ความเป็นมา

พระบรมอนุสาวรีย์เชิดชูพระเกียรติยศ ต้นแบบการออม ทดลองฝึกหัด และขัดเกลา

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาธีรราชเจ้า ผู้พระราชทานกำเนิด “คลังออมสิน” ขึ้นเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๕๖

ธนาคารได้อัญเชิญพระบรมรูปหล่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นประดิษฐานบน พระแท่นหน้าอาคารสำนักงานใหญ่ธนาคารออมสิน ถนนพหลโยธิน เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิด พระบรมราชานุสาวรีย์พร้อมกับเปิดอาคารสำนักงานใหญ่ ถนนพหลโยธิน เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๙ นับเป็นสิริมงคลยิ่งแก่ธนาคารและบุคลากรทุกคนของธนาคารออมสินจวบจนถึงปัจจุบัน

ภาคแรกปฐมเหตุแห่งการออม "แบงค์ลีฟอเทีย" พ.ศ. ๒๔๕๐ – ๒๔๕๖

ก่อนจะเห็นเป็นการออมทรัพย์ในระบบ ธนาคารเช่นทุกวันนี้ การออมทรัพย์เริ่มเกิดขึ้นเป็นรูปร่างเมื่อราวสองร้อยกว่าปี หรือประมาณ พ.ศ. ๒๓๓๖ มานี้เอง โดยกำเนิดจากความคิดของเศรษฐีชาวอังกฤษผู้ใจดีท่านหนึ่ง ซึ่งมีความตั้งใจจริงในการความช่วยเหลือคนยากจนให้มีที่เก็บออมทรัพย์เพื่อ ไว้ใช้ ในภายหน้า ความคิดนี้ได้มีบทบาทสำคัญเป็นอันมากและมีการพัฒนาต่อมา จนถึงกับออกประกาศอย่างเป็นทางการ ในเรื่องคลังออมสิน

และเมื่อเข้าสู่ปี พ.ศ. ๒๓๕๓ ได้มีนักบวช ท่านหนึ่งชื่อ บาทหลวงเฮนรี่ คันแดน (Rev.Henry Duncan) เป็นผู้ดำเนินการสานต่อแนวความคิดของท่านเศรษฐีอย่างจริงจัง โดยจัดตั้งเป็นคลังออมสินขึ้นในโรงสวด ผลประกอบการดังกล่าว งอกเงยก่อประโยชน์แก่ประชาชนเป็นอันมาก ทั้งยังเป็นการช่วยพัฒนาระบบเงินขึ้นด้วย รัฐบาลอังกฤษเล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงได้ทำการรับรองฐานะ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๓๖๐ จึงได้มีการประกาศเป็นกฎหมายว่าด้วยคลังออมสินอย่างเป็นทางการ อังกฤษจึงนับเป็นประเทศแรกที่ให้กำเนิดแนวคิดและการจัดการด้านการออมทรัพย์ขึ้น

ขณะที่ระบบการออมทรัพย์ในประเทศอังกฤษพัฒนา จนรุ่งเรืองและทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ในประเทศสยาม เวลานั้น หมู่พ่อค้าก็ยังมีการแลกเปลี่ยนเงินและกู้ยืมแบบเดิมๆ เหมือนยุคโบราณ จวบจนสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงเป็นผู้วางรากฐานแนวคิดการออมทรัพย์ขึ้น โดยความคิดนี้เกิดในขณะที่ พระองค์ยังทรงดำรงพระราช อิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารได้เสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๓๖ – ๒๔๔๕ เป็นเวลา ๙ ปีเต็ม ทรงเห็นแบบอย่างและวิธีการคลังออมสินของอังกฤษซึ่งอยู่ภายใต้การอำนวยการของ Edinburgh Savings Bank ซึ่งเป็นคลังออมสินที่ทันสมัยแห่งแรกของอังกฤษ ก็ทรงสนพระทัยที่จะให้มีคลังออมสิน ตั้งขึ้นในประเทศไทยบ้าง

ต้นแบบการออม ทดลองฝึกหัด และขัดเกลา

หลังจากทรงเสด็จนิวัตประเทศไทยแล้ว พระองค์จึงมี พระราชประสงค์จะทรงฝึกหัดพวกมหาดเล็กเด็กชาให้รู้จักเก็บออม เงินไว้แต่เมื่อยังเป็นเด็ก ดังนั้นใน พ.ศ. ๒๔๕๐ พระองค์จึงทรงจัดเตรียมสำนักงานคลัง ออมสินขึ้น ณ วังที่ประทับของพระองค์ คือพระตำหนัก สวนจิตรลดา (พระตำหนักหลังเหนือซึ่งรวมอยู่ใน บริเวณสวนปารุสกวัน) พร้อมด้วยสมุดบัญชี เอกสาร และตู้เซฟ เมื่อได้ทรงเตรียมการไว้เรียบร้อย วันหนึ่ง พระองค์จึงมีรับสั่งให้มหาดเล็กเด็กชาของพระองค์ขึ้นเฝ้าพร้อมกัน ณ มุขพระตำหนักชั้นบนแล้วก็ทรงประกาศ ตั้งแบงค์ พร้อมกับทรงชี้แจงรายละเอียดถึงวิธีการฝากเงิน และการถอนเงิน ตลอดจนระเบียบแบบแผนข้อบังคับต่างๆ ของแบงค์ให้เข้าใจโดยทั่วกันและทรงพระราชทานนามแบงค์นั้นว่า “ลีฟอเทีย”

 

จึงนับได้ว่าในยุคบุกเบิกของแบงค์จำลอง เริ่มจากการที่มีเจ้าของ แบงค์กรรมการ และพนักงาน รวมทั้งหมด ๔ ท่าน สมัยนั้นมหาดเล็กเด็กชาที่ได้เงินเดือนกันคนละ ๕ บาท บ้าง ๑๐ บาทบ้าง ปกติก็ไม่มีเรื่องจำเป็นจะต้องใช้จ่ายอะไรมากนัก เพราะทุกอย่างได้พระราชทานให้พร้อมสรรพแล้ว เว้นแต่จะซื้อของเล่น เพื่อเป็นที่บันเทิงใจบ้างเท่านั้น ดังนั้นเด็กบางคนจึงคิดดีใจว่าฝากแบงค์ไว้ก็ดี เพราะไม่ต้องเก็บเงินไว้เองซึ่งอาจจะสูญหายได้

นอกจากจะปลอดภัยไม่หายแล้วยังได้ดอกเบี้ยเพิ่มพูนขึ้นอีกด้วย แต่เด็กบางคนก็คิดว่าเป็นความลำบาก เพราะเมื่อจะเบิกเงิน ไปใช้ พระองค์จะต้องทรงสั่งจ่าย หากจะทรงสอบถามเหตุผล ถ้าทรงทราบว่าเบิกเงินไปซื้อของเล่นหรือใช้ไปในทางที่ไม่สมควร อาจจะถูกกริ้ว จึงรู้สึกไม่สะดวกใจ แต่บางคนที่มีปัญญาดีความคิดสูงก็บอกว่าดีเพราะพระองค์รับสั่งถึงวิธีที่โอ เวอร์ดรอว์ได้ เช่น เงินเดือน ๕ บาท จะเบิกได้สัก ๗ หรือ ๘ บาท เป็นการเพิ่มเงินเดือนไปในตัว

แต่ในเบื้องต้นแทบทุกคนก็ไม่เข้าใจว่า พระองค์ทรงเล่นแบงค์ไปทำไม ให้เป็นงานเป็นการขึ้นเปล่าๆ เป็นการเสียเวลา พวกเขาก็ต้องมีสมุดเช็ค ต้องมีเสมียนคอยทำบัญชีพระองค์ก็ต้องทรงเซ็นต์สั่งจ่ายเงิน และตรวจบัญชีให้ยุ่งยากไปด้วย

จากจุดเริ่มต้นนี้เอง ที่พระองค์ทรงใช้ศึกษาและสำรวจนิสัยของคนไทยในการออมทรัพย์เป็นเบื้องแรก จนต่อมาเมื่อทรงตั้งคลังออมสินขึ้น จึงทรงเข้าอกเข้าใจในราษฎรของพระองค์อย่างยิ่ง ทรงทราบดีว่าควรจะใช้กุศโลบายใดอันจะจูงใจคนไทยให้มองเห็นความสำคัญของการเก็บออม

เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสยามมงกุฎ ราชกุมาร และได้เสด็จออกไปทรงศึกษาวิชาการอยู่ในประเทศอังกฤษเป็นเวลา ๙ ปี พระองค์ท่านได้ ทรงเห็นแบบอย่าง และวิธีการคลังออมสิน ซึ่งดำเนินการอยู่ในการประเทศอังกฤษภายใต้การอำนวยการของ เอดินเบอร์กเซฟวิงแบงค์( Edinburgh Savings Bank) ซึ่งเป็นการคลังออมสินที่ทันสมัย แห่งแรกของอังกฤษซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. ๑๙๑๐ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๕๓ ก็ทรงสนพระทัยที่จะให้มีการคลัง ออมสินขึ้นในประเทศไทยบ้าง ครั้นเมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว จึงในปีพุทธศักราช ๒๔๕๖ ได้ทรงมีพระราชปรารภว่า “การรักษาทรัพย์สมบัติซึ่งประชาราษฎรได้อุตสาหประกอบการทำมาค้าขาย มีกำไรออมไว้เป็นทุนรอนได้แล้ว แต่การรักษาให้ปราศจากอันตรายยังเป็นการลำบาก เพราะไร้ที่ฝากฝัง อันมั่นคง ส่วนการที่ประชาชนออมสินไว้เพื่อประโยชน์การยืนยาวข้างหน้าไม่จับจ่ายเพื่อความเพลิดเพลิน ใจชั่วขณะนั้นเป็นสิ่งที่ควรอุดหนุนอย่างยิ่ง”

