6 เรื่องเงินเฟ้อต้องรู้ก่อนวิกฤติ

Shutterstock 2057838890

สถานการณ์เงินเฟ้อนับเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเมื่อหลายประเทศทั่วโลกต่างเผชิญกับแรงกดดันในการฟื้นตัวกลับมาลุกยืนได้อีกครั้ง เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อในประเทศไทยย่อมส่งผลกระทบโดยตรงกับปากท้องคนไทยกับต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น ชวนมาทำความเข้าใจกับภาวะเงินเฟ้อ พร้อมตระหนักในปัญหาข้าวยากหมากแพงแต่ไม่ตระหนกเพื่อให้พร้อมต่อการรับมืออย่างมีสติและผ่านพ้นวิกฤติไปได้ด้วยดี

รู้อย่างไรว่าเรากำลังเจอกับภาวะเงินเฟ้อ

เมื่อต้องเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อ แต่ละภาคส่วนในประเทศสามารถรับรู้ได้ผ่านอำนาจเม็ดเงินที่เปลี่ยนแปลงไปแตกต่างกันคือ

  • ภาวะเงินเฟ้อในระดับประชาชน มีผลให้อำนาจการซื้อของประชาชนที่น้อยลง แสดงให้เห็นผ่านราคาสิ่งของและค่าครองชีพที่สูงขึ้น เงินเท่าเดิมซื้อของได้น้อยลง รายได้ที่มีไม่เพียงพอต่อรายจ่าย
  • ภาวะเงินเฟ้อในระดับผู้ประกอบการ มีผลให้ต้นทุนการผลิตมีราคาสูงขึ้นในขณะที่ยอดขายลดน้อยลง แสดงให้เห็นผ่านการชะลอการผลิต การปิดสาขาหรือยกเลิกบางประเภทสินค้าเพื่อลดต้นทุน ไปจนถึงการเลย์ออฟพนักงานเพื่อให้บริษัทยังไปต่อได้ ส่งผลให้คนตกงานมากขึ้น
  • ภาวะเงินเฟ้อในระดับประเทศ มีผลโดยตรงต่อศักยภาพการผลิตของประเทศในระยะยาวที่ชะลงลงเนื่องจากกำลังซื้อของประชาชนที่ลดลงและการซบเซาของภาคธุรกิจที่ขายไม่ออก ทำให้การลงทุนเพื่อผลิตสินค้าชะงัก

รูปแบบของเงินเฟ้อมีอะไรบ้าง

เงินเฟ้อคือภาวะที่ราคาสินค้าที่เคยใช้จ่ายในชีวิตประจำวันขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นได้ 2 รูปแบบคือ ความต้องการซื้อสินค้าและบริการของประชาชนที่เพิ่มขึ้นแต่ผลการผลิตไม่เพียงพอทำให้ราคาจำต้องปรับสูงขึ้น (Demand-Pull Inflation) และ ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นจนผู้ผลิตไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนได้จึงต้องปรับราคาผลผลิตให้สูงขึ้น (Cost-Push Inflation) ซึ่งส่งผลต่อรายจ่ายของประชาชนที่จำเป็นต้องรับภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้น รายได้เดิมไม่เพียงพอต่อการยังชีพเพราะนำมาใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการได้น้อยลง จึงเป็นหนาที่ของธนาคารกลางในการดูแลอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำและไม่ผันผวน (Low – Stable Inflation) เพื่อให้เศรษฐกิจยังเติบโตได้

