ธนาคารให้ความสำคัญต่อการสร้างความสัมพันธ์ บริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุุกกลุ่ม ที่มีผลกระทบต่อธนาคารและ/หรือได้รับผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบจากการดำเนินธุุรกิจของธนาคาร โดยให้ความสำคัญกับการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ เพื่อรับฟังความต้องการ ความคาดหวัง และข้อกังวลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม เป็นประจำทุุกปี ผ่านการสัมภาษณ์/ประชุุมร่วมกับหน่วยงานผู้รับผิดชอบ เพื่่อใช้เป็นข้อมููลสำคัญประกอบการกำหนดกลยุทธ์ แผนการดำเนินงาน และแนวทางในการพัฒนาการดำเนินธุุรกิจของธนาคาร ซึ่่งจะช่่วยในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และนำไปสู่การพัฒนาธุุรกิจอย่่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์การบริหารจัดการ/ การสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และกำหนดแนวทางการตอบสนองความต้องการ ความคาดหวัง และความกังวลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวก และลดผลกระทบเชิงลบ โดยให้เป็นไปตามข้อกำหนดกฎหมาย และระเบียบคำสั่งที่เกี่ยวข้อง
- เพื่อบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นระบบ และบูรณาการกับการบริหารจัดการของหน่วยงานภายในธนาคารทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ลดความเสี่ยงเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญของธนาคาร
ธนาคารได้นำหลักการมาตรฐานสากล AA1000 Stakeholder Engagement Standard: AA1000SES มาเป็นกรอบในการบริหารผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญในห่วงโซ่คุณค่าจัดลำดับความสำคัญผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยพิจารณาจากทิศทางการดำเนินงานของธนาคารและความสำคัญต่อธุรกิจธนาคารในมิติต่างๆ เพิ่มเติม และกำหนดกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากลักษณะงาน/กระบวนการที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาเกี่ยวข้องตามภารกิจหลักของธนาคาร จำนวน 6 กลุ่ม ประกอบด้วย
แนวทางการสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ธนาคารมีการกำหนดแผนแม่บทด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ปี 2566 – 2570 เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการบริหารและสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของธนาคาร ให้มีคุณภาพและมาตรฐานตามสากล และสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญทั้งภายในและภายนอกองค์กร และกำหนดให้ทุกฝ่ายงานและธนาคารออมสินภาคจัดทำแผนงานในการสร้างความพันธ์ หรือยกระดับการสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กำหนดขอบเขตของการสร้างความสัมพันธ์และบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแต่ละกลุ่มที่ชัดเจน มีแผนบริหารจัดการความเสี่ยง มีการติดตามและประเมินผลตามแผนงานให้สอดคล้องกับเป้าหมาย และระดับความคาดหวังในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงปรับปรุงแนวทางในการบริหารการจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างมีประสิทธิภาพ