ปาร์ตี้อย่างไรให้ร่างไม่พัง เคล็ดลับดูแลสุขภาพสำหรับคนดื่มหนัก

Young,people,dancing,in,night,club

แม้ไม่ใช่คนคอแข็งแต่บรรยากาศครื้นเครงในงานเลี้ยงก็ทำให้ใครหลายคนดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากกว่าปกติได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเพราะสนุกสนานไปกับคนหมู่มาก ผ่อนคลายความเคร่งเครียดจากการทำงาน หรือ กำลังเฉลิมฉลองกับช่วงเวลาแสนสุข แต่การดื่มหนักจนเกินไปในทุกปาร์ตี้ก็ไม่ใช่เรื่องดี เพราะอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว จะรู้ได้อย่างไรว่าเรากำลังดื่มหนักเกินไปหรือเปล่าและควรดูแลสุขภาพอย่างไร

ดื่มหนักเกินไปหรือเปล่า รู้ได้อย่างไร

ต่อให้เป็นน้ำเปล่าที่ดีต่อสุขภาพเองก็ตาม แต่หากดื่มมากเกินไปก็ส่งผลเสียต่อร่างกายเช่นกัน การดื่มแอลกอฮอล์หนักมากเกินไป ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานช้าลง ยิ่งดื่มมากยิ่งทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการป่วยได้ง่ายขึ้น ทั้งยังทำให้ระบบย่อยอาหารดูดซึมสารอาหารได้ไม่ดีเท่าที่ควร ใครที่เป็นสายปาร์ตี้ผู้รักการสังสรรค์เป็นประจำอาจต้องหันมาใส่ใจกับนิสัยและจำนวนการดื่มในแต่ละครั้ง เพื่อระวังไม่ให้ตัวเองดื่มมากเกินไป โดยจะรู้ได้ว่าเราเป็นคนดื่มหนักเกินไปหรือไม่ สังเกตได้จาก

  • ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากกว่า 4-5 แก้วในระยะ 2 ชั่วโมง
  • ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ติดต่อกันเกินกว่า 5 วัน
  • ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากกว่า 7-14 แก้วใน 1 สัปดาห์

เหล่านี้เป็นสัญญาณบ่งบอกถึง Binge Drinking หรือ การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปในช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งเหตุผลที่หลายคนแน่นอนว่าการดื่มแอลกอฮอล์เป็นครั้งคราวหรือนานๆ ครั้งไม่ใช่เรื่องผิดเพียงแต่ว่าสิ่งที่ควรระวังคือการไม่ให้ตัวเองดื่มมากจนเกินไปนั่นเอง

ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ร่างกายเสี่ยงอะไรบ้าง

ปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไปส่งผลโดยตรงกับระดับความดันโลหิตของร่างกายที่พุ่งสูงกว่าปกติ ตับยังต้องทำงานอย่างหนักเพื่อขับแอลกอฮอล์ออกจากเลือด ร้ายแรงที่สุด หากขับออกไม่ทันอาจทำให้เสี่ยงต่อภาวะสุราเป็นพิษ (Alcohol Poisoning) จนเสียชีวิตได้ โดยส่วนใหญ่แล้วเมื่อดื่มจนเมาหัวราน้ำคนส่วนใหญ่จะมีระดับสติสัปปชัญญะที่ลดลง ทำให้ไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างถี่ถ้วนและรอบคอบ รวมทั้งมีความระมัดระวังที่ลดน้อยลงจนอาจเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดได้ ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ ขับขี่ยานพาหนะ และ อายุน้อยกว่า 20 ปีจึงไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ด้วยประการทั้งปวง

 

เพื่อความอุ่นใจจากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน การทำประกันจึงเป็นตัวเลือกที่ดีของคนรักการปาร์ตี้สังสรรค์ เช่น ประกันสุขภาพ GSB ออมสินสุดคุ้ม ที่คุ้มครองรอบด้านไม่ว่าจะ การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยใน ค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก ไปจนถึงค่าห้องผู้ป่วยหนักและค่ารักษาพยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉิน เพื่อเป็นเบาะรองรับสถานการณ์ไม่คาดคิด

