พักฟื้นหัวใจคนหมดไฟ ให้การเดินทางช่วยเยียวยา

Shutterstock 286532258

ภาวะหมดไฟ ภาวะทางใจที่ข้องเกี่ยวกับความเครียดจากการทำงาน พาลทำให้มนุษย์เงินเดือนทั้งหลายนั้นทั้งเหนื่อยล้า รู้สึกสิ้นหวังไร้ทางออก หลายคนอันเริ่มคุ้นหูกับคำที่ว่ามาตั้งแต่ก่อนโควิด หรือหลายคนก็รู้สึกว่าภาวะนี้อาจกำลังเกิดขึ้นกับตัวเอง ทางออกของภาวะหมดไฟคืออะไร และการเดินทางท่องเที่ยวจะช่วยเยียวยาหัวใจคนทำงานได้อย่างไร

ภาวะหมดไฟมีจริงหรือไม่ burnout syndrome คืออะไรกันแน่

ปฏิเสธไม่ได้ว่ามนุษย์วัยทำงานทุกคนย่อมต้องเคยพานพบกับความเครียดที่สั่งสมเพิ่มมากขึ้นในแต่ละวัน หนำซ้ำหลายคนอาจกำลังอยู่ในสถานการณ์ที่งานกับชีวิตส่วนตัวแทบจะเป็นเรื่องเดียวกัน ภาวะหมดไฟเป็นภาวะที่เกิดพบเจอกับความเครียดมหาศาลติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จนคนเรารู้สึกเต็มกลั้นเกินกว่าจะสามารถรับมือได้ดังเดิม ท้ายที่สุดก็จะหมดสิ้นแรงกระตุ้นและความสนใจที่ทำสิ่งต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง

สัญญาณเตือนสภาวะหมดไฟ ที่คนทำงานหนักต้องหมั่นถามหัวใจตัวเอง

สัญญาณทางกายว่ากำลัง Burnout

  • รู้สึกเหนื่อยล้าและแห้งเหี่ยวตลอดเวลา
  • ป่วยง่ายกว่าปกติเพราะภูมิคุ้มกันตกลง
  • ปวดหัวหรือปวดตามกล้ามเนื้อบ่อยครั้ง
  • มีนิสัยการกินหรือการนอนหลับที่แตกต่างเปลี่ยนไปจากเดิม

สัญญาณทางอารมณ์ว่ากำลัง Burnout

  • รู้สึกแต่ความผิดหวัง ตั้งคำถามกับตัวเอง
  • รู้สึกพ่ายแพ้ สิ้นหวัง ไร้ทางออก
  • รู้สึกโดดเดี่ยวและแปลกแยกจากสังคม
  • หมดแรงกระตุ้น มองเห็นแต่เรื่องลบๆ
  • แม้ประสบความสำเร็จอะไรก็ไม่รู้สึกพึงพอใจ ไม่ยินดีกับเรื่องดีใดๆ

นอกจากนี้แล้ว การอยู่ในภาวะหมดไฟ อาจทำให้แต่ละมีพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อตัวเองหรือชีวิตประจำวัน เช่น ละเลยหน้าที่ความรับผิดชอบของตัวเอง แยกตัวออกจากคนอื่น ผลัดวันประกันพรุ่ง ใช้เวลานานในการทำงานต่างๆ ให้เสร็จ ความอดทนต่ำลง ฉุนเฉียวง่ายกับเพื่อนร่วมงานหรือลูกค้า หรือระบายความไม่พอใจใส่คนอื่น ใช้อาหาร สิ่งเสพติด หรือแอลกอฮอล์เพื่อให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น แน่นอนว่าสัญญาณเหล่านี้ เป็นการส่งเสียงเตือนให้มนุษย์ผู้โหมงานหนักหาเวลาหยุดพักรักษาใจ และเป็นเรื่องสำคัญที่เมื่อเผชิญกับความรู้สึกแง่ลบที่ถาโถมควรเข้ารับการปรึกษาโดยจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

