เพื่อให้คณะกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างของธนาคารออมสินทุกคน ได้นำแนวทางการดำเนินงานด้านการพัฒนาสู่ความยั่งยืน มาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการ รวมใจสู่ความเป็นเลิศ มุ่งสู่จุดหมาย ขององค์กรร่วมกัน จึงได้กำหนดเป็นนโยบายด้านการพัฒนาสู่ความยั่งยืน “ออมสินสร้างโลกสีชมพู” ภายใต้บริบทที่ตอบสนองต่อเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่ครอบคลุมผลกระทบ 3 ด้าน ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนี้
ด้านเศรษฐกิจ
1) เป็นธนาคารที่สนับสนุนการพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย
2) ดำเนินธุรกิจตามหลักธรรมมาภิบาลที่ดี โปร่งใส และเป็นธรรมเพื่อพัฒนา ศักยภาพ ประสิทธิภาพการทำงานให้มีคุณภาพ นำไปสู่ความเข้มแข็ง ขององค์กรได้อย่างยั่งยืน
3) หลีกเลี่ยงการดำเนินงานที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทาง ผลประโยชน์ ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ
4) สนองนโยบายรัฐบาล เพื่อประชาชน เพื่อเศรษฐกิจ ประเทศไทย
5) เป็นสถาบันเพื่อการออม และเป็นแหล่งเงินทุนเพื่อสนับสนุนการพัฒนา ประเทศให้กับภาครัฐ
6) แก้ไขความยากจน และยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนระดับฐานราก ให้เข้มแข็ง โดยคำนึงถึง เด็ก เยาวชน ผู้สูงวัย และ ผู้ด้อยโอกาส
7) ส่งเสริมการออมและสร้างวินัยทางการเงิน
8) ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก และ SMEs
9) สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม
10) มีช่องทางการรับข้อร้องเรียนจากลูกค้า และการตอบสนอง ต่อข้อร้องเรียน
11) ดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
12) ส่งเสริมการให้ความรู้ทางการเงินและการเข้าถึงแหล่งทุน
ด้านสังคม
1) ดำเนินธุรกิจและปฏิบัติตามข้อกำหนดสิทธิมนุษยชนตาม มาตรฐานสากล
2) ให้สิทธิแก่ชุมชนผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจได้มี ส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
3) ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและสังคม
4) สร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและสังคม
5) สนับสนุนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญา ท้องถิ่น เน้นการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมกันดูแลรักษา
6) ส่งเสริมการทำความดี มีคุณธรรม และจริยธรรม
7) สนับสนุนการศึกษาและการพัฒนาศักยภาพเยาวชน
8) พัฒนาและนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อสร้างสรรค์ สังคมที่ดี
9) ดำเนินงานเพื่อสาธารณประโยชน์และสาธารณกุศล
10) มีนโยบาย และกระบวนการทำงานที่ตระหนักถึงความ ปลอดภัยและอาชีวอนามัย
11) ให้ผลตอบแทน และสิทธิประโยชน์ที่เป็นธรรมต่อพนักงาน / ลูกจ้าง ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน
ด้านสิ่งแวดล้อม
1) ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินกิจกรรมที่สร้างสรรค์ต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2) สร้างและส่งเสริมจิตสำนึกในการดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อม
3) ดำเนินนโยบายเพื่อลดการใช้ทรัพยากร ลดการสูญเสีย และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (ECO-Efficiency)
4) สร้างความตระหนักให้ลูกค้าเห็นความสำคัญของการใช้สินค้า / บริการที่คำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม
5) สนับสนุนการลงทุน และการให้สินเชื่อที่คำนึงถึงผลกระทบด้าน สังคมและสิ่งแวดล้อม
ธนาคารออมสิน ได้วางเป้าหมายที่จะมุ่งสู่การเป็น Social Bank หรือ “ธนาคารเพื่อสังคม” อย่างเต็มรูปแบบ โดยมุ่งเน้นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goal หรือ SDGs) 2 ด้านหลัก คือ ด้านที่ 1 ลดความยากจน และด้านที่ 10 ลดความเหลื่อมล้าทางสังคม
Environment
• พิจารณาการให้สินเชื่อแก่ธุรกิจที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
• ปล่อยสินเชื่อให้กับโครงการที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม โดยไม่ส่งผลเสียต่อชุมชน
• เช่น สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ( Soft Loan ) แก่ผู้ประกอบการรายย่อย เป็นต้น
Social
• ให้ความสำคัญกับการเข้าถึงบริการทาง การเงิน และการให้ความรู้ทางการเงินกับ กลุ่มลูกค้าฐานรากหรือผู้ที่อยู่ในพื้นที่ ห่างไกล
• เช่น โครงการให้ความรู้ทางการเงิน , สินเชื่อเพื่อแก้ไขหนี้นอกระบบ , สินเชื่อเพื่อ เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบ จากไวรัสโคโรนา ( COVID-19 ) เป็นต้น
Governance
• ส่งเสริมการดำเนินการภายใต้หลัก ธรรมาภิบาลที่ดี และดำเนินธุรกิจอย่าง โปร่งใส
• เช่น ไม่สนับสนุนการดำเนินงานที่ก่อให้เกิด ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ต่อต้าน การทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบ ,จัดกิจกรรมสัปดาห์ส่งเสริมธรรมาภิบาล ต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน เป็นต้น