นโยบายการดำเนินงาน

นโยบายการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในกระบวนการดำเนินงานของธุรกิจ (CSR in Process)

Content Csr
Content Csr Sm 1

ธนาคารออมสินตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินกิจการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงชุมชนและสิ่งแวดล้อม จึงได้กำหนดนโยบายการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในกระบวนการดำเนินงานของธุรกิจ (CorporateSocial Responsibility in Process : CSR in Process) เพื่อให้คณะกรรมการ ผู้บริหารระดับสูง และพนักงาน มุ่งมั่นปฏิบัติตนตามหลักความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ในกระบวนการปฏิบัติงาน สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ต้องได้รับผลกระทบเชิงลบจากการดำเนินธุรกิจของธนาคารน้อยที่สุดหรือไม่ได้รับผลกระทบ ทางลบเลย สร้างผลกระทบเชิงบวกแก่สังคม “Making Positive Impact on Society” นโยบายการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ในกระบวนการดำเนินงานของธุรกิจ (Corporate Social Responsibility in Process : CSR in Process) ประมวลจากมาตรฐาน ISO 26000 ที่กำหนดโดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization: ISO) ได้กําหนดสาระสําคัญแบ่งออก เป็นกรอบการพัฒนา 7 พฤติกรรมหลัก (7 Core Principles) ดังนี้

  1. ความรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้ (Accountability)
  2. ความโปร่งใส (Transparency)
  3. การปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม (Ethical Behavior)
  4. การคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย (Respect for Stakeholder Interests)
  5. การเคารพต่อหลักนิติธรรม (Respect for the Rule of Law)
  6. การเคารพต่อแนวปฏิบัติสากล (Respect for International Norms of Behavior)
  7. การเคารพต่อสิทธิมนุษยชน (Respect for Human Right)

การกำกับดูแลองค์กรของธนาคารมุ่งเน้นที่บทบาทของคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง ในการกำกับดูแลองค์กรด้วยความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติหน้าที่เต็มขีดความสามารถและประสิทธิภาพที่เพียงพอ ดูแลให้คณะกรรมการ ผู้บริหาร ตลอดจนพนักงาน ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบระมัดระวัง (Duty of Care) และซื่อสัตย์สุจริต (Duty of Loyalty) เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีขอบเขตการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้

  1. ดำเนินกิจการภายใต้หลักการคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม ตั้งแต่ระดับคณะกรรมการ ผู้บริหารระดับสูง และพนักงาน
  2. มีกลไกในการควบคุม กำกับ ตรวจสอบที่มีประสิทธิผล และติดตามดูแลการดำเนินงานของธนาคารอย่างต่อเนื่อง
  3. รับผิดชอบและปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มของธนาคารอย่างเท่าเทียม เป็นธรรม
  4. สร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจต่อผู้มีส่วนได้เสีย ทำให้เกิดประโยชน์และนำไปสู่การพึ่งพาตนเองในระยะยาว
  5. มีความโปร่งใสในการดำเนินงานที่สามารถตรวจสอบได้ด้วยการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมการพัฒนาการกำกับดูแลและจรรยาบรรณที่ดีในการประกอบธุรกิจ
  6. กระจายโอกาสแก่ประชาชนให้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการใด ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของชุมชน และสังคมโดยรวมของประเทศ
  7. ดำเนินธุรกิจโดยปฏิบัติตามหลักการสำคัญของสิทธิมนุษยชน คือ มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกันตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ได้รับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล และกำหนดให้รัฐบาล ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐดำเนินการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชนทุกคน

ธนาคารปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนโดยการนำข้อมูลสิทธิตามกฎหมาย และสิทธิอื่นๆ ที่พนักงาน ลูกค้า และผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มได้รับ มาใช้ประกอบ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การให้บริการ และการปฏิบัติงานของธนาคาร โดยผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม
และเท่าเทียม โดยมีขอบเขตการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้