ไม่อยากเมาค้างข้ามวัน คนดื่มหนักควรดูแลสุขภาพอย่างไร

แม้คืนปาร์ตี้จะสนุกสนานขนาดไหน แต่หากดื่มหนักไปเมื่อตื่นขึ้นอีกวันก็อาจพานพบกับอาการเมาค้างจนรบกวนการใช้ชีวิตตามปกติได้ ไม่ว่าจะอาการคลื่นไส้อาเจียน รู้สึกเหนื่อยล้าบ้านหมุน ปวดหัวเวียนหัวรวมหรือมึนงง ไวต่อเสียงและแสง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการสูญเสียน้ำในร่างกาย ความแปรปรวนของกระเพาะอาหาร อาการเมาค้างสามารถสร้างอันตรายต่อร่างกายได้ถ้าหากต้องขับขี่ยานพาหนะหรือใช้เครื่องมือไม้เครื่องมือ ซึ่งทางที่ดีที่สุดถ้าไม่อยากเมาค้างข้ามวันคือหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไป แต่ถ้าหากเมาค้างไปแล้วสิ่งที่ควรทำเพื่อรับมืออาการต่างๆ คือการดื่มน้ำเพื่อชดเชยส่วนที่ร่างกายสูญเสียไป ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เพิ่ม เช่นเดียวกัน การกินซุปใสร้อนๆ กับขนมปังหรือบิสกิตจะช่วยรักษาระดับน้ำตาลและโพแทสเซียมในร่างกายให้กลับมาคงที่ ทางที่ดีควรนอกพักต่อเพื่อให้ร่างกายได้มีเวลาพักผ่อนและฟื้นตัว

หากมีปาร์ตี้กินดื่มครั้งต่อไป การดูแลตัวเองด้วยวิธีต่อไปนี้ จะช่วยให้ร่างกายไม่ทรมานกับมากเกินไปนัก โดยการ

  • ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ตอนท้องว่าง ควรกินอาหารให้อิ่มเสียหน่อยก่อนจะรับแอลกอฮอล์เข้าร่างกาย
  • ดื่มน้ำเปล่าไปด้วย อย่าปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำ
  • อย่าดื่มเร็วเกินไปเพื่อให้ร่างกายรับได้ทัน ตับของคนเรารับมือแอลกอฮอล์ได้ชั่วโมงละ 30 มิลลิลิตรเท่านั้น
  • อย่าผสมแอลกอฮอฮ์กับสิ่งอื่นๆ เช่น คาเฟอีน เพราแม้จะรู้สึกว่าร่างกายตื่นตัวแต่สติสัมปชัญญะยังไม่มาครบร้อย สมองยังไตร่ตรองไม่ได้เต็มที่ดีพอ
  • เมาไม่ขับ

แชร์

บทความที่เกี่ยวข้อง

Thumb ปิดจบเรื่องหนี้

ปิดจบเรื่องหนี้ กับธนาคารออมสิน

ธนาคารออมสินห่วงใย อยากให้คนไทยปิดจบเรื่องหนี้ ติดตามข่าวสารบทความดีๆ ความรู้เรื่องหนี้

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
5tips

5 Tips ออมเงินฉบับชาวฟรีแลนซ์

ฟรีแลนซ์ … อาชีพอิสระที่ส่วนใหญ่มีรายได้ไม่แน่นอน จึงต้องมีวินัยในตัวเองมากๆ ในการหางาน หาเงิน และวางแผนการใช้จ่ายเงิน เพื่อจะได้มีกินมีใช้ไปตลอดชีวิต

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
เหตุฉุกเฉิน

เหตุฉุกเฉิน เกิดขึ้นได้เสมอ

การมีเงินสำรองติดไว้บ้าง จึงสำคัญมาก ซัก 3-6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือนกันเหนียว เวลาเกิดเรื่องอะไรที่ไม่คิดฝันมาก่อน จะได้ไม่ต้องปาดเหงื่อ

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
Thumb

รูปแบบการชำระคืนหนี้ในรูปแบบต่าง ๆ และภาระต้นทุนในการกู้ยืม

สินเชื่อที่ผ่อนชำระเป็นงวด "เลือกผ่อนสั้น สามารถประหยัดดอกเบี้ยได้อีกเยอะ" สินเชื่อที่ผ่อนชำระเป็นงวด (Term Loan) เช่น สินเชื่อบ้าน สินเชื่อบุคคล หากเลือกระยะเวลาในการผ่อนนาน ทำให้เสียดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญาเพิ่มขึ้น   สินเชื่อที่ผ่อนชำระขั้นต่ำ "จ่ายเพิ่มอีกนิด ประหยัดดอกเบี้ยได้อีกเยอะ" สินเชื่อหมุนเวียน (Revolving Loan) เช่น บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หากจ่ายชำระหนี้คืนขั้นต่ำอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้ต้องชำระดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญาสูง และใช้ระยะเวลานานในการชำระคืนหนี้ทั้งหมด   สินเชื่อวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี (overdraft) "จ่ายแค่ดอก ต้นไม่มีวันลด หนี้ไม่มีวันหมดแน่นอน" ควรพิจารณาชำระเพิ่มเติมหากมีรายได้จากแหล่งอื่น หรือมีเงินคงเหลือมากขึ้น เพื่อให้ปิดหนี้ได้เร็วขึ้นและลดภาระดอกเบี้ยในอนาคต
บทความข้อมูลเพิ่มเติม
เป็นหนี้ก่อนรวย หรือรวยก่อนเป็นหนี้ 1040x563

