banner banner

คำถามที่พบบ่อย

1. ข้อมูลจำเป็นที่ธนาคารในต่างประเทศใช้เพื่อการส่งเงินมายังผู้รับเงินในประเทศไทยที่มีบัญชีกับธนาคารออมสิน ธนาคารในต่างประเทศส่วนใหญ่ต้องการข้อมูลจำเป็น ดังต่อไปนี้

  • เลขที่บัญชี ชื่อบัญชี
  • ชื่อธนาคารออมสิน Government Savings Bank
  • SWIFT Code ของธนาคารออมสิน คือ “GSBATHBK”
  • วัตถุประสงค์ของการโอนเงิน (Purpose of Remittance)

นอกจากนี้ ลูกค้าต้องแจ้งให้ธนาคารในต่างประเทศที่โอนเงินทราบว่า ห้ามไม่ให้แปลงค่าเป็นเงินบาท หรือ ห้ามไม่ให้โอนเงินบาทเข้ามา เนื่องจากธนาคารออมสินไม่ได้มีบัญชีสกุลเงินบาทกับธนาคารในต่างประเทศ เหมือนกับธนาคารพาณิชย์บางแห่งในประเทศไทย

 

2. การโอนเงินตราต่างประเทศขาเข้าจากต่างประเทศผ่านระบบ SWIFT ใช้เวลานานเท่าใดในการที่จะได้รับเงินโอนจากต่างประเทศ เพื่อเข้าบัญชีผู้รับเงินที่มีบัญชีกับธนาคารออมสิน

  • ประมาณ 1-3 วันทำการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความแตกต่างด้านเขตเวลา (Time Zone) และเวลาทำการของธนาคารในแต่ละประเทศ อย่างไรก็ตามในกรณีที่ธนาคารได้รับคำสั่งโอนเงินจากต่างประเทศที่ไม่สมบูรณ์ถูกต้อง ธนาคารจำเป็นต้องสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมไปยังธนาคารผู้สั่งโอนเงินในต่างประเทศก่อน อาจจะเป็นเหตุให้ผู้รับเงินได้รับเงินโอนเข้าบัญชีล่าช้า

 

3. ธนาคารออมสินคิดค่าธรรมเนียมเท่าใด สำหรับการโอนเงินตราต่างประเทศขาเข้าจากต่างประเทศ

  • ค่าธรรมเนียมในการโอนเงินตราต่างประเทศขาเข้าจากต่างประเทศ คือ 0.25% ของมูลค่าเงินโอน (ขั้นต่ำ 200 บาท สูงสุด 500 บาท) ต่อรายการ

 

4. จะทราบได้อย่างไรว่าเงินโอนจากต่างประเทศมาถึงแล้วหรือยัง

  • ลูกค้าสามารถตรวจสอบเงินโอนของลูกค้าโดยโทรศัพท์สอบถาม (66) 0 2299 8000 ต่อ 998197 หรือ 010333

 

5. สกุลเงินตราต่างประเทศที่ธนาคารออมสินเปิดให้บริการโอนเงินตราต่างประเทศขาเข้าผ่านระบบ SWIFT

  • 4 สกุลเงิน ได้แก่ ดอลลาร์ สหรัฐอเมริกา (USD) , ยูโร (EUR) , ปอนด์สเตอร์ลิง อังกฤษ (GBP) , เยน ญี่ปุ่น (JPY)

 

6. ธนาคารออมสินใช้อัตราแลกเปลี่ยนใดในการแปลงค่าเงินโอนสกุลต่างประเทศที่ได้รับจากต่างประเทศให้เป็นเงินบาท

  • ธนาคารออมสินใช้อัตราแลกเปลี่ยนด้าน ธนาคารรับซื้อ “สวิฟท์และโทรเลข” ในการแลกเปลี่ยนเงินโอนสกุลต่างประเทศให้เป็นเงินบาท ก่อนนำเงินบาทเข้าบัญชีผู้รับเงิน

 

7. ตามกฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดวงเงินที่สามารถโอนเงินเข้ามาในประเทศไทยได้เท่าใด