ทรงพระราชดำริว่า “การรักษาสินซึ่งออมไว้เช่นนี้มีทางที่ จะทรงพระกรุณาพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ได้ ด้วยการตั้งคลังออมสินเพื่อประโยชน์ การรับรักษา เงินที่ประชาชนนำมาฝากเป็นรายย่อย และรับภาระให้เงินนั้นเกิดผล แก่ผู้ฝากตามสมควร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตราพระราชบัญญัติคลังออมสินขึ้น เรียกว่าพระราชบัญญัติคลังออมสิน พุทธศักราช ๒๔๕๖ และประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๕๖ เป็นต้นไป การคลังออมสิน ของประเทศไทยจึงได้ก่อกำเนิดขึ้นด้วยพระมหากรุณาธิคุณของล้นเกล้าล้น กระหม่อมพระองค์นี้ นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงมอบงานชิ้นสำคัญไว้ให้แก่ชาติไทย ตราบเท่าทุกวันนี้

เจ้าพระยาพลเทพ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร) ผู้เป็นกำลังสำคัญร่วมกับกรมพระจันทบุรี นฤนาท ในการก่อตั้งคลังออมสินครั้งแรก ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ ให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติเป็นผู้ดำเนินการ ส่วนเงินทุนประเดิมนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จ่ายจากเงินคงพระคลังมหาสมบัติหนึ่งแสนบาท เพื่อจะได้เริ่มหาผล ประโยชน์เป็นดอกเบี้ยไว้จ่ายให้ผู้ฝาก โดยให้จัดตั้งกรรมการจัดหาผลประโยชน์ขึ้น เงินผลประโยชน์ที่ได้มาเมื่อหักค่าดอกเบี้ยซึ่งจะต้องจ่ายให้ผู้ฝากแล้ว คงเหลือเท่าใด ให้นำไปเพิ่มเงินทุนหนึ่งแสนบาทที่โปรดเกล้าฯ พระราชทานถ้าผลประโยชน์ที่ได้มาไม่พอจ่ายเป็นดอกเบี้ยก็ ให้กระทรวงพระคลังมหาสมบบัติจ่ายเงินคงพระคลังมหาสมบัติเพิ่มเติมให้จนครบ จำนวนเงินฝาก คลังออมสิน รัฐบาลรับประกันทั้งสิ้น และตามพระราชบัญญัตินี้ มอบให้เสนาบดีกระทรวงพระคลัง มหาสมบัติเป็นผู้ดำเนินการ รวมตลอดถึงการออกระเบียบกฎข้อบังคับ ตลอดจนประกาศรายงาน ประจำปี แสดงจำนวนผู้ฝาก จำนวนเงินฝาก จำนวนดอกเบี้ยที่จ่ายให้ผู้ฝากผลประโยชน์ที่คลัง ออมสินได้มาในราชกิจจานุเบกษาด้วย ในการก่อตั้งคลังออมสินเป็นครั้งแรกนี้ กรมพระจันทบุรีนฤนาท ทรงเป็นกำลังสำคัญร่วม กับเจ้าพระยาพลเทพ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร )

คลังออมสินในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๗

ส่วนที่ทำการแห่งแรกเปิดที่กรมคลังและต่อมาเปิดทำการขึ้นที่กรมศุลกากรอีกแห่งหนึ่ง และเพื่อเป็นการขยายกิจการ จึงได้เปิดทำการขึ้น ณ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ที่ ๑, ที่ ๒, ที่ ๔,ที่ ๘, และอำเภอในจังหวัดพระนครและธนบุรี ในส่วนภูมิภาคก็เปิดทำการขึ้นที่คลังจังหวัดทุกจังหวัด คลังออมสินได้อยู่กับกรมพระคลังมหาสมบัติเป็นระยะเวลานานถึง ๑๔ ปีแต่การคลังออมสินไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ครั้นต่อมาในต้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริที่จะเปลี่ยนวิธีดำเนินการคลังออมสินให้ประชาชนได้รับความสะดวก เพื่อปลูกฝังความนิยมในการที่จะฝากเงินคลังออมสินให้มากยิ่งขึ้นโดยที่ทรง ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า เหตุที่คลังออมสินไม่เจริญนั้นเพราะเจ้าพนักงานมีการในหน้าที่อยู่เต็มเวลา ไม่ใคร่มีเวลามาเอื้อเฟื้อต่อการนี้ ดังปรากฎในสำเนาหนังสือของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และกรมราชเลขาธิการต่อไปนี้ พระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร ) อธิบดีกรมบัญชีกลาง เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) ราชเลขาธิการ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีดำเนินการตามสำเนาหนังสือกรมราช เลขาธิการดังกล่าวแล้ว

จึงได้มีการตกลงในที่ประชุมสภาเผยแผ่พาณิชย์ จะให้กรมไปรษณีย์โทรเลขรับการออมสินไปจัดทำเพือ่จะได้ทำการติดต่อกับประเทศ อื่น ๆ เขาทำกันอยู่ แต่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมในขณะนั้น ได้ทรงขอผลัดให้จัดการกรมไปรษณีย์โทรเลขซึ่งขึ้นอยู่กับกระทรวงพาณิชย์และ คมนาคมในเวลานั้นให้เรียบร้อยก่อน จึงจะรับงานคลังออมสินไปดำเนินการได้ ดังรายงานการกราบบังคมทูลชี้แจงถึงการที่จะรับงานคลังออมสินของกรมพระ กำแพงเพชรอัครโยธินว่า “ในการกำหนดโครงการ ซึ่งได้กราบบังคมทูลพระกรุณาในอภิรัฐมนตรีสภาและได้ชี้แจงไว้ในสภาเผยแผ่ พาณิชย์นั้น กำหนดว่าจะรับงานคลังออมสินจากกระทรวงพระคลังมหาสมัติใน พ.ศ. ๒๔๗๑ ด้วยเหตุต้องแสวงหาหนทาง ซึ่งจะให้เป็นการเหมาะสมที่สุด กับทั้งต้องเตรียมการโอนงานธนาณัติทั้งปวงจากกระทรวงพระคลังฯ ให้ล่วงแล้วไปเสียก่อน ซึ่งพึ่งตกลงกันจะเริ่มได้ในวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๔๗๑ จึงได้มีการตกลงในที่ประชุมสภาเผยแผ่พาณิชย์ จะให้กรมไปรษณีย์โทรเลขรับการออมสินไปจัดทำเพือ่จะได้ทำการติดต่อกับประเทศ อื่น ๆ เขาทำกันอยู่ แต่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมในขณะนั้น

ได้ทรงขอผลัดให้จัดการกรมไปรษณีย์โทรเลขซึ่งขึ้นอยู่กับกระทรวงพาณิชย์และ คมนาคมในเวลานั้นให้เรียบร้อยก่อน จึงจะรับงานคลังออมสินไปดำเนินการได้ ดังรายงานการกราบบังคมทูลชี้แจงถึงการที่จะรับงานคลังออมสินของกรมพระ กำแพงเพชรอัครโยธินว่า “ในการกำหนดโครงการ ซึ่งได้กราบบังคมทูลพระกรุณาในอภิรัฐมนตรีสภาและได้ชี้แจงไว้ในสภาเผยแผ่ พาณิชย์นั้น กำหนดว่าจะรับงานคลังออมสินจากกระทรวงพระคลังมหาสมัติใน พ.ศ. ๒๔๗๑ ด้วยเหตุต้องแสวงหาหนทาง ซึ่งจะให้เป็นการเหมาะสมที่สุด กับทั้งต้องเตรียมการโอนงานธนาณัติทั้งปวงจากกระทรวงพระคลังฯ ให้ล่วงแล้วไปเสียก่อน ซึ่งพึ่งตกลงกันจะเริ่มได้ในวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๔๗๑ เผอิญได้มีโอกาสกราบถวายบังคมลาไปพักผ่อนที่ออสเตรเลีย จึงได้ถือโอกาสนั้นทำการตรวจวิธีคลังออมสินในออสเตรเลีย ซึ่งนับว่ารุ่งเรืองมากกว่าในประเทศอื่น ๆ หลายประเทศมีผู้นิยมนับถือใช้กันมากยิ่งกว่าแบงค์อื่นๆ จนมีทั้ง Federal Savings Bank และ State Savings Bank ซ้อนกันอยู่ทุกหัวเมือง แม้แต่ที่ซ้อนกันนี้ต่างก็ตั้งตึกรามใหญ่โต เช่นในซิดนีย์ แห่งละหลายสิบล้านปอนด์

จนรัฐบาลหาดอกเบี้ยได้เกินกว่าที่จะต้องจ่ายให้พระยาเชาวนานนุสถิติ ผู้จะต้องได้รับฉลองพระเดชพระคุณเรื่องคลังออมสินนี้ ได้ไปดูงานให้ละเอียดลออยิ่งกว่าที่ได้ดูมาแล้วจะได้ประโยชน์แก่แผ่นดินและ ราษฎรยิ่งขึ้นเป็นอันมาก จึงได้เห็นจำเป็นรอบมาจนถึงบัดนี้ เผอิญได้มีโอกาสกราบถวายบังคมลาไปพักผ่อนที่ออสเตรเลีย จึงได้ถือโอกาสนั้นทำการตรวจวิธีคลังออมสินในออสเตรเลีย ซึ่งนับว่ารุ่งเรืองมากกว่าในประเทศอื่น ๆ หลายประเทศมีผู้นิยมนับถือใช้กันมากยิ่งกว่าแบงค์อื่นๆ จนมีทั้ง Federal Savings Bank และ State Savings Bank ซ้อนกันอยู่ทุกหัวเมือง แม้แต่ที่ซ้อนกันนี้ต่างก็ตั้งตึกรามใหญ่โต เช่นในซิดนีย์ ต่างแห่งต่างมีตึกขนาดใหญ่ ๕ ชั้น ทั้งนี้เป็นเพราะมีผู้นิยมมาก เงินเข้าในเมืองใหญ่ ๆ แห่งละหลายสิบล้านปอนด์ จนรัฐบาลหาดอกเบี้ยได้เกินกว่าที่จะต้องจ่ายให้พระยาเชาวนานนุสถิติ ผู้จะต้องได้รับฉลองพระเดชพระคุณเรื่องคลังออมสินนี้ ได้ไปดูงานให้ละเอียดลออยิ่งกว่าที่ได้ดูมาแล้วจะได้ประโยชน์แก่แผ่นดินและ ราษฎรยิ่งขึ้นเป็นอันมาก จึงได้เห็นจำเป็นรอบมาจนถึงบัดนี้ แต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้กระทรวงพาณิชย์และคมนาคมรับโอนงานคลังออมสิน มาให้กรมไปรษณีย์โทรเลขจัดทำโดยด่วนแล้วเสด็จในกรมพระกำแพงเพชร จึงได้วางแผนงานคลังออมสินที่จะรับมาดำเนินการโดยทรงวางแผนงานออกเป็นแผนก ต่าง ๆ ดังนี้

