วิวัฒนาการบริการ

วิวัฒนาการบริการ

วิถีชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาลำน้ำสายสำคัญที่หล่อ เลี้ยงและรังสรรค์สรรพชีวิต ให้ดำรงอยู่คู่แผ่นดินไทยตลอดมาอันจะเป็นการสืบทอดและเผยแพร่วัฒนธรรมขนบธรรมเนียม ประเพณีความเป็นอยู่ของ ผู้คนให้ได้ทราบกัน การให้บริการรับฝากโดยเรือรับฝากเป็นการบริการของธนาคารออมสินที่เข้าถึง บันไดบ้าน ของประชาชน การรับฝากเงินโดยใช้เรือที่ทำเป็นที่ทำการนั้น เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของธนาคารออมสินที่ไม่มี ใครหมือนและเป็นสิ่งที่สามารถสร้างแรงดึงดูดให้สื่อมวลชนทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ สนใจมาทำข่าว และสารคดีอยู่เรื่อย ๆ ดังนั้นก่อนที่จะไปติดตามดูการทำงานของธนาคารเรือ ดูชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องพนักงานสาขาเรือเคลื่อนที่ วีถีชีวิตของผู้ใช้บริการตลอดทั้งการทำงานของสื่อมวลชนที่มาถ่ายทำข่าวสาร คดีธนาคารเรือ เราไปรู้จักกับประวัติความเป็นมาของธนาคารเรือกันก่อน

ประวัติความเป็นมาของธนาคารเรือ

จาก ข้อมูลที่ได้มีการบันทึกต่อๆกันมาทราบว่า ธนาคารออมสินจัดให้มีเรือ เคลื่อนที่รับฝากทางน้ำขึ้นที่เห็นว่าประชาชนที่มีบ้านเรือนอยู่บริเวณสอง ฝั่งแม่ น้ำลำคลองต่างๆถ้าหากจะเดินทางไปฝากเงินกับสำนักงานสาขาของธนาคาร อาจจะไม่สะดวกในการเดินทางดังนั้นพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและจูงใจ ให้ประชาชนที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำลำคลองได้หันมาออมทรัพย์กันมากขึ้น ม.ล. ปืน ไทย มาลากุล ผู้อำนวยการธนาคารออมสินในขณะนั้นจึงได้มีนโยบายที่จะให้บริการรับฝากเงิน โดยใช้เรือเคลื่อนที่ขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2501เป็นต้นมานับเป็นธนาคารแห่งแรกของโลกและแห่งเดียวของประเทศไทยที่ ให้บริการรับฝากเงินโดยใช้เรือเคลื่อนที่

ใน ระยะแรกๆ ของการเปิดให้บริการรับฝากเงินโดยใช้เรือนั้น ธนาคารได้เปิดให้ บริการในต่างจังหวัดก่อน โดยต้องใช้เรือ ขนาดเบา กินน้ำตื้นมารับฝาก เพราะแม่น้ำลำคลองบางแห่งในฤดูแล้งน้ำตื้นเขิน ถ้าหากใช้เรือที่มีขนาดใหญ่ จะไม่สะดวกและรับ ฝากได้ไม่ทั่วถึง ในต่างจังหวัดมีบริการรับฝากโดยเรือเคลื่อน ที่หลายแห่ง เช่น อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร อ.บางคณฑี จ.สมุทรสงคราม อ.บางใหญ่ จ. นนทบุรี และอ. ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี เป็นต้น ในระยะ ต่อมาการบริการรับฝากเงิน โดยเรือเคลื่อนที่ในท้องถิ่นต่างๆ ได้ ยุบเลิกไปเรื่อยๆ เนื่องจากสภาพความเจริญได้กระจายเข้าไปแทนที่การสัญจรไป มามีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ธนาคารออมสินจึงตั้งสาขาถาวร เพื่อให้บริการ รับฝากแทนปัจจุบันยังคงมีสาขารับฝากทางเรือที่เปิด บริการเหลืออยู่เพียงแห่งเดียว คือ ธนาคารออมสินสาขาปากคลองตลาด (เรือเคลื่อน ) กรุงเทพฯ ทั้งนี้ก็เพราะ ประชาชนสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและริมคลองบางกอกน้อย ยังให้ความสนใจและมี ความต้องการใช้บริการรับฝากกับธนาคารเรืออยู่