  • การโอนเงินตราต่างประเทศเข้ามาในประเทศทำได้ไม่จำกัดจำนวน สำหรับการโอนเงินจากต่างประเทศเพื่อเข้าบัญชีผู้รับเงินในประเทศไทย

 

8. เพราะเหตุใดจึงต้องแจ้งวัตถุประสงค์เมื่อทำการโอนเงินมายังประเทศไทย

  • เป็นมาตรการของทางการเพื่อป้องกันการฟอกเงินและการทุจริตอื่นๆ โดยข้อบังคับของธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่า ธนาคารทุกแห่งในประเทศไทยจะต้องให้ผู้โอนระบุวัตถุประสงค์ของการโอนเงินมาในคำสั่งการโอนเงินจากต่างประเทศ เพื่อให้ธนาคารในประเทศไทยทราบถึงวัตถุประสงค์ก่อนที่จะนำเงินเข้าบัญชีของผู้รับเงินในประเทศไทย โดยวัตถุประสงค์ของการโอนเงินอาจรวมถึง ชำระค่าสินค้า ซื้อคอนโดมิเนียม ค่าใช้จ่ายส่วนตัว โดยธนาคารออมสินจะรายงานวัตถุประสงค์สำหรับการโอนเงินเข้าทุกรายการไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย

 

9. IBAN คืออะไร

  • IBAN ย่อมาจากคำว่า “International Bank Account Number” คือเลขที่บัญชีของผู้รับเงินที่มีกับธนาคารในประเทศภูมิภาคยุโรป และกลุ่มตะวันออกกลาง เป็นข้อมูลจำเป็นในการโอนเงินไปยังธนาคารในภูมิภาคยุโรปและกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ผู้สั่งโอนควรสอบถามหมายเลข IBAN จากผู้รับในต่างประเทศก่อนจะทำการโอนเงินไปต่างประเทศ นอกจากนี้เคยมีลูกค้าที่ต้องการโอนเงินจากต่างประเทศเพื่อเข้าบัญชีผู้รับเงินที่มีบัญชีกับธนาคารออมสิน และสอบถามหมายเลข IBAN  ธนาคารขอแจ้งว่าธนาคารออมสินไม่มีหมายเลข IBAN ในกรณีต้องการรับเงินโอนจากต่างประเทศ โดยเข้าเลขที่บัญชีที่มีกับธนาคารออมสิน เพียงระบุ SWIFT Code ของธนาคารออมสิน คือ GSBATHBK ตามด้วยหมายเลขบัญชี ชื่อบัญชีและที่อยู่ผู้รับเงิน ในคำสั่งการโอนเงินจากต่างประเทศ

1. วันและเวลาให้บริการโอนเงินตราต่างประเทศขาออก

  • วันจันทร์ – ศุกร์ เวลาเปิดทำการของธนาคารแต่ละสาขา ถึง 15.30 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ วันเสาร์และวันอาทิตย์

 

2. สกุลเงินตราต่างประเทศที่ธนาคารออมสินเปิดให้บริการโอนเงินตราต่างประเทศขาออกผ่านระบบ SWIFT

  • 10 สกุลเงิน ได้แก่ ดอลลาร์ สหรัฐอเมริกา (USD) , ยูโร (EUR) , ปอนด์สเตอร์ลิง อังกฤษ (GBP) , ฟรังก์ สวิสเซอร์แลนด์ (CHF) , โครน เดนมาร์ก (DKK) , โครน นอร์เวย์ (NOK) , โครนา สวีเดน (SEK) , เยน ญี่ปุ่น (JPY) ดอลลาร์ ออสเตรเลีย (AUD) , ดอลลาร์ สิงคโปร์ (SGD)

 

3. จะต้องใช้ข้อมูลอะไรบ้าง หากต้องการโอนเงินไปยังธนาคารในต่างประเทศ

การโอนเงินไปยังธนาคารในต่างประเทศจำเป็นต้องใช้ข้อมูลดังนี้

  • ชื่อบัญชีและหมายเลขบัญชี* และที่อยู่ของผู้รับเงิน
  • สกุลเงินและจำนวนเงินที่ต้องการโอน
  • ชื่อและที่อยู่ธนาคารผู้รับ
  • รหัส SWIFT ธนาคารผู้รับ
  • วัตถุประสงค์ของการโอนเงิน