 ใครอาจต้องเผชิญกับผลกระทบหนักหนาที่สุด

เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อ ประชาชนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักหนาที่สุดคือกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้น้อยเพราะได้รับผลกระทบหลายทาง อย่างแรกเลยคือการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มครัวเรือนรายได้น้อยที่มีค่าใช้จ่ายอยู่ในหมวดนี้ถึง 45% จึงต้องแบกรับกับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น โดยกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อยนี้ทำงานในธุรกิจที่มีความเปราะบางเป็นทุนเดิม เช่น ภาคบริการ การท่องเที่ยว หรือ อาชีพอิสระซึ่งมีรายได้ที่ไม่แน่นอน ท้ายที่สุดคือ ภาระหนี้สินที่ค่อนข้างสูง ส่งผลให้รายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่พุ่งสูงขึ้นทวีคูณกับหนี้สินที่มีอยู่แล้วทำให้ครัวเรือนรายได้น้อยต้องรับมือกับปัญหาเงินเฟ้ออย่างรอบทิศทาง

กลุ่มสินค้าใดบ้างที่มีราคาพุ่งแรง

เมื่อราคาพลังงานโลกมีราคาขึ้นสูงอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยด้านอุปทานที่มากกว่าอุปสงค์ส่งผลสถานการณ์เงินเฟ้อโดยตรงด้วยต้นทุนราคาวัตถุดิบอย่างก๊าซธรรมชาติเป็นแหล่งเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าและก๊าซหุงต้ม สินค้ากลุ่มโลหะ กลุ่มเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมีที่ยังคงมีราคาสูงขึ้นจากปัจจัยต่างประเทศ ในขณะเดียวกันปัจจัยด้านอุปทานในประเทศอันเป็นผลจากอุทกภัยและโรคระบาดก็ส่งผลให้อาหารสดอย่างผักสดและเนื้อหมูมีราคาที่สูงขึ้น

ควรปรับตัวอย่างไรให้อยู่รอดในวิกฤติของแพง

สิ่งที่ผู้คนธรรมดาสัมผัสได้จากภาวะเงินเฟ้อคือค่าครองชีพที่สูงขึ้นเมื่อสินค้าเดิมที่เคยใช้จ่ายมีราคาที่สูงขึ้น ซึ่งภาวะเงินเฟ้อเกิดจากอุปสงค์และอุปทานที่ไม่สมดุลกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องรับมือกับแรงกดดันทั้งฝั่งบริโภคและฝั่งผลิต สิ่งที่ประชาชนทั่วไปพอจะรับมือได้คือการลำดับความสำคัญทางการเงินเพื่อรักษาสมดุล เช่น

  • ตั้งงบประมาณไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ทุกการใช้จ่ายอยู่ในระดับที่ควบคุมได้และอยู่ในสายตาเสมอเพื่อป้องกันรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
  • จ่ายหนี้ระยะสั้นที่ค้างไว้ เช่น หนี้บัตรเครดิต สินเชื่อกู้ยืม คือสิ่งสำคัญที่ควรจัดการรองลงมาจากค่าครองชีพ
  • สำรองเงินฉุกเฉินก่อนจะลงทุน แม้ราคาที่ตกลงจะล่อตาล่อใจแต่เราควรแน่ใจก่อนว่าเรามีเงินสำรองไว้สำหรับกรณีฉุกเฉินเพื่อในยามคับขันที่จำเป็นต้องใช้
  • ศึกษาตลาดตราสารหนี้ เมื่อแน่ใจแล้วว่าเราปลอดภัยดี ชีวิตปลอดหนี้และมีเงินเก็บสำรอง ตราสารหนี้เป็นอีกวิธีลงทุนที่ความเสี่ยงต่ำแต่ให้ผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอ

การคำนวณอัตราผลตอบแทนสำคัญอย่างไรในยุคเงินเฟ้อ

เพื่อตระหนักแต่ไม่ตระหนกในสถานการณ์ทางการเงินของเราเองเมื่ออยู่ในยุคข้าวของแพงและมีรายจ่ายที่สูงขึ้นอย่างชัดเจน การรับรู้ถึงอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้เราสามารถวางแผนการเงินได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นซึ่งทำได้โดยการนำอัตราผลตอบแทนหักด้วยผลของเงินเฟ้อ

