โครงการ ข่าวสารและกิจกรรม

โครงการเคียงข้างพี่น้องประชาชนฝ่าวิกฤตโควิด-19

จากบทบาทการเป็น “ธนาคารเพื่อสังคม” Social Bank ด้วยการดูแลผู้มีรายได้น้อย ผู้ประกอบการรายย่อย และองค์กรชุมชน ซึ่งธนาคารตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG คือ มีความรับผิดชอบ ต่อสังคมสิ่งแวดล้อม และมีธรรมภิบาล เพื่อที่จะก้าวไปสู่การเป็นธนาคารที่ยั่งยืน มีส่วนช่วยสังคมในการลดปัญหาความยากจน และลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

โครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ

ธนาคารภูมิปัญญา

ธนาคารออมสิน มีนโยบายการพัฒนาสู่ความยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ที่มองการพัฒนาเป็นมิติ (Dimensions) ของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้มีความเชื่อมโยงกัน ตามแนวทางการพัฒนาขององค์การสหประชาชาติ พร้อมน้อมนำหลักคำสอนของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรมาเป็นแรงบันดาลใจให้ทุกภาคส่วนของสังคมไทย ตระหนักและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระราชกรณียกิจการพัฒนาและสร้างสังคมไทยสู่ความยั่งยืน ธนาคารจึงได้จัดทำ “โครงการธนาคารภูมิปัญญา” เพื่อเก็บรักษาอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสานพัฒนา ต่อยอดภูมิปัญญาสู่สากล ซึ่งต้องอาศัยความคิด ความรู้สึก และความพยายามสูง เพราะคุณค่าของภูมิปัญญาสามารถสร้างแรงบันดาลใจ สร้างองค์ความรู้ และสร้างผลิตภัณฑ์ได้มากมายหลากหลาย ยิ่งทั้งหมดถูกผสานเข้ากับวิถีชีวิตได้อย่างกลมกลืนแล้ว ก็จะนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุง การต่อยอดสร้างอาชีพ สร้างงาน และสร้างรายได้ อีกทั้งกระตุ้นให้คนไทยกลับถิ่นฐานรักบ้านเกิด นำความรู้ความสามารถ กลับไปสร้างสรรค์พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น

โครงการออมสินสร้างบ้านปลา รักษาทะเลไทย

เป็นอีกหนึ่งในโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ธนาคารสนับสนุนการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งทะเล ตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปัจจุบัน (ปี 2564) โครงการดังกล่าวมีเป้าหมายสำคัญ เพื่อดำรงอาชีพประมงพื้นบ้าน ด้วยการสนับสนุนการวาง ปะการังเทียม ทั้งแบบซั้งมะพร้าว และแบบแท่งคอนกรีต ขนาด 1.5 x 1.5 x 1.5 เมตร เพื่อช่วยฟื้นฟู และอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ อีกทั้งยังเป็นการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม บริเวณชายฝั่งทะเลไทยให้มีความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย และเป็นแหล่งหลบภัยของสัตว์ทะเล รวมไปถึงเป็นช่วยป้องกันการเข้ามาของเรืออวนรุน อวนลาก ที่เข้ามาทำลายที่อยู่ของสัตว์ทะเล และแหล่งประมงพื้นบ้าน

กิจกรรมฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : การจัดการน้ำ

ธนาคารออมสินได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการบริหารจัดการ ดูแล ฟื้นฟู และพัฒนาทรัพยากรน้ำ ซึ่งถือเป็นสมบัติสาธารณะของชาติ ให้คงอยู่ และมีใช้อย่างยืนยาว จึงได้ดำเนิน “กิจกรรมฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม : การจัดการน้ำ” มาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 4 ปี ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน
Skip to content