เคล็ดลับวางแผนทางการเงินสำหรับผู้สูงวัย – ลงทุนให้เหมาะกับความเสี่ยง

8df8c78f B1b6 463b 8aeb F60a0cda62c7

ลงทุนให้เหมาะกับความเสี่ยง

ต้องไม่ลืมว่าราคาข้าวของแพงขึ้นทุกวันตามอัตราเงินเฟ้อ ดังนั้น การเก็บเงินไว้เฉย ๆ ไม่นำมาลงทุนอะไรเลย มูลค่าของเงินจะลดลงเรื่อย ๆ จึงควรแบ่งเงินบางส่วนออกมาลงทุน ปล่อยให้เงินทำงานแทนเรา แต่ก็ต้องรู้จักเลือกลงทุนให้เหมาะสมด้วยค่ะ โดยมีคำแนะนำ คือ

  • ควรลงทุนในสินทรัพย์ที่ได้รับดอกเบี้ย หรือเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ จะได้มีเงินมาหมุนเวียนใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
  • เลือกลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภท เช่น เงินฝาก, ตราสารหนี้, พันธบัตรรัฐบาล, สลากออมทรัพย์, กองทุนรวม, หุ้น ฯลฯ
  • เน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ-ปานกลาง มากกว่าสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อป้องกันการขาดทุนและสูญเสียเงินก้อนสุดท้ายในชีวิต แต่ก็ไม่ควรลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำเพียงอย่างเดียว เพราะจะได้รับผลตอบแทนที่ต่ำมากจนสู้อัตราเงินเฟ้อไม่ไหว

จากคำแนะนำข้างต้น เราอาจแบ่งพอร์ตการลงทุนได้ ดังนี้

  • สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ มีสภาพคล่องสูง สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายในเวลาที่ต้องการใช้ เช่น เงินฝากออมทรัพย์, กองทุนรวมตลาดเงิน ประมาณ 20-40% หรือประมาณ 6-12 เท่าของค่าใช้จ่ายประจำ
  • สินทรัพย์ที่เหมาะกับการลงทุนระยะกลาง เช่น สลากออมทรัพย์, พันธบัตรรัฐบาล, กองทุนตราสารหนี้, หุ้นกู้ ประมาณ 30-50%
  • สินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูง แต่มีโอกาสได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น เช่น หุ้น, กองทุนรวมหุ้น, กองทุนอสังหาริมทรัพย์, ทองคำ ประมาณ 5-15%

ทั้งนี้ การจัดพอร์ตต้องขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยงที่เรารับได้ด้วยนะคะ หากรับความเสี่ยงได้ต่ำ ก็ควรลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำในสัดส่วนที่มากขึ้น เช่น เพิ่มสัดส่วนเงินฝากออมทรัพย์เป็นมากกว่า 50% ขึ้นไป เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถรักษาเงินต้นเอาไว้ได้

อย่างไรก็ตาม ข้อสำคัญก็คือ ไม่ว่าจะลงทุนประเภทใด ต้องศึกษาข้อมูลและพิจารณาให้รอบด้านก่อนทุกครั้ง หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน

บทความที่เกี่ยวข้อง

Thumb ปิดจบเรื่องหนี้

ปิดจบเรื่องหนี้ กับธนาคารออมสิน

ธนาคารออมสินห่วงใย อยากให้คนไทยปิดจบเรื่องหนี้ ติดตามข่าวสารบทความดีๆ ความรู้เรื่องหนี้

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
5tips

5 Tips ออมเงินฉบับชาวฟรีแลนซ์

ฟรีแลนซ์ … อาชีพอิสระที่ส่วนใหญ่มีรายได้ไม่แน่นอน จึงต้องมีวินัยในตัวเองมากๆ ในการหางาน หาเงิน และวางแผนการใช้จ่ายเงิน เพื่อจะได้มีกินมีใช้ไปตลอดชีวิต

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
เหตุฉุกเฉิน

เหตุฉุกเฉิน เกิดขึ้นได้เสมอ

การมีเงินสำรองติดไว้บ้าง จึงสำคัญมาก ซัก 3-6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือนกันเหนียว เวลาเกิดเรื่องอะไรที่ไม่คิดฝันมาก่อน จะได้ไม่ต้องปาดเหงื่อ

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
Thumb

รูปแบบการชำระคืนหนี้ในรูปแบบต่าง ๆ และภาระต้นทุนในการกู้ยืม

สินเชื่อที่ผ่อนชำระเป็นงวด "เลือกผ่อนสั้น สามารถประหยัดดอกเบี้ยได้อีกเยอะ" สินเชื่อที่ผ่อนชำระเป็นงวด (Term Loan) เช่น สินเชื่อบ้าน สินเชื่อบุคคล หากเลือกระยะเวลาในการผ่อนนาน ทำให้เสียดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญาเพิ่มขึ้น   สินเชื่อที่ผ่อนชำระขั้นต่ำ "จ่ายเพิ่มอีกนิด ประหยัดดอกเบี้ยได้อีกเยอะ" สินเชื่อหมุนเวียน (Revolving Loan) เช่น บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หากจ่ายชำระหนี้คืนขั้นต่ำอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้ต้องชำระดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญาสูง และใช้ระยะเวลานานในการชำระคืนหนี้ทั้งหมด   สินเชื่อวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี (overdraft) "จ่ายแค่ดอก ต้นไม่มีวันลด หนี้ไม่มีวันหมดแน่นอน" ควรพิจารณาชำระเพิ่มเติมหากมีรายได้จากแหล่งอื่น หรือมีเงินคงเหลือมากขึ้น เพื่อให้ปิดหนี้ได้เร็วขึ้นและลดภาระดอกเบี้ยในอนาคต
บทความข้อมูลเพิ่มเติม
เป็นหนี้ก่อนรวย หรือรวยก่อนเป็นหนี้ 1040x563

