วางใจให้ออมสิน

ดูแลความสุขของชีวิตคุณ

banner banner
หน้าหลัก > บล็อกการเงิน > Lifestyle > 3 เป้าหมายเก็บเงินตามฝัน จะเรียนต่อ-ท่องเที่ยว หรือแต่งงาน ชีวิตสุขสันต์สร้างได้ ไม่ต้องรอนาน

3 เป้าหมายเก็บเงินตามฝัน จะเรียนต่อ-ท่องเที่ยว หรือแต่งงาน ชีวิตสุขสันต์สร้างได้ ไม่ต้องรอนาน

11 มี.ค. 2564
Blog เติมความสุขให้ชีวิต Head

แต่ละคนย่อมมีเป้าหมายที่จะสร้างความสุขให้ชีวิตแตกต่างกันไป บางคนอยากศึกษาเล่าเรียนในระดับที่สูงขึ้น เพื่อให้มีความรู้เป็นรากฐานในวันข้างหน้า ขณะที่บางคนมีแพสชั่นที่จะเติมสีสันให้ชีวิตด้วยการออกเดินทางท่องเที่ยวไปยังจุดหมายต่าง ๆ
เปิดประสบการณ์ใหม่ให้ตัวเอง และยังมีอีกหลาย ๆ คนที่ทุกอย่างกำลังลงตัว อยู่ในจุดที่พร้อมจะสร้างครอบครัว สร้างความก้าวหน้าให้ชีวิตไปอีกขั้นหนึ่ง

            แต่น่าเสียดายที่ความฝันของคนจำนวนไม่น้อยกลับต้องสะดุดลงเพราะไม่มีเงินเก็บเพียงพอเป็นค่าใช้จ่ายตามความต้องการ ดังนั้น เพื่อสานทุกฝันให้เป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการศึกษา เดินทางท่องเที่ยว หรือมีแพลนแต่งงานในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เราต้องเตรียมพร้อมเรื่องการเงินไว้ก่อน โดยเริ่มเก็บออมตั้งแต่วันนี้ ตามเทคนิคดี ๆ ที่ทางธนาคารออมสิน ขอแชร์ให้ทราบกันค่ะ

1

2

          เพราะการศึกษาเป็นใบเบิกทางของชีวิตได้ส่วนหนึ่ง แต่การเรียนต่อในระดับสูงก็จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนไม่น้อย
แล้วจะเริ่มเก็บเงินอย่างไรดี ? ลองดูวิธีต่อไปนี้
 

1. ตั้งเป้าหมาย

          เริ่มจากตั้งเป้าหมายไปทีละขั้น เช่น ตอนนี้เรียนปริญญาตรี อยากศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สิ่งที่ต้องหาข้อมูลก็คือ
จะเรียนที่ไหน สาขาวิชาอะไร หลักสูตรปกติ หลักสูตรนานาชาติ หลักสูตรนอกเวลา หรือเรียนต่อต่างประเทศ และสามารถขอทุนการศึกษา หรือมหาวิทยาลัยไหนเปิดให้สอบชิงทุนได้บ้างไหม เพราะทั้งหมดนี้เป็นตัวแปรที่มีผลต่อค่าใช้จ่ายทั้งนั้น

2. คำนวณงบประมาณ

          ค่าใช้จ่ายเรื่องการศึกษาจะขึ้นอยู่กับสาขาวิชาที่เลือกด้วย อย่างสายวิทยาศาสตร์ ค่าเทอมก็จะแพงกว่าสายศิลปศาสตร์ และหากเรียนต่อในหลักสูตรปกติของมหาวิทยาลัยในประเทศ ค่าใช้จ่ายจะไม่สูงมากเมื่อเทียบกับหลักสูตรนอกเวลา และหลักสูตรนานาชาติ