1. แผนกกฎหมาย ในที่ประชุมสภาเผยแผ่พาณิชย์คราวหน้านะได้ขอตั้งกรรมการพิจารณาพระราช บัญญัติและกฎข้อบังคับคลังออมสินพ.ศ. ๒๔๕๖ ว่าในการที่จะเปลี่ยนเจ้าหน้าที่เสนาบดีผู้บังคับบังชาการคลังออมสินนั้น การเปลี่ยนแปลงจะต้องแก้ไขพระราชบัญญัติและกฎหมายข้อบังคับในข้อใดบ้าง ในชั้นต้นนี้คิดว่าจะให้เพียงแค่โอนงานกัน คงใช้พระราชบัญญัติเดิมไปให้มากที่สุดที่จะทำได้ ที่ใดควรเปลี่ยนก็ต้องขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเปลี่ยนไปพลางก่อน

2. แผนกตรวจเตรียมการงาน จะได้ ให้พระยาเชาวนานุสถิติไปเรียนคลังออมสินและการธนาณัติในออสเตรเลีย นำวิธีที่ดีมาใช้สำหรับราชการไทย กับในระหว่างนี้ กองบัญชากรมไปรษณีย์โทรเลขจะต้องหาคนเพิ่มเติมไว้สำหรับแผนกคลังออมสินเมื่อ ได้รับมาทำ คนเหล่านี้จะต้องได้เริ่มหัดไปก่อนแต่บัดนี้ เพื่อให้ได้รับความชำนาญไม่น้อยกว่า ๔ เดือน

3. แผนกโฆษณา จะได้ให้ข้าราชการกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมมีนักเรียนต่างประเทศเป็นต้น

เรียบเรียงข้อความกล่าวถึงประโยชน์ของคลังออมสิน สำหรับลงพิมพ์เป็นใบปลิวแถลงในหนังสือพิมพ์จดหมายเหตุรายวันภาษาไทย ชักจูงโน้มใจราษฎรในการประหยัดทรัพย์ให้ดี เมื่อได้ทำไปดังนี้แล้ว เชื่อว่ากรมไปรษณีย์โทรเลขจะรับมาทำได้ในต้นเดือนมกราคม ศกนี้ ส่วนการท่าจะได้ออกพระราชบัญญัติใหม่และแก้ไขให้เข้ารูปอย่างใดนั้นจะนำมา จากออสเตรเลีย อย่างหนึ่งกับแห่งนี้ได้ทดองระหว่างเดือนมกราคมศกนี้ได้ทดลองระหว่างเดือน มกราคมศกนี้เป็นต้นไปอีกส่วนหนึ่ง ตามแผนงานที่เสด็จในกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้ทรงกำหนดไว้นี้กระทรวงพาณิชย์คมนาคม ได้ดำเนินการจัดทำดังต่อไปนี้

๑. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่งประกอบด้วยพระยาประกิตกลศาสตร์เป็น ประธานกรรมการ, พระยาพิพิธสมบัติ, พระอจิรกิจจารณ์ และพระสุทัศน์พงษ์พิสุทธิ์เป็นกรรมการพิจารณายกร่างพระราชบัญญัติคลังออมสิน แก้ไขเพิ่มเติม เพราะตามพระราชบัญญัติคลังออมสิน พุทธศักราช ๒๔๕๖ ให้อำนาจเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินั้น เมื่อจะโอนการดำเนินงานมาให้กรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงพาณิชย์และคมนาคมแล้ว จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคลังออมสิน คณะกรรมการชุดนี้ได้ประชุมปรึกษาหรือร่างพระราชบัญญัติคลังออมสิน พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ ในการประชุมนี้ คณะอนุกรรมการด้เชิญพระยาเชาวนานุสถิติผู้ชำนายการเงิน เข้าประชุมเป็นพิเศษด้วย และคณะอนุกรรมการชุดนี้ได้ถวายร่างพระราชบัญญัติคลังออมสินแก้ไขต่อเสนาบดี กระทรวงพาณิชย์และคมนาคมกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมได้ส่งร่างไปให้กระทรวง

ต่อมาร่างพระราชบัญญัตินี้ได้นำเข้าพิจารณาในที่ประชุมแต่ในการประชุมครั้งนี้ ยังไม่ประสบความสำเร็จ จึงให้ที่ปรึกษากฎหมายของสภาเผยแผ่พาณิชย์แก้ไขร่างมาใหม่ และได้นำขึ้นหารือกันในที่ประชุมสภาเผยแผ่พาณิชย์อีกครั้งหนึ่งที่ประชุมได้ ตกลงให้กระทรวงพาณิย์และคมนาคมดำเนินการนำร่างพระราชบัญญัติขึ้นกราบบังคม ทูลพระกรุณาต่อไป กระทรวงพาณิชย์และคมนาคมได้ส่งร่างนี้ไปยังกระทรวงยุติธรรม เพื่อขอให้กรมร่างกฎหมายตรวจอีกครั้งหนึ่ง แต่ทางกระทรวงยุติธรรม เพื่อขอให้ส่งร่างนี้ไปให้เสนาบดีสภาตกลงรับหลักการตามระเบียบเสียก่อน กระทรวงพาณิชย์แคมนาคมจึงได้ส่งร่างพระราชบัญญัติไปยังกรมราชเลขาธิการ เพื่อขอให้นำความขึ้นกราบบังคับทูลพระกรุณาทราบใต้ผ่าธุลีพระบาท แต่ทางกรมราชเลขาธิการได้ส่งกลับคืนมาอีกเพื่อขอให้กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ส่งคำอธิบายประกอบพระราชบัญญัติไปพร้อมกับร่างนั้นด้ววย ต่อมากรมไปรษณีย์โทรเลขได้รายงานกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมว่า เพื่อที่กรมไปรษณีย์โทรเลขจะดำเนินการต่อไปโดยสะดวกแล้ว จะต้องมีกฎกระทรวงเพิ่มเติมเพื่อให้อำนาจหน้าที่ขึ้นอีก

จึงได้เสนอกฎกระทรวงเสนอไปด้วย กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ได้ตรงให้พระยาเชาวนานุสถิติเป็นประธานกรรมการพระอจิรกิจวิจารณ์ พระชินดิษฐบดี เป็นกรรมการพิจารณาร่างกฎกระทรวงนี้ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง กรรมการคณะนี้ได้ประชุมร่างกฎกระทรวงแล้วเสนอกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม พร้อมด้วยคำอธิบายร่างนั้นกระทรวงพาณิชย์ละคมนาคมได้ส่งคำอธิบายพระราช บัญญัติแก้ไขใหม่และกฎข้อบังคับคลังออมสินฉบับที่ ๓ นั้นไปยังกรมราชเลขาธิการ เพื่อขอให้นำความกราบทูล จอมพล สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ควรพินิต ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนครในขณะนั้นทรงทราบฝ่าละอองพระบาท ครั้นแล้วผู้สำเร็จราชการรักษาพระนครได้โปรดให้เสนอเสนาบดีสภา เสนาบดีสภาได้ประชุมเห็นชอบตามร่างนี้ และได้ส่งร่างไปยังกระทรวงยุติธรรมเพื่อให้กรมร่างตรวจพิจารณาตามระเบียบ กระทรวงยุติธรรมได้ส่งร่างพระราชบัญญัติและกฎข้อบังคับซึ่งกรมร่างกฎหมายได้ ตรวจและยกร่างขึ้นใหม่กลับคืนมาให้กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม กระทรวงพาณิชย์และคมนาคมได้ส่งไปให้กรมราชเลขาธิการเพื่อนำขึ้นกราบทูลผู้ สำเร็จราชการรักษาพระนคร และได้โปรดให้เสนอที่ประชุมเสนาบดีสภา

ในที่สุดที่ประชุมสภาได้ประชุมกันเมื่อวันที่ ๑๔ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้ตกลงเห็นชอบด้วยตามร่างนั้น และผู้สำเร็จราชการรักษาพระนครได้โปรดพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประกาศใช้ได้ตามร่างนั้น ร่างพระราชบัญญัติและกฎข้อบังคับคลัง ออมสินนี้ ก็ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ใช้เป็นกฎหมายได้เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ( ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๖ หน้า ๑๖๔ และ ๑๖๖ )

๑. ได้จัดส่งพระยาเชาวนานุสถิติผู้อำนวยการบัญชีใหญ่ กรมรัฐพาณิชย์พร้อมด้วยข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขและกรมรถไฟหลวงอีก ๖ นาย ไปดูงานคลังออสิน ณ ประเทศออสเตรเลีย คือ

