ประกาศการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Notice) ของธนาคารออมสิน
ธนาคารออมสิน (“ธนาคาร”) ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคล[1] ของท่านที่ได้มอบให้แก่ธนาคารด้วยความไว้วางใจ ธนาคารจึงจัดให้มีประกาศการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Notice) ของธนาคารออมสิน ฉบับนี้ขึ้นเพื่อให้ท่านได้รับทราบถึงนโยบาย วิธีการ และวัตถุประสงค์ของธนาคารเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามที่ท่านได้เข้าทำธุรกรรมต่าง ๆ กับธนาคาร ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงนโยบายและระเบียบในการดำเนินงานของธนาคารที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อคุ้มครองสิทธิของท่านเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล และเพื่อให้ท่านมั่นใจได้ว่าข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่ธนาคารได้รับจะถูกนำไปใช้ตามความต้องการของท่านและตามที่กฎหมายกำหนด โดยประกาศการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Notice)ของธนาคารออมสิน ฉบับนี้ใช้สำหรับบุคคลดังต่อไปนี้
(1) ลูกค้าซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาที่ใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการของธนาคาร และหมายความรวมถึงบุคคลธรรมดาอื่นที่มีอำนาจในการกระทำการแทนลูกค้าองค์กรธุรกิจ
(2) บุคคลที่ไม่ใช่ลูกค้าของธนาคาร ซึ่งหมายความรวมถึงบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการของธนาคาร แต่ธนาคารอาจมีความจำเป็นต้องเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เช่น บุคคลที่ได้ชำระเงินให้แก่หรือรับเงินจากลูกค้าของธนาคาร บุคคลที่ได้เข้าใช้บริการที่สาขาหรือสำนักงานของธนาคาร และบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมกับธนาคารหรือลูกค้าของธนาคาร
ธนาคารจึงขอเรียนให้ท่านโปรดอ่านเอกสารฉบับนี้เพื่อรับทราบและเข้าใจวัตถุประสงค์ที่ธนาคารประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล[2] ของท่าน
1. การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
ธนาคารจะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เช่น ข้อมูลเฉพาะบุคคล ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับชีวิตส่วนตัว หรือความสนใจส่วนบุคคล ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว โดยมีแหล่งที่มาในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลดังต่อไปนี้
1.1 เก็บรวบรวมโดยตรงจากท่าน เช่น การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจากการกรอกข้อมูลส่วนบุคคลผ่านแบบฟอร์มการสมัครใช้บริการหรือการตอบแบบสอบถาม (Survey) ของธนาคาร หรือการเข้าใช้งานระบบเว็บไซต์ของธนาคารผ่านคุกกี้ (Cookies)
1.2 เก็บรวบรวมจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่จากท่านโดยตรง เช่น การสืบค้นข้อมูลส่วนบุคคลผ่านระบบเว็บไซต์ หรือการสอบถามจากบุคคลที่สามโดยธนาคารจะแจ้งให้ท่านทราบโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ธนาคาร
1.3 เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลจากแหล่งดังกล่าวรวมถึงจะดำเนินการขอความยินยอมในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวจากท่าน เว้นแต่กรณีที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องขอความยินยอมหรือแจ้งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กฎหมายกำหนด
—————————————————————————————————————————————————————-
[1] “ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ และข้อมูลนิติบุคคล
[2] “การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
2. วัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
ธนาคารจะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเท่าที่จำเป็นตามวัตถุประสงค์ เช่น
2.1 การเข้าทำและ/หรือการปฏิบัติตามสัญญา รวมถึงการปฏิบัติตามเงื่อนไขการให้บริการของธนาคาร
2.2 การให้บริการหรือการดูแลลูกค้าตามสัญญา