แต่ถ้าเลือกเรียนต่อต่างประเทศ นอกจากต้องเตรียมค่าเทอมหลายแสนบาทต่อปี ยังต้องคำนวณค่าใช้จ่ายจิปาถะ เช่น ค่าสอบวัดระดับภาษา ค่าวีซ่า ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าที่พัก ค่าประกันสุขภาพและอุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาล ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายส่วนตัวอย่างค่าอาหาร ค่าเดินทางในประเทศนั้น ๆ ฯลฯ ซึ่งบางประเทศมีค่าครองชีพค่อนข้างสูงเอาการ จึงต้องเปรียบเทียบแต่ละหลักสูตรทั้งในประเทศและต่างประเทศดูก่อนว่า ควรเลือกแบบไหนถึงเหมาะกับตัวเองมากที่สุด

3. วางแผนการออม

          ให้พิจารณาว่าตอนนี้คุณมีเงินเก็บอยู่เท่าไร ยังมีเวลาเก็บเงินได้อีกนานแค่ไหน เช่น ตัดสินใจจะลาออกจากงานประจำไปเรียนต่อปริญญาโท ในอีก 2 ปีข้างหน้า คาดการณ์งบประมาณไว้ 250,000 บาท ก็จะต้องเก็บเงินให้ได้อย่างน้อยปีละ 125,000 บาท หรือเฉลี่ยเดือนละ 10,417 บาท ถึงจะสบายใจว่ามีเงินพอจ่ายค่าเทอมแน่ ๆ แต่หากลำบากเกินไป ก็สามารถขยับขยายช่วงเวลาที่จะเรียนต่อออกไปเป็น 3 ปี 4 ปี เพื่อให้เก็บเงินได้ง่ายขึ้น หรือจะเปลี่ยนเป้าหมายเป็นการเรียนไปด้วย ทำงานไปด้วย ไม่ต้องรอเก็บเงินให้ครบก่อนค่อยไปเรียน แม้จะเหนื่อยสักหน่อย แต่ก็ทำตามความฝันได้เร็วขึ้นเช่นกัน
 
3
 

4. เริ่มต้นออม

ทีนี้ก็ได้เวลาลงมือออม ซึ่งเริ่มจากวิธีง่าย ๆ เช่น

  • แบ่งเงินเดือนบางส่วนมาออม 
    ในกรณีที่คุณยังเรียนอยู่ ไม่ได้ทำงานประจำ ก็ใช้วิธีประหยัดค่าใช้จ่ายสักหน่อย และแบ่งเงินบางส่วนที่ผู้ปกครองให้ไว้มาทยอยออม ส่วนคนที่มีรายได้เป็นของตัวเองแล้ว ก็สามารถหักเงินในแต่ละเดือนมาออม หรือแบ่งเงินพิเศษ เงินโบนัส มารวมด้วยก็ยิ่งดี
  • หางานพิเศษเพิ่มรายได้ 
    นักเรียน-นักศึกษา อาจหางานพาร์ตไทม์ทำในวันหยุด หรือหารายได้เสริมจากทักษะที่ตัวเองมี ส่วนคนทำงานประจำ ก็ต้องมองหาอาชีพเสริมอื่น ๆ ที่ทำได้ในช่วงเลิกงาน หรือวันหยุด เช่น ขายของออนไลน์ ทำอาหาร เป็นฟรีแลนซ์ เพื่อให้มีรายรับเข้ามาหลายทาง
  • ลงทุนต่อยอดเงินออม
    การรู้จักลงทุนจะทำให้ผลตอบแทนของเงินออมเติบโตไปอีกขั้น แต่จะเลือกลงทุนอะไรดี ก็ต้องขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ต้องการใช้เงิน เช่น หากวางแผนเรียนต่อในอีก 3 ปีข้างหน้า แบบนี้สามารถเลือกเปิดบัญชีเงินฝากประจำที่ได้ดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ หรือจะซื้อสลากออมทรัพย์ไว้ลุ้นรางวัลก็ได้ รวมทั้งลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงไม่สูงมาก

33 (2)

4

          ชาร์จแบตฯ ให้ตัวเองด้วยการจัดทริปเที่ยวไทยหน่อยก็ดี ส่วนคนที่รอให้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ในต่างประเทศคลี่คลายก่อน จะได้จัดทริปตะลุยเมืองนอกให้เต็มอิ่ม ถือเป็นโอกาสที่จะได้มีเวลาเป็นปีเก็บเงินเพื่อทริปในฝันของคุณ ซึ่งเริ่มต้นได้เช่นเดียวกับการเก็บเงินเพื่อศึกษาต่อเลยค่ะ