การเที่ยวไม่เท่ากับหนีปัญหา แต่เป็นการเยียวยาหัวใจ

ไม่ต้องรอจนหัวใจหมดพลังก็ให้รางวัลตัวเองด้วยการไปเที่ยวสักครั้ง เพราะจากการวิจัยพบว่าคนที่ท่องเที่ยวเป็นประจำ (ระยะทางอย่างน้อย 120 กิโลเมตรจากบ้าน) มีความสุขกว่าคนที่ไม่ค่อยได้ออกไปไหนถึง 7% อ้างอิง ดังนั้นแล้วจะรอช้าอยู่ไย เตรียมใช้วันหยุดที่มีปักโลเคชั่นไปเที่ยวที่สวยๆ สักที่ให้ชุ่มฉ่ำหัวใจด้วยข้อดีของการเดินทางที่ส่งผลบวกต่อสุขภาพจิตอย่างมากมาย ได้แก่

รีเซ็ตตัวเองจากความเคร่งเครียด

เปลี่ยนภาพออฟฟิศและสารพัดกองงานที่ต้องเห็นอยู่ทุกวี่วันให้เป็นวิวเที่ยวสวยๆ บ้างเป็นครั้งคราวก็ไม่เสียหาย เพราะร่างกายและจิตใจที่ต้องเผชิญกับความเคร่งเครียดจากการทำงานย่อมมีวันที่เหนื่อยล้าและเมื่อสะสมเป็นระยะเวลานานสามารถบั่นทอนจนเสียสุขภาพจิตได้ การออกไปเปิดหูเปิดตาและบอกลาภาระงานประจำวันชั่วคราว ยังส่งผลให้เรากลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

สร้างความสงบทางจิตใจ

การทำงานทำให้คนเราอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องรับมือและแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ อยู่ตลอดเวลา เรื่องส่วนใหญ่ในของคนทำงานจึงวนเวียนอยู่กับปัญหาที่เพิ่มเข้ามาอย่างต่อเนื่อง นานวันเข้าเราก็เริ่มถอยห่างจากความสงบในจิตใจตัวเอง การลางานและไปเที่ยวที่ไหนสักทีจึงเป็นโอกาสดีให้เราได้กลับมาใส่ใจกับสุขภาพกายและสุขภาพจิตของตัวเอง สร้างความสงบทางจิตใจและปรับโฟกัสกลับมาอยู่ที่ตัวเองอีกครั้ง

เติมพลังสมองและปลุกความคิดสร้างสรรค์

เมื่อต้องจดจ่อกับปัญหาและคอยรับมือกับความเครียดที่เข้ามาตลอดเวลา ไม่ใช่เรื่องแปลกหากสมองคนเราจะรู้สึกล้าจนทำงานได้ไม่เต็มศักยภาพเช่นแต่ก่อน ดังนั้นแล้วการออกเดินทางให้อยู่ห่างจากสภาพแวดล้อมการทำงานคือหนึ่งหนทางผ่อนคลายสมอง เมื่อได้พักผ่อนจน

 

เชื่อมความสัมพันธ์ให้เหนียวแน่น

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อต้องโฟกัสกับการทำงานตั้งแต่เช้ายันเย็นทำให้ความสัมพันธ์กับผู้คนร่วมตัวถอยห่างกว่าเดิม ทั้งเจอหน้ากันน้อยลงและมีเวลาให้พูดคุยกันน้อย การแพลนทริปเที่ยวด้วยกันนานๆ ครั้งจึงเป็นสิ่งที่ช่วยเชื่อมสัมพันธ์ให้กลับมาเหนียวแน่นเพราะได้แบ่งปันช่วงเวลาดีๆ ของการออกเดินทาง มีบทสนทนาและมุมมองใหม่ให้แชร์ต่อกัน

 

แน่นอนว่าในฐานะมนุษย์ที่ไม่ใช่เครื่องจักร การมีสุขภาพจิตที่ดีจึงสัมพันธ์อย่างมากกับประสิทธิภาพการทำงาน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การไปเที่ยวหลายๆ วันก็อาจทำให้ใจหดหู่เมื่อต้องกลับมาทำงานได้ ดังนั้นแล้วต้องไม่ลืมทำความเข้าใจ Post Vacation Depression ทำไมใจหมองหม่นหลังเที่ยว เพื่อให้ทริปเดินทางครั้งนี้สุขสันต์ทั้งขาไปและขากลับ