( เรือเคลื่อนที่ ) เริ่มเปิดบริการครั้งแรก เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2507ใช้เรือออมสิน 10 ซึ่งเป็นเรือไม้ ขนาดความยาวตลอดลำ 30 ฟุต กว้าง 7 ฟุต 6 นิ้ว ออกบริการรับฝากเงินตั้งแต่วันจันทร์ ถึงวันเสาร์ โดยเรือจะออกจากท่าน้ำปากคลองตลาดแล่นเลียบลำน้ำเจ้าพระยาขึ้นไปทางทิศเหนือ เลี้ยวซ้ายขึ้น คลองบางกอกน้อย จากนั้นเริ่มให้บริการรับฝากเงินกับพี่น้องประชาชนเรื่อยไปจนถึงหน้า วัดโบสถ์ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี และเดินทางกลับมาเส้นทางเดิมระยะทางในการให้บริการในแต่ละวันจากสาขา ปากคลองตลาดจนถึงหน้า วัดโบสถ์ เป็นระยะทางเกือบ 30 กิโลเมตร ส่วนเวลาในการให้บริการเดิม นั้นธนาคารออมสิน ทุกสาขาเปิดให้บริการ (วันทำการ) ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันเสาร์ครึ่งวันปัจจุบันธนาคาร ออมสิน ทุกสาขาได้เปลี่ยนแปลง วัน-เวลาทำการใหม่ ธนาคารออมสินสาขาปากคลองตลาด (เรือเคลื่อนที่) จึงได้ปรับเปลี่ยนวันในการให้บริการมาเป็นวันจันทร์ ถึงวันศุกร์ตั้งแต่ เวลา08.30-15.30น.เหมือนกับธนาคารออมสินทุกสาขา ทั่วประเทศ

เส้นทางในการให้บริการของธนาคารเรือเคลื่อนที่เริ่มออกจากโป๊ะจอด เรือ ข้างสาขา ปากคลองตลาด ในเวลา 09.00 น. แล่นเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา ไปทางทิศเหนือกระทั่งถึง ท่าพระจันทร์ จึงแล่นข้ามฟากไปฝั่งธนบุร ีเพื่อเลี้ยวซ้ายเข้าคลองบางกอกน้อย จากนั้นจะ แล่นไปให้บริการ ธุรกิจกับพี่น้องประชาชน สองฝากฝั่งคลองบางกอกน้อยเรื่อยไป จนถึง วัดโบสถ์ อ. บางกรวย จ. นนทบุรี จึงเดินทางกลับ

ทุกๆ วันจะมีพนักงานประจำสาขาเรือแห่งนี้ออกปฏิบัติหน้าที่ให้บริการรับ ฝาก-ถอนเงิน กับพี่น้อง ประชาชนจำนวน 6 คน ปัจจุบันธนาคารออมสินสาขาปากคลองตลาด (เรือเคลื่อนที่) มีนายสุรศักดิ์ ธีระเมธี เป็นผู้จัดการสาขา ในการให้บริการนั้น เพื่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็ว ธนาคารออมสินได้จัดทำ สัญลักษณ์ เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารกับลูกค้า โดยจัดทำสามเหลี่ยมพื้นสีฟ้าดวงตราธนาคาร ออมสินสีขาวมอบให้ไว้ตามบ้านของ ลูกค้าทั้งสองฝั่งคลองหากลูกค้ามีความประสงค์จะติด ใช้บริการก็ให้ปักธงไว้หน้าบ้าน เมื่อธนาคารเรือ แล่นไปถึงหน้าบ้านที่ติดธงก็จะแวะ ให้บริการทันที

