ปก3

กิจกรรมฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : การจัดการน้ำ (ปี 2561 – 2564)

กิจกรรมฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : การจัดการน้ำ (ปี 2561 – 2564)
ธนาคารออมสินได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการบริหารจัดการ ดูแล ฟื้นฟู และพัฒนาทรัพยากรน้ำ ซึ่งถือเป็นสมบัติสาธารณะของชาติ ให้คงอยู่ และมีใช้อย่างยืนยาว จึงได้ดำเนิน “กิจกรรมฟื้นฟูทรัพยากร ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม : การจัดการน้ำ” มาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 4 ปี ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน

Sub Environment2 1
Sub Environment2 2
Sub Environment2 3

ปี 2565 ได้สนับสนุนการจัดการน้ำทั้งหมด 66 แห่ง ทั่วทุกภาคมีผู้รับประโยชน์มากกว่า 160,000 ราย      ด้วยการสร้างคุณค่าร่วมกับชุมชนตามแนวทาง CSV (Creating Shared Value) ส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำในระดับชุมชน ก่อให้เกิดความอยู่ดีมีสุข (Well-Being) ของชุมชน รวมทั้งสร้างจิตสำนึกให้เกิดความรักและหวงแหนทรัพยากรน้ำในพื้นที่ โดยขยายผลความสำเร็จจากชุมชนสู่ชุมชน สร้างเป็นเครือข่ายการบริหารจัดการและฟื้นฟูทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน โดยธนาคารออมสินสนับสนุนและร่วมจัดกิจกรรมเพื่อจัดการ/พัฒนาแหล่งน้ำในชุมชน ส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำในระดับชุมชนตามลักษณะสภาพแวดล้อมในพื้นที่ ร่วมกับสมาชิกในชุมชน และหน่วยงานพันธมิตร

ตารางสรุปการดำเนินกิจกรรม “ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม : การจัดการน้ำ” ที่ทางธนาคารสนับสนุน เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ปี 2561 - 2563