*หากผู้สั่งโอนต้องการโอนเงินไปยังธนาคารในภูมิภาคยุโรปหรือประเทศในกลุ่มตะวันออกกลาง ผู้สั่งโอนต้องระบุ IBAN ลงในใบคำขอโอนเงินไปต่างประเทศ (Application for Outward Remittance ) ด้วย

นอกจากนั้นต้องเตรียมเอกสารประกอบตามวัตถุประสงค์การโอนเงินตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย

 

4. ในการโอนเงินตราต่างประเทศขาออกผ่านระบบ SWIFT ต้องเสียค่าธรรมเนียมเท่าใด

ผู้สั่งโอนสามารถเลือกชำระค่าธรรมเนียมได้ 3 แบบ

  • กรณีผู้รับเงินในต่างประเทศ เป็นผู้รับภาระค่าธรรมเนียมที่ธนาคารต่างประเทศเรียกเก็บ (Charge Beneficiary) ค่าธรรมเนียม 400 บาทต่อรายการ
  • กรณีผู้โอนเงินเป็นผู้รับภาระค่าธรรมเนียมที่ธนาคารต่างประเทศเรียกเก็บ (Charge Our)

กรณีโอนเป็นสกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD) โครนเดนมาร์ก (DKK) โครนนอร์เวย์ (NOK) โครนาสวีเดน (SEK) ดอลลาร์สิงคโปร์ (SGD) ฟรังก์สวิสเซอร์แลนด์ (CHF) หรือโอนเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (USD) ให้แก่ผู้รับเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา ค่าธรรมเนียม 400 บาท บวกค่าธรรมเนียมที่ธนาคารต่างประเทศ เรียกเก็บอีก 750 บาท รวมเป็น 1,150 บาทต่อรายการ

กรณีโอนเป็นเงินสกุลเยน (JPY) ค่าธรรมเนียม 400 บาท และบวกค่าธรรมเนียมที่ธนาคารต่างประเทศเรียกเก็บอีกร้อยละ 0.05 ของจำนวนเงินที่โอนต่อรายการขั้นต่ำ 1,600 บาท รวมเป็น 2,000 บาท ต่อรายการหรือมากกว่าตามที่เรียกเก็บจริง

  • กรณีผู้โอนเงินเป็นผู้รับภาระค่าธรรมเนียมที่ธนาคารต่างประเทศเรียกเก็บ โดยธนาคารรับประกันว่าเงินโอนถึงธนาคารของผู้รับเงินเต็มจำนวน (Charge Our – Full Value Transfer)

ค่าธรรมเนียม 400 บาท บวกค่าธรรมเนียมที่ธนาคารต่างประเทศเรียกเก็บอีก 1,100 บาท รวมเป็น 1,500 บาทต่อรายการ เฉพาะสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (USD) เมื่อโอนเงินให้แก่ผู้รับเงินนอกประเทศสหรัฐอเมริกา

ค่าธรรมเนียม 400 บาท บวกค่าธรรมเนียมที่ธนาคารต่างประเทศเรียกเก็บอีก 1,300 บาท รวมเป็น 1,700 บาทต่อรายการ เฉพาะสกุลยูโร (EUR) และปอนด์สเตอร์ลิง (GBP)

หมายเหตุ ธนาคารอาจเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหากธนาคารต่างประเทศเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเกินกว่า ที่ธนาคารเรียกเก็บไว้จากลูกค้า กรณีที่เป็นการโอนเงินแบบ (Charge Our) หรือ (Charge Our – Full Value Transfer)

 

5. ธนาคารออมสินใช้อัตราแลกเปลี่ยนใดสำหรับการโอนเงินตราต่างประเทศขาออกเพื่อโอนเงินไปต่างประเทศ

  • ธนาคารออมสินใช้อัตราแลกเปลี่ยนด้าน ธนาคารขาย “ตั๋วเงิน/สวิฟท์” สำหรับการโอนเงินไปต่างประเทศผ่านระบบ SWIFT

 

6. สามารถโอนเงินตราต่างประเทศขาออกไปยังประเทศไหนได้บ้าง?

