banner banner

ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน

พ.ศ. ๒๔๙๐ – ๒๔๙๒

นายสวัสดิ์ โสตถิทัต

การบริหารองค์การและการบริหารงานบุคคล

  • กำหนดกิจการในหน้าที่และความรับผิดชอบคณะกรรมการและวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการธนาคารออมสินมีกำหนด ๒ ปี
  • ย้ายสำนักงานใหญ่จากอาคาร ๑ ฝั่งใต้ติดกับโรงภาพยนต์ศาลาเฉลิมไทย ถนนราชดำเนินมาอยู่ที่สี่แยกคอกวัว
  • จัดตั้งสถานพยาบาลสำหรับพนักงาน
  • ส่งพนักงานไปดูกิจการออมสินในต่างประเทศเป็นครั้งแรก

การขยายกิจการของสำนักงานคลังออมสินสาขา

กำหนดกิจการงานที่ธนาคารออมสินพึงประกอบได้ เช่น การรับฝากเงินฝากประจำ การออกดร๊าฟ การออก ซื้อ ขาย หรือเก็บเงินตามตั๋วแลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมือได้ การรับฝากเงินประเภทพันธบัตรออมสินราคาฉบับละ ๒๐ บาท การรับฝากเงินออมสินประเภทฝากประจำและฝากเผื่อเรียก การรับจ่ายและโอนเงินให้สำนักงานใหญ่ สาขาหรือตัวแทนของธนาคารออมสิน การรับฝากเงินประเภทสลากออมสินพิเศษ การรับรับฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว การรับฝากเงินกระแสรายวัน จัดแบ่งส่วนการบริหารธุรกิจของธนาคารออมสินออกเป็น

  1. กองอำนวยการ
  2. กองการบัญชี
  3. กองการโฆษณา
  4. สำนักงานธนาคารออมสินกลาง
  5. สำนักงานธนาคารออมสินสาขาใหญ่

กำหนดให้วันที่ ๑ เมษายน ของทุกปีเป็น “วันออมสิน”

พ.ศ. ๒๔๙๔ – ๒๔๙๙

พระยาเชาวนานุสถิติ

การบริหารองค์การและการบริหารงานบุคคล

  • ดำเนินการจัดซื้อที่ดินแปลงหนึ่งใกล้สี่แยกสะพานควาย ถนนพหลโยธิน กรุงเทพฯ เพื่อเตรียมสร้างสำนักงานใหญ่ เนื่องจากสำนักงานใหญ่เดิมที่อาคารราชดำเนินมีเนื้อที่ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานที่ขยายมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • ออกระเบียบการส่งเสริมสวัสดิภาพของพนักงาน

การขยายกิจการของสำนักงานคลังออมสินสาขา

ออกระเบียบการว่าด้วยการซื้อขาย หรือเก็บเงินตราสารเปลี่ยนมือโดยธนาคารออมสิน การออกตั๋วแลกเงินเพื่อเดินทาง

พ.ศ. ๒๔๙๙ – ๒๕๐๐

พระยาเสริมพาณิชย์

การบริหารองค์การ

ออกระเบียบแบ่งส่วนการบริการธุรกิจของธนาคารออมสินเป็น

  • ฝ่ายการออมสิน
  • ฝ่ายการบัญชี
  • ฝ่ายธนาคาร
  • ส่วนขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการของธนาคารออมสิน

การขยายกิจการของสำนักงานคลังออมสินสาขา

จัดตั้งธนาคารออมสินเคลื่อนที่โดยใช้รถยนต์ปรับแต่งเป็นเคาน์เตอร์บริการรับฝากเงิน เปิดดำเนินการครั้งแรกคือรถเคลื่อนที่ธนาคารออมสินสาขาบางเขนเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๔๙๙

พ.ศ. ๒๕๐๐ – ๒๕๑๕

ม.ล. ปืนไทย มาลากุล

การขยายกิจการธนาคาร

  • ส่งเสริมออมทรัพย์ในหมู่ข้าราชการบำนาญ โดยเปิดบริการรับฝากเงินบำนาญจากหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจต่างๆ เพื่อเข้าบัญชีตามสาขาของผู้รับบำนาญ
  • ส่งเสริมนิสัยรักการประหยัดให้เกิดแก่เด็กโดยบริการรับฝากเงินตามโรงเรียนและแจกรูปภาพสะสมแก่เด็กทุกคนที่ไปฝากเงินด้วยตนเองที่ธนาคารออมสินทุกวันเสาร์
  • เริ่มให้บริการรับฝากเงินทางเรือครั้งแรกเมื่อ ๓ มีนาคม ๒๕๐๗ โดยธนาคารออมสิน สาขาปากคลองตลาดเป็นเรือเคลื่อนที่แห่งแรก
  • เปิดให้เจ้าของโรงเรียนกู้เงินเพื่อใช้เป็นทุนในการก่อสร้าง บูรณะซ่อมแซม หรือต่อเติมอาคารโรงเรียนที่เปิดดำเนินการ
  • ออกระเบียบการให้เช่าคู้นิรภัย ก่อสร้างอาคารสร้างใหม่ โรงเรียนธนาคารออมสิน โดยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จพระราชดำเนินเปิดอาคาร
  • กำหนดวันที่ ๑ – ๗ เมษายน ให้เป็น “สัปดาห์แห่งการออมทรัพย์” แทน “วันออมทรัพย์” โดย วันที่ ๑ – ๗ เมษยน ๒๕๐๘ เป็นสัปดาห์แห่งการออมทรัพย์เป็นปีแรก