ลักษณะ ของธง เป็นรูปสามเหลี่ยม (รูปชายธง) 0.45 เมตร ยาว 0.93เมตร ผืนธงทำด้วยผ้าสีฟ้าแก่เย็บของธงโดยรอบด้วยผ้าสีขาว พิมพ์ดวงตราสัญลักษณ์ของธนาคารออมสินไว้กลางผืนธงมีหูเชือกสำหรับผูกติดกับ เสาบ้าน ธงสัญลักษณ์ดังกล่าวยังใช้เป็นสิ่งในการ ติดต่อกับธนาคารเรือตราบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน เรือรับฝากที่ธนาคารเคยใช้เป็นพาหนะในการให้บริการรับฝากเท่าที่มีบันทึกไว้ ได้แก่ เรือออมสิน 30 เริ่มใช้งานในพื้นที่รับฝากบริเวณลำน้ำแม่กลอง จ.สมุทรสาคร และ จ. ราชบุรี เมื่อพ.ศ.2506 ต่อมามีการสร้างสาขา ถาวรบนบกจึงยกเลิกสาขาเรือเคลื่อนที่เรือออมสิน30ปัจจุบันปลดระวาง เรือออมสิน 6 สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2503 โดยบริษัท สุพรรณพาณิช จำกัด เป็นเรือไม้แบบเก๋งชั้นครึ่ง มีมิติของเรือ คือ ยาว 45 ฟุต กว้าง 12.5 ฟุต ลึกกลางลำ 4.8 ฟุต กินน้ำลึก 2.8 ฟุต การใช้งานใช้เป็นเรือตรวจการณ์ ใช้เป็นเรือโฆษณาและเปิดสาขาทางน้ำ และเป็นเรือรับรอง แขกผู้ใหญ่ของธนาคารสภาพของเรือในปัจจุบัน มีอายุ 41 ปี เพื่อที่จะให้เรือคง สภาพอยู่จึงมีการซ่อมบำรุงและซ่อมใหญ่ต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยมีการซ่อมใหญ่ครั้งสุดท้ายเมื่อ วันที่ 12 ตุลาคม 2538

เรือออมสิน 10 เริ่มใช้งานเมื่อปี 2506 ให้บริการในพื้นที่คลองบางกอกน้อย ปัจจุบันปลดระวาง เรือออมสิน 33 สร้างเมื่อปี 2512 ราคา 31,500 บาท โดยบริษัท เนรมิตการช่าง จำกัด เป็นเรือไม้ ชั้นเดียว มีมิติของเรือ คือ ยาว 35 ฟุต กว้าง 9 ฟุต ลึกกลางลำ 3.5 ฟุต กินน้ำลึก 2 ฟุต ใช้งานในระยะปี 2512 ถึง ปี 2528 ใช้เป็นเรือสาขาเคลื่อนที่ออก รับฝากเงิน ปัจจุบันใช้เป็นเรือสำรองเมื่อเรือออมสิน 42 (สาขาเคลื่อนที่ในปัจจุบัน) ต้องเข้าซ่อมใหญ่ และใช้เป็นเรือติดตามหรือเยี่ยมชมการปฎิบัติงานของเรือใน ปัจจุบันยังสามารถใช้งานได้แม้รูปแบบ จะไม่ทันสมัยก็ตาม และเนื่องจากเป็นเรือจึงต้องมีการขึ้นคานทำการ บำรุงรักษาเป็นระยะๆ

เรือออมสิน 42 สร้างเมื่อปี 2528 ราคา 1,798,900 บาท บริษัท อู่ทองกรุงเทพฯ จำกัด เป็นผู้สร้าง เป็นเรือเหล็กชั้นเดียวมีมิติของเรือ คือ ยาว 11.50 เมตร กว้าง 2.85 เมตร ลึกกลางลำ 1.207 เมตร กินน้ำลึก 0.70 เมตร ตัวเรือสร้างด้วยเหล็กที่มีคุณภาพตาม มาตรฐานของลอยด์เยอรมันนี ความเร็วสูงสุดไม่ต่ำกว่า6นอต ตังเก่งห้องปฎิบัติการ สร้างด้วยอลูมิเนียมอัลลอย เครื่องยนต์เป็นเครื่องหมายตราอักษร Detsoit Marine Diesel Cergine ของบริษัท General Motor ประเทศสหรัฐอเมริกา การบังคับเรือ ใช้ระบบไฮโดลิคในการควบคุมเครื่องยนต์การใช้เกียร์เดินหน้า-ถอยหลัง การใช้ไฟฉาย เครื่องปัดน้ำฝน แตรสัญญาและการ เปิด – ปิด สวิทช์ไฟฟ้ากระทำด้วยพนักงานขับเรือหรือนายท้ายเรือ เพียงคนเดียว เรือออมสิน 42

