การเงินเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance)
การเงินเพื่อความยั่งยืน จะมีบทบาทสำคัญในการให้สินเชื่อและลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ และการจัดสรรทรัพยากรเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินเพื่อความยั่งยืน ซึ่งความร่วมมือไปสู่เป้าหมายเดียวกันนี้จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับสังคม ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น มุ่งสู่อนาคตที่ดีกว่าเดิม เพื่อให้มั่นใจว่าคนรุ่นหลังจะได้อาศัยอยู่ในโลกที่ดีกว่า มีโอกาสมีชีวิตที่ดีกว่า และมีอนาคตที่รุ่งโรจน์อย่างยั่งยืน
- การพัฒนา ESG Score
โดยให้ความสำคัญกับการสนับสนุนสินเชื่อแก่กลุ่มธุรกิจ เพื่อประเมินการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบในมิติของ สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
โดยจะเริ่มนำมาใช้ในการพิจารณาสินเชื่อธุรกิจลูกค้าขนาดใหญ่ภายในปี 2566
การให้ความสำคัญต่อการให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible Lending)
ธนาคารออมสินได้ยึดมั่นต่อการดำเนินงาน ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และมุ่งมั่นเป็นธนาคารที่มีความรับผิดชอบ ตามบทบาทธนาคารเพื่อสังคมบนเส้นทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยธนาคารตระหนักถึงความสำคัญในการให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ และส่งเสริมให้ลูกค้าเห็นความสำคัญในประเด็น ดังต่อไปนี้
ด้านสิ่งแวดล้อม (การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) ธนาคารสนับสนุนให้ลูกค้า
- เปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การกำหนดมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ในขอบเขตที่ 1 2 และ 3 ซึ่งสอดคล้องกับการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยโลกไม่เกิน 5 องศาเซลเซียส - เปลี่ยนจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลมาเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียน
- ไม่สร้างผลกระทบต่อพื้นที่และสิ่งมีชีวิตที่มีคุณค่าทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น พื้นที่ที่มีคุณค่าด้านการอนุรักษ์สูง พื้นที่ที่มีปัญหาขาดแคลนน้ำหรือการทำกิจกรรมที่อาจแย่งน้ำใช้กับชุมชน
ด้านสังคม (สิทธิมนุษยชน) ธนาคารสนับสนุนให้ลูกค้า
- เคารพในสิทธิมนุษยชนและดำเนินธุรกิจตามหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights)
- เคารพสิทธิเด็กและสิทธิของผู้พิการ
- ป้องกันความขัดแย้งเรื่องสิทธิในที่ดินทำกิน และใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
ด้านธรรมาภิบาล (การทุจริตคอร์รัปชัน) ธนาคารสนับสนุนให้ลูกค้า
- ป้องกันการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย หรือกิจกรรมที่ละเมิดกฎหมาย ขัดต่อศีลธรรมอันดี
- ไม่นำเสนอ สัญญา เรียกร้อง สินบนและข้อได้เปรียบอื่นๆ ที่ไม่เป็นธรรม ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้ได้มาซึ่งธุรกิจและข้อได้เปรียบอื่นๆ ที่ไม่เป็นธรรม
- เปิดเผยข้อมูลโครงสร้างองค์กร และหน่วยงานในเครือ
นอกจากนี้ ธนาคารได้กำหนดประเภทของสินเชื่อที่ธนาคารไม่ให้การสนับสนุน (Exclusion List) พร้อมทั้งกำหนดแนวทางในการพิจารณาสินเชื่อไม่ให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ดังนี้
- สินเชื่อที่ให้แก่ธุรกิจผิดกฎหมาย เช่น การพนัน ยาเสพติด การค้าประเวณี ฯลฯ
- สินเชื่อที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศระงับการให้สินเชื่อ
- สินเชื่อที่ให้แก่บุคคลหรือนิติบุคคลที่ล้มละลาย หรือศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
- สินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์การใช้เงินกู้เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมือง
- สินเชื่อที่ให้แก่การเก็งกำไรที่ดินหรือหลักทรัพย์
- สินเชื่อให้แก่ธุรกิจที่ขัดกับความสงบเรียบร้อยหรือขัดศัลธรรมอันดี
- สินเชื่อที่ให้แก่ธุรกิจที่มีการใช้แรงงานบังคับ แรงงานเด็กอย่างผิดกฎหมายที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหรืออนาคตทางการศึกษา
- สินเชื่อที่ให้แก่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย การผลิต หรือค้าอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง เช่น อาวุธนิวเคลียร์ อาวุธชีวภาพ อาวุธเคมี ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ระเบิดลูกปราย อาวุธอัตโนมัติรุนแรง (Lethal Autonomous Weapons Systems : LAWS) รวมถึงส่วนประกอบที่ออกแบบมาสำหรับ LAWS หรือการขนส่งสินค้าทางการทหารซึ่งไม่ได้ขายให้กับหน่วยงานของรัฐ
- สินเชื่อที่เกี่ยวข้องกับกัญชาที่ใช้เพื่อการสันทนาการ
- สินเชื่อที่ให้แก่ธุรกิจถ่านหินและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับถ่านหิน ธุรกิจที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาเหมืองถ่านหินแห่งใหม่และโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่
- สินเชื่อตามโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG Model (Bio-Circular-Green Economy)
สนับสนุนกิจการที่มีโมเดลเศรษฐกิจ BCG สำหรับลูกค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ
Link : https://www.gsb.or.th/gsb_smes/gsb-bcg-economy/
- การลงทุนในตราสารหนี้
เพื่อสนับสนุนองค์กรและธุรกิจที่สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล ไม่ว่าจะเป็น Social Bond ,Green Bond และ Sustainability Bond อย่างต่อเนื่อง
Link : https://www.gsb.or.th/csr/gsbcsr/csr-news/social-finance-framework/