อัตราผลตอบแทนที่แท้จริง = อัตราผลตอบแทนที่ได้รับ – อัตราเงินเฟ้อ

เช่น หากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 0.25% ต่อปี แต่ ปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 2.6% จะทำให้อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงอยู่ที่ -2.35% ซึ่งหากพบว่าอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงจากการออมเงินของเราอยู่ในระดับติดลบ ทางออกของสถานการณ์เงินเฟ้อจนเงินไม่พอใช้คือการหาข้อมูลเพิ่มเติมว่าผลตอบแทนทางการเงินรูปแบบอื่นเช่น เงินฝากประจำแบบปลอดภาษี พันธบัตร หุ้นกู้ หรือ หุ้นกองทุนรวม ว่าเป็นอย่างไร มีอัตราผลตอบแทนสูงกว่าเงินเฟ้อหรือไม่เพื่อให้เราสามารถลงทุนได้อย่างรอบคอบ

 

ที่มาข้อมูล รายงานนโยบายการเงิน กันยายน 2565

แชร์

บทความที่เกี่ยวข้อง

5tips

5 Tips ออมเงินฉบับชาวฟรีแลนซ์

ฟรีแลนซ์ … อาชีพอิสระที่ส่วนใหญ่มีรายได้ไม่แน่นอน จึงต้องมีวินัยในตัวเองมากๆ ในการหางาน หาเงิน และวางแผนการใช้จ่ายเงิน เพื่อจะได้มีกินมีใช้ไปตลอดชีวิต

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
เหตุฉุกเฉิน

เหตุฉุกเฉิน เกิดขึ้นได้เสมอ

การมีเงินสำรองติดไว้บ้าง จึงสำคัญมาก ซัก 3-6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือนกันเหนียว เวลาเกิดเรื่องอะไรที่ไม่คิดฝันมาก่อน จะได้ไม่ต้องปาดเหงื่อ

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
เป็นหนี้ก่อนรวย หรือรวยก่อนเป็นหนี้ 1040x563

เป็นหนี้ก่อนรวย หรือรวยก่อนเป็นหนี้

เลือกทางเดินที่ใช่สำหรับคุณตั้งแต่วันนี้! และถ้าคุณพลาดไปแล้ว เริ่มต้นแก้ไขตอนนี้ก็ยังไม่สาย! แล้วคุณล่ะ? เคยเจอปัญหาทางการเงินแบบนี้ไหม

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
ดอกโหด ทวงโหด 1040x563

ดอกโหด-ทวงโหด : ความจริงที่ลูกหนี้นอกระบบต้องเผชิญ เมื่อเงินด่วน…กลายเป็นฝันร้าย

เงินกู้นอกระบบอาจช่วยคุณในระยะสั้น แต่สิ่งที่ตามมาคือ ดอกโหด ทวงโหด และชีวิตที่ไม่มีความสุข ทางที่ดีที่สุดคือ หลีกเลี่ยงตั้งแต่แรก! แต่ถ้าคุณตกอยู่ในวังวนนี้แล้ว อย่าท้อใจ! ยังมีทางออกเสมอ ขอเพียงเริ่มต้นจัดการให้เร็วที่สุด!

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
เงินกู้นอกระบบ ทางลัดหรือกับดัก 1040x563

เงินกู้นอกระบบ… ทางลัดหรือกับดักชีวิต?

หากคุณหรือคนใกล้ตัวกำลังประสบปัญหาการเงิน อย่าปล่อยให้ความเดือดร้อนทำให้ต้องเลือกเส้นทางที่อันตราย หาทางออกที่ถูกต้องและยั่งยืน เพื่อให้ชีวิตของคุณก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
มีหนี้ติดตัวก่อนเกษียณ 1040x563

มีหนี้ติดตัวก่อนเกษียณ รีบจัดการก่อนสายเกินไป!

