ธนาคารได้นำหลักการมาตรฐานสากล AA1000 Stakeholder Engagement Standard: AA1000SES มาเป็นกรอบในการบริหารผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญในห่วงโซ่คุณค่าจัดลำดับความสำคัญผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยพิจารณาจากทิศทางการดำเนินงานของธนาคารและความสำคัญต่อธุรกิจธนาคารในมิติต่างๆ เพิ่มเติม และกำหนดกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากลักษณะงาน/กระบวนการที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาเกี่ยวข้องตามภารกิจหลักของธนาคาร จำนวน 6 กลุ่ม ประกอบด้วย

ปรับปรุงเว็บไซต์ด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (เพิ่มเติมครั้งที่ 2) 1

แนวทางการสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ธนาคารมีการกำหนดแผนแม่บทด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ปี 2566 – 2570 เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการบริหารและสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของธนาคาร ให้มีคุณภาพและมาตรฐานตามสากล และสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญทั้งภายในและภายนอกองค์กร และกำหนดให้ทุกฝ่ายงานและธนาคารออมสินภาคจัดทำแผนงานในการสร้างความพันธ์ หรือยกระดับการสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กำหนดขอบเขตของการสร้างความสัมพันธ์และบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแต่ละกลุ่มที่ชัดเจน มีแผนบริหารจัดการความเสี่ยง มีการติดตามและประเมินผลตามแผนงานให้สอดคล้องกับเป้าหมาย และระดับความคาดหวังในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงปรับปรุงแนวทางในการบริหารการจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างมีประสิทธิภาพ

 

แผนการสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

 

6กลุ่มผุ้มีส่วนได้ส่วนเสีย

Skip to content