เพื่อเป็นทุนหมุนเวียน ลงทุนในทรัพย์สินถาวร สนับสนุนกิจการที่มีโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) สำหรับลูกค้าทุกประเภทอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงไฟฟ้า
อุตสาหกรรมยานยนต์และการขนส่ง อุตสาหกรรมอาหารและการแปรรูป อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการเกษตรและ
เทคโนโลยีชีวภาพ ฯลฯ

  • 1.1 เป็นบุคคลธรรมดาอายุ 20 ปีขึ้นไป สัญชาติไทย หรือ นิติบุคคลจดทะเบียนตามกฎหมายไทย
  • 1.2 เป็นผู้ประกอบการที่นำทฤษฎีเศรษฐกิจใหม่ BCG  ซึ่งเน้นการนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี  และนวัตกรรมมาต่อยอดจุดแข็งในการพัฒนาธุรกิจ โดยมีรายละเอียดตามแนวคิด  BCG มาใช้ในการดำเนินธุรกิจหลัก (Core business) เท่านั้น ดังนี้
    • เศรษฐกิจชีวภาพ  (Bioeconomy) โดย“เน้นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า”ผ่านการนำความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาพัฒนาทรัพยากรชีวภาพ หรือผลผลิตทางการเกษตร  เช่น

– ธุรกิจไบโอดีเซล และพลังงานทดแทน

– ธุรกิจผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากวัสดุธรรมชาติ

    • เศรษฐกิจหมุนเวียน  (Circular Economy) โดย “เน้นการลดปริมาณของเสียให้น้อยลงหรือเท่ากับศูนย์ (Zero Waste)” ผ่านการนำทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่าที่สุด ด้วยการปรับกระบวนการผลิต ตลอดจนการนำวัสดุกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และแปรสภาพ  กลับมาใช้ใหม่ (Recycle)  เช่น

– ผู้ผลิตหรือจำหน่ายบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ

– ผู้ผลิตหรือจำหน่ายบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล ยกเว้น บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากปิโตรเคมี

    •  เศรษฐกิจสีเขียว  (Green Economy)  โดย “เน้นการแก้ไขปัญหามลพิษเพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน” ผ่านการพัฒนาที่สมดุลทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ สังคม  และสิ่งแวดล้อม  เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างสมดุล   เช่น

– ผู้ผลิตหรือจำหน่ายแผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop)

– โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน (ก๊าซชีวภาพ/ชีวมวล/พลังงานหมุนเวียน/ขยะ)

– ธุรกิจท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เช่น การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยท้องถิ่นสร้างเนื้อหาการท่องเที่ยว  การบริหารจัดการเส้นทาง  การลดพลังงาน  และการรักษาสิ่งแวดล้อม

  • 1.3 ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็น Supply Chain ของผู้ประกอบการตามข้อ 1.2 หรือ นำผลิตภัณฑ์จากข้อ 1.2  มาใช้ในการดำเนินงานธุรกิจ
  • เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการ
  • เพื่อลงทุนในทรัพย์สินถาวร
  • เพื่อลงทุนด้านพลังงานทดแทน (Solar rooftop พลังงานจากก๊าซชีวภาพชีวมวล ฯลฯ)
  • ประเภทเงินกู้ระยะสั้น ได้แก่ เงินเบิกเกินบัญชี ตั๋วสัญญาใช้เงิน วงเงินการค้าต่างประเทศ
  • ประเภทเงินกู้ระยะยาว
  • หนังสือค้ำประกัน (L/G)
  • พิจารณาตามความจำเป็นและความสามารถในการชำระหนี้ของกิจการ ทั้งนี้ กรณีเป็นบุคคลธรรมดาให้กู้เกินกว่า 1,000,000 บาทขึ้นไป
  • เงินกู้ระยะสั้น ระยะเวลาชำระเงินกู้ไม่เกิน 1 ปี ทบทวนวงเงินทุกปี
  • เงินกู้ระยะยาว ระยะเวลาชำระเงินกู้ไม่เกิน 10 ปี โดยจะให้ปลอดชำระหนี้เงินต้น ไม่เกิน  2  ปี  ในกรณีที่มีระยะเวลาชำระเงินกู้ตั้งแต่  2  ปีขึ้นไป

 

1. กรณีใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันเต็มวงเงินกู้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (ร้อยละต่อปี)
1.1 เงินกู้ระยะสั้น
  • ปีที่ 1-2
MOR – 0.25
  • ปีที่ 3 เป็นต้นไป
MOR + 0.50
1.2 เงินกู้ระยะยาว
  • ปีที่ 1-2
MLR – 0.25
  • ปีที่ 3 เป็นต้นไป
MLR + 0.50
2. กรณีใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
2.1 เงินกู้ระยะสั้น
  • ปีที่ 1-2
MOR
  • ปีที่ 3 เป็นต้นไป
MOR + 1.50
2.2 เงินกู้ระยะยาว
  • ปีที่ 1-2
MLR
  • ปีที่ 3 เป็นต้นไป
MLR + 1.50

 

หลักประกันเงินกู้ ให้ใช้ประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือหลายประเภทร่วมกัน เป็นหลักประกันเต็มวงเงินกู้ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด ดังนี้

  • สมุดฝากเงินออมสิน สลากออมสินพิเศษ พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ
  • ที่ดินและอาคาร
  • ที่ดินเปล่าที่เป็นโฉนดที่ดิน หรือ น.ส.3ก.
  • ห้องชุด
  • บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
  • หลักทรัพย์อื่นที่ธนาคารกำหนด
  • ค่าธรรมเนียมจัดการเงินกู้ : Management Fee หรือค่าธรรมเนียมวิเคราะห์โครงการ : Front End Fee) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 1.00 ของวงเงิน
    สินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ และขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 5,000 บาท สูงสุดไม่เกินร้อยละ 3.00 ของวงเงินสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ
  • การออกหนังสือค้ำประกัน (L/G) ให้ใช้อัตราค่าธรรมเนียมการออกหนังสือค้ำประกันตามประกาศธนาคารออมสิน เรื่อง อัตราค่าธรรมเนียม
    บริการประเภทต่าง ๆ
  • ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ให้เป็นไปตามประกาศธนาคารออมสิน เรื่อง อัตราค่าธรรมเนียมบริการประเภทต่าง ๆ (ค่าธรรมเนียมการให้สินเชื่อธุรกิจ)