2.3 การบริหารจัดการความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารกับลูกค้าในด้านการบัญชี และ/หรือการซื้อขายผลิตภัณฑ์ หรือใช้บริการของธนาคาร รวมถึงการวิเคราะห์ทางสถิติที่ใช้เพื่อบริหารจัดการความสัมพันธ์ของธนาคารกับลูกค้า
2.4 การจัดการ การวิเคราะห์และการอนุมัติให้สินเชื่อ รวมถึงการพิจารณาถึงความเสี่ยงในกรณีดังกล่าว
2.5 การดำเนินกระบวนการอันเกี่ยวกับข้อพิพาท การเรียกคืน หรือโอนซึ่งหนี้ และการจัดการการชำระเงินตามปกติของธุรกิจ
2.6 การบันทึกข้อมูลการสนทนาและการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า โดยไม่คำนึงถึงสื่อที่ใช้ (เช่น อีเมล โทรสารการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ หรืออื่น ๆ) เพื่อการพัฒนาการจัดการการด้านการสื่อสารซึ่งเป็นไปตามกฎ และระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับตลาดการเงินและความมั่นคงปลอดภัยสำหรับธุรกรรมต่าง ๆ
2.7 การแก้ไขปัญหาการใช้งานระบบในกรณีที่ต้องใช้ข้อมูลจริงในการตรวจสอบ
2.8 การพิสูจน์และยืนยันตัวตนของลูกค้า หรือผู้ใช้บริการ หรือผู้ให้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจ (Business Facilitator) หรือคู่ค้า หรือพันธมิตรทางธุรกิจของธนาคาร หรือผู้เข้ามาติดต่อขอเข้าพื้นที่ทำการของธนาคาร
2.9 การถ่ายภาพหรือบันทึกภาพเคลื่อนไหวในเหตุการณ์ต่าง ๆ ของบุคคลที่เข้ามาในพื้นที่ของธนาคารเพื่อความปลอดภัยและป้องกันทรัพย์สินของธนาคาร รวมถึงเพื่อใช้ในการตรวจสอบกรณีเกิดอุบัติเหตุและเหตุการณ์อาชญากรรม
2.10 การปฏิบัติตามกฎหมาย หลักเกณฑ์ และระเบียบข้อบังคับซึ่งธนาคารต้องปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการความเสี่ยงในการดำเนินงานภายในของธนาคาร (อันประกอบไปด้วย กระบวนการตรวจสอบภายใน กระบวนการตรวจสอบการทุจริต ความมั่นคงปลอดภัยของเครือข่ายและธุรกรรมทางคอมพิวเตอร์ และการใช้เครือข่ายการชำระเงินระหว่างประเทศ และการเก็บรักษาตราสารทางการเงิน) การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย การปฏิบัติตามข้อกำหนดของตลาดการเงิน และการปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอากร
2.11 ข้อมูลส่วนบุคคลที่ธนาคารเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย
ประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่ธนาคารเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับขอบเขตของผลิตภัณฑ์ และ/หรือบริการของธนาคาร ดังตัวอย่างต่อไปนี้
(1) รายละเอียดส่วนบุคคล ตัวอย่างเช่น คำนำหน้าชื่อ ชื่อ ชื่อกลาง นามสกุล เพศ วันเดือนปีเกิด อายุ การศึกษา สถานภาพสมรส สัญชาติ เป็นต้น
(2) รายละเอียดการติดต่อ ตัวอย่างเช่น ที่อยู่ติดต่อทางไปรษณีย์ ที่อยู่อิเล็กทรอนิกส์ หมายเลขโทรศัพท์หมายเลขโทรศัพท์มือถือ หมายเลขโทรสาร ชื่อของตัวแทนหรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนในนามของลูกค้า ที่อยู่สำหรับการติดต่อทางธุรกิจ หมายเลขโทรศัพท์สำหรับการติดต่อทางธุรกิจ รายละเอียดการติดต่อของบุคคลอ้างอิง เป็นต้น
(3) รายละเอียดที่ใช้ในการระบุตัวตนและการยืนยันตัวตน ตัวอย่างเช่น ภาพถ่าย ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน เลขประจำตัวประชาชน เลข laser (ด้านหลังบัตรประจำตัวประชาชน) หนังสือเดินทาง หนังสือสำคัญ บัตรประจำตัวคนต่างด้าว ใบอนุญาตขับรถ ลายมือชื่อ หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ทะเบียนบ้าน เป็นต้น
(4) รายละเอียดการทำงาน ตัวอย่างเช่น อาชีพ รายละเอียดเกี่ยวกับนายจ้างและสถานที่ทำงานตำแหน่งงาน เงินเดือน รายได้ และค่าตอบแทน เป็นต้น
(5) รายละเอียดทางการเงินและข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับธนาคาร ตัวอย่างเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และ/หรือบริการของธนาคาร (เช่น ข้อมูลบัญชีเงินฝาก ข้อมูลบัตรเครดิตและบัตรเดบิต ข้อมูลสินเชื่อและหลักประกันข้อมูลการลงทุน) ช่องทางและวิธีการที่ปฏิสัมพันธ์กับธนาคาร สถานะความเป็นลูกค้า ประวัติการชำระเงิน
บันทึกการทำธุรกรรม ข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรม เป็นต้น
