ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน

ยุทธศาสตร์การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมใน กระบวนการดำเนินงานของธุรกิจ (CSR in Process)

Content Strategy 1
Content Strategy Sm 1

กระบวนการที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Corporate Social Responsibility in Process : CSR in Process) ปี 2564 – 2568 ดำเนินงานภายใต้มาตรฐานแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม ISO 26000 ที่กำหนดโดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization: ISO) โดยได้กําหนดสาระสําคัญแบ่งออกเป็นกรอบการพัฒนา 7 พฤติกรรมหลัก ได้แก่

1. ความรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้ (Accountability)

มีความรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ บริการ และการปฏิบัติงานที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่สามารถตรวจสอบได้

2. ความโปร่งใส (Transparency)

มีความโปร่งใสในการตัดสินใจ และการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

3. การปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม (Ethical Behavior)

มีการดำเนินงานโดยยึดมั่นในจริยธรรม ความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ

4. การคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Respect for Stakeholder Interests)

ให้ความเคารพ ยอมรับ พิจารณา และตอบสนองต่อผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม

5. การเคารพต่อหลักนิติธรรม (Respect for the Rule of Law)

ให้การยอมรับและเคารพต่อการปฏิบัติตามหลักนิติธรรม การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ

6. การเคารพต่อแนวปฏิบัติสากล (Respect for International Norms of Behavior)

ให้ความเคารพต่อการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติสากล รวมทั้งยึดมั่นในหลักการของการเคารพต่อหลักนิติธรรม

7. การเคารพต่อสิทธิมนุษยชน (Respect for Human Right)

ให้ความสำคัญในการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและยอมรับถึงความสำคัญและความเป็นสากลของหลักการนี้

Content Strategy2
Content Strategy2 Sm

จากหลักการพื้นฐานดังกล่าวข้างต้น ธนาคารจึงมีการกำหนดหลักในการดำเนินงาน 7 หัวข้อเพื่อใช้ในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมภายใต้มาตรฐาน ISO 26000 ซึ่งประกอบไปด้วย

1. การกำกับดูแลองค์กร

การกำกับดูแลองค์กรของธนาคารมุ่งเน้นที่บทบาทของคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง ในการกำกับดูแลองค์กรด้วยความรับผิดชอบต่อการ ปฏิบัติหน้าที่เต็มขีดความสามารถและประสิทธิภาพที่เพียงพอ ดูแลให้คณะกรรมการ ผู้บริหาร ตลอดจนพนักงาน ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ระมัดระวัง (Duty of Care) และซื่อสัตย์สุจริต (Duty of Loyalty) เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

2. สิทธิมนุษยชน

ธนาคารปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน โดยการนำข้อมูลสิทธิตามกฎหมาย และสิทธิอื่น ๆ ที่พนักงาน ลูกค้า และผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ได้รับมาใช้ประกอบ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การให้บริการ และการปฏิบัติงานของธนาคาร โดยผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรต้องได้รับการปฏิบัติ อย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม

3. การปฏิบัติด้านแรงงาน

ธนาคารปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกตามกฎหมายแรงงานอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม การคุ้มครองทางสังคมตามสภาพ ที่เหมาะสมตั้งแต่การจ้างงาน การบังคับใช้แรงงาน การใช้แรงงานเด็ก ความเท่าเทียมด้านแรงงาน ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม คำนึงถึงสุขภาพ สภาพแวดล้อม และความปลอดภัยในการทำงาน การปฏิบัติงานด้านสวัสดิการเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตแรงงาน

4. สิ่งแวดล้อม

ธนาคารพัฒนากระบวนการประกอบธุรกิจ ให้สามารถลดหรือไม่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงจากการดำเนินกิจการของธนาคาร และทางอ้อมจากการให้การสนับสนุนทางการเงินกับธุรกิจที่คำนึงถึง ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มมูลค่า และสร้างความยั่งยืนให้กับ ธนาคารรวมทั้งสังคม ชุมชน เศรษฐกิจ ประเทศชาติ และประชาชน

5. การปฏิบัติดำเนินงานอย่างเป็นธรรม

ธนาคารแสดงความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุตามหลักความคุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลตรวจสอบได้ โดยดำเนินงานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียภายใน ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ทั้งคู่ค้า ผู้ส่งมอบ และคู่ความร่วมมือ ให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ระเบียบ และกฎเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง

6. ประเด็นด้านผู้บริโภค

การดําเนินกิจการของธนาคารจะไม่มุ่งสนองความต้องการของผู้บริโภคเพียงด้านเดียวแต่จะถูกออกแบบให้มุ่งแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม ไปพร้อมๆ กัน
โดยกระบวนการดําเนินงานของธนาคารเป็นไปเพื่อมอบประโยชน์ให้แก่ลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดจนห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ทั้งรัฐบาล หน่วยงานกํากับดูแล ผู้ส่งมอบ คู่ค้า คู่ความร่วมมือ ชุมชน และพนักงาน

7. การมีส่วนร่วมของชุมชนและการพัฒนาชุมชน

ธนาคารกำกับดูแลกิจการไม่ให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อชุมชน และสังคม พนักงานผู้มีส่วนได้เสีย และชุมชนต้องมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน พัฒนาชุมชน ทั้งในท้องถิ่นและสังคมทุกขั้นตอน สนับสนุนการลงทุนทางสังคม (Social Investment) ที่เป็นตัวเงิน และไม่ใช่ตัวเงิน ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนความรู้ ทุนสิ่งแวดล้อม

กระบวนการที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
(Corporate Social Responsibility in Process : CSR in Process)

ยุทธศาสตร์การดำเนินงานของธนาคาร ( Strategic Objective )

Strategy1
ยุทธศาสตร์ที่ 1

การขับเคลื่อนภารกิจธนาคารเพื่อสังคม

Strategy2
ยุทธศาสตร์ที่ 2

การบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์และต้นทุน

Strategy3
ยุทธศาสตร์ที่ 3

การยกระดับสู่องค์กรดิจิทัล

Strategy4
ยุทธศาสตร์ที่ 4

การเพิ่มศักยภาพโครงสร้างพื้นฐาน

ยุทธศาสตร์ด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในกระบวนการ
(Corporate Social Responsibillity in Process : CSR in Process)

ยุทธศาสตร์ที่ 1

การขับเคลื่อนภารกิจ
ธนาคารเพื่อสังคม

1.1 การกำกับดูแลองค์กร Organizational Governance

1.2 สิทธิมนุษยชน Human Right

1.3 การปฏิบัติด้านแรงงาน Labor Practices

1.4 การดำเนินงานอย่างเป็นธรรม Fair Operating Practices

1.5 ประเด็นด้านผู้บริโภค Fair Operating Practices

1 ความผิดชอบต่อคุณภาพการดำเนินงาน

2 ความรับผิดชอบต่อคุณภาพชีวิตบุคลากร

3 ความรับผิดชอบต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ยุทธศาสตร์ที่ 2

ความรับผิดชอบต่อ
สิ่งแวดล้อม

2.1 สนับสนุนการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม The Environment

1 การส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

2 การบริหารธุรกิจที่คำนึงผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์ที่ 3

ความรับผิดชอบต่อ
สังคมและชุมชน

3.1 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและการพัฒนาชุมชน Community Involvement and Development

1 การบริหารความสัมพันธ์กับชุมชน

2 การมีส่วนรวมพัฒนาดูแลชุมชนและสังคม

แชร์เนื้อหา :
Skip to content