๑. หลวงเจริญรถสิน ( กิมช้ นิงสานนท์ ) กรมรถไฟหลวง
๒. นายเจือ จักษุรักษ์
๓. นายวัลลภ ธนศิริ
๔. ขุนชำนาญวรกิจ ( หลุย อินทุโสภณ ) กรมไปรษณีย์โทรเลข
๕. จมื่นสิทธิกฤดากร ( เชื้อ สุนทราชุน )
๖. นายสวัสดิ์ โสถิทัต ข้าราชการชุดนี้ได้เดินทางประเทศไทยเมื่อ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๑ ถึงเมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย คณะข้าราชการชุดนี้ได้ดูงานอยู่เป็นเวลา ๖ เดือน และกลับประเทศไทยเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๗๑

๒. ให้ข้าราชการกองบัญชี กรมไปรษณีย์โทรเลข ๒ นาย ไปศึกษาวิธีปฏิบัติงานออมสินที่กรมพระคลังมหาสมบัติ คิอ นายพงส์ สรีพันธุ์ และนายสนิท ธีระบุตร

๓. รับสมัครบุคคลเข้าเป็นเสมียนฝึกหัด ๗๐ คน ไปเรียนงานคลังออมสินที่คลังจังหวัดต่าง ๆ เพื่อสำหรับใช้ประจำที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขจังหวัดนั้นๆ

๔. ได้จัดพิมพ์หนังสือและภาพโฆษณา แนะนำและชักจูงแจกประชาชนและในโอกาสนี้ได้นำสิ่งพิมพ์และภาพสมเด็จพระ ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ ๔ สิงหาคม ๒๔๗๓ ด้วย

ครั้น เมื่อกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมได้ดำเนินการตามโครงการดังกล่าวข้างต้นแล้ว จึงได้ทำการส่งมอบและรับมอบงานคลังออมสิน เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ โดยให้แผนกคลังออมสิน กรมไปรษณีย์โทรเลข ซึ่งรับโอนงานจากกรมพระคลังมหาสมบัติและกรมศุลกากรมารวมจัดทำด้วยกันเป็น ที่ทำการคลังออมสินกลาง สถานที่ทำการคลังออมสินกลางในคลังนั้น ตั้งอยู่ที่ตัวตึกอันเป็นส่วนหนึ่งของสถานทูตอังกฤษเก่า ณ ตำบลบางรัก(ก่อนที่จะสร้างตึกที่ทำการไปรษณีย์กลางในปัจจุบันนี้ )

ส่วนการคลังออมสิน ณ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขและอำเภอในพระนครธนบุรีและคลังออมสินในต่างจังหวัด ซึ่งโอนจากคลังจังหวัดมาอยู่กับที่ทำหารไปรษณีย์โทรเลขจังหวัดนั้น ในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการคลังออมสินแล้ว ให้ขึ้นตรงต่อคลังออมสินกลาง

นับแต่บัดนี้เป็นต้นมา ประชาชนก็เริ่มรู้จักประโยชน์ของคลังออมสินขึ้นโดยลำดับ ภายในระยะเวลาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๒ ถึงต้นปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ปรากฎว่ามีผู้ฝากและจำนวนเงินรับฝากเพิ่มขึ้นดังนี้ คือ เมื่อแรกรับงานคลังออมสินจากกระทรวงพระคลังจากกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีจำนวนผู้ฝาก ๑๘,๖๘๒ ราย เงินที่รับฝาก ๒,๖๕๐,๐๗๔ บาท ใน พ.ศ. ๒๔๗๓ มีจำนวนผู้ฝาก ๒๓,๕๗๖ ราย เงินที่รับฝาก ๒,๘๙๐,๔๐๗ บาท ใน พ.ศ. ๒๔๗๔ มีจำนวนผู้ฝาก ๓๐,๘๓๙ ราย เงินที่รับฝาก ๓,๘๘๔,๔๓๓ บาท ทั้งนี้นับได้ว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราโชบายอันเลิศ ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินงานให้ประชาชนได้รับความสะดวกจนบังเกิดความนิยม เลื่อมใสในกิจการและความมีหลักฐานมั่นคงของคลังออมสิน จัดได้ว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณการคลังออมสินเป็นล้นเกล้าทั้งนี้ประกอบกับ พระปรีชาสามารถของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินเสนาบดีกระทรวง พาณิชย์และคมนาคมที่ได้ทรงวางแผนการดำเนินงานอย่างเหมาะสมยิ่ง

นับได้ว่าพระองค์ท่านได้เป็นผู้ทรงวางรากฐานในขณะนั้นอย่างเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งเมื่อประเทศไทยได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นประธิปไตย เมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ รัฐบาลในระบอบใหม่ได้เห็นความสำคัญของการคลังออมสินอยู่มากจึงได้ปรับปรุง ส่งเสริมละขยายกิจการเป็นอันดับ ทั้งในด้านวิธีการ จำนวนเงินฝาก เปิดการรับฝากเงินประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เป็นที่นิยมของผู้ฝาก และปรับปรุงด้านการโฆษณาเผยแพร่คุณประโยชน์และกิจการของคลังออมสินให้แพร่ หลายแก่ประชาชนมากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้เพราะรัฐบาลได้พิจารณาเห็นว่า คลังออมสินเป็นสถาบันของการรวมและระดมทุนซึ่งอยู่ในโครงการปรับปรุงเศรษฐกิจ ของบ้านเมือง อันควรส่งเสริมและปรับปรุงให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นกล่วคือ เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้มีพระราชกิจฏีกาจักวางระเบียบราชการสำนักงานและกรมในกระทรวงเสรษฐการ พุทธสักราช ๒๔๗๖ มาตรา ๑๗ แบ่งส่วนราชการคลังออมสินขึ้นเป็นกอง เรียกว่า “กองคลังออมสินและธนาณัติ ” ขึ้นอยู่กับกรมไปรษณีย์โทรเลข

ครั้นต่อมาเมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ได้มีพระราชกฤษฏีกาฉบับใหม่ขึ้นอีกฉบับเรียกว่า พระราชกฤาฏีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงานและกรมในกระทรวงเศรษฐการ พุทธศักราช ๒๔๗๗ มตรา ๑๙ ให้คลังออมสินคงเป็นกอง เรียกว่า “ กองคลังออมสิน ” โดยแต่งตั้งให้นายสวัสดิ์ โสตถิทัต เป็นหัวหน้ากอง นายสวัสดิ์ โสตถิทัต ได้พิจารณาเห็นว่าสถานที่ทำการซึ่งเป็นแผนกคลังออมสิน ซึ่งตั้งอยู่ ณ ตึกส่วนหนึ่งของกองบัญชีเดิมคับแคบไม่เหมาะสม

จึงเสาะหาสถานที่ที่จะตั้งกองคลังออมสินอันเป็นสำนักงานใหญ่คลังออมสิน ประจวบเหมาะที่ตึกอาคาร ๓ ชั้น หัวมุมถนนตรีเพชร เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ฝั่งพระนคร ตรงข้ามโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย อันเป็นอาคารของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองศ์เจ้าจุลจักรพงศ์ สร้างเสร็จเรียบร้อย จึงได้ขอเช่าเป็นผลสำเร็จและได้ย้ายจากที่ทำการเดิมมาอยู่ ณ อาคารนี้ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๗๗ เรียกชื่อสำนักงานคลังออมสินแห่งนี้วา “ สำนักงานคลังใหญ่คลังออมสินของรัฐบาล ” และเปิดการติดต่อกับประชาชนเป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมากองคลังออมสินก็ได้ปรับปรุงวิธีการในด้านบริการ ประชาชนเพื่อให้ได้รับความสะดวกและรวดเร็วในการฝากถอนเงินยิ่งขึ้น มีการแก้ไขขยาย สำนักงานใหญ่คลังออมสิน แห่งแรกเปิดเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อ ๑ ตุลาคม ๒๔๗๗ ตั้งอยู่มุมถนนตรีเพชร เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ฝั่งพระนคร รูปออมสิน วงเงินรับฝากได้มากขึ้น เปิดการรับฝากสำหรับนิติบุคคล เช่นวัดอาราม สมาคมและสโมสร จัดส่งเจ้าหน้าที่ของคลังออมสินออกไปทำการรับฝากเงินตามโรงเรียนเพื่อ เป็นการฝึกอบรมให้เยาวชนรู้จักวิธีการเก็บออมทรัพย์ ในการฝึกหัดนักเรียนให้รู้จักการมัธยัสถ์โดยการฝากเงินคลังออมสินนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้เคยทรงปรารภและได้ประทานอนุมัติให้คลังออมสินติดต่อกับโรงเรียนมัธยม บ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นโรงเรียนแรกในครั้งนั้นและปรากฎผลเป็นที่พอพระทัย

 

ซึ่งในเวลาต่อมา กองคลังออมสินก็ได้ดำเนินการในการรับฝากเงินตามโรงเรียนกว้างขวางยิ่งขึ้น เป็นลำดับ และวิธีการนี้ยังได้ใช้กับกรม กอง องค์การ และบริษัทต่าง ๆ ด้วยยังมีการรับฝากเงินอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งสมควรจะได้นำมากล่าวในที่นี้ด้วย คือ กล่องใส่สตางค์คลังออมสิน หรือกระป๋องออมสิน กองคลังออมสินเรียกการรับฝากเงินประเภทนี้ว่า “ คลังออมสินสำหรับบ้าน “ ( Home Saving Bank ) กล่องใส่สตางค์นี้ทำด้วยสังกระสี มีรูปกลักษณะจำลองมาจากตู้ทิ้งจดหมายของกรมไปรษณีย์โทรเลข ซึ่งตั้งอยู่ริมบาทวิถีในสมัยนั้น จำหน่ายให้ประชาชนกล่องละ ๑๐ สตางค์ ความมุ่งหมายของการออมสิน เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า และที่ทำการคลังออมสินสาขาบางรักนอกจากนั้น กองคลังออมสินยังได้เปิดการรับฝากเงินประเภทต่าง ๆ เพิ่มขึ้นคือ เปิดการรับฝากเงินประเภทสลากออมสิน เปิดการรับฝากเงินประเภทพันธบัตรออมสินเปิดการรับฝากเงินประเภทการรับจ่าย และโอนเงิน เปิดการรับฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว เปิดการรับฝากเงินประเภทกล่องออมสิน เปิดการรับฝากเงินประเภทฝากสะสมทุน เปิดการรับฝากเงินประเภทรับฝากตามบ้าน ในด้านการโฆษณาเผยแพร่และการฝึกอบรมให้ประชาชนได้ทราบถึงคุณประโยชน์แห่งการ ออมทรัพย์ กองคลังออมสินก็ได้ปรับปรุงและขยายวิธีการให้เจริญแพร่หลายยิ่งขึ้นในระยะ นี้เป็นอันมากและได้ผลสมความมุ่งหมายของทางราชการเป็นอย่างดี