ส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียภายใน

  1. ส่งเสริมความเสมอภาค เท่าเทียม และเป็นธรรมต่อพนักงาน ด้วยการไม่เลือกปฏิบัติในการสรรหา
    การว่าจ้าง การพัฒนาทักษะ การเติบโต
    ในสายอาชีพ และการกำหนดสิทธิประโยชน์ รวมถึงไม่ปิดกั้นความหลากหลายทางความคิด วัฒนธรรม ไม่จำกัดเพศ เชื้อชาติ ศาสนา ช่วงวัย สถาบันการศึกษา และพื้นที่ที่ประสงค์จะปฏิบัติงาน
  2. ให้ความสำคัญต่อสิทธิสตรี มอบโอกาสการปฏิบัติหน้าที่อย่างเท่าเทียม รวมถึงปลูกฝังค่านิยมเรื่องความเท่าเทียมทางเพศให้เกิดขึ้น
    ในธนาคารอย่างเป็นรูปธรรม
  3. มีการเปิดช่องทางแสดงความคิดเห็น ร้องเรียน หรือร้องทุกข์ จากการปฏิบัติที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนและไม่ได้รับความเป็นธรรมจากธนาคาร

ส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียภายนอก

  1. ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน และเป็นไปตามข้อกำหนดด้านสิทธิมนุษยชนตามมาตรฐานสากล (International Bill of Human Rights)
  2. พัฒนาผลิตภัณฑ์ และกระบวนการบริการที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม มีคุณภาพ ปลอดภัย และเป็นธรรม
  3. การให้ความเท่าเทียม โปร่งใส และเป็นธรรม รับผิดชอบต่อคู่ค้า ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และผู้ให้ความร่วมมือ
  4. มีช่องทางสำหรับแสดงความคิดเห็น ร้องเรียน หรือร้องทุกข์จากการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม และไม่เคารพสิทธิมนุษยชน
  5. การบริหารความเสี่ยงและกำหนดกลไกป้องกันและชดเชย กรณีเกิดเหตุการณ์การละเมิดสิทธิของลูกค้า และผู้มีส่วนได้เสียของธนาคาร
  6. สนับสนุนและส่งเสริมผู้ด้อยโอกาสในสังคมให้สามารถเข้าถึงหรือได้รับการบริการทางการเงินโดยไม่เลือกปฏิบัติ
  7. หลีกเลี่ยงการร่วมปฏิบัติงานกับคู่ค้าผู้ส่งมอบและพันธมิตรทางการค้าที่มีพฤติกรรมละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยระบุเป็นส่วนหนึ่งของหลักเกณฑ์

การจัดซื้อจัดจ้างและคัดเลือกคู่ค้าผู้ส่งมอบและพันธมิตรทางการค้าและแนวทางการจัดซื้อจัดจ้างที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและเคารพ
ต่อสิทธิมนุษยชน

ธนาคารปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกตามกฎหมายแรงงานอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม การคุ้มครองทางสังคมตามสภาพ
ที่เหมาะสม ตั้งแต่การจ้างงาน การบังคับใช้แรงงาน การใช้แรงงานเด็ก ความเท่าเทียมด้านแรงงาน ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม คำนึงถึงสุขภาพ สภาพแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงาน การปฏิบัติงานด้านสวัสดิการเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตแรงงาน โดยมีขอบเขตการดำเนินงาน
ที่สำคัญ ดังนี้

ส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียภายนอก

  1. มีการกำกับดูแลการจัดซื้อจัดจ้างให้ครอบคลุมถึงมิติการปฏิบัติด้านแรงงาน การคัดเลือกคู่ค้า ผู้ส่งมอบ และคู่ความร่วมมือจากการประเมินด้านการใช้แรงงานเด็ก การประเมินด้านการบังคับใช้แรงงาน ต้องปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานอย่างเคร่งครัด
  2. ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับคู่ค้า ผู้ส่งมอบ และคู่ความร่วมมือที่ล่วงละเมิดสิทธิแรงงาน และการใช้แรงงานเด็ก

ส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียภายใน

    1. การไม่เลือกปฏิบัติในการจ้างงาน ปฏิบัติต่อพนักงานด้วยความเท่าเทียม เป็นธรรม และมีความรับผิดชอบตามสิทธิที่พนักงานพึงได้รับตามหลักกฎหมายและหลักจริยธรรม มีสวัสดิการพนักงานที่สมเหตุสมผล ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของพนักงาน
    2. กำหนดให้มีการบริหารจัดการบุคลากรอย่างมีศักยภาพ พัฒนาบุคลากรทุกระดับ ทุกตำแหน่ง ให้มีศักยภาพในการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ พัฒนาทักษะความรู้ความสามารถ ให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีค่าตอบแทน โอกาสก้าวหน้า สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์