1. ตั้งเป้าหมาย

          มองหาจุดหมายปลายทางว่าจะเดินทางไปเที่ยวที่ไหนดี ในประเทศ หรือต่างประเทศ จะไปช่วงเดือนไหน เป็นช่วงโลว์ซีซั่น หรือไฮซีซั่นของการท่องเที่ยวหรือไม่ เรื่องนี้ก็มีผลต่องบประมาณที่ต้องเตรียมในกระเป๋าเช่นกัน

2. คำนวณงบประมาณ

          เลือกสถานที่ได้แล้วก็มาคำนวณงบประมาณกันต่อว่าจะเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว รถโดยสาร รถไฟ หรือเครื่องบิน และต้องการที่พักแบบไหน จะพักกี่คืน และต้องเผื่อค่ากิน ค่าช้อปปิ้งต่าง ๆ ไว้ด้วยนะคะ ส่วนคนที่คิดจะเดินทางไปต่างประเทศ ก็จำเป็นต้องซื้อประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุติดตัวไว้ด้วย

อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงเวลาต้องเดินทางจริง ๆ ตัวเลขงบประมาณที่คำนวณไว้สามารถปรับขึ้นหรือลดลงได้เสมอ ทางที่ดีก็น่าจะออมเงินให้เกินจำนวนที่คิดไว้คร่าว ๆ ก่อนดีกว่า เพื่อความอุ่นใจ

3. วางแผนการออม

          จะเก็บเงินถึงเป้าหมายหรือไม่ ส่วนหนึ่งก็ต้องดูว่าคุณวางแผนเที่ยวล่วงหน้านานแค่ไหนเหมือนกัน สมมติว่าจะไปทริปภาคเหนือในอีก 6 เดือนข้างหน้า กำหนดงบประมาณไว้ที่ 5,000 บาท ก็อาจทยอยเก็บเงินเดือนละ 800 กว่าบาท
ได้แบบไม่เหนื่อยมากนักหรือลองคิดจากความสามารถในการเก็บเงินต่อเดือน ดูว่าต้องใช้เวลานานแค่ไหนถึงทำได้ตามเป้าหมาย เช่น คุณตั้งใจเก็บเงินเพื่อการท่องเที่ยว เดือนละ 2,000 บาท อยากไปเที่ยวต่างประเทศในงบประมาณ 40,000 บาท ก็ต้องใช้เวลา 20 เดือน หรือเกือบ 2 ปี ถึงจะได้ไป

5

4. เริ่มต้นออม

          เมื่อแผนทุกอย่างเรียบร้อยก็ลงมือออมได้ทันที โดยอาจเลือกใช้หลาย ๆ วิธีมาช่วยให้เก็บเงินได้ง่ายขึ้น และมีเงินเหลือมากกว่าเดิม เช่น
  • แบ่งเงินเดือนมาออม 
    ให้เปิดบัญชีเงินฝากเพื่อการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ พอเงินเดือนออกปุ๊บก็โอนบางส่วน เช่น เดือนละ 10% หรือ 20% มาเข้าบัญชีนี้ทันที และห้ามถอนเงินออกมาเด็ดขาด
  • ลงทุนเพิ่มผลตอบแทน 
    หากเป็นทริปที่เดินทางภายใน 1 ปี คงมีตัวเลือกให้ลงทุนไม่มาก อย่างการฝากเงินดอกเบี้ยสูง หรือเลือกลงทุนในหุ้น ซึ่งมีความเสี่ยงสูงควรระวัง แต่ก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงกลับมาภายในระยะเวลาสั้น ๆ แต่ถ้าเป็นทริปที่วางแผนไว้ล่วงหน้านานหน่อย จะลงทุนได้หลากหลายกว่าและเลือกที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าได้ เช่น ฝากประจำ ซื้อสลากออมทรัพย์ พันธบัตรออมทรัพย์ กองทุนรวม ฯลฯ
  • เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เงิน
    อยากเก็บเงินได้มากขึ้นก็ต้องใช้จ่ายให้น้อยลง ลองจดบัญชีรายรับ-รายจ่ายดูเลยก็ได้ว่าสิ่งไหนเป็นค่าใช้จ่ายจำเป็น-ค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ตัดใจลดส่วนฟุ่มเฟือยให้ได้ทุกเดือนแล้วจะเหลือเงินเก็บเพิ่มขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ
  • ใช้โปรโมชั่นให้เกิดประโยชน์
    การวางแผนไว้แต่เนิ่น ๆ จะมีโอกาสจองตั๋วเครื่องบินหรือที่พักได้ราคาถูกกว่าปกติ เพราะมักมีโปรโมชั่นราคาพิเศษเอาใจคนจองล่วงหน้า รวมทั้งสิทธิพิเศษและส่วนลดจากการจองผ่านบัตรเครดิต ดังนั้น ต้องคอยติดตามตรวจสอบโปรโมชั่น
    อยู่เรื่อยๆ

