ปก

โครงการออมสินสร้างบ้านปลา รักษาทะเลไทย

เป็นอีกหนึ่งในโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ธนาคารสนับสนุนการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งทะเล ตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปัจจุบัน (ปี 2564) โครงการดังกล่าวมีเป้าหมายสำคัญ เพื่อดำรงอาชีพประมงพื้นบ้าน ด้วยการสนับสนุนการวาง ปะการังเทียม ทั้งแบบซั้งมะพร้าว และแบบแท่งคอนกรีต ขนาด 1.5 x 1.5 x 1.5 เมตร เพื่อช่วยฟื้นฟู และอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ อีกทั้งยังเป็นการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม บริเวณชายฝั่งทะเลไทยให้มีความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย และเป็นแหล่งหลบภัยของสัตว์ทะเล รวมไปถึงเป็นช่วยป้องกันการเข้ามาของเรืออวนรุน อวนลากที่เข้ามาทำลายที่อยู่ของสัตว์ทะเล และแหล่งประมงพื้นบ้าน โดยสามารถแบ่งการสนับสนุนโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมตามลักษณะสภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่ ได้ดังนี้

Sub Environment1 1
Sub Environment2 1
Sub Environment3 1

วัตถุประสงค์ของโครงการธนาคารปูม้าจัดตั้งขึ้นมาก็เพื่อที่จะสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรปูม้าให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นอีกครั้ง โดยเริ่มจากอาสาสมัครกลุ่มที่มีความพร้อมเข้าร่วมโครงการ
ร่วมกันเสียสละแม่ปูไข่นอกกระดองมาพักไว้ในกระชัง รอให้แม่ปูเขี่ยไข่แล้วจึงนำแม่ปูไปขายและนำไข่ปูเหล่านั้นไปปล่อยสู่ท้องทะเล เพื่อให้ลูกปูเติบโตขึ้นมาทดแทนปูที่ถูกจับไป จากวิกฤติสู่ระบบการผลิตที่ยั่งยืน
เพื่อความอยู่ดีมีสุขของชุมชน และชาวประมงทุกคนตลอดไป ซึ่งธนาคารออมสินสนับสนุนใน 2 รูปแบบ คือการทำโรงเรือนเพราะฟัก กับการทำกระชังในทะเล โดยแม่ปูม้าไข่นอกกระดอง 1 ตัว ถ้าได้รับการอนุรักษ์ที่ถูกต้องจะสามารถสร้างปูม้าคืนให้กับท้องทะเลได้อย่างน้อย 800 ตัว

โดยได้ดำเนินการในพื้นที่ 14 จังหวัด ฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามัน จำนวน 106 ชุมชน ดังนี้

2accore

การปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น เป็นการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะหาดเลน โดยจะปักเป็นแนวห่างจากชายฝั่งไม่เกิน 50 เมตร เพื่อชะลอความรุนแรงของคลื่นและเปิดโอกาสให้เกิดการตกตะกอน จนสามารถ ปลูกป่าชายเลนตามลงไปได้ รวมถึงสามารถเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงหอยแมลงภู่ ได้อีกด้วย ณ บ้านปากคลองประมง ต.พันท้ายนรสิงห์ อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร

3 1accore
3 2accore

1. บ้านปลา

4 1accore

2. โครงการธนาคารปูม้าออมสิน 99 ปี 99 ชุมชน

4 2accore

หมายเหตุ :
a = (รายได้ครัวเรือน + ส่วนลดต้นทุนน้ำมัน + ส่วนลดต้นทุนค่าอุปกรณ์ประมง + ภาวะหนี้ในครัวเรือน + รายได้ครัวเรือนของกลุ่มที่ไม่ใช่สมาชิกธนาคารปูม้า)
b = (งบประมาณที่ 1 ชุมชนได้รับจากธนาคารออมสิน จำนวนเงิน 30,000 บาท x จำนวนชุมชนที่เป็นตัวอย่างของการสำรวจ)
c = a + b
d = c / b

ธนาคารได้มีการประเมินมูลค่าทางสังคม (Social Return On Investment : SROI ) พบว่าโครงการธนาคารปูม้า ก่อให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงบวก คือ ระบบนิเวศชายฝั่งทะเลมีความอุดมสมบูรณ์ มีผลผลิตจากปูม้าในทะเลเพิ่มขึ้น ส่งผลให้แต่ละครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น ลดต้นทุนในการทำประมง ขณะเดียวกันมีรายจ่ายลดลงจากประหยัดน้ำมันจากการลดระยะทางจากการออกเรือ กล่าวโดยสรุปว่า มูลค่าที่เกิดประโยชน์สุทธิต่อสังคมจากการมีธนาคารปูม้า อยู่ที่ 54,513,270 บาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทนทางสังคมที่เกิดขึ้น 72.68 บาทต่อการลงทุน 1 บาท

3. ปะการังเทียมในแบบไม้ไผ่ชะลอคลื่น

4 3accore
แชร์เนื้อหา :
Skip to content