ที่เหมาะสม

  1. การเสริมสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่คำนึงถึงสุขภาพ ความปลอดภัย และอาชีวอนามัยภายในสถานที่ทำงาน
  2. จัดให้มีช่องทางเพื่อรับข้อร้องเรียน หรือข้อคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะจากพนักงาน ในกรณีที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติด้านแรงงาน การปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียม และนำมาดำเนินปรับปรุงแก้ไขตอบสนองให้ทันท่วงที
  3. ส่งเสริมให้พนักงาน หรือกำหนดให้มีหน่วยงานที่เป็นตัวแทนพนักงาน ร่วมเจรจาต่อรองกับผู้บริหารระดับสูงของธนาคารเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตามสิทธิที่เกี่ยวข้อง
  4. ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในกระบวนการปฏิบัติงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมในทุกขั้นตอน (CSR in Process)

พัฒนากระบวนการประกอบธุรกิจ ให้สามารถลดหรือไม่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งทางตรงจากการดำเนินกิจการของธนาคาร และทางอ้อมจากการให้การสนับสนุนทางการเงินกับธุรกิจที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างความยั่งยืนให้กับธนาคาร รวมทั้งสังคม ชุมชน เศรษฐกิจ ประเทศชาติและประชาชน โดยมีขอบเขตการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้

  1. การป้องกันมลภาวะ (Prevention of Pollution) วางแผนจัดการ และควบคุมการดำเนินงานของธนาคารที่จะก่อให้เกิดมลภาวะ ไม่ว่าจะเป็นมลพิษทางอากาศ ทางน้ำ และมลพิษที่เกิดจากกระบวนการจัดการของเสียของธนาคาร
  2. การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน (Sustainable Resource Use) คำนึงถึงการใช้ทรัพยากร พลังงาน น้ำ และอื่น ๆ ในธนาคารอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ฟุ่มเฟือย มีความพอประมาณในการใช้ทรัพยากรและใช้งบประมาณ เพื่อให้เกิดคุณค่ามากที่สุด ส่งเสริมการนำของเสียหรือของเหลือกลับมาใช้ใหม่ หรือจัดซื้อจัดหาของในท้องถิ่นซึ่งทำให้ไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่จำเป็น
  3. การลดและปรับตัวให้เข้ากับภาวะโลกร้อน (Climate Change Mitigation and Adaptation) การบริหารจัดการเพื่อลดภาวะโลกร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาเรือนกระจก คำนึงถึงการปล่อยมลภาวะ ก๊าซพิษต่าง ๆ จากกระบวนการดำเนินธุรกิจของธนาคารเพื่อลดผลกระทบและลดการละเมิดต่อสุขภาพ การดำรงชีวิต ตลอดจนสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง
  4. การปกป้องสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพและการบูรณะที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ (Protection of the Environment, Biodiversity and Restoration of Natural Habitats) โดยถือว่าสิ่งแวดล้อมเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะให้การสนับสนุนในระยะยาว โดยมีผู้แทนจากชุมชนร่วมพิจารณาเห็นชอบ ประสานงานระหว่างธนาคารกับชุมชน ร่วมกันป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
  5. จัดการบริหารความเสี่ยงให้ครอบคลุมเรื่องสิ่งแวดล้อมทุกชนิด
  6. การสนับสนุนทางการเงินที่นำประเด็นสิ่งแวดล้อมมาร่วมพิจารณาประกอบการสนับสนุน ยุติการสนับสนุนทางการเงินให้กับธุรกิจหรือโครงการที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชน และสุขภาพ
  7. การจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Procurement) การกําหนดให้คู่ค้า ผู้ส่งมอบ และคู่ความร่วมมือทุกราย ที่ยื่นขอเสนอราคากับธนาคาร ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

ธนาคารแสดงความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุตามหลักความคุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ตรวจสอบได้ โดยดำเนินงานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียภายในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ทั้งคู่ค้า ผู้ส่งมอบ และคู่ความร่วมมือ ให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์
ที่กำหนดตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ระเบียบ และกฎเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีขอบเขตการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้

  1. ให้ความสำคัญกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุที่สุจริตและโปร่งใส ต้องกระทำโดยเปิดเผยและเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม และต้องดำเนินการตามที่กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกำหนดอย่างเคร่งครัดภายใต้กระบวนการที่มีประสิทธิภาพ
  2. ปฏิบัติต่อคู่ค้า ผู้ส่งมอบ และคู่ความร่วมมือทุกรายอย่างเท่าเทียม โปร่งใส และคาดหวังให้คู่ค้า ผู้ส่งมอบ และคู่ความร่วมมือทุกราย เสนองานอย่างเป็นธรรมด้วย
  3. คณะกรรมการ ผู้บริหารระดับสูง และพนักงาน ที่รับผิดชอบการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ต้องไม่มีส่วนได้เสียกับผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาไม่ว่าในทางใดทั้งสิ้น
  4. ให้มีช่องทางในการรับเรื่องอุทธรณ์/ร้องเรียนเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของธนาคาร และมีกระบวนการในการตอบสนองข้ออุทธรณ์/ร้องเรียน รวมทั้งเผยแพร่และสื่อสารให้พนักงานและผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบถึงช่องทางดังกล่าว