 

แชร์

บทความที่เกี่ยวข้อง

Thumb ปิดจบเรื่องหนี้

ปิดจบเรื่องหนี้ กับธนาคารออมสิน

ธนาคารออมสินห่วงใย อยากให้คนไทยปิดจบเรื่องหนี้ ติดตามข่าวสารบทความดีๆ ความรู้เรื่องหนี้

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
5tips

5 Tips ออมเงินฉบับชาวฟรีแลนซ์

ฟรีแลนซ์ … อาชีพอิสระที่ส่วนใหญ่มีรายได้ไม่แน่นอน จึงต้องมีวินัยในตัวเองมากๆ ในการหางาน หาเงิน และวางแผนการใช้จ่ายเงิน เพื่อจะได้มีกินมีใช้ไปตลอดชีวิต

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
เหตุฉุกเฉิน

เหตุฉุกเฉิน เกิดขึ้นได้เสมอ

การมีเงินสำรองติดไว้บ้าง จึงสำคัญมาก ซัก 3-6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือนกันเหนียว เวลาเกิดเรื่องอะไรที่ไม่คิดฝันมาก่อน จะได้ไม่ต้องปาดเหงื่อ

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
Thumb

รูปแบบการชำระคืนหนี้ในรูปแบบต่าง ๆ และภาระต้นทุนในการกู้ยืม

สินเชื่อที่ผ่อนชำระเป็นงวด "เลือกผ่อนสั้น สามารถประหยัดดอกเบี้ยได้อีกเยอะ" สินเชื่อที่ผ่อนชำระเป็นงวด (Term Loan) เช่น สินเชื่อบ้าน สินเชื่อบุคคล หากเลือกระยะเวลาในการผ่อนนาน ทำให้เสียดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญาเพิ่มขึ้น   สินเชื่อที่ผ่อนชำระขั้นต่ำ "จ่ายเพิ่มอีกนิด ประหยัดดอกเบี้ยได้อีกเยอะ" สินเชื่อหมุนเวียน (Revolving Loan) เช่น บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หากจ่ายชำระหนี้คืนขั้นต่ำอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้ต้องชำระดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญาสูง และใช้ระยะเวลานานในการชำระคืนหนี้ทั้งหมด   สินเชื่อวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี (overdraft) "จ่ายแค่ดอก ต้นไม่มีวันลด หนี้ไม่มีวันหมดแน่นอน" ควรพิจารณาชำระเพิ่มเติมหากมีรายได้จากแหล่งอื่น หรือมีเงินคงเหลือมากขึ้น เพื่อให้ปิดหนี้ได้เร็วขึ้นและลดภาระดอกเบี้ยในอนาคต
บทความข้อมูลเพิ่มเติม
เป็นหนี้ก่อนรวย หรือรวยก่อนเป็นหนี้ 1040x563

เป็นหนี้ก่อนรวย หรือรวยก่อนเป็นหนี้

เลือกทางเดินที่ใช่สำหรับคุณตั้งแต่วันนี้! และถ้าคุณพลาดไปแล้ว เริ่มต้นแก้ไขตอนนี้ก็ยังไม่สาย! แล้วคุณล่ะ? เคยเจอปัญหาทางการเงินแบบนี้ไหม

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
ดอกโหด ทวงโหด 1040x563

ดอกโหด-ทวงโหด : ความจริงที่ลูกหนี้นอกระบบต้องเผชิญ เมื่อเงินด่วน…กลายเป็นฝันร้าย

เงินกู้นอกระบบอาจช่วยคุณในระยะสั้น แต่สิ่งที่ตามมาคือ ดอกโหด ทวงโหด และชีวิตที่ไม่มีความสุข ทางที่ดีที่สุดคือ หลีกเลี่ยงตั้งแต่แรก! แต่ถ้าคุณตกอยู่ในวังวนนี้แล้ว อย่าท้อใจ! ยังมีทางออกเสมอ ขอเพียงเริ่มต้นจัดการให้เร็วที่สุด!