  • ทุกประเทศทั่วโลก ยกเว้น กรณีที่ผู้รับเงินปลายทางอยู่ในรายชื่อต้องห้ามเช่น UN List, Thailand List, OFAC List หรือกลุ่มคน หรือกลุ่มบุคคลต้องห้ามอื่น ๆ ที่ถูกระบุว่าเป็นตัวแทนของประเทศที่ถูกมาตรการลงโทษ (Sanctioned) หรือ โอนไปประเทศที่ถูกคว่ำบาตร (Sanctioned Country)

 

7. การโอนออกเพื่อชำระเงินที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งเป็นกรณีที่ต้องขออนุญาต (Negative list)นั้น สินทรัพย์ดิจิทัล หมายถึงอะไรบ้าง

  • สินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ภายใต้พระราชกำหนดการ ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ได้แก่ (1) คริปโทเคอร์เรนซี (cryptocurrency) (2) โทเคนดิจิทัล (token digital) ได้แก่ investment token และ utility token

1. สถานที่ให้บริการโอนเงินด่วนระหว่างประเทศของธนาคารออมสิน

  • ให้บริการที่ธนาคารออมสินทุกสาขา (ยกเว้นธนาคารออมสินสาขาที่เปิดให้บริการในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล) ตามเวลาทำการของแต่ละสาขา

 

2. ตัวแทนให้บริการโอนเงินด่วนระหว่างประเทศของธนาคารออมสิน

  • มี 3 ตัวแทน MoneyGram, Ria Money Transfer, SpeedSend

 

3. หลักฐานแสดงตนในการทำธุรกรรม รับเงิน-ส่งเงินโอนเงินด่วนระหว่างประเทศ ใช้หลักฐานแสดงตนใดบ้าง (กรณีรับเงินนอกจากหลักฐานแสดงตน ต้องนำรหัสรับเงินมาด้วย)

  • ลูกค้าผู้มีสัญชาติไทย มาใช้บริการรับเงิน-ส่งเงินโอนเงินด่วนระหว่างประเทศ ใช้เอกสารแสดงตนคือ บัตรประชาชน ตัวจริงที่ยังไม่หมดอายุ
  • ลูกค้าชาวต่างประเทศ มาใช้บริการรับเงิน-ส่งเงินโอนเงินด่วนระหว่างประเทศ ใช้เอกสารแสดงตนคือ พาสปอร์ต (Passport) ตัวจริงที่ยังไม่หมดอายุ

 

4. จำนวนเงินสูงสุดที่สามารถ รับ-ส่ง ได้ต่อวัน

  • บริการโอนเงินของ MoneyGram สามารถโอนได้ 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 300,000 บาท/30วัน/คน
  • บริการโอนเงินของ SpeedSend สามารถโอนได้ 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 300,000 บาท/วัน/คน
  • บริการโอนเงินของ Ria Money Transfer สามารถโอนได้ 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 90,000 บาท/30 วัน/คน.

ทั้งนี้ จำนวนเงินสูงสุด ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละตัวแทนให้บริการในแต่ละประเทศ หรือตามข้อกำหนดของประเทศต้นทาง หรือประเทศปลายทาง

 

5. รหัสรับเงิน หรือรหัสอ้างอิงในการทำธุรกรรมโอนเงินด่วนระหว่างประเทศ มีดังนี้

  • รหัสรับเงิน MoneyGram   8  หลัก
  • รหัสรับเงิน Ria Money Transfer  11 หลัก
  • รหัสรับเงิน SpeedSend  13 หลัก (ประกอบด้วยตัวอักษร 5 หลัก ตัวเลข 8 หลัก)

 

6. ในกรณีที่ต้องการสอบถามหรือมีข้อสงสัยในการทำธุรกรรม และต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน ต้องติดต่อที่ใด

  • ติดต่อสายด่วน MoneyGram 001 800 852 3017 (Toll Free) ตลอด 24 ชั่วโมง
  • ติดต่อ Ria Call center  001 800 32020 (Toll Free)
  • หรือลูกค้าสามารถโทรศัพท์สอบถาม (66) 0 2299 8000 ต่อ 010351, 010352
Skip to content