วางใจให้ออมสิน

ดูแลความสุขของชีวิตคุณ

banner banner
หน้าหลัก > บล็อกการเงิน > Financial > 4 CheckList การเงินของคุณและคู่รักก่อนมีครอบครัว

4 CheckList การเงินของคุณและคู่รักก่อนมีครอบครัว

17 มิ.ย. 2562

 

4 วิธีเช็กเพื่อความมั่นคงก่อนมีครอบครัว

 

1.เช็กเงินออม

ลองคำนวณดูว่า ในแต่ละปี ทั้งสองฝ่ายมีรายได้เท่าไหร่ และเมื่อหักรายจ่ายประจำเดือนแล้ว ยังมีเงินเก็บอยู่ไหม หากมี ลองคิดต่อยอดว่า เงินเก็บก้อนนี้จะสามารถแบ่งออกเป็นเงินสำรองฉุกเฉิน หรือเงินในอนาคตสำหรับลูกได้หรือไม่สมมุติทั้งคู่มีรายได้คนละ 300,000 บาท9ปี สองคนก็จะรวมเป็น 600,000 บาท และเมื่อหักรายจ่ายของแต่ละเดือนแล้ว ก็จะเหลือเก็บรวมกันคนละ 100,000 บาทต่อปี ยอดนี้ สามารถแบ่งเก็บครึ่งหนึ่ง 50,000 บาท เพื่อเป็นเงินสำรองฉุกเฉินในกรณีที่เจ็บไข้ได้ป่วย และอีก 50,000 บาทเพื่อเป็นเงินในอนาคตให้แก่ลูก

 

2.เช็กหน้าที่บริหารเงิน

เมื่อคนสองคนตกลงร่วมเส้นทางชีวิตด้วยกันแล้ว ควรตกลงกันว่า จะจัดสรรรายจ่ายอย่างไร อาจจะแบ่งว่าคนหนึ่งรับผิดชอบค่าไฟค่าน้ำ ส่วนอีกคนรับผิดชอบค่าจ้างแม่บ้าน ค่าซักผ้ารีดผ้าฯลฯ หรือจะทำบัญชีร่วมด้วยกันเพื่อเป็นเงินก้อนสำหรับรายจ่ายในแต่ละเดือนก็น่าสนใจ เพราะจะได้ตรวจสอบยอดเงินสะดวกและเมื่อใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันแล้ว ก็ย่อมมีค่าใช้จ่ายที่ทั้งสองควรรับผิดชอบร่วมกัน เช่น ค่าเทอมของลูก เป็นต้น

 

3.เช็กภาระหนี้ที่มีอยู่

สำหรับคู่รักที่ทางครอบครัวมีหนี้ หรือยังติดผ่อนรถหรือข้าวของต่าง ๆ ก็ถึงเวลาที่จะแจ้งให้อีกฝ่ายได้ทราบ เพื่อหาทางปลดหนี้ เช่น อีกฝ่ายอาจจะติดเรื่องผ่อนรถอยู่ซึ่งผ่อนมาหลายปีแล้ว และยังไม่หมดสักที หากอีกฝ่ายพอมีเงินเหลือเก็บ ก็อาจนำเงินก้อนไปโปะก่อน จะได้ไม่ต้องเสียค่าดอกเบี้ย แล้วหลังจากนั้น หากเจ้าของรถอยากคืนเงินให้ ก็ค่อยโอนคืนคนรักก็ยังทำได้ บางคนอาจเขินอายที่มีภาระเรื่องนี้ แต่การเก็บงำเอาไว้ ก็อาจจะไม่ได้ช่วยอะไร และหากอีกฝ่ายรักและเข้าใจคุณจริง ๆ เขาหรือเธอจะช่วยคิดหาทางออกแน่นอน ซึ่งการแก้ปัญหาอาจช่วยกันหารายได้เสริมเพื่อเร่งระยะเวลาปลดหนี้ให้เร็วขึ้น หรือการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการวางแผนปลดหนี้ระยะยาว

 

4.เช็กเงินสำหรับการใช้จ่ายอื่น ๆ

คำว่า การใช้จ่ายอื่น ๆ อาจหมายถึงรายจ่ายหลาย ๆ อย่าง รวมถึงค่าใช้จ่ายที่น่ากลัวมากที่สุด นั่นก็คือการใช้จ่ายเงินในกรณีฉุกเฉิน เช่น อุบัติเหตุ เป็นต้น คู่รักควรมีเงินสำรองฉุกเฉินเผื่อไว้ในกรณีนี้เพราะหากมีเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว เงินจำนวนนี้ล่ะที่จะผ่อนผันจากหนักให้เป็นเบาได้ นอกจากนั้น ลองวางแผนเพื่ออนาคตไกล ๆ อย่างตอนที่คุณเกษียณกันทั้งสองคน ช่วงเวลานั้นอาจเป็นช่วงที่ไม่สบายได้ง่ายและไม่มีรายได้เข้ามาเท่ากับตอนที่ยังหนุ่มสาว ลองคิดดูว่า หากจะใช้ชีวิตหลังวัยเกษียณอย่างมีความสุขแล้ว จะต้องใช้เงินประมาณเท่าไหร่ต่อเดือน สำหรับคนที่อยากมีลูก ลองวางแผนกันก่อนว่า อยากมีกี่คน และอยากให้ลูกเรียนที่โรงเรียนไหน จากนั้นลองคำนวณค่าเล่าเรียนของลูกเป็นหลัก โดยอาจจะคิดวางแผนว่า หากให้ลูกของตนเรียนถึงปริญญาตรีควรจะมีเงินเก็บเท่าไหร่

 

สุดท้ายนี้ หากคู่รักคนไหนกำลังจะมีครอบครัวและลูกตัวน้อย ก็อยากจะขอฝากให้สอนลูก ๆ ให้มีวินัยทางการเงินที่ รู้จักการออมเงินตั้งแต่เด็ก เพื่อให้ลูก ๆ สามารถสร้างความมั่นคงทางการเงินได้เองในอนาคต

 

Skip to content