  • รู้สึกไม่ยี่หระกับสิ่งใด

แน่นอนว่าอาการเหล่านี้เป็นเพียงภาวะชั่วคราวทางจิตใจเท่านั้นและหายได้เองตามระยะเวลา ทว่าการฝึกฝนเพื่อรับมือกับอารมณ์เชิงลบที่เกิดขึ้นก็สำคัญต่อสุขภาพทางจิตใจระยะยาวเช่นกัน

ไม่อยากเศร้าใจทุกครั้งหลังคอนเสิร์ตจบ ควรดูแลใจอย่างไร

ท้ายที่สุดทุกงานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา ทว่าความสุขที่เกิดขึ้นในคอนเสิร์ตกลับฟุ้งเฟ้ออยู่ในความรู้สึกนานกว่านั้น สิ่งสำคัญคือการไม่ปล่อยให้ความเศร้าหมองที่อาจเกิดขึ้นได้มาเป็นสิ่งบั่นทอนจิตใจ โดยการปล่อยวางทางอารมณ์ด้วยวิธีต่างๆ ดังเช่น

  • การวางแผนออมเงิน เพื่อคอนเสิร์ตครั้งถัดไป เพราะไม่ว่าจะจัดขึ้นอีกครั้งเมื่อไหร่เราก็พร้อมไฟท์เพื่อบัตรแพงสุดหรือแถวหน้าสุดก่อนใคร
  • ออกไปสถานที่ใหม่ๆ เมื่อไม่จำเป็นต้องกักตัวอยู่แต่ในบ้านอีกต่อไป การออกไปสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ด้วยการเยี่ยมชมสถานที่ไม่คุ้นเคยหรือไม่เคยไป ก็เป็นการกระตุ้นอารมณ์เชิงบวกและเปิดโลกกว้าง
  • ทำอะไรท้าทายตัวเอง เพื่อไม่ต้องจดจ่ออยู่กับอารมณ์โหยหา เช่นลงเรียนคอร์สต่างเพื่อฝึกสกิล ฝึกทักษะสร้างสรรค์ อย่างเช่น การหัดเล่นดนตรี เรียนทำขนม ฝึกวาดรูปสร้างงานศิลปะ
  • เรียนรู้การสงบใจ เช่น การฝึกใจอยู่กับปัจจุบัน การจดบันทึกไดอารี่ ก็เป็นอีกวิธีสร้างเสริมความเข้มแข็งให้กับจิตใจได้เช่นกัน

แชร์

บทความที่เกี่ยวข้อง

Thumb ปิดจบเรื่องหนี้

ปิดจบเรื่องหนี้ กับธนาคารออมสิน

ธนาคารออมสินห่วงใย อยากให้คนไทยปิดจบเรื่องหนี้ ติดตามข่าวสารบทความดีๆ ความรู้เรื่องหนี้

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
5tips

5 Tips ออมเงินฉบับชาวฟรีแลนซ์

ฟรีแลนซ์ … อาชีพอิสระที่ส่วนใหญ่มีรายได้ไม่แน่นอน จึงต้องมีวินัยในตัวเองมากๆ ในการหางาน หาเงิน และวางแผนการใช้จ่ายเงิน เพื่อจะได้มีกินมีใช้ไปตลอดชีวิต

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
เหตุฉุกเฉิน

เหตุฉุกเฉิน เกิดขึ้นได้เสมอ

การมีเงินสำรองติดไว้บ้าง จึงสำคัญมาก ซัก 3-6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือนกันเหนียว เวลาเกิดเรื่องอะไรที่ไม่คิดฝันมาก่อน จะได้ไม่ต้องปาดเหงื่อ

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
Thumb

รูปแบบการชำระคืนหนี้ในรูปแบบต่าง ๆ และภาระต้นทุนในการกู้ยืม

สินเชื่อที่ผ่อนชำระเป็นงวด "เลือกผ่อนสั้น สามารถประหยัดดอกเบี้ยได้อีกเยอะ" สินเชื่อที่ผ่อนชำระเป็นงวด (Term Loan) เช่น สินเชื่อบ้าน สินเชื่อบุคคล หากเลือกระยะเวลาในการผ่อนนาน ทำให้เสียดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญาเพิ่มขึ้น   สินเชื่อที่ผ่อนชำระขั้นต่ำ "จ่ายเพิ่มอีกนิด ประหยัดดอกเบี้ยได้อีกเยอะ" สินเชื่อหมุนเวียน (Revolving Loan) เช่น บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หากจ่ายชำระหนี้คืนขั้นต่ำอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้ต้องชำระดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญาสูง และใช้ระยะเวลานานในการชำระคืนหนี้ทั้งหมด   สินเชื่อวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี (overdraft) "จ่ายแค่ดอก ต้นไม่มีวันลด หนี้ไม่มีวันหมดแน่นอน" ควรพิจารณาชำระเพิ่มเติมหากมีรายได้จากแหล่งอื่น หรือมีเงินคงเหลือมากขึ้น เพื่อให้ปิดหนี้ได้เร็วขึ้นและลดภาระดอกเบี้ยในอนาคต
บทความข้อมูลเพิ่มเติม
เป็นหนี้ก่อนรวย หรือรวยก่อนเป็นหนี้ 1040x563