ปัญหา
ผลกระทบจากปัญหา
ตัวอย่างกิจกรรม
การดำเนินกิจกรรม ที่ให้ทางธนาคาร
ออมสินสนับสนุนและร่วมจัดกิจกรรม
ปัญหาการมีน้ำน้อยเกินไป
การขาดแคลนน้ำ และปริมาณน้ำฝนน้อยลง จากการ ตัดไม้ทำลายป่าก่อให้เกิดความแห้งแล้ง ความเสียหายต่อ พืชผลทางการเกษตรและการปศุสัตว์
  1. แปลงสาธิตระบบน้ำหยด
  2. ฝายมีชีวิต / ฝายชะลอน้ำ
  3. ระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
  4. ระบบไฟฟ้าเพื่อสูบน้ำบาดาล
  5. ขุดสระเก็บน้ำ
  6. พัฒนาศูนย์เรียนรู้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
  7. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบบ่อเปิด
  8. โคก หนอง นา โมเดล
  9. ขุดคลองไส้ไก่ และเบ้าขนมครกเพื่อเป็นทางน้ำบนดิน เพิ่มความชุ่มชื้นในพื้นที่ในยามแล้ง
  • ชุมชนบ้านห้วยยาง จ.ราชบุรี ระบบน้ำหยด
  • บ้านฟากน้ำ จ.พิษณุโลก สร้างฝายชะลอน้ำถาวร
  • ต.นางแดด อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิการสร้างฝาย ชะลอน้ำ
  • ชุมชนบ้านแม่ขี้มูก จ.เชียงใหม่ ระบบน้ำหยด
  • บ้านโนนกระถิน อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา สร้างฝาย น้ำล้น
  • บ้านบาตูปูเต๊ะ เกาะลิบง จ.ตรังสร้างฝายน้ำล้นบ้าน บาตูปูเต๊ะ
ปัญหาการมีน้ำมากเกินไป
การตัดต้นไม้มากเกินไปทำให้เกิดอุทกภัยและน้ำป่า ไหลหลากในฤดูฝน สร้างความเสียหายแก่ชีวิต และทรัพย์สิน
  1. โรงเรือนปลูกผักตามวิถีเกษตรอินทรีย์ (ที่ยกแปลงปลูกขึ้นสูงเหนือน้ำท่วม)
  2. การปลูกพืชสลับเป็นแถว / การปลูกพืชแนวตั้ง
  3. สนับสนุนร้านค้าชุมชนเพื่อรองรับพืชผลของ ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการโคกหนอง นา โมเดล
  4. ขุดคลองไส้ไก่ และเบ้าขนมครก เพื่อเป็นทางน้ำ บนดิน ช่วยรองรับน้ำไม่ให้เอ่อท่วมยามน้ำหลาก
  5. การสร้างแก้มลิงเพื่อรองรับน้ำตามแนวพระราชดำริ
  6. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบบ่อปิด
  7. กิจกรรมหน้าบ้านน่ามอง สร้างความตระหนักถึง คุณค่าของทรัพยากรน้ำ
  • ต.วังไทร อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร การทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบบ่อปิด
  • ปัญหาการมีน้ำมากเกินไป
    น้ำเสียส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย และเป็นอันตราย ต่อคนทั่วไปรวมไปถึงสัตว์น้ำ ทำให้ไม่สามารถนำแหล่งน้ำ นั้น ๆ มาใช้ประโยชน์ได้ทั้งการอุปโภค บริโภค การเกษตร และอุตสาหกรรม
    1. โรงเรือนหรือแปลงปลูกพืชผักตามวิถีเกษตรอินทรีย์
    2. สร้างระบบสูบน้ำจากคลองสาธารณะสู่ระบบน้ำ
    3. การทำระบบบำบัดน้ำเสีย เช่น บ่อดัก ไขมัน บ่อเกรอะ และบ่อกรองไร้อากาศ
    4. สร้างระบบเครื่องกลเติมอากาศในน้ำ จากกังหันน้ำ ชัยพัฒนาโดยใช้ ระบบโซลาร์
    5. ขุดลอกคู คลอง คลองซอย
    6. ให้ความรู้ในการดูแลรักษาทรัพยากรน้ำ
    • เขตตลิ่งชัน กทม. การอบรมให้ความรู้เรื่องการ ทำลายน้ำ น้ำเสีย สนับสนุนโรงเรือนเกษตรอินทรีย์
    • ชุมชนริมคลองประเวศฝั่งเหนือ กทม. การขุดลอกคลองทางซอย ทำความสะอาด เก็บขยะ และปรับภูมิทัศน์ (น้ำเสีย)
    ปัญหาทรัพยากร ชายฝั่งทะเล
    1. ปัญหาสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเลที่ก่อให้เกิดผลต่อ สิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศ
    2. จำนวนทรัพยากรชายฝั่งมีปริมาณลดลง จนส่งผล กระทบต่อวิถีชีวิตและความหลากหลายทางชีวภาพ ของท้องทะเล ไม่สามารถสร้างรายได้จากประมง พื้นบ้านได้อย่างต่อเนื่อง
    3. ปัญหาขยะทะเล การกัดเซาะชายฝั่งและปะการังเสื่อมโทรม
    1. การทำบ้านปลา ปะการังเทียม (ชนิดแท่งคอนกรีต ซั้งมะพร้าว ซั้งเชือก)
    2. การทำธนาคารปูม้า
    3. การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำทะเล พร้อมแหล่งอนุบาล
    4. การจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วม
    • ชุมชนบ้านนาทับ อ.จะนะ จ.สงขลาสนับสนุน การทำบ้านปลา (ซั้งมะพร้าว) การอบรมให้ความรู้และ สร้างการตระหนักเรื่องการทำประมงเชิงอนุรักษ์ (ปัญหาทรัพยากรชายฝั่งทะเล)
    • บ้านปาตาตีมอ จ.ปัตตานี สนับสนุน ต่อยอด โครงการธนาคารปูม้า (ซ่อมแซมอุปกรณ์ชำรุด)

    จากผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2561 – จนถึงปัจจุบัน ธนาคารได้สนับสนุนในทุกด้านส่งผลให้ชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรม มีความอยู่ดีมีสุขของชุมชน (Well-Being) ดังนี้

    •  ด้านสิ่งแวดล้อม : ชุมชนมีน้ำใช้เพียงพอ คุณภาพน้ำดีขึ้น ทรัพยากรทางทะเลได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟู
    • ด้านเศรษฐกิจ : สามารถลดค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ ส่งผลให้มีเงินเหลือพอเพื่อการออม และเพื่อใช้หนี้
    • ด้านสุขภาพและความมั่นคงในชีวิต : สมาชิกในครอบครัวและได้ใช้เวลากับครอบครัวเพิ่มมากขึ้น
    • ด้านสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น : ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี รู้สึกรักและหวงแหนทรัพยากรทางธรรมชาติ

    นอกจากนี้ชุมชนผู้เข้าร่วมโครงการยังได้รับความรู้ และเทคนิค ด้านการเกษตรใหม่ ๆ ที่สามารถนำมาพัฒนาทักษะด้านการเกษตรและการบริหารจัดการน้ำจนสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด และทัศนคติ ในการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างธนาคารกับชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมอีกด้วย

    แชร์เนื้อหา :
    Skip to content