 

33 (1)

6

การแต่งงานเป็นการเริ่มต้นชีวิตครอบครัวที่เป็นความฝันของหลายคน แต่กว่าจะเนรมิตงานวิวาห์ดังใจปรารถนาขึ้นมาได้ เงินในกระเป๋าก็ต้องพร้อมด้วย ว่าที่เจ้าบ่าว-เจ้าสาวทั้งหลายจึงต้องเก็บเงินล่วงหน้าตามคำแนะนำต่อไปนี้

1. ตั้งเป้าหมาย

          เช่นเดียวกับการเก็บเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษา หรือท่องเที่ยว คุณต้องมีเป้าหมายชัดเจนว่าจะจัดงานแต่งงานในรูปแบบไหน หมั้นเช้า-แต่งเย็น หรือคนละวัน ธีมงานเป็นอย่างไร สถานที่จัดงานหรูหราแค่ไหน ตั้งใจจะเชิญแขกกี่คน งานเล็ก-งานใหญ่ จัดเองหรือจ้างออร์แกไนซ์ และรายละเอียดยิบย่อยอีกมากมายที่คู่บ่าวสาวต้องพิจารณาและคุยกันให้ดี

2. คำนวณงบประมาณ

          อย่างที่บอกว่า การจัดงานแต่งงานมีค่าใช้จ่ายจิปาถะเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นค่าชุดแต่งงาน ค่าเสริมสวย ค่าสถานที่ อาหารจัดเลี้ยง แหวนแต่งงาน ของชำร่วย การ์ดแต่งงาน ค่าใช้จ่ายในการดูฤกษ์ยาม ค่าถ่ายภาพพรีเวดดิ้ง ถ่ายภาพและวิดีโอในงาน ฯลฯ ยังไม่รวมค่าสินสอดที่ฝ่ายชายต้องจ่าย ซึ่งสำหรับคนที่มีงบประมาณไม่มาก ก็ต้องบริหารจัดการให้ดี

3. วางแผนการออม

          ในขั้นนี้ ทั้งสองฝ่ายต้องมาสรุปว่าจะใช้งบประมาณเท่าไร แล้วตอนนี้มีเงินเก็บอยู่เท่าไร ต้องใช้ระยะเวลาเก็บเงินร่วมกันอีกนานแค่ไหน

ยกตัวอย่าง ถ้าคุณตั้งใจจะจัดงานในอีก 2 ปีข้างหน้า โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณราว ๆ 600,000 บาท ปัจจุบันมีเงินเก็บอยู่ 100,000 บาท แสดงว่าต้องเก็บเงินเพิ่มอีก 500,000 บาท หรือปีละ 250,000 บาท เท่ากับต้องช่วยกันเก็บเงินให้ได้เดือนละ 20,000 กว่าบาท แต่หากตั้งงบประมาณไว้ต่ำกว่านี้ หรือมีระยะเวลาเก็บเงินได้นานกว่านี้ จำนวนเงินที่ต้องออมต่อเดือนก็จะน้อยลง ลองเปรียบเทียบจากตารางข้างล่างนี้ได้เลย

 