เตรียมตัวให้ดี ชีวิตหลังเกษียณก็สบาย ไม่มีใครอยากใช้ชีวิตหลังเกษียณไปกับความเครียดทางการเงิน แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องวางแผนล่วงหน้า และลงมือทำตั้งแต่วันนี้ ยิ่งเริ่มเร็วเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุขมากขึ้นเท่านั้น

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
เพิ่งเริ่มทำงาน ทำไมเป็นหนี้ 1040x563

เพิ่งเริ่มทำงาน ทำไมเป็นหนี้มากมาย ทำอย่างไรดี ?

การเป็นหนี้หลังเริ่มทำงานไม่ใช่เรื่องแปลก แต่สิ่งสำคัญคือการรู้จักจัดการให้เหมาะสม หากคุณเริ่มบริหารเงินตั้งแต่วันนี้ หนี้ที่เคยเป็นภาระหนักก็จะค่อยๆ ลดลง และคุณจะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมั่นคงมากขึ้น ลองนำเทคนิคเหล่านี้ไปปรับใช้ แล้วคุณจะพบว่าการเงินของคุณดีขึ้นอย่างแน่นอน!

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
ปัญหาหนี้แก้ได้ 1040x563 1

ปัญหาหนี้แก้ได้! กลับมาแก้ไขไปด้วยกัน

การกลับมาแก้ไขหนี้ที่ค้างมานาน อาจจะดูน่ากลัวในตอนแรก แต่ถ้าคุณกล้าเผชิญหน้า และค่อย ๆ เดินไปทีละขั้น หนี้ที่หนักอึ้งก็สามารถจัดการได้ สิ่งสำคัญคือ “อย่าหนีหนี้” แต่ให้เริ่มต้นแก้ไขและหาทางออกให้กับตัวเอง หนี้ไม่ใช่จุดจบของชีวิต แต่เป็นบทเรียนที่เราสามารถแก้ไขได้ ขอแค่เริ่มต้น!

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
หนี้เสีย กับ หนี้ปกติ 1040x563

หนี้เสีย กับ หนี้ปกติ ต่างกันอย่างไร?

หนี้ปกติ (หนี้ดี / หนี้ที่ยังไม่เสีย) คือ เป็นหนี้ที่ยังชำระเงินตามปกติ ไม่เคยผิดนัด หรืออาจมีค้างจ่ายบ้างแต่ยังไม่ถึงขั้น “หนี้เสีย” ตัวอย่างหนี้ปกติ เช่น ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ จ่ายค่างวดตรงเวลา ใช้บัตรเครดิตแล้วจ่ายขั้นต่ำทุกเดือน

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
เป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องแย่ 1040x563 (1)

เป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องแย่ ถ้ารู้วิธีจัดการให้อยู่หมัด!

หนี้เป็นเครื่องมือทางการเงินที่ดีได้ ถ้าคุณเป็นคนควบคุมหนี้ ไม่ใช่ให้หนี้มาควบคุมคุณ! หากต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเงินและสินเชื่อ สามารถติดต่อ ธนาคารออมสิน เพื่อรับคำปรึกษาที่เหมาะสมกับคุณ 

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
เป็นหนี้ หนีหาย ไม่จ่าย 1040x563

เป็นหนี้ เบี้ยวหนี้ หนีหาย ไม่จ่าย… ส่งผลเสียอย่างไรบ้าง?

การเป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องผิด แต่การไม่รับผิดชอบหนี้สินอาจส่งผลเสียต่อชีวิตในระยะยาว ทางออกที่ดีที่สุดคือการรับผิดชอบและจัดการหนี้อย่างมีวินัย เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่ออนาคตของคุณ

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
ปลดหนี้อย่างชาญฉลาด 1040x563

ปลดหนี้อย่างชาญฉลาด! วางแผนการเงินให้ลงตัวเพื่อชีวิตที่มั่นคง

การจัดการการเงินที่ดีช่วยให้คุณสามารถควบคุมชีวิตทางการเงินของตนเองได้ การสร้างวินัยทางการเงิน การวางแผนหนี้สิน และการลงทุนอย่างรอบคอบจะช่วยให้คุณปลดหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างอนาคตที่มั่นคง

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
Skip to content