เป็นหนี้ก่อนรวย หรือรวยก่อนเป็นหนี้

เลือกทางเดินที่ใช่สำหรับคุณตั้งแต่วันนี้! และถ้าคุณพลาดไปแล้ว เริ่มต้นแก้ไขตอนนี้ก็ยังไม่สาย! แล้วคุณล่ะ? เคยเจอปัญหาทางการเงินแบบนี้ไหม

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
ดอกโหด ทวงโหด 1040x563

ดอกโหด-ทวงโหด : ความจริงที่ลูกหนี้นอกระบบต้องเผชิญ เมื่อเงินด่วน…กลายเป็นฝันร้าย

เงินกู้นอกระบบอาจช่วยคุณในระยะสั้น แต่สิ่งที่ตามมาคือ ดอกโหด ทวงโหด และชีวิตที่ไม่มีความสุข ทางที่ดีที่สุดคือ หลีกเลี่ยงตั้งแต่แรก! แต่ถ้าคุณตกอยู่ในวังวนนี้แล้ว อย่าท้อใจ! ยังมีทางออกเสมอ ขอเพียงเริ่มต้นจัดการให้เร็วที่สุด!

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
เงินกู้นอกระบบ ทางลัดหรือกับดัก 1040x563

เงินกู้นอกระบบ… ทางลัดหรือกับดักชีวิต?

หากคุณหรือคนใกล้ตัวกำลังประสบปัญหาการเงิน อย่าปล่อยให้ความเดือดร้อนทำให้ต้องเลือกเส้นทางที่อันตราย หาทางออกที่ถูกต้องและยั่งยืน เพื่อให้ชีวิตของคุณก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
มีหนี้ติดตัวก่อนเกษียณ 1040x563

มีหนี้ติดตัวก่อนเกษียณ รีบจัดการก่อนสายเกินไป!

เตรียมตัวให้ดี ชีวิตหลังเกษียณก็สบาย ไม่มีใครอยากใช้ชีวิตหลังเกษียณไปกับความเครียดทางการเงิน แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องวางแผนล่วงหน้า และลงมือทำตั้งแต่วันนี้ ยิ่งเริ่มเร็วเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุขมากขึ้นเท่านั้น

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
เพิ่งเริ่มทำงาน ทำไมเป็นหนี้ 1040x563

เพิ่งเริ่มทำงาน ทำไมเป็นหนี้มากมาย ทำอย่างไรดี ?

การเป็นหนี้หลังเริ่มทำงานไม่ใช่เรื่องแปลก แต่สิ่งสำคัญคือการรู้จักจัดการให้เหมาะสม หากคุณเริ่มบริหารเงินตั้งแต่วันนี้ หนี้ที่เคยเป็นภาระหนักก็จะค่อยๆ ลดลง และคุณจะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมั่นคงมากขึ้น ลองนำเทคนิคเหล่านี้ไปปรับใช้ แล้วคุณจะพบว่าการเงินของคุณดีขึ้นอย่างแน่นอน!

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
ปัญหาหนี้แก้ได้ 1040x563 1

ปัญหาหนี้แก้ได้! กลับมาแก้ไขไปด้วยกัน

การกลับมาแก้ไขหนี้ที่ค้างมานาน อาจจะดูน่ากลัวในตอนแรก แต่ถ้าคุณกล้าเผชิญหน้า และค่อย ๆ เดินไปทีละขั้น หนี้ที่หนักอึ้งก็สามารถจัดการได้ สิ่งสำคัญคือ “อย่าหนีหนี้” แต่ให้เริ่มต้นแก้ไขและหาทางออกให้กับตัวเอง หนี้ไม่ใช่จุดจบของชีวิต แต่เป็นบทเรียนที่เราสามารถแก้ไขได้ ขอแค่เริ่มต้น!

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
หนี้เสีย กับ หนี้ปกติ 1040x563

หนี้เสีย กับ หนี้ปกติ ต่างกันอย่างไร?

หนี้ปกติ (หนี้ดี / หนี้ที่ยังไม่เสีย) คือ เป็นหนี้ที่ยังชำระเงินตามปกติ ไม่เคยผิดนัด หรืออาจมีค้างจ่ายบ้างแต่ยังไม่ถึงขั้น “หนี้เสีย” ตัวอย่างหนี้ปกติ เช่น ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ จ่ายค่างวดตรงเวลา ใช้บัตรเครดิตแล้วจ่ายขั้นต่ำทุกเดือน

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
เป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องแย่ 1040x563 (1)

เป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องแย่ ถ้ารู้วิธีจัดการให้อยู่หมัด!

หนี้เป็นเครื่องมือทางการเงินที่ดีได้ ถ้าคุณเป็นคนควบคุมหนี้ ไม่ใช่ให้หนี้มาควบคุมคุณ! หากต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเงินและสินเชื่อ สามารถติดต่อ ธนาคารออมสิน เพื่อรับคำปรึกษาที่เหมาะสมกับคุณ 

บทความข้อมูลเพิ่มเติม
Skip to content