ธนาคารได้เซ็นสัญญาว่าจ้าง บริษัท อู่ทองกรุงเทพฯ จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 2ตุลาคม 2527 มีพิธีวางกระดูกงูเรือ โดย นายดุษฎี สวัสดิ์ชูโต ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2527 เวลา 10.45 น. ที่บริษัท อู่ทองกรุงเทพฯ จำกัด และเมื่อต่อเรือเสร็จ ได้มีพีธีเจิมเรือและปล่อยเรือลงน้ำเพื่อเป็นศิริมงคล เมี่อวันที่ 28 มีนาคม 2528 โดยผู้อำนวยการธนาคารออมสิน และคุณทอสี สวัสดิ์-ชูโต ร่วมเป็นประธานในพิธีการปล่อยเรือลงน้ำตามประเพณีที่มีมาแต่โบราณ นั้นการทำพิธีเจิมและปล่อยเรือลงน้ำจะมอบ ให้สุภาพสตรีผู้ทรงเกียรติเป็นผู้ทำพิธี โดยเริ่มด้วยการคล้องพวงมาลัย เจิม โปรยข้าวตอกดอกไม้และทุบขวดแชมป์เปญปล่อย เรือลงน้ำแล้ว ธนาคารออมสินได้นำเรือ “ออมสิน 42” ออกบริการรับฝากเมื่อวันที่ 1เมษายน 2528 ตรงกับวันครบรอบ 72 ปี ธนาคารออมสิน ซึ่งถือว่าเป็นวันมงคลยิ่งของธนาคาร

เรือออมสิน 42 ใช้เป็นรับฝาก ณ สาขาปากคลองตลาด (เรือเคลื่อนที่)ทดแทนเรือออมสิน 33 ตั้งแต่ปี 2528 ถึงปัจจุบัน (2544) เป็นเวลา 16 ปี เนื่องจากเรือมีอายุการวใช้งานมานานหลายปีสภาพ เรือจึงเสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา เช่น ขาดอุปกรณ์อำนวยความสะดวก อาทิเครื่องปรับอากาศ รูปแบบของเรือ ไม่ทันสมัย เรือแล่นด้วยความเร็วต่ำ เครื่องยนต์มีเสียงดังรบกวนการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ ทำให้ต้องซ่อมแซมใหญ่ครั้งสุดท้าย เมื่อปี 2542

เรือ ออมสิน 9 นับเป็นเรือรับฝากเงินลำดับที่ 5 ของธนาคารออมสิน ทำพิธีขึ้นระวาง ประจำการเรือ ณ ท่าเรือราชนาวิกสภา (หลังใหม่) และเริ่มเปิดให้บริการเป็นปฐมฤกษ์ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2549 โดยชื่อ เรือออมสิน 9 นี้ หมายถึง สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 9 เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และในปีนั้นเป็นปีพุทธศักราช 2549 ซึ่งลงท้ายด้วยเลข 9 จึงตั้งชื่อเรือว่า เรือออมสิน 9 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้เพียงพอต่อการให้ บริการลูกค้าบริเวณสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ควบคู่กับเรืออมสิน 42 ซึ่ง เปิดให้บริการอยู่เพียงลำเดียว