เป็นหนี้ก่อนรวย หรือรวยก่อนเป็นหนี้

เลือกทางเดินที่ใช่สำหรับคุณตั้งแต่วันนี้! และถ้าคุณพลาดไปแล้ว เริ่มต้นแก้ไขตอนนี้ก็ยังไม่สาย! แล้วคุณล่ะ? เคยเจอปัญหาทางการเงินแบบนี้ไหม

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
ดอกโหด ทวงโหด 1040x563

ดอกโหด-ทวงโหด : ความจริงที่ลูกหนี้นอกระบบต้องเผชิญ เมื่อเงินด่วน…กลายเป็นฝันร้าย

เงินกู้นอกระบบอาจช่วยคุณในระยะสั้น แต่สิ่งที่ตามมาคือ ดอกโหด ทวงโหด และชีวิตที่ไม่มีความสุข ทางที่ดีที่สุดคือ หลีกเลี่ยงตั้งแต่แรก! แต่ถ้าคุณตกอยู่ในวังวนนี้แล้ว อย่าท้อใจ! ยังมีทางออกเสมอ ขอเพียงเริ่มต้นจัดการให้เร็วที่สุด!

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
เงินกู้นอกระบบ ทางลัดหรือกับดัก 1040x563

เงินกู้นอกระบบ… ทางลัดหรือกับดักชีวิต?

หากคุณหรือคนใกล้ตัวกำลังประสบปัญหาการเงิน อย่าปล่อยให้ความเดือดร้อนทำให้ต้องเลือกเส้นทางที่อันตราย หาทางออกที่ถูกต้องและยั่งยืน เพื่อให้ชีวิตของคุณก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
มีหนี้ติดตัวก่อนเกษียณ 1040x563

มีหนี้ติดตัวก่อนเกษียณ รีบจัดการก่อนสายเกินไป!

เตรียมตัวให้ดี ชีวิตหลังเกษียณก็สบาย ไม่มีใครอยากใช้ชีวิตหลังเกษียณไปกับความเครียดทางการเงิน แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องวางแผนล่วงหน้า และลงมือทำตั้งแต่วันนี้ ยิ่งเริ่มเร็วเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุขมากขึ้นเท่านั้น

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
เพิ่งเริ่มทำงาน ทำไมเป็นหนี้ 1040x563

เพิ่งเริ่มทำงาน ทำไมเป็นหนี้มากมาย ทำอย่างไรดี ?

การเป็นหนี้หลังเริ่มทำงานไม่ใช่เรื่องแปลก แต่สิ่งสำคัญคือการรู้จักจัดการให้เหมาะสม หากคุณเริ่มบริหารเงินตั้งแต่วันนี้ หนี้ที่เคยเป็นภาระหนักก็จะค่อยๆ ลดลง และคุณจะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมั่นคงมากขึ้น ลองนำเทคนิคเหล่านี้ไปปรับใช้ แล้วคุณจะพบว่าการเงินของคุณดีขึ้นอย่างแน่นอน!

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
ปัญหาหนี้แก้ได้ 1040x563 1

ปัญหาหนี้แก้ได้! กลับมาแก้ไขไปด้วยกัน

การกลับมาแก้ไขหนี้ที่ค้างมานาน อาจจะดูน่ากลัวในตอนแรก แต่ถ้าคุณกล้าเผชิญหน้า และค่อย ๆ เดินไปทีละขั้น หนี้ที่หนักอึ้งก็สามารถจัดการได้ สิ่งสำคัญคือ “อย่าหนีหนี้” แต่ให้เริ่มต้นแก้ไขและหาทางออกให้กับตัวเอง หนี้ไม่ใช่จุดจบของชีวิต แต่เป็นบทเรียนที่เราสามารถแก้ไขได้ ขอแค่เริ่มต้น!

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
หนี้เสีย กับ หนี้ปกติ 1040x563

หนี้เสีย กับ หนี้ปกติ ต่างกันอย่างไร?

หนี้ปกติ (หนี้ดี / หนี้ที่ยังไม่เสีย) คือ เป็นหนี้ที่ยังชำระเงินตามปกติ ไม่เคยผิดนัด หรืออาจมีค้างจ่ายบ้างแต่ยังไม่ถึงขั้น “หนี้เสีย” ตัวอย่างหนี้ปกติ เช่น ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ จ่ายค่างวดตรงเวลา ใช้บัตรเครดิตแล้วจ่ายขั้นต่ำทุกเดือน

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
เป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องแย่ 1040x563 (1)

เป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องแย่ ถ้ารู้วิธีจัดการให้อยู่หมัด!

หนี้เป็นเครื่องมือทางการเงินที่ดีได้ ถ้าคุณเป็นคนควบคุมหนี้ ไม่ใช่ให้หนี้มาควบคุมคุณ! หากต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเงินและสินเชื่อ สามารถติดต่อ ธนาคารออมสิน เพื่อรับคำปรึกษาที่เหมาะสมกับคุณ 

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
Skip to content