วางแผนเกษียณอย่างไรให้ชีวิตมั่นคงทางการเงิน

Shutterstock 705716659

ควรเริ่มวางแผนเกษียนเมื่อไหร่ ?  คำถามในใจของมนุษย์วัยทำงานที่มองการณ์ไกล เพราะท้ายที่สุดเส้นทางชีวิตทำงานก็ย่อมสิ้นสุดลงท่ีการเกษียณอายุ การสร้างความมั่นคงให้กับตัวเองจึงต้องเริ่มตั้งแต่การคำนวณค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ รู้ตัวเลขเงินเก็บที่ควรมี เพื่อเตรียมพร้อมออมเงินก่อนจะลงทุนให้ทรัพย์สินงอกเงย เพื่อให้สามารถวางแผนล่วงหน้าได้อย่างรอบคอบก่อนสาย

คำนวณค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้หลังเกษียณเพื่อวางแผนการออม

ความมั่นคงทางการเงินสร้างได้ด้วยตัวเอง แต่ต้องมีเงินสะสมเท่าไหร่จึงจะเรียกได้ว่ามั่นคง จะรู้ได้ก็โดยการสำรวจตัวเราว่าในปัจจุบันมีจำนวนค่าใช้จ่ายมากน้อยอย่างไร เพื่อให้ประเมินได้ว่าในยามแก่ตัวไปจะมียอดค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ เพื่อตั้งเป้าหมายในการออมเงิน ดังเช่น

  • ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพื่อการดำรงชีพ
  • ค่าใช้จ่ายเพื่อความสะดวกสบายและความสุขของชีวิต
  • ค่าดูแลเลี้ยงดูบุตรหลาน
  • ค่ารักษาพยาบาล
  • ค่าชำระหนี้สินที่ติดค้าง

วิธีคำนวณเงินเก็บที่ควรมีก่อนเกษียณ

เกษียนไปแล้วจะมีเงินพอใช้แค่ไหน คำนวณได้โดยวิธีต่อไปนี้

เงินเก็บที่ควรมีก่อนเกษียณ = ค่าใช้จ่ายต่อเดือน X 12 เดือน X จำนวนปีที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่

เช่น ตั้งใจให้ค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณคิดเป็น 70% ของค่าใช้จ่ายปัจจุบัน (ขึ้นอยู่กับบุคคล)  โดยปัจจุบันมีการใช้จ่ายต่อเดือนอยู่ที่ 35,000 บาท ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณจะอยู่ที่ประมาณ 25,000 บาท เท่ากับจะมีค่าใช้จ่ายต่อปีหลังเกษียณทั้งหมดราวๆ 210,000 บาท เมื่อคิดแล้วเราอาจมีชีวิตอยู่หลังเกษียณได้ราวๆ 20 ปี เงินเก็บที่เราควรมีก่อนเกษียณจึงอยู่ที่ 6,000,000 บาท

เห็นตัวเลขออกมาแล้วอาจมองดูเป็นจำนวนเงินที่มากโข นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมยิ่งเริ่มออมเงินไวเท่าไหร่ยิ่งสร้างความมั่นคงเป็นกำไรชีวิตได้ไวเท่านั้น

อยากเกษียณไปแล้วมีเงินใช้ไม่ลำบาก เริ่มต้นที่การออม

ลำพังเงินออมที่เก็บหอมรอบริบอาจไม่พอใช้ตลอดไปในช่วงวัยเกษียณ การลงทุนเพื่อให้ผลตอบแทนกลับคืนจึงเป็นคำตอบที่ยั่งยืนของมนุษย์เงินเดือนที่มองหาความสุขสบายในช่วงปั้นปลายชีวิตโดยไม่ต้องกังวลกับเงินเก็บที่ร่อยหรอลงไป โดยมีวิธีคำนวณดังนี้

เงินเก็บที่ควรมีก่อนเกษียณ = ค่าใช้จ่ายต่อเดือน X 12 เดือน  / อัตราผลตอบแทนการเงินออมต่อปี