ธนาคารเรือแห่งนี้จะให้บริการธุรกิจเงินฝากทุกประเภทอาทิ เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษเงินฝากประจำ 3 เดือน, 6 เดือน, 12 เดือน เงินฝากกระแสรายวัน (ฝาก-ถอนด้วยเช็ค) เงินฝากสลากออมสินพิเศษ เงินฝาก สลากออมสินพิเศษ เงินฝากสลากออมสินพิเศษ (รุ่นธนโชค) และเงินฝากสงเคราะห์ชีวิตและ ครอบครัวทั้ง6 แบบ(ทุนการศึกษา,ร่มไทร,เพิ่มพูนทรัพย์,ออมสินสะสมทรัพย์และออมสินตลอดชีพ) ส่วนบริการธุรกิจด้าน สินเชื่อเดิมไม่มีให้บริการ ปัจจุบันเริ่มให้บริการสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชนแล้ว

ธนาคารออมสินสาขาปากคลอง(เรือเคลื่อนที่)นับได้ว่าเป็นต้นแบบของ การรับฝากโดยทางเรือแห่งแรก ของโลกและแห่งเดียวของประเทศไทยเป็นบริการที่เข้าถึงบันไดบ้านของผู้ฝาก และเป็นที่ประทับใจของ ประชาชนสองฟากฝั่งคลองบางกอกน้อยเป็นอย่างยิ่ง จึงได้รับความสนใจจากประเทศสวีเดนเดินทางมา ศึกษาดูงาน แล้วกลับไปจัดให้มบริการรับฝากเงินทางเรืออีกประเทศหนึ่งด้วย ปัจจุบันนอกจากธนาคารเรือ จะมีที่ประเทศไทยแล้วยังมีที่ประเทศสวีเดนอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งทั่วโลกจะมีธนาคารรักฝากทางเรือเพียง สองแห่ง เท่านั้น ธนาคารออมสินสาขาปากคลองตลาด (เรือเคลื่อนที่) ไม่ได้เป็นแค่เพียงเรือรับฝากเงิน เท่านั้น ยังเป็นความรัก ความผูกผันที่ฝังรากลึกในวิถีชีวิตของชาวคลองบางกอกน้อยมากกว่า 37 ปีแล้ว (นับถึงพ.ศ. 2544) แต่ถ้าจะรวมระยะเวลาในการ ให้บริการรับฝากทางเรือเป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 43 ปี (2501-2544) จึงนับได้ว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้คู่ สังคมไทยตลอดไป

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ธนาคารออมสินสาขา ปากคลองตลาด (เรือเคลื่อนที่) มีผู้จัดการสาขาแล้ว จำนวน 13 คน ดังนี้

1. ปี 2506 นายสาย กำไลนาค
2. ปี 2510 นายรังสรรค์ พงษ์สยาม
3. ปี 2514 นายสมบัติ พิกุล
4. ปี 2518 นายเชิดศักดิ์ เดชาติวงศ์
5. ปี 2522 นายณรงค์ ภวภูตานนท์
6. ปี 2525 นายวิจิตร เพียรช่าง
7. ปี 2529 นายสนิท กาญจนบุรางกูร
8. ปี 2534 นายพรถนอม กัลยาณมิตร
9. ปี 2537 นายนันทสาร สินธุเกิด
10. ปี 2540นายดนัย มากปลีก
11. ปี 2541 นายสิทธิศักดิ์ สีหะเสน
12. 1 ก.ย. ถึง 30 ก.ย. ปี 2534 นายเสริมศักดิ์ สร้อยคำ
13. 1 ต.ค. 2543 นาย สรุศักดิ์ ธีระเมธี

ธนาคารออมสินจัดให้มีรถออกให้บริการรับฝาก – ถอน แก่ประชาชนในบางท้องที่ ครั้งแรกในพ.ศ. ๒๔๙๕ และเปิดดำเนินการในรูปสาขาเคลื่อนที่เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๙ โดย สาขารถเคลื่อนที่แห่งแรกที่เปิดดำเนินการคือ ธนาคารออมสินสาขาบางเขน (รถเคลื่อนที่) จากนั้นก็ได้เปิดสาขารถเคลื่อนที่อีกหลายสาขาทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ภายหลังมาธนาคารออมสินก็ได้ยกเลิกการดำเนินการสาขารถเคลื่อนที่แล้วจัดตั้ง สำนักงานสาขาถาวรขึ้น โดยในพ.ศ. ๒๕๒๗ มีสาขารถเคลื่อนที่ ๓ สาขา สาขารถเคลื่อนที่สาขาสุดท้ายที่ยกเลิกไปคือสาขานวนครซึ่งยกเลิกไปใน พ.ศ. ๒๕๔๔