เมื่อปรากฎว่า การคลังออมสินได้เจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว มีประชาชนนิยมฝากเงินกับคลังออมสินเพิ่มมากขึ้นเป็นอันดับ ปรากฎสถิติจำนวนผู้ฝาก และเงินที่รับฝากดังต่อไปนี้

พ.ศ. ผู้ฝาก เงินฝาก
๒๔๗๒ ๑๘,๖๘๒ ราย ๒,๔๕๘,๑๖๒.๙๖ บาท
๒๔๗๓ ๒๓,๕๗๖ ราย ๒,๘๘๙,๖๘๔.๒๑ บาท
๒๔๗๔ ๓๐,๘๓๙ ราย ๓,๘๘๔,๐๖๗.๘๓ บาท
๒๔๗๕ ๓๘,๔๒๒ ราย ๔,๙๒๗,๗๓๘.๖๐ บาท
๒๔๗๖ ๔๗,๗๗๑ ราย ๕,๗๐๓,๖๓๑.๔๔ บาท
๒๔๗๗ ๖๒,๕๔๕ ราย ๗,๔๔๗,๒๔๕.๘๘ บาท
๒๔๗๘ ๘๐,๒๓๙ ราย ๙,๘๐๗,๐๐๘.๐๙ บาท
๒๔๗๙ ๙๗,๓๑๒ ราย ๑๒,๔๖๕,๘๑๔.๘๖ บาท
๒๔๘๐ ๑๑๑,๕๖๑ ราย ๑๓,๕๖๑,๖๖๔.๓๒ บาท

หัวหน้าคลังออมสินสาขา รุ่นแรก (จากซ้ายไปขวา)

นายประสาร จารุกุล หัวหน้าคลังออมสิน สาขานครราชสีมา
นายแถม เพชรสิงห์ หัวหน้าคลังออมสิน สาขาอุบลราชธานี
นายชาย บุนนาค หัวหน้าคลังออมสิน สาขาเชียงใหม่
นายไชย เตชะเสน หัวหน้าคลังออมสิน สาขาสงขลา
นายเจียด ชื่นศิริ หัวหน้าคลังออมสิน สาขานครสวรรค์

 

การเสนอโครงการขอเปิดสำนักงานคลังออสินสาขาใน จังหวัดใหญ่ ๆ ๕ จังหวัดนี้ กรมไปรษณีย์โทรเลขเห็นชอบด้วย กระทรวงเศรษฐการ และกระทรวงคลังอนุมัติให้เปิดสำนักงานคลังออมสินสาขาได้ฉะนั้น คลังออมสินสาขาจึงอุบัติขึ้นในจังหวัดส่วนภูมิภาค ๕ จังหวัดครั้งแรก ณ วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ โดยจัดส่งหัวหน้าคลังออมสินสาขา ๕ ท่าน คือ

1. นายชาย บุนนาค หัวหน้าคลังออมสินสาขาเชียงใหม่
2. นายประสาร จารุกุล หัวหน้าคลังออมสินสาขาราชสีมา
3. นายเจียด ชื่นศิริ หัวหน้าคลังออมสินสาขานครสวรรค์
4. นายแถม เพชรสิงห์ หัวหน้าคลังออมสินสาขาอุบลราชธานี
5. นายไชย เตชะเสน หัวหน้าคลังออมสินสาขาสงขลา และในปีเดียวกันนี้ก้ได้เปิดสำนักงานคลังออมสินขึ้นในจังหวัดพระนคร – ธนบุรี คือ

( ๑ ) สำนักงานคลังออมสินสาขาป้อมปราบ
( ๒ ) สำนักงานคลังออมสินสาขาหน้าพระลาน
( ๓ ) สำนักงานคลังออมสินสาขาหัวลำโพง
( ๔ ) สำนักงานคลังออมสินสาขาบางกระบือ
( ๕ ) สำนักงานคลังออมสินสาขาปทุมวัน ทั้งห้าสำนักงานนี้อยู่ในสังหวัดพระนคร สำหรับจังหวัดธนบุรี ได้เปิดสำนักงานคลังออมสินเพิ่มขึ้นอีก ๑ แห่ง คือ สำนักงานออมสินสาขาเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นับแต่การขยายงานและธุรกิจออมสินและเปิดสำนักงานคลังออมสินสาขาในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นมา

 

ถึงแม้ว่าในระยะนี้ประเทศไทยจะประสพวิกฤติกาลเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ ก็ดี แต่กิจการและฐานะการเงินของกองคลังออมสินก็มิได้กระทบกระเทือน การกลับปรากฎว่า มีจำนวนผู้ฝากและเงินที่รับฝากเพิ่มขึ้นเรื่อยมาโดยลำดับในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ได้เปิดสำนักงานคลังออมสินสาขาขึ้นอีก ๗ แห่ง คือ

( ๑ ) สำนักงานคลังออมสินสาขาลำปาง
( ๒) สำนักงานคลังออมสินสาขาภูเก็ต
( ๓ ) สำนักงานคลังออมสินสาขาจันทบุรี
( ๔ ) สำนักงานคลังออมสินสาขาสุราษฎร์ธานี
( ๕ ) สำนักงานคลังออมสินสาขาอุดรธานี
( ๖ ) สำนักงานคลังออมสินสาขาพิษณุโลก
( ๗) สำนักงานคลังออมสินสาขาตรัง

ในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ เปิดสำนักงานคลังออมสินสาขาเพิ่มขึ้นอีก ๖ แห่ง คือ

( ๑ ) สำนักงานคลังออมสินสาขาฉะเชิงเทรา
( ๒) สำนักงานคลังออมสินสาขาลพบุรี
( ๓) สำนักงานคลังออมสินสาขาพระนครศรีอยุธยา
( ๔) สำนักงานคลังออมสินสาขาร้อยเอ็ด
( ๕ ) สำนักงานคลังออมสินสาขานครศรีธรรมราช

( ๖) สำนักงานคลังออมสินสาขาเพชรบุรี

ในปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ได้เปิดสำนักงานคลังออมสินสาขา ๒ แห่ง คือ
( ๑) สำนักงานคลังออมสินสาขาสุพรรณบุรี
( ๒) สำนักงานคลังออมสินสาขามหาสารคาม

ในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ เปิดคลังออมสินสาขาเพิ่มขึ้นอีก ๒ แห่ง คือ

( ๑) สำนักงานคลังออมสินสาขาชลบุรี
( ๒) สำนักงานคลังออมสินสาขาสระบุรี นับตั้งแต่กองคลังออมสินได้เปิดสาขา ต่างๆ มาตั้งแต่ต้นปี สิ้นมีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ ปรากฎว่ามีประชาชนนิยมฝากเงินออมสินประเภทต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ดังปรากฎตามสถิติดังต่อไปนี้
๑. มีเงินฝากเผื่อเรียกและประจำคงเหลือ ๒๐๕,๗๑๓,๓๒๕ บาท มีผู้ฝากถึง ๖๐๑,๒๘๓ ราย
๒.เงินรับฝากสลากออมสินพิเศษคงเหลือ ๘,๗๔๐,๙๒๕ บาท
๓.เงินรับฝากพันธบัตรออมสินคงเหลือ ๑๓๑,๖๑๕ บาท
๔.เงินรับฝากสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว ๑๔๔,๓๗๑ บาท
๖. เงินหมุนเวียนการรับฝากประเภทการรับจ่ายและโอนเงิน ๒๕,๒๗๕,๑๘๘ บาท มีเงินฝากคงเหลือ ๑,๖๔๗,๕๓๘ บาท ตามสถิติข้างต้นซึ่งเป็นผลจากการดำเนิน งานของคลังงานของคลังออมสินเมื่ออยู่กับกรมไปรษณีย์โทรเลข ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ถึงสิ้นมีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นเวลา ๑๘ ปี นับได้ว่ากิจการออมสินในระยะนี้เจริญมากขึ้นสมควรมากขึ้นสมควรจะเรียกได้ว่า เป็นยุคแห่งความก้าวหน้าของการคลังออมสิน