การดําเนินกิจการของธนาคารจะไม่มุ่งสนองความต้องการของผู้บริโภคเพียงด้านเดียว แต่จะถูกออกแบบให้มุ่งแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม
ไปพร้อมๆ กัน โดยกระบวนการดําเนินงานของธนาคารเป็นไปเพื่อมอบประโยชน์ให้แก่ลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดจนห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ทั้งรัฐบาล หน่วยงานกํากับดูแล ผู้ส่งมอบ คู่ค้า คู่ความร่วมมือ ชุมชน และพนักงาน โดยมีขอบเขตการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้

  1. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้าและสังคม โดยมุ่งเน้นความรับผิดชอบและการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการได้อย่างวางใจมากขึ้น สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ ด้วยความมั่นคงและปลอดภัย
  2. ให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market Conduct) โดยมุ่งหวังให้ลูกค้าได้รับข้อมูลผลิตภัณฑ์และคุณภาพการบริการที่ครบถ้วน ถูกต้อง และชัดเจน ไม่บิดเบือนทั้งในเรื่องเงื่อนไข สิทธิประโยชน์ รวมถึงข้อควรระวังต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของธนาคาร
  3. ให้ความสำคัญกับการรับฟังเสียงลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อหาความต้องการและความคาดหวังที่สำคัญ และความกังวลของสาธารณะ ตลอดจนการบริหารจัดการและการตอบสนองต่อข้อร้องเรียน และข้อคิดเห็นของผู้บริโภค
  4. การสนับสนุนทางการเงินให้แก่กิจการที่มุ่งเน้นการบริโภคที่ยั่งยืน กิจการที่ให้ความเป็นธรรม ด้านการเข้าถึงสินค้าที่จำเป็นแก่ผู้บริโภคทุกระดับ กิจการที่ไม่สร้างผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ธนาคารให้ความสำคัญกับการพัฒนาและส่งเสริมให้ชุมชนสำคัญของธนาคารเกิดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมีขอบเขต
การดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้

  1. กำกับดูแลกิจการของธนาคารให้เป็นกิจการที่ดีของชุมชน ไม่ให้สร้างปัญหา ลดและ/หรือหยุดผลกระทบเชิงลบต่อชุมชนและสังคม จากกระบวนการดำเนินงานของธนาคาร ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการประกอบกิจการที่เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
  2. ส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนให้สามารถเติบโตไปด้วยกันด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติ จนเป็นวิถีชีวิต (Way of Life) เพื่อก่อให้เกิดผลดีต่อชุมชนและการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขไว้วางใจต่อกัน ทั้งที่เป็นชุมชนและสังคมที่ตั้งอยู่ติดกันหรือใกล้เคียงสถานประกอบการ รวมถึงชุมชนและสังคมที่ตั้งอยู่ห่างไกลออกไป
  3. ปฏิบัติตามแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยความสมัครใจ ไม่ใช่เพราะการเรียกร้องจากสังคม
  4. พนักงาน ผู้มีส่วนได้เสีย และชุมชนต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนทั้งในท้องถิ่นและสังคมในวงกว้างทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวางแผนจนถึงการปฏิบัติในทุกขั้นตอน เพื่อให้เกิดพันธสัญญาที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน
  5. สนับสนุนการลงทุนทางสังคม (Social Investment) ที่รวมถึง “ทุน” ที่เป็นตัวเงินและทุนประเภทอื่น เช่น ทุนมนุษย์ ทุนความรู้ ทุนสิ่งแวดล้อม และความสัมพันธ์ในการทำงานเชิงเครือข่ายของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องที่เน้นผลลัพธ์ (Outcome)ทางสังคม ที่หมายถึงประโยชน์สุขต่อคนในชุมชนและสังคมที่ดีขึ้น
  6. ส่งเสริมการพัฒนาชุมชนด้วยนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ประเพณี และศักยภาพของชุมชนผสมผสานกับหลักวิชาการ มาบูรณาการเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน

อ่านเอกสาร

แชร์เนื้อหา :
Skip to content