แนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างอย่างยั่งยืน ที่คำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาล (ESG)
-
E-Environment
-
S-Social
-
G-Governance
นโยบายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน ธนาคารเพื่อสังคม ธนาคารออมสิน (ระเบียบธนาคารออมสิน ฉบับที่ 658)
เพื่อให้เป็นมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติร่วมกันสำหรับ คณะกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน ลูกจ้าง และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของธนาคารทุกคน โดยมียุทธศาสตร์การดำเนินงานของธนาคารด้านการพัฒนาสู่ความยั่งยืน แนวปฏิบัติตามหลักมาตรฐานว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ISO 26000 ขององค์กรระหว่างประเทศ ทั้งในกระบวนการธุรกิจ (CSR in process) และโครงการ/กิจกรรมนอกกระบวนการธุรกิจ (CSR after process) ควบคู่ไปกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สมดุล มั่นคง และยั่งยืน ในอันที่จะตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยังยืน Sustainable Development Goals (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ที่ประเทศไทยและอีก 193 ประเทศมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายร่วมกันในปี 2573 เพื่อมุ่งไปสู่ “สังคมที่เราต้องการ” (The Society We Want)
นโยบายด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในกระบวนการดำเนินงานของธุรกิจ (Corporate Social Responsibility in Process : CSR in Process) (ระเบียบธนาคารออมสิน ฉบับที่ 694)
มุ่งมั่นปฏิบัติตนตามหลักความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในกระบวนการปฏิบัติงาน กำหนดบทบาทของพนักงานโดยคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงทำหน้าที่กำกับให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล พนักงานซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในขั้นปฏิบัติการต้องอยู่ภายใต้กฎระเบียบและปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ลูกค้าต้องได้รับมอบผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดและได้รับการปฏิบัติจากธนาคารอย่างเท่าเทียมกัน สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ต้องได้รับผลกระทบเชิงลบจากการดำเนินธุรกิจของธนาคารน้อยที่สุดหรือไม่ได้รับผลกระทบทางลบเลย ธนาคารต้องเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมพัฒนา ช่วยเหลือ และดูแลที่สมดุลระหว่างเศรษฐกิจ (Economic) สังคม (Social) และสิ่งแวดล้อม (Environment) ในอันที่จะตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยังยืน Sustainable Development Goals (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ และตามวิสัยทัศน์ “ธนาคารเพื่อสังคม” (Social Bank)
นโยบายด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในกระบวนการดำเนินงานของธุรกิจ (Corporate Social Responsibility in Process : CSR in Process) ประมวลจากมาตรฐาน ISO โดยได้กําหนดสาระสําคัญแบ่งออกเป็นกรอบการพัฒนา 7 พฤติกรรมหลัก (7 Core Principles) ได้แก่ :
- ความรับผิดชอบ (Accountability)
- ความโปร่งใส (Transparency)
- การปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม (Ethical Behavior)
- การเคารพต่อผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย (Respect for Stakeholder Interests)
- การเคารพต่อหลักนิติธรรม (Respect for the Rule of Law)
- การเคารพต่อการปฏิบัติตามแนวทางของสากล (Respect for International Norms of Behavior)
- การเคารพต่อสิทธิมนุษยชน (Respect for Human Rights)
หัวข้อหลัก 7 ประการ (7 Core Subjects) ได้แก่
- การกำกับดูแลองค์กร (Organizational Governance)
- สิทธิมนุษยชน (Human Right)
- การปฏิบัติด้านแรงงาน (Labor Practices)
- สิ่งแวดล้อม (The Environment)
- การปฏิบัติดำเนินงานอย่างเป็นธรรม (Fair Operating Practices)
- ประเด็นด้านผู้บริโภค (Consumer Issues)
- การมีส่วนร่วมของชุมชนและการพัฒนาชุมชน (Community Involvement and Development)