ธนาคารออมสินกำหนดกรอบความยั่งยืนโดยพิจารณาความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติทั้ง 17 เป้าหมาย โดยเน้นใน 2 เป้าหมายสำคัญ คือ “เป้าหมายที่ 1 No Poverty และเป้าหมายที่ 10 Reduced Inequality” พร้อมกับการรับ “หลักการธนาคารที่มีความรับผิดชอบ” หรือ “Principles for Responsible Banking” ของสำนักงานโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยข้อริเริ่มด้านการเงิน (United Nations Environment Programme Finance Initiative : UNEP FI) และแนวทางความรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (Environment, Social, Governance) ควบคู่กับการพิจารณาความเชื่อมโยงแนวทางการสร้างความยั่งยืนตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 แผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) แผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ และแนวทางการธนาคารเพื่อความยั่งยืนของธนาคารแห่งประเทศไทย
โดยมุ่งสร้างความยั่งยืนและดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสมดุล ภายใต้กรอบแนวคิด Triple Bottom Line เพื่อสร้างความสมดุลทั้งมิติภายนอกองค์กร (External Sustainability) ในการสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก สังคม และชุมชน ควบคู่กับมิติภายในองค์กร (Internal Sustainability) ในการดำเนินภารกิจเพื่อสร้างความมั่นคงและเข้มแข็งทางการเงินให้แก่องค์กร พร้อมกับดูแลพนักงานและลูกจ้าง โดยบูรณาการภารกิจด้านสังคม (Social Mission Integration) ในทุกกระบวนการสำคัญเพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน (Sustainability) ภายใต้กรอบแนวทางความยั่งยืนของธนาคารออมสิน (GSB Sustainability Approach) ใน 4 มิติ ได้แก่
1) Maximize Positive Impact : มุ่งสร้างผลกระทบเชิงบวก
2) Strengthening The Government’s Policy : เป็นพลังในการส่งเสริมนโยบายภาครัฐ
3) Resource Optimization : เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร
4) Trust & Transparency : มุ่งเน้นความน่าเชื่อถือและความโปร่งใส
ธนาคารได้บูรณาการกรอบความยั่งยืนธนาคารออมสิน (GSB Sustainability Approach) ไปกับการกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานของธนาคารเพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน (Internal & External Sustainability) ภายใต้การดูแลผู้มีส่วนได้เสียอย่างสมดุล เสริมสร้างศักยภาพการให้บริการทางการเงินควบคู่กับยกระดับการบริหารจัดการองค์กรเพื่อนำกำไรมาหล่อเลี้ยงองค์กรและสนับสนุนภารกิจเชิงสังคม