7

4. เริ่มต้นออม

           คุณสามารถแบ่งเงินเดือนหรือรายได้บางส่วนมาเก็บไว้ในบัญชีเงินออมเพื่อการแต่งงานโดยเฉพาะ แต่เนื่องจากการแต่งงานต้องใช้เงินก้อนใหญ่ในครั้งเดียว และมีรายละเอียดมากมายที่ทำให้เลื่อนกำหนดการได้ยากกว่าการเรียนต่อ หรือท่องเที่ยว จึงควรนำเงินออมไปลงทุนระยะสั้นที่ได้ผลตอบแทนแน่นอน และมีความเสี่ยงต่ำ เช่น เงินฝากดอกเบี้ยสูง กองทุนรวมตลาดเงิน เพื่อไม่ให้สูญเสียเงินต้น

หรือถ้าวางแผนแต่งงานในอีกอย่างน้อย 2-3 ปีข้างหน้า จะเลือกฝากเงินแบบปลอดภาษี กองทุนรวมตราสารหนี้ หรือซื้อสลากออมทรัพย์เอาไว้ลุ้นรางวัลให้เงินงอกเงยเพิ่มขึ้นก็ดีค่ะ แต่ไม่แนะนำให้ลงทุนในหุ้น ทองคำ หรือสินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูง เพราะเดาสภาวะตลาดในอนาคตไม่ได้เลย เกิดขาดทุนขึ้นมาอาจต้องพับแผนวิวาห์ไปอย่างน่าเสียดาย

มาถึงตรงนี้ก็คงจะเห็นแนวทางการออมเงินของตัวเองแล้วใช่ไหมคะ หากคุณมีวินัยและตั้งใจจริงย่อมทำได้แน่นอน แต่สำหรับบางคน บางความฝันอาจรอไม่ได้ เพราะมีโอกาสเข้ามาก่อนที่เงินจะพร้อม จึงจำเป็นต้องใช้เงินก้อนทันที ซึ่งคงไม่สามารถออมเงินตามแผนที่วางไว้ได้ทัน แต่ก็อย่าเพิ่งล้มเลิกความตั้งใจไปนะคะ อย่างน้อยยังสามารถขอสินเชื่อบุคคลมาช่วยแก้ปัญหานี้ได้ โดยเฉพาะถ้าคุณมีบัญชีเงินฝากธนาคารออมสิน หรือสลากออมสินพิเศษ แนะนำให้ขอ “สินเชื่อชีวิตสุขสันต์” ของธนาคารออมสิน ที่จะเปลี่ยนเงินออมให้เป็นเงินหมุนเวียนใช้จ่ายด้านการอุปโภค บริโภค เป็นทุนการศึกษา แต่งงาน ท่องเที่ยว หรือเป็นเงินสำรองในเวลาฉุกเฉินตามความต้องการ

 

ที่สำคัญก็คือ “สินเชื่อชีวิตสุขสันต์” เป็นสินเชื่อที่ขอกู้ได้ง่ายมาก ให้วงเงินสูง ได้เงินไว ดอกเบี้ยถูก อาชีพไหนก็กู้ได้ ไม่ต้องตรวจประวัติทางการเงิน แค่มีสมุดเงินฝากของธนาคารออมสิน หรือสลากออมสินพิเศษของตัวเอง หรือบุคคลอื่นที่ให้ความยินยอม ก็ใช้เป็นหลักประกันเงินกู้ได้แล้ว โดยระหว่างนั้นเงินฝากก็ยังได้รับดอกเบี้ย และสลากออมสินพิเศษก็ยังได้ลุ้นรางวัลทุกเดือนเหมือนเดิม แถมยังให้เลือกผ่อนชำระเงินกู้ได้ทั้งรายเดือน และรายปี (หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด)

 

11

ความสุขไม่ต้องรอนาน “สินเชื่อชีวิตสุขสันต์” จะช่วยให้คุณก้าวตามฝันได้ทันใจ เงินเก็บก็ยังอยู่ แถมได้เงินกู้เพิ่ม เท่านี้ก็สามารถเติมเต็มชีวิตให้สุขสันต์ขึ้นได้อีกเยอะ สนใจสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
เว็บไซต์ธนาคารออมสิน หรือสอบถามได้ที่ Call Center 1115 และธนาคารออมสิน ทุกสาขา

—————————————————————–

Skip to content