เช่น ประเมินแล้วว่าค่าใช้จ่ายของชีวิตหลังเกษียณจะมีประมาณ 25,000 บาทต่อเดือน โดยมีผลตอบแทนจากการเงินออม 5% ต่อปี รูปแบบการคำนวณจึงออกมาเป็น 25,000 X 12 / 5% ซึ่งเท่ากับว่าหลังเกษียณไปเราจะมีเงินใช้ 6,000,000 บาท เป็นเป้าหมายในการเก็บเงินก่อนเกษียณเพื่อให้สามารถมีเงินใช้ 25,000 บาทต่อเดือนนั่นเอง

จะเห็นว่ายิ่งได้รับผลตอบแทนจากการออมเงินมากเท่าไหร่ ความกดดันในการเก็บก็จะน้อยลงมาเท่านั้น เช่นถ้าหากว่าค่าใช้จ่ายที่เท่ากัน 25,000 บาทต่อเดือน แต่มีผลตอบแทนจากการเงินออมมากถึง 10% ต่อปีเท่ากับว่าเราสามารถเก็บเงินก้อนที่ควรมีก่อนเกษียณได้น้อยลงถึง 3,000,000 บาท

การออมเงินอย่างชาญฉลาดเพื่อให้ได้ผลตอบแทนกลับคืนจึงเป็นหนึ่งหนทางยั่งยืนเพื่อความสุขสบายในช่วงสุดท้ายของชีวิต

เริ่มต้นออมเงินอย่างไรให้มีพร้อมใช้หลังเกษียณ

เมื่อรู้แล้วว่าเป้าหมายของการออมเงินคือชีวิตที่สุขสบายหลังเกษียณ เริ่มแรกของการวางแผนออมเงินคือการเรียนรู้รูปแบบของเงินออมเพื่อการงอกเงยผลตอบแทนในอนาคต ซึ่งหากเป็นวัยทำงาน สามารถแบ่งได้ดังนี้

  • เงินออมอัตโนมัติ เป็นการออมเงินภาคบังคับ (Compulsory Saving) ของแรงงานในระบบ เช่น เงินประกันสังคม (ม.33), กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ, กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน หรือ การออมที่จำเป็นต้องจ่ายทุกเดือน
  • เงินออมทางเลือก เป็นการออมเงินจากความสมัครใจ (Voluntary Saving) เพื่อแรงงานนอกระบบและผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น ประกันสังคม ม.40, กองทุนการออมแห่งชาติ, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อให้ได้รับบำเหน็จบำนาญหลังการเกษียณ
  • เงินออมเพิ่มพูน เป็นการออมเงินที่ตั้งใจเก็บสะสมเพื่อมูลค่าที่เพิ่มพูน เช่น เงินฝากประจำ ผลตอบแทนจากการลงทุน ประกันชีวิตเพื่อสะสมทรัพย์

การเริ่มต้นเก็บออมเพื่อให้มีเงินใช้หลังเกษียณจึงต้องให้ความสำคัญกับเงินออมในรูปแบบที่ช่วยเพิ่มพูนผลตอบแทนที่งอกเงยและสร้างกำไร โดยการศึกษาและเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ทางการเงินแบบต่างๆ เพื่อให้ได้ตัวเลือกที่ตอบโจทย์ที่สุด รวมทั้งติดตามแนวคิดการออมเงินรูปแบบต่างๆ เพื่อศึกษาว่า ออมเงินแบบไหนให้กำไรเร็วกว่า เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ดังใจต้องการ

เงินฝากออมสิน ทางเลือกออมเงินอย่างยั่งยืน

การออมเงินอย่างยั่งยืนอยู่ที่วินัยในการออมเป็นสำคัญ เพราะต้องอาศัยทั้งความสม่ำเสมอและแน่วแน่เพื่อผลลัพธ์ที่หอมหวานในสุดท้ายปลายทาง การทำบัญชีเงินฝากกับออมสินจึงเป็นหนึ่งตัวเลือกที่ดีด้วยรูปแบบบัญชีที่หลากหลายและให้ผลตอบแทนแตกต่างกัน ดังนี้

เงินฝากประจำกับธนาคารออมสิน

เป็นวิธีออมเงินกับธนาคารออมสินโดยการทำบัญชีเงินฝากประจำเพื่อหวังผลตอบแทนในรูปแบบดอกเบี้ยการออม ยิ่งฝากประจำสม่ำเสมอเป็นระยะเวลานาน ยิ่งได้ดอกเบี้ยทวีคืนกำไรกลับมา ทั้งยังเป็นหลักประกันที่เพิ่มความมั่นคงให้กับชีวิตและเงินสำรองในยามฉุกเฉิน ที่เมื่อมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดก็ยังมีฝูกนุ่มรองรับ เงินฝากประจำของธนาคารออมสินแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบ ดังนี้