เป็นหนี้ก่อนรวย หรือรวยก่อนเป็นหนี้

เลือกทางเดินที่ใช่สำหรับคุณตั้งแต่วันนี้! และถ้าคุณพลาดไปแล้ว เริ่มต้นแก้ไขตอนนี้ก็ยังไม่สาย! แล้วคุณล่ะ? เคยเจอปัญหาทางการเงินแบบนี้ไหม

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
ดอกโหด ทวงโหด 1040x563

ดอกโหด-ทวงโหด : ความจริงที่ลูกหนี้นอกระบบต้องเผชิญ เมื่อเงินด่วน…กลายเป็นฝันร้าย

เงินกู้นอกระบบอาจช่วยคุณในระยะสั้น แต่สิ่งที่ตามมาคือ ดอกโหด ทวงโหด และชีวิตที่ไม่มีความสุข ทางที่ดีที่สุดคือ หลีกเลี่ยงตั้งแต่แรก! แต่ถ้าคุณตกอยู่ในวังวนนี้แล้ว อย่าท้อใจ! ยังมีทางออกเสมอ ขอเพียงเริ่มต้นจัดการให้เร็วที่สุด!

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
เงินกู้นอกระบบ ทางลัดหรือกับดัก 1040x563

เงินกู้นอกระบบ… ทางลัดหรือกับดักชีวิต?

หากคุณหรือคนใกล้ตัวกำลังประสบปัญหาการเงิน อย่าปล่อยให้ความเดือดร้อนทำให้ต้องเลือกเส้นทางที่อันตราย หาทางออกที่ถูกต้องและยั่งยืน เพื่อให้ชีวิตของคุณก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
มีหนี้ติดตัวก่อนเกษียณ 1040x563

มีหนี้ติดตัวก่อนเกษียณ รีบจัดการก่อนสายเกินไป!

เตรียมตัวให้ดี ชีวิตหลังเกษียณก็สบาย ไม่มีใครอยากใช้ชีวิตหลังเกษียณไปกับความเครียดทางการเงิน แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องวางแผนล่วงหน้า และลงมือทำตั้งแต่วันนี้ ยิ่งเริ่มเร็วเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุขมากขึ้นเท่านั้น

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
เพิ่งเริ่มทำงาน ทำไมเป็นหนี้ 1040x563

เพิ่งเริ่มทำงาน ทำไมเป็นหนี้มากมาย ทำอย่างไรดี ?

การเป็นหนี้หลังเริ่มทำงานไม่ใช่เรื่องแปลก แต่สิ่งสำคัญคือการรู้จักจัดการให้เหมาะสม หากคุณเริ่มบริหารเงินตั้งแต่วันนี้ หนี้ที่เคยเป็นภาระหนักก็จะค่อยๆ ลดลง และคุณจะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมั่นคงมากขึ้น ลองนำเทคนิคเหล่านี้ไปปรับใช้ แล้วคุณจะพบว่าการเงินของคุณดีขึ้นอย่างแน่นอน!

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
ปัญหาหนี้แก้ได้ 1040x563 1

ปัญหาหนี้แก้ได้! กลับมาแก้ไขไปด้วยกัน

การกลับมาแก้ไขหนี้ที่ค้างมานาน อาจจะดูน่ากลัวในตอนแรก แต่ถ้าคุณกล้าเผชิญหน้า และค่อย ๆ เดินไปทีละขั้น หนี้ที่หนักอึ้งก็สามารถจัดการได้ สิ่งสำคัญคือ “อย่าหนีหนี้” แต่ให้เริ่มต้นแก้ไขและหาทางออกให้กับตัวเอง หนี้ไม่ใช่จุดจบของชีวิต แต่เป็นบทเรียนที่เราสามารถแก้ไขได้ ขอแค่เริ่มต้น!

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
หนี้เสีย กับ หนี้ปกติ 1040x563

หนี้เสีย กับ หนี้ปกติ ต่างกันอย่างไร?

หนี้ปกติ (หนี้ดี / หนี้ที่ยังไม่เสีย) คือ เป็นหนี้ที่ยังชำระเงินตามปกติ ไม่เคยผิดนัด หรืออาจมีค้างจ่ายบ้างแต่ยังไม่ถึงขั้น “หนี้เสีย” ตัวอย่างหนี้ปกติ เช่น ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ จ่ายค่างวดตรงเวลา ใช้บัตรเครดิตแล้วจ่ายขั้นต่ำทุกเดือน

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
เป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องแย่ 1040x563 (1)

เป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องแย่ ถ้ารู้วิธีจัดการให้อยู่หมัด!

หนี้เป็นเครื่องมือทางการเงินที่ดีได้ ถ้าคุณเป็นคนควบคุมหนี้ ไม่ใช่ให้หนี้มาควบคุมคุณ! หากต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเงินและสินเชื่อ สามารถติดต่อ ธนาคารออมสิน เพื่อรับคำปรึกษาที่เหมาะสมกับคุณ 

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
Skip to content