ฝากเงิน และจำนวนเงินฝากที่คลังออมสินรับฝากไว้ ปรากฎว่าเพิ่มปริมาณขึ้นเป็นลำดับ จึงเป็นการเหลือมือเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานคลังออมสินตามที่ทำการไปรษณีย์ โทรเลขและอีกประการหนึ่ง สำหรับประชาชนที่ฝากเงินเป็นจำนวนมาก ๆ และเมื่อมีการถอนเงินเป็นจำนวนมาก ทำการจ่ายถอนขลุกขลัก ขัดข้อง หรือล่าช้า เพราะวงเงินเก็บรักษาของสำนักงานคลังออมสินสาขา รวมทั้งที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขที่ปฏิบัติงานคลังออมสินในขณะนั้นมีวงเงินอันจำกัด เพราะคลังออมสินไม่มีกฎข้อบังคับจำกัดวงเงินถอนเหมือนกับการคลังออมสินในต่างประเทศที่เขาปฏิบัติกัน จึงเป็นเหตุให้ประชาชนผู้ฝากไม่สู้จะได้รับความสะดวกเท่าที่ควร ซึ่งรัฐบาลในขณะนั้นก็ได้พิจารณาแล้ว เห็นว่ากิจการออมสินเป็นที่จะต้องปรับปรุงขยายกิจการให้เจริญก้าวหน้ากว้างขวางเพื่อให้เหมาะสม กับความเจริญของบ้านเมืองและความนิยมของประชาชนด้วย การคลังออมสิน นับว่าเป็นเส้นเลือดที่สำคัญในทางเศรษฐกิจของรัฐ ควรที่จะสนับสนุนให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนและรัฐ เมื่อมีเหตุผลดังกล่าว รับบาลในสมัยนั้นมีหลวงโกวิท อภัยวงศ์ (ควง อภัยวงศ์ ) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ปรึกษาหารือกับนายสวัสดิ์ โสตถิทัต หัวหน้ากองคลังออมสิน ในการที่จะปรับปรุงขยายกิจการคลังออมสิน โดยเห็นเป็นการสมควรที่จะแยกการคลังออมสินเป็นองค์การดำเนินธุรกิจโดยอิสระ เพราะถ้าคลังออมสินยังเป็นกองในราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขอยู่ การขยายกิจการ การดำเนินงาน การวางระเบียบปฏิบัติ ข้อบังคับ ตลอดจนการขยายสาขาให้เพิ่มมากขึ้นย่อมจะทำไม่ได้โดยทันที ฉะนั้น จึงได้พิจารณายกร่างพระราชบัญญัติคลังออมสินขึ้นใหม่ โดยยกฐานะกองคลังออมสินขึ้นเป็นองค์การของรัฐดำเนินงานโดยอิสระ พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้เข้าสู่การพิจารณาของการประชุมคณะกรรมการ ซี่งรัฐบาลแต่งตั้งขึ้นประกอบด้วย หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์

นายเสริม วินิจฉัยกุล นายสวัสดิ์ โสตถิทัต และ นายถนิม ปัทมสูท เมื่อคณะกรรมการพิจารณาแล้วรับหลักการส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาต่อไป แต่ปรากฎว่า พระราชบัญญัติคลังออมสินยังไม่ได้ทันออกใช้ เนื่องจากได้มีการผลัดเปลี่ยนรัฐบาลขึ้นจนถึงรัฐบาลซึ่งมีหลวงประดิษฐมนูธรรม ( ปรีดี พนมยงค์ ) เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้นำพระราชบัญัติคลังออมสินฉบับนี้ขึ้นพิจารณาอีกครั้งหนึ่งปรากฎว่า รัฐบาลนี้เห็นว่ากิจการคลังออมสินนั้นเป็นกิจการที่ควรจะได้ปรับปรุงให้เต็มรูปเป็นธนาคารออมสินอย่างในต่างประเทศได้แล้ว จึงเห็นสมควรให้เปลี่ยนชื่อพระราชบัญญัติโดยให้เรียกชื่อพระราชบัญญัติฉบับ นี้ว่า พระราชบัญญัติธนาคารออมสินแต่ก็ปรากฎว่า พระราชบัญญัติธนาคารออมสินนี้ก็ยังไม่ได้ออกใช้อีกเนื่องจากการเปลี่ยนแปลง รัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง จนถึงสมัยหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ( ถวัลย์ธำรงนาวาสวัสดิ์ ) เป็นนายกรัฐมนตรี ใน พ.ศ. ๒๔๘๙ พระราชบัญญัตินี้จึงได้ออกใช้เรียกว่าพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ. ๒๔๘๙ ในการที่พระราชบัญญัติธนาคารออมสิน ได้อุบัติขึ้นเป็นครั้งแรกนี้ นายสวัสดิ์ โสตถิทัต ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขขณะนั้น เป็นผู้มีส่วนดำเนินการมาตั้งแต่ต้นนับแต่การริเริ่ม การวางโครงการและการขวนขวายที่จะให้กิจการออมสินได้เป็นธนาคารออมสินจนเป็นผลสำเร็จขึ้น และเพื่อที่จะได้ปฏิบัติงานในด้านธนาคารออมสินได้เต็มที่ในระยะแรก นายสวัสดิ์ โสตถิทัต จึงได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข เพื่อมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการธนาคารออมสิน และท่านผู้นี้ก็ได้วางรากฐานและผลงานให้แก่ธนาคารออมสินหลายประการ ซึ่งธนาคารออมสินยกย่องและเทิดทูนไว้เป็นอย่างสูง ณ โอกาสนี้ด้วย

พระราชบัญญัติธนาคารอออมสิน พ.ศ. ๒๔๘๙ นี้ มีสารสำคัญดังต่อไปนี้

  1. ให้ธนาคารออมสินเป็นนิติบุคคลโดยให้ธนาคารออมสิน รับโอนบรรดาทรัพย์สิน สินทรัพย์ ความรับผิด และธุรกิจของกองคลังออมสินกรมไปรษณีย์โทรเลขมาดำเนินกิจการต่อไป
  2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้รักษาตามพ ระราชบัญญัติมีอำนาจและหน้าที่กำกับโดยทั่วไป ซึ่งกิจการของธนาคารออมสิน แต่งตั้ง หรือถอดถอน คณะกรรมการ ผู้อำนวยการ และรองผู้อำนวยการกำหนดเงินบำเหน็จรางวัลของกรรมการ
  3. คณะกรรมการธนาคารออมสิน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการและกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่า ๗ นาย เป็นผู้ควบคุมและดูแลกิจการของธนาคารออมสินทั่วไป
  4. ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้จัดการธนาคารออมสิน มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามกฏหมายกฎ และข้อบังคับของธนาคารออมสิน
  5. ผลประโยชน์ที่ธนาคารออมสินจ่ายเป็นค่าดอกเบี้ยเงินฝาก จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจและจ่ายตามข้อผูกพัน
  6. การคืนต้นเงิน และชำระดอกเบี้ยเงินฝาก การจ่ายเงินอื่น ๆ ตามข้อผูกพัน รัฐบาลเป็นประกันทั้งสิ้น
  7. ให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบรรดาบัญชีของธนาคารออมสิน
  8. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศฐานะการเงินของธนาคารออมสินประจำไตรมาส และประกาศรายงานประจำปี ซึ่งธนาคารออมสินได้จัดทำให้ระหว่างปี อาทิเช่น จำนวนผู้ฝาก จำนวนเงินฝาก จำนวนเงินดอกเบี้ย ที่จ่ายและผลประโยชน์ที่ได้มาจากเงินทุนและอื่นๆ สุดแต่จะเห็นสมควร

พระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ. ๒๔๘๙ นี้ ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ ซึ่งเป็นปีที่ ๑ ในรัชกาลแห่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช นายถนิม ปัทมสูต รองผู้อำนวยการธนาคารออมสินคนแรก นับแต่นั้นมา กิจการของกองคลังออมสิน ก็แยกออกจากการบังคับบัญชาของกรมไปรษณีย์โทรเลข โดยให้ธนาคารออมสินดำเนินการตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๙๐ ธุรกิจของธนาคารออมสินที่ได้รับการโอนจากกรมไปรษณีย์โทรเลข

จัดทำตามพระราชบัญญัติธนาคารออมสินในระยะเริ่มแรก มีธุรกิจดังนี้

  1. รับฝากเงินออมสินเผื่อเรียก – ประจำ
  2. ออกพันธบัตรออมสิน
  3. รับฝากเงินออมสินเพื่อสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว
  4. ออกสลากออมสิน
  5. ทำการรับจ่ายและโอนเงิน
  6. ซื้อหรือขายพันธบัตรของรัฐบาลไทย
  7. การออมสินอื่นๆ ตามที่จะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดไว้
  8. กิจการอันเป็นงานของธนาคาร ตามที่จะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดไว้ ในการที่จะบริหารกิจการของธนาคารออมสิน ตามพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน จึงได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการในหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ และวาระครองตำแหน่งของกรรมการธนาคารออมสินขึ้นคือพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการใน หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการและวาระครองตำแหน่งของกรรมการแห่งธนาคารออมสิน

พ.ศ. ๒๔๙๐ พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีสารสาระสำคัญ คือ

  1. พระราชกฤษฏีกาฉบับนี้กำหนดว่า การควบคุมและดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการธนาคารออมสิน ของคณะกรรมการให้รวมตลอดถึงกิจการ ดังนี้ คือ
    1. การตั้งและเลิกสาขาตัวแทน
    2. การกำหนดเงื่อนไขและขอบเขตทั่วไปแห่งธุรกิจประเภทต่างๆ ตามพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ. ๒๔๘๙ มาตรา ๗ ( ๑) ถึง ( ๗ )
    3. กำหนดระเบียบการ
    4. การเสนอสมดุลย์ ฐานะการเงิน และรายงานประจำปี
  2. ให้คณะกรรมการเลือกตั้งกรรมการหนึ่งนายเป็นประธานกรรมการ
  3. กรรมการ ไม่ต้องรับผิดชอบต่อธนาคารออมสินในการใช้จ่ายและการเสียหายใด ๆ ในการปฏิบัติหน้าที่หรือเกี่ยวกับหน้าที่ซึ่งกระทำโดยสุจริต และมิได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
  4. กรรมการมีวาระครองตำแหน่ง ๒ ปี ในการบริหารกิจการของธนาคารออมสิน กระทรวงการคลังได้ประกาศแต่งตั้งกรรมการธนาคารออมสิน ดังสำเนาตำแหน่งต่อไปนี้ เรื่อง ตั้งกรรมการธนาคารออมสิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน

พ.ศ. ๒๔๘๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แต่งตั้งกรรมการธนาคารออมสิน คือ