 

การทำบัญชีเงินฝากประจำ เป็นการฝึกวินัยทางการออมอีกหนึ่งทาง เพราะเป็นการบังคับตัวเองให้ฝากเงินตามจำนวนและเวลาที่ธนาคารกำหนด ทั้งหมดนี้เพื่อสร้างหลักทรัพย์สำรองให้กับก้าวย่างในอนาคตและเดินทางไปถึงวันเกษียณได้อย่างมั่นคง

 

ที่มาข้อมูล ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) , ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

แชร์

บทความที่เกี่ยวข้อง

Thumb ปิดจบเรื่องหนี้

ปิดจบเรื่องหนี้ กับธนาคารออมสิน

ธนาคารออมสินห่วงใย อยากให้คนไทยปิดจบเรื่องหนี้ ติดตามข่าวสารบทความดีๆ ความรู้เรื่องหนี้

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
5tips

5 Tips ออมเงินฉบับชาวฟรีแลนซ์

ฟรีแลนซ์ … อาชีพอิสระที่ส่วนใหญ่มีรายได้ไม่แน่นอน จึงต้องมีวินัยในตัวเองมากๆ ในการหางาน หาเงิน และวางแผนการใช้จ่ายเงิน เพื่อจะได้มีกินมีใช้ไปตลอดชีวิต

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
เหตุฉุกเฉิน

เหตุฉุกเฉิน เกิดขึ้นได้เสมอ

การมีเงินสำรองติดไว้บ้าง จึงสำคัญมาก ซัก 3-6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือนกันเหนียว เวลาเกิดเรื่องอะไรที่ไม่คิดฝันมาก่อน จะได้ไม่ต้องปาดเหงื่อ

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
Thumb

รูปแบบการชำระคืนหนี้ในรูปแบบต่าง ๆ และภาระต้นทุนในการกู้ยืม

สินเชื่อที่ผ่อนชำระเป็นงวด "เลือกผ่อนสั้น สามารถประหยัดดอกเบี้ยได้อีกเยอะ" สินเชื่อที่ผ่อนชำระเป็นงวด (Term Loan) เช่น สินเชื่อบ้าน สินเชื่อบุคคล หากเลือกระยะเวลาในการผ่อนนาน ทำให้เสียดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญาเพิ่มขึ้น   สินเชื่อที่ผ่อนชำระขั้นต่ำ "จ่ายเพิ่มอีกนิด ประหยัดดอกเบี้ยได้อีกเยอะ" สินเชื่อหมุนเวียน (Revolving Loan) เช่น บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หากจ่ายชำระหนี้คืนขั้นต่ำอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้ต้องชำระดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญาสูง และใช้ระยะเวลานานในการชำระคืนหนี้ทั้งหมด   สินเชื่อวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี (overdraft) "จ่ายแค่ดอก ต้นไม่มีวันลด หนี้ไม่มีวันหมดแน่นอน" ควรพิจารณาชำระเพิ่มเติมหากมีรายได้จากแหล่งอื่น หรือมีเงินคงเหลือมากขึ้น เพื่อให้ปิดหนี้ได้เร็วขึ้นและลดภาระดอกเบี้ยในอนาคต
บทความข้อมูลเพิ่มเติม
เป็นหนี้ก่อนรวย หรือรวยก่อนเป็นหนี้ 1040x563

เป็นหนี้ก่อนรวย หรือรวยก่อนเป็นหนี้

เลือกทางเดินที่ใช่สำหรับคุณตั้งแต่วันนี้! และถ้าคุณพลาดไปแล้ว เริ่มต้นแก้ไขตอนนี้ก็ยังไม่สาย! แล้วคุณล่ะ? เคยเจอปัญหาทางการเงินแบบนี้ไหม

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
ดอกโหด ทวงโหด 1040x563

ดอกโหด-ทวงโหด : ความจริงที่ลูกหนี้นอกระบบต้องเผชิญ เมื่อเงินด่วน…กลายเป็นฝันร้าย

เงินกู้นอกระบบอาจช่วยคุณในระยะสั้น แต่สิ่งที่ตามมาคือ ดอกโหด ทวงโหด และชีวิตที่ไม่มีความสุข ทางที่ดีที่สุดคือ หลีกเลี่ยงตั้งแต่แรก! แต่ถ้าคุณตกอยู่ในวังวนนี้แล้ว อย่าท้อใจ! ยังมีทางออกเสมอ ขอเพียงเริ่มต้นจัดการให้เร็วที่สุด!