(6) ข้อมูลของคู่สมรส ตัวอย่างเช่น คำนำหน้าชื่อ ชื่อ ชื่อกลาง นามสกุล สถานภาพสมรส จำนวนบุคคลที่อยู่ในความดูแล สัญชาติ เลขประจำตัวประชาชน วันเดือนปีเกิด รายได้ เป็นต้น
3. หลักการในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
ธนาคารจะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จำเป็นตามวัตถุประสงค์อันชอบด้วยกฎหมาย โดยธนาคารจะขอความยินยอม โดยชัดแจ้งจากท่านก่อนหรือในขณะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ ธนาคารสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่านได้โดยไม่ต้องขอความยินยอม
3.1 เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการจัดทำเอกสารประวัติศาสตร์หรือจดหมายเหตุ เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือที่เกี่ยวกับการศึกษาวิจัยหรือสถิติ โดยธนาคารจะจัดให้มีมาตรการป้องกันที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของท่าน
3.2 เพื่อป้องกัน หรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล
3.3 เป็นการจำเป็นเพื่อปฏิบัติตามสัญญาซึ่งท่านเป็นคู่สัญญา หรือเพื่อดำเนินการตามคำขอของท่านก่อนเข้าทำสัญญา
3.4 เป็นการจำเป็นเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือปฏิบัติหน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐที่ได้มอบหมายให้แก่ธนาคาร
3.5 เป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของธนาคาร หรือของบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น เว้นแต่ประโยชน์ดังกล่าวมีความสำคัญน้อยกว่าสิทธิขั้นพื้นฐานในข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน
3.6 เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย
ทั้งนี้ การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว[3] ธนาคารจะต้องขอความยินยอมโดยชัดแจ้งจากท่านก่อนหรือในขณะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหวดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของของผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ และคนเสมือนไร้ความสามารถ ธนาคารได้คำนึงถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลดังกล่าวอย่างสูงสุดตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนดโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย
4. การใช้และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
การใช้และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของธนาคารมีวัตถุประสงค์และหลักการดำเนินการที่สอดคล้องตามข้อ 2 และข้อ 3 โดยธนาคารอาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเท่าที่จำเป็นอย่างจำกัดให้แก่หน่วยงานหรือบุคคลภายนอก เช่น[4]
4.1 ผู้ให้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจ (Business Facilitator) โดยครอบคลุมถึงบุคคลที่ธนาคารทำสัญญาว่าจ้าง มอบหมาย หรือแต่งตั้งเพื่อดำเนินการแทนทั้งหมด หรือบางส่วนในงานที่ปกติธนาคารต้องดำเนินการเองและหมายความรวมถึงผู้รับจ้างช่วงงานต่อ (Subcontract) และบุคคลอื่นที่ให้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงการให้บริการงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การให้คำปรึกษาทางธุรกิจ การทวงถามหนี้ การจัดพิมพ์เอกสาร การผลิตบัตรอิเล็กทรอนิกส์ และการจัดส่ง
4.2 คู่ค้า คู่ความร่วมมือ และพันธมิตรทางธุรกิจของธนาคาร
4.3 หน่วยงานซึ่งดำเนินงานด้านข้อมูลเครดิต
4.4 หน่วยงานของรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เช่น สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานประกันสังคม กรมสรรพากร กรมบังคับคดี ศาล
5. การเก็บรวบรวม และใช้ข้อมูลส่วนบุคคลตามวัตถุประสงค์เดิม
ธนาคารมีสิทธิในการเก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามที่ธนาคารได้เก็บรวบรวมไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ต่อไปได้ตามวัตถุประสงค์เดิม ทั้งนี้ ท่านสามารถขอเพิกถอนความยินยอมในการเก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามวัตถุประสงค์เดิมเมื่อใดก็ได้
6. ระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล
ธนาคารจะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามระยะเวลาดังต่อไปนี้
6.1 ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเกี่ยวกับการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลไว้โดยเฉพาะ เช่น พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ประมวลรัษฎากร
6.2 ในกรณีที่กฎหมายไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลไว้โดยเฉพาะ ธนาคารจะกำหนดระยะเวลาในการจัดเก็บตามความจำเป็นที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานของธนาคาร เมื่อพ้นระยะเวลาการเก็บรักษาดังกล่าว ธนาคารจะดำเนินการลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้
7. สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ท่านมีสิทธิดังต่อไปนี้
7.1 สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (Right to Access) ท่านมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านโดยสามารถแจ้งให้ธนาคารทำสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว รวมถึงมีสิทธิให้ธนาคารเปิดเผยการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านไม่ได้ให้ความยินยอม
7.2 สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง (Right to Rectification) ท่านมีสิทธิในการขอให้ธนาคารแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นปัจจุบัน ข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด หรือเพิ่มเติมข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์
7.3 สิทธิในการให้โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคล (Right to Data Portability) ท่านมีสิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับท่านจากธนาคาร ขอให้ธนาคารส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นและขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่ธนาคารส่งหรือโอนไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่น
7.4 สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม (Right to Withdraw Consent) ท่านมีสิทธิในการเพิกถอนความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านได้ให้ความยินยอมกับธนาคารได้ตลอดระยะเวลา อย่างไรก็ดี การเพิกถอนความยินยอมจะไม่ส่งผลกระทบต่อการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านได้ให้ความยินยอมไปแล้วโดยชอบด้วยกฎหมาย
7.5 สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Right to Object) ท่านมีสิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีที่ธนาคารประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของธนาคารหรือของบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น เพื่อปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือใช้อำนาจรัฐของธนาคารเพื่อวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการตลาดแบบตรง หรือเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือสถิติ
7.6 สิทธิในการระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (Right to Restriction of Processing) ท่านมีสิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลได้ในระหว่างรอการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ได้ร้องขอให้แก้ไขข้อมูลดังกล่าวให้ถูกต้อง หรือขอให้ระงับการใช้ แทนการลบข้อมูลส่วนบุคคล หรือในระหว่างการพิสูจน์ของธนาคารเพื่อปฏิเสธการใช้สิทธิคัดค้านของท่าน
7.7 สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล (Right to Erasure) ท่านมีสิทธิขอให้ธนาคารลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หากพบว่าไม่มีความจำเป็นที่จะเก็บรักษาไว้ตามวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลหรือในกรณีที่ท่านถอนความยินยอมแล้วและธนาคารไม่มีอำนาจที่จะประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลนั้นต่อไป หรือในกรณีที่ท่านได้ใช้สิทธิคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลและธนาคารไม่สามารถอ้างเหตุปฏิเสธการคัดค้านได้ หรือในกรณีที่การประมวลข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในกรณีที่ท่านประสงค์จะใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้น หรือถอนความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่ได้เคยให้ไว้ กับธนาคาร ท่านสามารถติดต่อขอรับแบบคำขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ที่ธนาคารทุกสาขา หรือดาวน์โหลดเอกสารดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์ของธนาคาร