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
เงินกู้นอกระบบ ทางลัดหรือกับดัก 1040x563

เงินกู้นอกระบบ… ทางลัดหรือกับดักชีวิต?

หากคุณหรือคนใกล้ตัวกำลังประสบปัญหาการเงิน อย่าปล่อยให้ความเดือดร้อนทำให้ต้องเลือกเส้นทางที่อันตราย หาทางออกที่ถูกต้องและยั่งยืน เพื่อให้ชีวิตของคุณก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
มีหนี้ติดตัวก่อนเกษียณ 1040x563

มีหนี้ติดตัวก่อนเกษียณ รีบจัดการก่อนสายเกินไป!

เตรียมตัวให้ดี ชีวิตหลังเกษียณก็สบาย ไม่มีใครอยากใช้ชีวิตหลังเกษียณไปกับความเครียดทางการเงิน แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องวางแผนล่วงหน้า และลงมือทำตั้งแต่วันนี้ ยิ่งเริ่มเร็วเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุขมากขึ้นเท่านั้น

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
เพิ่งเริ่มทำงาน ทำไมเป็นหนี้ 1040x563

เพิ่งเริ่มทำงาน ทำไมเป็นหนี้มากมาย ทำอย่างไรดี ?

การเป็นหนี้หลังเริ่มทำงานไม่ใช่เรื่องแปลก แต่สิ่งสำคัญคือการรู้จักจัดการให้เหมาะสม หากคุณเริ่มบริหารเงินตั้งแต่วันนี้ หนี้ที่เคยเป็นภาระหนักก็จะค่อยๆ ลดลง และคุณจะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมั่นคงมากขึ้น ลองนำเทคนิคเหล่านี้ไปปรับใช้ แล้วคุณจะพบว่าการเงินของคุณดีขึ้นอย่างแน่นอน!

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
ปัญหาหนี้แก้ได้ 1040x563 1

ปัญหาหนี้แก้ได้! กลับมาแก้ไขไปด้วยกัน

การกลับมาแก้ไขหนี้ที่ค้างมานาน อาจจะดูน่ากลัวในตอนแรก แต่ถ้าคุณกล้าเผชิญหน้า และค่อย ๆ เดินไปทีละขั้น หนี้ที่หนักอึ้งก็สามารถจัดการได้ สิ่งสำคัญคือ “อย่าหนีหนี้” แต่ให้เริ่มต้นแก้ไขและหาทางออกให้กับตัวเอง หนี้ไม่ใช่จุดจบของชีวิต แต่เป็นบทเรียนที่เราสามารถแก้ไขได้ ขอแค่เริ่มต้น!

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
หนี้เสีย กับ หนี้ปกติ 1040x563

หนี้เสีย กับ หนี้ปกติ ต่างกันอย่างไร?

หนี้ปกติ (หนี้ดี / หนี้ที่ยังไม่เสีย) คือ เป็นหนี้ที่ยังชำระเงินตามปกติ ไม่เคยผิดนัด หรืออาจมีค้างจ่ายบ้างแต่ยังไม่ถึงขั้น “หนี้เสีย” ตัวอย่างหนี้ปกติ เช่น ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ จ่ายค่างวดตรงเวลา ใช้บัตรเครดิตแล้วจ่ายขั้นต่ำทุกเดือน

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
เป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องแย่ 1040x563 (1)

เป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องแย่ ถ้ารู้วิธีจัดการให้อยู่หมัด!

หนี้เป็นเครื่องมือทางการเงินที่ดีได้ ถ้าคุณเป็นคนควบคุมหนี้ ไม่ใช่ให้หนี้มาควบคุมคุณ! หากต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเงินและสินเชื่อ สามารถติดต่อ ธนาคารออมสิน เพื่อรับคำปรึกษาที่เหมาะสมกับคุณ 

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
Skip to content