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
เงินกู้นอกระบบ ทางลัดหรือกับดัก 1040x563

เงินกู้นอกระบบ… ทางลัดหรือกับดักชีวิต?

หากคุณหรือคนใกล้ตัวกำลังประสบปัญหาการเงิน อย่าปล่อยให้ความเดือดร้อนทำให้ต้องเลือกเส้นทางที่อันตราย หาทางออกที่ถูกต้องและยั่งยืน เพื่อให้ชีวิตของคุณก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
มีหนี้ติดตัวก่อนเกษียณ 1040x563

มีหนี้ติดตัวก่อนเกษียณ รีบจัดการก่อนสายเกินไป!

เตรียมตัวให้ดี ชีวิตหลังเกษียณก็สบาย ไม่มีใครอยากใช้ชีวิตหลังเกษียณไปกับความเครียดทางการเงิน แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องวางแผนล่วงหน้า และลงมือทำตั้งแต่วันนี้ ยิ่งเริ่มเร็วเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุขมากขึ้นเท่านั้น

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
เพิ่งเริ่มทำงาน ทำไมเป็นหนี้ 1040x563

เพิ่งเริ่มทำงาน ทำไมเป็นหนี้มากมาย ทำอย่างไรดี ?

การเป็นหนี้หลังเริ่มทำงานไม่ใช่เรื่องแปลก แต่สิ่งสำคัญคือการรู้จักจัดการให้เหมาะสม หากคุณเริ่มบริหารเงินตั้งแต่วันนี้ หนี้ที่เคยเป็นภาระหนักก็จะค่อยๆ ลดลง และคุณจะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมั่นคงมากขึ้น ลองนำเทคนิคเหล่านี้ไปปรับใช้ แล้วคุณจะพบว่าการเงินของคุณดีขึ้นอย่างแน่นอน!

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
ปัญหาหนี้แก้ได้ 1040x563 1

ปัญหาหนี้แก้ได้! กลับมาแก้ไขไปด้วยกัน

การกลับมาแก้ไขหนี้ที่ค้างมานาน อาจจะดูน่ากลัวในตอนแรก แต่ถ้าคุณกล้าเผชิญหน้า และค่อย ๆ เดินไปทีละขั้น หนี้ที่หนักอึ้งก็สามารถจัดการได้ สิ่งสำคัญคือ “อย่าหนีหนี้” แต่ให้เริ่มต้นแก้ไขและหาทางออกให้กับตัวเอง หนี้ไม่ใช่จุดจบของชีวิต แต่เป็นบทเรียนที่เราสามารถแก้ไขได้ ขอแค่เริ่มต้น!

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
หนี้เสีย กับ หนี้ปกติ 1040x563

หนี้เสีย กับ หนี้ปกติ ต่างกันอย่างไร?

หนี้ปกติ (หนี้ดี / หนี้ที่ยังไม่เสีย) คือ เป็นหนี้ที่ยังชำระเงินตามปกติ ไม่เคยผิดนัด หรืออาจมีค้างจ่ายบ้างแต่ยังไม่ถึงขั้น “หนี้เสีย” ตัวอย่างหนี้ปกติ เช่น ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ จ่ายค่างวดตรงเวลา ใช้บัตรเครดิตแล้วจ่ายขั้นต่ำทุกเดือน

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
เป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องแย่ 1040x563 (1)

เป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องแย่ ถ้ารู้วิธีจัดการให้อยู่หมัด!

หนี้เป็นเครื่องมือทางการเงินที่ดีได้ ถ้าคุณเป็นคนควบคุมหนี้ ไม่ใช่ให้หนี้มาควบคุมคุณ! หากต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเงินและสินเชื่อ สามารถติดต่อ ธนาคารออมสิน เพื่อรับคำปรึกษาที่เหมาะสมกับคุณ 

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
Skip to content