อย่างไรก็ดี ธนาคารอาจปฏิเสธการใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้นของท่านได้ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย ทั้งนี้ ในกรณีที่ธนาคารปฏิเสธการใช้สิทธิ ธนาคารจะแจ้งเหตุผลของการปฏิเสธให้ท่านทราบ
การใช้สิทธิต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้น หากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นผู้เยาว์ที่มีอายุไม่เกิน 10 ปี หรือเป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ การใช้สิทธิดังกล่าวจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อำนาจปกครองผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ ที่มีอำนาจกระทำการแทนผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถแล้วแต่กรณี
8. การใช้คุกกี้ (Cookies)
คุกกี้ คือ ไฟล์คอมพิวเตอร์เล็ก ๆ ที่จะทำการเก็บข้อมูลชั่วคราวที่จำเป็นลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้บริการ เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร มีผลในขณะที่เข้าใช้งานระบบเว็บไซต์เท่านั้น คุกกี้จะหมดอายุหรือสิ้นผล เมื่อสิ้นสุดการใช้งานระบบเว็บไซต์หรือการเชื่อมโยงข้อมูลของธนาคาร หรือจนกว่าผู้ใช้บริการจะทำการลบคุกกี้นั้นเสีย หรือกระทำการที่ไม่อนุญาตให้คุกกี้นั้นทำงานอีกต่อไป
ธนาคารใช้คุกกี้ (Cookies) เช่น คุกกี้ที่จำเป็น (Strictly Necessary Cookies) คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ (Analytic Cookies) คุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน (Functional Cookies) คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies) เพื่อช่วยให้ธนาคารเก็บข้อมูล เช่น ชนิดของเบราว์เซอร์ เวลาที่ใช้บริการออนไลน์ หน้าที่เข้าชม URL ที่อ้างอิง การตั้งค่าภาษาและข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์อื่น ๆ โดยมีวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัย เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อการแสดงผลข้อมูลที่มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลทางสถิติ และเพื่อพัฒนาประสบการณ์การเข้าชมเว็บไซต์และแอปพลิเคชันให้ตรงตามความต้องการของท่านขณะที่ใช้บริการออนไลน์ นอกจากนี้ คุกกี้เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ธนาคารสามารถเลือกการโฆษณาหรือข้อเสนอที่ท่านน่าจะสนใจมากที่สุด เพื่อแสดงในขณะที่ท่านใช้บริการออนไลน์หรือ เพื่อส่งอีเมลทางการตลาด และบริษัทยังใช้คุกกี้เพื่อติดตามการตอบสนองต่อโฆษณาออนไลน์และอีเมลทางการตลาด
8.1 การจัดการคุกกี้
ท่านสามารถเลือกตั้งค่าคุกกี้แต่ละประเภท ยกเว้นคุกกี้ที่จำเป็น (Strictly Necessary Cookies) ได้ โดย “การตั้งค่าคุกกี้” หรือ การตั้งค่าในเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) เช่น ห้ามการติดตั้งคุกกี้ลงบนอุปกรณ์ของท่าน ทั้งนี้ การปิดการใช้งานคุกกี้อาจส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้เว็บไซต์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8.2 ระยะเวลาจัดเก็บคุกกี้
(1) คุกกี้แบบช่วงเวลา (Session Cookies) จะถูกลบโดยอัตโนมัติเมื่อคุณปิดเบราว์เซอร์
(2) คุกกี้ถาวร (Persistent Cookies) จะยังคงอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้บริการจนกระทั่งหมดอายุ
หรือถูกลบทิ้ง Persistent cookies สามารถเก็บข้อมูลความสนใจของผู้ใช้บริการทำให้การเข้าใช้เว็บไซต์ครั้งต่อๆ ไปของผู้ใช้บริการง่ายและใกล้เคียงกับความสนใจของผู้ใช้บริการมากขึ้น
9. การรักษาความปลอดภัยสำหรับข้อมูลส่วนบุคคล