  1. ปลัดกระทรวงการคลัง
  2. อธิบดีกรมบัญชีกลาง
  3. อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข
  4. ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน
  5. รองผู้อำนวยการธนาคารออมสิน
  6. พระยานิติศาสตร์ไพศาล
  7. หลวงบรรณกรโกวิท
  8. หลวงประสาทศุภนิติ
  9. นายสนิท ผิวนวล

ทั้งนี้ ตั้งแต่ ๓๐ เมษายน ๒๔๙๐ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๔๙๐
วิจิตร ลุลิตานนท์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง)
(คัดจากราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ ๒๑ เล่มที่ ๖๔ วันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๔๙๐)

ประธานกรรมการธนาคารออมสินปี พ.ศ. ๒๔๙๐ คณะกรรมการธนาคารออมสิน ได้เปิดประชุมเป็นครั้งแรกเมื่อวันศุกร์ที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๙๐ โดยมีนายวิจิตร ลุลิตานนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกรุณามากล่าวเปิดการประชุม และที่ประชุมได้มีมติเลือกพระยานิติศาสตร์ไพศาลเป็นประธานกรรมการชั่วคราว ครั้งต่อมาในวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๔๙๐ ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ ๒ คณะกรรมการธนาคารออมสิน ได้มีมติเป็นเอกฉันท์เลือกพระยานิติศาสตร์ไพศาลเป็นประธานกรรมการธนาคารออมสิน

นอกจากคณะกรรมการดังกล่าวแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยังได้แต่งตั้งให้
๑. นายสวัสดิ์ โสตถิทัต เป็นผู้อำนวยการ
๒. นายถนิม ปัทมสูต เป็นรองผู้อำนวยการ ธนาคารออมสินจนถึงปี ๒๕๐๑ ตามวาระครองตำแหน่งของคณะกรรมการธนาคารออมสินแต่แรกเป็นธนาคารออมสินจนถึงปี ๒๕๐๑ ตามวาระครองตำแหน่งของคณะกรรมการธนาคารออมสินเป็นวาระๆ ดังนี้

วาระที่ ๑ คณะกรรมการธนาคารออมสินอันมีพระยานิติศาสตร์ไพศาลเป็นประธานกรรมการ ( พ.ศ. ๒๔๙๐ – พ.ศ. ๒๔๙๐ )

คณะกรรมการธนาคารออมสินอันมีพระยานิติศาสตร์ไพศาลเป็นประธานกรรมการ ( พ.ศ. ๒๔๙๐ – พ.ศ. ๒๔๙๐ ) เนื่องด้วยคณะกรรมการธนาคารออมสินซึ่งมีพระยานิติศาสตร์ ไพศาล เป็นประธานกรรมการนี้ เป็นคณะกรรมการบริหารกิจการของธนาคารออมสินครั้งแรก  ฉะนั้น ในระยะนี้จึงเป็นสมัยแห่งการริเริ่มการวิวัฒนาการ กล่าวคือจะต้องมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง ในด้านธุรกิจและการดำเนินการมากมายหลายอย่าง ดังจะได้กล่าวเป็นลำดับไป คือ

ก. การจัดทำพระราชกฤษฎีกา

กฎกระทรวง ระเบียบการ เพื่อปฏิบัติตามความมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ. ๒๔๘๙ จะต้องมีกฎกระทรวงเพื่อเป็นบทบัญญัติบังคับในการดำเนินการเกี่ยวกับธุรกิจใน การรับฝากเงิน ในวาระที่๑ แห่งคณะกรรมการชุดนี้ ได้มีกฎกระทรวงประกาศออกใช้ รวม ๕ ฉบับ คือ
๑. กฎกระทรวงฉบับที่ ๑ ( พ.ศ. ๒๔๙๑ ) ว่าด้วยการรับฝากเงินออมสิน
๒. กฎกระทรวงฉบับที่ ๒ ว่าด้วยการรับฝากเงินประเภทพันธบัตรออมสิน
๓. กฎกระทรวงฉบับที่ ๓ ว่าด้วยการประกอบกิจการอันพึงเป็นงานธนาคารของธนาคารออมสิน
๔. กฎกระทรวงฉบับที่ ๔ ว่าด้วยการรับจ่ายและโอนเงิน
๕. กฎกระทรวงฉบับที่ ๕ ว่าด้วยการรับฝากเงินประเภทสลากออมสินพิเศษ

นอกจากกฎกระทรวง ๕ ฉบับดังกล่าว ธนาคารออมสินยังได้ออกระเบียบการธนาคารออมสิน ดังนี้
๑. ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๑ ) ว่าด้วยเงินลงทุนเลี้ยงชีพของพนักงานธนาคารออมสิน
๒. ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๒ ) ว่าด้วยการลาของพนักงานธนาคารออมสิน
๓. ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๓ ) ว่าด้วยการแต่งตั้งและถอดถอนพนักงานธนาคารออมสิน และกำหนดอัตราเงินเดือนประจำตำแหน่งของพนักงานธนาคารออมสิน
๔. ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๔ ) ว่าด้วยการตรวจสอบและรักษาเงินประจำ
๕. ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๕ ) ว่าด้วยการแต่งตั้งและถอดถอนพนักงานธนาคารออมสิน และกำหนดอัตราเงินเดือนประจำตำแหน่งของพนักงานธนาคารออมสิน

ข. การบริหาร และการขยายธุรกิจ

ในการบริหารธุรกิจของธนาคารออมสินนั้น ธนาคารออมสินได้จัดแบ่งส่วนการบริหารธุรกิจในครั้งแรก ดังนี้
กองอำนวยการ แบ่งออกเป็น ๑๒ แผนก
๑. แผนกเลขานุการคณะกรรมการ
๒. แผนกกลาง
๓. แผนกทะเบียนประวัติพนักงาน
๔. แผนกกฎหมายและสอบสวนคดี
๕. แผนกพัสดุ ยานพาหนะ และรักษาสถานที่
๖. แผนกสถิติพยากรณ์
๗. แผนกพันธบัตรและสลากออมสิน
๘. แผนกสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว
๙. แผนกโอนรับและจ่ายเงินและหักลบหนี้
๑๐. แผนกโอนย้ายสถานที่ฝากเงิน
๑๑. แผนกการออมสินและการธนาคาร
๑๒. แผนกทะเบียนรายชื่อผู้ฝาก

กองการบัญชี แบ่งออกเป็น ๙ แผนก
๑. แผนกบัญชีทั่วไป
๒. แผนกบัญชีผลประโยชน์
๓. แผนกบัญชีการออมสิน
๔. แผนกบัญชีการพันธบัตรและสลากออมสิน
๕. แผนกบัญชีการสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว
๖. แผนกบัญชีการธนาคาร
๗. แผนกบัญชีตรวจจ่ายเงินและควบคุมงบประมาณ
๘. แผนกตรวจบัญชี
๙. แผนกเงินและรักษาตราสาร

กองการโฆษณา แบ่งออกเป็น ๓ แผนก
๑. แผนกปาฐกถา และการกระจายเสียง
๒. แผนกโฆษณาทางภาพยนตร์
๓. แผนกโฆษณาการเขียน และป้ายต่าง ๆ

สำนกงานธนาคารออมสินกลาง แบ่งออกเป็น ๔ หน่วย
๑. หน่วยการออมสิน
๒. หน่วยการธนาคาร และการโอนรับและจ่ายเงิน
๓. หน่วยการพันธบัตรและสลากออมสิน
๔. หน่วยการสงเคราะห์และครอบครัว

สำนักงานธนาคารออมสินสาขาใหญ่ แบ่งออกเป็น ๕ ภาค คือ ภาคเหนือ, ภาคอีสาน, ภาคกลาง, ภาคพระนครและภาคใต้ แต่ละภาคแบ่งเป็นสาขาสองประเภท คือ
๑. สำนักงานธนาคารออมสินสาขารอง
๒. สำนักงานธนาคารออมสินตัวแทนไปรษณีย์ฯ คำสั่งบริหารกิจฉบับนี้ประกาศใช้ตั้งแต่ ๑๙ สิงหาคม ๒๔๙๑ เพื่อเป็นการแบ่งเบาภารกิจในการบริหารงานของผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการธนาคารออมสินจึงได้จัดแบ่งหน้าที่บริหารส่วนใหญ่ ๆ ของธนาคารออกเป็นฝ่ายมี ๔ ฝ่ายแต่ฝ่ายมีหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการ, และค้นคว้าแนวทางที่จะให้ธุรกิจของธนาคารออมสินเจริญก้าวหน้า ตลอดจนวางระเบียบแบบแผนเพื่อการปฏิบัติกิจทั้งยังแก้ไขปัญหาขัดข้องรวมทั้ง วิจารณ์สถิติและทำรายงานแสดงความเจริญและอุปสรรค เพื่อการปรับปรุงแก้ไขให้งานเจริญยิ่งขึ้น กับทั้งมีหน้าที่สั่งการมีหน้าที่อื่น ๆ ที่ผู้อำนวยการมอบหมายด้วย

ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่าย แต่ละท่านล้วนแต่เป็นผู้ร่วมแรงใจบริหารการออมสินมาแต่แรกตั้งคลังออมสิน ดังมีรายนามต่อไปนี้
๑. นายพง สรีพันธ์ หัวหน้าฝ่ายการออมสินเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการออมสิน
๒. นายสนิท ธีรบุตร หัวหน้าฝ่ายาการพันธบัตรและสลากออมสิน เป็นผู้อำนวยการฝ่ายการพันธบัตรและสลากออมสิน
๓. นายเจือ จักษุรักษ์ หัวหน้าฝ่ายการสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการผ่ายการสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว
๔. นายผ่านพบ บุษยากร หัวหน้าฝ่ายการธนาคาร เป็นผู้ช่วยอำนวยการฝ่ายการธนาคาร สำหรับมาตรฐานการกำหนดตำแหน่งต่าง ๆ ของพนักงานนั้น ๆ