พ.ศ. ๒๕๑๕ – ๒๕๑๘

ม.ร.ว.ทองแท่ง ทองแถม

การขยายกิจการธนาคาร

  • ส่งเสริมออมทรัพย์ในหมู่ข้าราชการบำนาญ โดยเปิดบริการรับฝากเงินบำนาญจากหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจต่างๆ เพื่อเข้าบัญชีตามสาขาของผู้รับบำนาญ
  • ส่งเสริมนิสัยรักการประหยัดให้เกิดแก่เด็กโดยบริการรับฝากเงินตามโรงเรียนและแจกรูปภาพสะสมแก่เด็กทุกคนที่ไปฝากเงินด้วยตนเองที่ธนาคารออมสินทุกวันเสาร์
  • เริ่มให้บริการรับฝากเงินทางเรือครั้งแรกเมื่อ ๓ มีนาคม ๒๕๐๗ โดยธนาคารออมสิน สาขาปากคลองตลาดเป็นเรือเคลื่อนที่แห่งแรก
  • เปิดให้เจ้าของโรงเรียนกู้เงินเพื่อใช้เป็นทุนในการก่อสร้าง บูรณะซ่อมแซม หรือต่อเติมอาคารโรงเรียนที่เปิดดำเนินการ
  • ออกระเบียบการให้เช่าคู้นิรภัย ก่อสร้างอาคารสร้างใหม่ โรงเรียนธนาคารออมสิน โดยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จพระราชดำเนินเปิดอาคาร
  • กำหนดวันที่ ๑ – ๗ เมษายน ให้เป็น “สัปดาห์แห่งการออมทรัพย์” แทน “วันออมทรัพย์” โดย วันที่ ๑ – ๗ เมษยน ๒๕๐๘ เป็นสัปดาห์แห่งการออมทรัพย์เป็นปีแรก

พ.ศ. ๒๕๑๘ – ๒๕๒๘

นายดุษฎี สวัสดิ์ – ชูโต

การบริหารองค์การและการบริหารงานบุคคล

  • จดทะเบียนจัดตั้ง “สหภาพแรงงานธนาคารออมสิน”
  • เริ่มดำเนินกิจการ “สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานธนาคารออมสินจำกัด” นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในฝ่ายบัญชี และติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่สำนักงานใหญ่และสาขา

การขยายกิจการธนาคาร

  • เปิดดำเนินธุรกิจตั๋วแลกเงินของขวัญ บริการให้เงินกู้หรือเบิกเกินบัญชี การให้กู้เงิน“สินเชื่อสวัสดิการ”
  • เปิดรับฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตครอบครัวแบบเพิ่มพูนทรัพย์
  • เพิ่มรายได้ของธนาคารให้สูงขึ้นด้วยการนำพันธบัตรออกขายในตลาดหลักทรัพย์แล้วนำเงินไปซื้อตั๋วสัญญาใช้เงิน
  • เพิ่มจำนวนรางวัลและจำนวนเงินสลากออมสินทำให้ประชาชนนิยมซื้อสลากออมสินมากขึ้น กำหนดนโยบายขยายสาขาปีละไม่น้อยกว่า ๑๐ สาขา และ กำหนดให้สาขาต่างๆ ออกรับฝากเงินนอกสถานที่

พ.ศ. ๒๕๒๘ – ๒๕๓๓

หม่อมราชวงศ์จันทรแรมศิริโชค จันทรทัต

การบริหารองค์การและการบริหารงานบุคคล

  • พัฒนาศักยภาพของบุคลากรโดยจัดงบประมาณเพื่อการฝึกอบรมและเน้นหลักสูตรฝึกอบรมพนักงานให้สามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงของโครงการ ฐานะของผู้กู้ ดูหลักทรัพย์ค้ำประกัน ส่งพนักงานไปศึกษาดูงานในยุโรป ส่งพนักงานดีเด่นไปชมกิจการธนาคารในประเทศจีน กำหนดนโยบายให้ทุนการศึกษาแก่พนักงานเรียนต่อในระดับปริญญาโท
  • ปรับโครงสร้างองค์การเปลี่ยนจากระบบชั้นยศ มาเป็นระบบจำแนกตำแหน่งตามความรับผิดชอบของงาน จัดทำ Job Descriptions Job Standards และ Job Specifications
  • จัดทำแผนวิสาหกิจของธนาคารออมสินฉบับแรก และนำแผนระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๓๐ – ๒๕๓๔) มาใช้โดยกำหนดให้สอดคล้องกับระยะเวลาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