ในพ.ศ. ๒๕๔๘ ๔๙ ปี หลังจากเปิดบริการสาขารถเคลื่อนที่แห่งแรก หรือ ๔ ปี หลังการยกเลิกสาขาเคลื่อนที่สาขาสุดท้าย ธนาคารออมสินก็รื้อฟื้นบริการรถเคลื่อนที่อีกครั้ง โดยเป็น รถเคลื่อนที่ (Mobile Unit) แบบใหม่ที่มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้นด้วยการให้บริการ ในลักษณะ ออนไลน์ผ่านระบบ GPRS ซึ่ง ทำให้ประชาชนที่อยู่นอกพื้นที่การให้บริการของธนาคารสามารถใช้บริการ ทางการเงินจากรถเคลื่อนที่ได้เสมือนกับการเข้าไปใช้บริการที่สาขาธนาคาร การบริการรถเคลื่อนที่นอกจากจะเพื่อสร้างโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนแก่ ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลแล้ว ยังเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการออมในหมู่ประชาชนอีกด้วย

บริการ รถเคลื่อนที่เน้นไปที่บริการทางการเงิน ทั้งด้านบริการฝาก-ถอนเงิน บริการรับคำขอใช้สินเชื่อ บริการ ATM รวมทั้งบริการให้คำปรึกษาด้านการเงิน โดยจะปรับรูปแบบแนวทางในการให้บริการของรถเคลื่อนที่แต่ละคันตามความเหมาะสม ของ พื้นที่ที่รถเคลื่อนที่เข้าไป

เครื่องกดเงินสดอัตโนมัติหรือเอทีเอ็มติดตั้งไว้บนรถ ส่วนพื้นที่ชุมชน เช่น บริเวณตลาดสดศูนย์กลางชุมชน หรือตามงานเทศกาลประจำปีแต่ละท้องถิ่น อาจเน้นการให้บริการเอทีเอ็มมากกว่าบริการด้านอื่น นอกจากนี้ ตามบริเวณแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญที่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเป็นจำนวน มาก ธนาคารก็จะปรับเปลี่ยนรถเคลื่อนที่โดยเน้นการให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศ

รถเคลื่อนที่ชุดแรกที่เปิดให้บริการใน พ.ศ. ๒๕๔๘ มี ๑๐ คัน เปิดให้บริการตามชุมชนทั่วประเทศ ๒๘ จุด และจนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐ นาคารออมสินมีรถเคลื่อนที่ให้บริการทั่วประเทศจำนวน ๓๐ คันและจะเพิ่มเป็น ๕๐ คัน ภายใน พ.ศ. ๒๕๕๑

นอกจากการให้บริการในรูปแบบรถเคลื่อนที่แล้ว ธนาคารออมสินยังได้เตรียมเปิดให้ บริการ Delivery Service Banking ซึ่งเป็นบริการรูปแบบใหม่เพื่อ ตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยธนาคารจะให้ลูกค้าที่ใช้บริการเป็น ประจำลงทะเบียนเพื่อใช้บริการ Delivery Service Banking กับธนาคารและเมื่อ ถึงเวลาที่ต้องการใช้บริการให้โทรมาแจ้งรายชื่อและนัดเวลาธนาคารก็จะส่ง เจ้าหน้าที่เดินทางไปให้บริการแก่ลูกค้า ณ สถานที่ที่ได้มีการนัดหมายไว้ ในเบื้องต้นธนาคารจะเปิดนำร่อง ๕ สาขาในเขตกรุงเทพมหานคร และมีรถจักรยานยนต์ Delivery Service Banking ให้บริการ ๖ คัน