ธนาคารได้จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญหาย การเข้าถึง การใช้ การเปลี่ยนแปลง การแก้ไข หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่มีอำนาจหรือโดยขัดต่อกฎหมาย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย และวิธีปฏิบัติด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศของธนาคาร
ในกรณีที่ธนาคารให้หน่วยงานหรือบุคคลภายนอกดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลแทนธนาคาร ธนาคารจะกำหนดให้หน่วยงานหรือบุคคลภายนอกดังกล่าวเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลไว้เป็นความลับ และรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว รวมถึงป้องกันมิให้นำข้อมูลส่วนบุคคลไปเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยเพื่อการอื่นใด โดยไม่มีอำนาจ หรือโดยขัดต่อกฎหมาย
10. ช่องทางการติดต่อ
10.1 ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล : ธนาคารออมสิน (Government Savings Bank)
สถานที่ติดต่อ : เลขที่ 470 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ : 02-299-8000 หรือ Call Center 1115
เว็บไซต์ : http://www.gsb.or.th/about-us/contact/contact-us.aspx
ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของธนาคารได้ที่ “นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Policy) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562” ในเว็บไซต์ของธนาคาร http://www.gsb.or.th
ทั้งนี้ ในกรณีที่ท่านมีข้อสงสัยประการใดเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของธนาคาร ท่านสามารถติดต่อมายังเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของธนาคาร ตามรายละเอียดด้านล่าง
10.2 รายละเอียดเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer: DPO) ของธนาคารออมสิน
ชื่อ : ส่วนคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ฝ่ายกำกับการปฏิบัติงาน
สถานที่ติดต่อ : ธนาคารออมสิน (Government Savings Bank) เลขที่ 470 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
อีเมล : DPO@gsb.or.th
10.3 รายละเอียดหน่วยงานกำกับดูแล : สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ในกรณีที่ธนาคารออมสินหรือพนักงานหรือลูกจ้างของธนาคารออมสินมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถร้องเรียนต่อหน่วยงานกำกับดูแล ตามรายละเอียดดังนี้
ชื่อ : สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สถานที่ติดต่อ : ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคารรัฐประศาสนภักดี ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
โทรศัพท์ : 0 2142 1033
อีเมล : pdpc@mdes.go.th
11. การเปลี่ยนแปลงประกาศการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Notice) ของธนาคารออมสิน
ธนาคารอาจเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติมประกาศการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Notice) ฉบับนี้ เป็นครั้งคราว โดยธนาคารจะประกาศไว้ที่เว็บไซต์ของธนาคาร https://www.gsb.or.th/other/privacy-notice และช่องทางอื่น ๆ ของธนาคาร
[ปรับปรุงแก้ไขล่าสุด ฉบับเดือนธันวาคม 2566]
[1] “ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ และข้อมูลนิติบุคคล
[2] “การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
[3] ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว” หมายความว่า ข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นเรื่องส่วนตัวโดยแท้ของบุคคล แต่มีความละเอียดอ่อน และสุ่มเสี่ยงต่อการถูกใช้ในการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม ได้แก่ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ หรือข้อมูลอื่นใดซึ่งกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกัน ตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด
[4] ท่านสามารถตรวจสอบรายชื่อกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคาร / พันธมิตรทางธุรกิจของธนาคาร / บุคคลหรือหน่วยงานที่ธนาคารมอบหมายได้ที่ https://www.gsb.or.th