พ.ศ. ๒๕๓๓ – ๒๕๓๔

นายประพันธ์ ศิริรัตน์ธำรงิ

การขยายกิจการธนาคาร

  • เพิ่มประเภทธุรกิจสงเคราะห์และครอบครัว ๓ รูปแบบ ได้แก่ ร่มไทร บำนาญสงเคราะห์ ทุนการศึกษา
  • เปิดจำหน่ายเช็คแคชเชียร์ออเดอร์ให้แก่หน่วยงานหรือบุคคลที่ไม่มีบัญชีเงินฝากกับธนาคาร และเปิดบริการธนาคารทางโทรศัพท์อย่างเป็นทางการ

พ.ศ. ๒๕๓๔ – ๒๕๓๘

นายวิบูลย์ อังสนันทิ์

การขยายกิจการธนาคาร

ดำเนินธุรกิจจัดการกองทุนรวม เริ่มใช้เครื่องถอนเงินอัตโนมัติ (Cash Dispenser)ใน พ.ศ. ๒๕๓๖ เปิดบริการ “พิพิธภัณฑ์ธนาคารออมสิน”เมื่อ ๑ เมษายน ๒๕๓๕ กำหนดภารกิจหลัก ๕ ประการของธนาคารออมสิน คือ เป็นธนาคารเพื่อการออม เพื่อสังคม และชุมชน เพื่อบุคคลทั่วไปและเพื่อธุรกิจ

การบริหารองค์การและการบริหารงานบุคคล

ปรับปรุงการแต่งกายของพนักงานเพื่อให้สอดคล้องกับภาพลักษณ์การให้บริการของธนาคารที่เปลี่ยนแปลงไป

พ.ศ. ๒๕๓๙ – ๒๕๔๐

ดร. บุญญรักษ์ นิงสานนท์

การขยายกิจการธนาคาร

ใช้ internet ในการเผยแพร่ธุรกิจของธนาคารให้แก่ลูกค้าและประชาชนทั่วไป บริการโอนเงินเพื่อบุคลที่ ๓ ผ่านระบบ bahtnet เปิดบริการสินเชื่อเพื่อธุรกิจ สินเชื่อเพื่อธุรกิจเอสเอ็มอี สินเชื่อเคหะตามโครงการสวัสดิการที่อยู่อาศัย และจัดกิจกรรม “การประกวดประดิษฐ์กระปุกออมสิน” จากวัสดุเหลือใช้เป็นครั้งแรกในวาระธนาคารออมสินครบรอบ ๘๔ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐

พ.ศ. ๒๕๔๐– ๒๕๔๓

นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

การบริหารองค์การและการบริหารงานบุคคล

กำหนดนโยบาย ๓ ประสานซึ่งต่อมากลายเป็นปรัชญาของการบริหารคือ ธนาคารเจริญ สังคมได้ประโยชน์ พนักงานเป็นสุข

การขยายธุรกิจธนาคาร

  • เปิดธนาคารโรงเรียนแห่งแรกที่โรงเรียนประชานิเวศน์ กรุงเทพมหานครเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงในกิจกรรมจำลองการทำธุรกิจธนาคาร
  • เปิดธนาคารชุมชนให้บริการทางการเงินในพื้นที่ห่างไกล สาขาอมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เปิดโอกาสให้ผู้แทนชุมชนมีส่วนร่วมดูแลและให้คำปรึกษาด้านการเงินตามความต้องการของคนในชุมชนในรูปของคณะกรรมการ
  • เปิดธนาคารอิสลาม จัดตั้งสโมสรเยาวชนธนาคารออมสิน โครงการสินเชื่อเคหะเพื่อไถ่ถอนจำนองจากสถาบันการเงินอื่น โครงการสินเชื่อพัฒนาชีวิตครู บริการสินเชื่อเคหะรวมใจ และบริการเงินฝากระบบ Online

ออกระเบียบการว่าด้วยการซื้อขาย หรือเก็บเงินตราสารเปลี่ยนมือโดยธนาคารออมสิน การออกตั๋วแลกเงินเพื่อเดินทาง

พ.ศ. ๒๕๔๓ – ๒๕๔๗

นายชาญชัย มุกสิกนิศากร

การบริหารองค์การและการบริหารงานบุคคล

  • ปรับทิศทางองค์การซึ่งเป็นธนาคารของรัฐให้สามารถแข่งขันในธุรกิจการเงินกับธนาคารพาณิชย์อื่นๆ ได้ จัดกิจกรรมหลากหลายที่เน้นความผูกพันธ์ รับใช้ประชาชนและสังคม ปรับโครงสร้างการบริหารงานธนาคารเพื่อกระจายอำนาจ
  • เปิดการอบรมหลักสูตร “โรงเรียนผู้จัดการ” เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้บริหารให้เป็นผู้บริหารมืออาชีพ
Skip to content