ธนาคารออมสินแบ่งตำแหน่งมาตรฐานของพนักงานธนาคารออมสิน ดังนี้

งานบริหาร แบ่งออกเป็น
๑. หัวหน้าฝ่าย
๒. หัวหน้ากอง
๓. หัวหน้าแผนก
๔. หัวหน้าหน่วย
๕. เสมียน
๖. เสมียนสำรอง

งานบัญชี แบ่งออกเป็น
๑. สมุห์บัญชีใหญ่
๒. สมุห์บัญชี
๓. ผู้ช่วยสมุห์บัญชี
๔. พนักงานบัญชี
๕. เสมียนบัญชี

งานการเงิน แบ่งออกเป็น
๑. ผู้รักษาเงิน
๒. ผู้ช่วยรักษาเงิน
๓. พนักงานการเงิน

งานสาขา แบ่งออกเป็น
๑. ผู้จัดการสาขาใหญ่
๒. ผู้จัดการสาขารอง

หมวดบริการ แบ่งออกเป็น
๑. พนักงานรับใช้
๒. พนักงานช่าง

 

 

เปิดสำนักงานธนาคารออมสินจังหวัดและอำเภอในส่วนภูมิภาค ตั้งแต่ปี ๒๔๙๑ ถึง ๒๔๙๒ เพิ่มขึ้นอีก ๓๒ แห่ง

ในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ เปิดสำนักงานธนาคารออมสินสาขารวม ๔ แห่ง คือ
๑.สำนักงานธนาคารออมสินสาขาสมุทรสาคร เปิดทำการเมื่อ ๑ พฤษภาคม ๒๔๙๑
๒.สำนักงานธนาคารออมสสินสาขาสมุทรสงคราม เปิดทำการเมื่อ ๑ มิถุนายน ๒๔๙๑
๓.สำนักงานธนาคารออมสินสาขานนทบุรี เปิดทำการเมื่อ ๑ มิถุนายน ๒๔๙๑
๔.สำนักงานธนาคารออมสินสาขาพระประแดง เปิดทำการเมื่อ ๑ กรกฎาคม ๒๔๙๑

ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้เปิดสำนักงานธนาคารออมสินสาขารวม ๒๗ แห่ง คือ
๑.สำนักงานออมสินสาขานครปฐม เปิดทำการเมื่อ ๓ มกราคม ๒๔๙๒
๒. สำนักงานธนาคารออมสินสาขาราชบุรี เปิดทำการเมื่อ ๑ มีนาคม ๒๔๙๒
๓. สำนักงานธนาคารออมสินสาขาสิงห์บุรี เปิดทำการเมื่อ ๑ พฤษภาคม ๒๔๙๒
๔. สำนักงานธนาคารออมสินสาขาชุมพร เปิดทำการเมื่อ ๑ พฤษภาคม ๒๔๙๒
๕.สำนักงานธนาคารออมสินสาขาลำพูน เปิดทำการเมื่อ ๑ พฤษภาคม ๒๔๙๒
๖. สำนักงานธนาคารออมสินสาขาสมุทรปราการ เปิดทำการเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๒
๗. สำนักงานธนาคารออมสินสาขาปราจีนบุรี เปิดทำการเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๒
๘. สำนักงานธนาคารออมสินสาขากาญจนบุรี เปิดทำการเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๒
๙. ธนาคารออมสินสาขาบ้านโป่ง เปิดทำการเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๒
๑o. ธนาคารออมสินสาขาอุตรดิตถ์ เปิดทำการเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๒
๑๑. ธนาคารออมสินสาขาหาดใหญ่ เปิดทำการเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๒
๑๒. ธนาคารออมสินสาขาอ่างทอง เปิดทำการเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๒
๑๓.ธนาคารออมสินสาขาปทุมธานี เปิดทำการเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๒
๑๔.ธนาคารออมสินสาขาชัยนาท เปิดทำการเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๒
๑๕.ธนาคารออมสินสาขานครนายก เปิดทำการเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๒
๑๖.ธนาคารออมสินสาขาตาก เปิดทำการเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๒
๑๗. ธนาคารออมสินสาขาสุโขทัย เปิดทำการเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๒
๑๘. ธนาคารออมสินสาขาสวรรคโลกเปิดทำการเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๒
๑๙. ธนาคารออมสินสาขาอุทัยธานีเปิดทำการเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๒
๒๐. ธนาคารออมสินสาขาน่าน เปิดทำการเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๒
๒๑.ธนาคารออมสินสาขาแพรเ่ปิดทำการเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๒
๒๒.ธนาคารออมสินสาขาเชียงราย เปิดทำการเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๒
๒๓. ธนาคารออมสินสาขาสุรินทร์เปิดทำการเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๒
๒๔. ธนาคารออมสินสาขาขอนแก่นเปิดทำการเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๒
๒๕. ธนาคารออมสินสาขานครพนม เปิดทำการเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๒
๒๖.ธนาคารออมสินสาขาหนองคาย เปิดทำการเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๒
๒๗.ธนาคารออมสินสาขาสกลนครเปิดทำการเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๒

เมื่อได้มีการปรับปรุงและขยายธุรกิจออมสินและเปิด สำนักงานธนาคารออมสินสาขาขึ้น จึงปรากฏว่ามีจำนวนเงินรับฝาก และผู้ฝากเพิ่มขึ้นดังมีสถิติการรับฝากเงินออมสินแต่ละประเภทดังนี้

การฝากเผื่อเรียก – ประจำ

พ.ศ. ฝากเผื่อเรียก ฝากประจำ จำนวนผู้ฝาก
๒๔๙๐ ๑๗๒,๔๕๗,๙๑๔ ๒๙,๖๐๒,๓๘๖ ๖๓๖,๔๒๑
๒๔๙๑ ๑๗๔,๑๖๘,๔๔๐ ๓๐,๘๑๗,๗๗๕ ๖๖๕,๗๗๕
๒๔๙๒ ๑๙๗,๖๐๕,๔๐๘ ๒๘,๑๑๖,๓๔๘ ๗๐๔,๕๔๗

การฝากเงินประเภทสลากออมสินพิเศษ

พ.ศ. เงินรับฝาก    
๒๔๙๐ ๑๐,๕๖๘,๕๘๓    
๒๔๙๑ ๑๓,๙๘๓,๔๒๘    
๒๔๙๒ ๒๑,๖๓๗,๗๘๕    

การฝากเงินประเภทพันธบัตรออมสิน

พ.ศ. เงินรับฝาก    
๒๔๙๐ ๑๐,๕๖๘,๕๘๓    
๒๔๙๑ ๑๓,๙๘๓,๔๒๘    
๒๔๙๒ ๒๑,๖๓๗,๗๘๕    

การฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว

พ.ศ. จำนวนผู้ฝาก จำนวนเงินรับฝาก จำนวนเงินฝากคงเหลือ
๒๔๙๐ ๘๕ ๕๙,๗๐๐ ๒๐๒,๖๑๖
๒๔๙๑ ๒๗๘ ๑๕๗,๖๘๑ ๓๕๙,๕๙๑
๒๔๙๒ ๘๖๒ ๓๓๒,๗๙๐ ๓๕๙,๕๙๑

การฝากเงินประเภทพันธบัตรออมสิน

พ.ศ. รับฝาก จ่ายคืน เงินหมุนเวียน เงินคงเหลือ
๒๔๙๐ ๔๓,๒๗๑,๖๙๗ ๔๓,๘๔๒,๖๕๐ ๘๗,๑๑๔,๓๔๗ ๑,๐๗๖,๕๘๕
๒๔๙๑ ๖๙,๑๔๔,๖๐๑ ๖๘,๖๐๑,๔๓๖ ๑๓๗,๗๔๖,๐๓๗ ๑,๖๑๙,๗๕๐
๒๔๙๒ ๑๐๐,๒๙๑,๔๒๗ ๙๗,๖๕๔,๖๐๙ ๑๙๗,๙๔๖,๐๓๖ ๔,๒๕๖,๕๖๘

ค. การสงเคราะห์พนักงาน

ในด้านการสงเคราะห์พนักงาน ธนาคารออมสินได้กำหนดวิธีการสงเคราะห์รวม ๒ กรณี คือ ในกรณีที่พนักงานทำการสมรส และกรณีที่พนักงานถึงแก่มรณกรรมทั้งนี้ เนื่องจากธนาคารออมสินได้พิจารณาเห็นว่า การสมรสเป็นกฎแห่งธรรมชาติ และการมรณกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลไม่อาจล่วงพ้นเสียได้ ในการประกอบกิจกรรมทั้งสองย่อมต้องให้จ่ายเงินตามประเพณี สมควรที่เพื่อนพนักงานจะได้ร่วมมือร่วมใจช่วยเหลือกัน

วิธีการสงเคราะห์ในกรณีสมรส และมรณกรรมนี้ ให้ชื่อว่า “สวัสดิสงเคราะห์ ” เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ นายสวัสดิ์ โสตถิทัต ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มและให้กำเนิดวิธีการสงเคราะห์นี้ขึ้น โดยกำหนดให้พนักงานทุกคนเป็นสมาชิกและเมื่อสมาชิกคนใดสมรสก็ดี หรือถึงแก่กรรมก็ดี พนักงานทุกคนซึ่งเป็นสมาชิกจะร่วมใจกันสละทรัพย์ส่วนตัวช่วยเหลือ การสมรส หรือถึงแก่มรณกรรม นับแต่มีวิธีการสวัสดิสงเคราะห์เป็นต้นมา ปรากฏว่า พนักงานธนาคารออมสินที่ได้รับการสงเคราะห์สมรสถึง ๔๖๘ ราย และสงเคราะห์พนักงานที่ถึงแก่มรณกรรมถึง ๕๔ ราย

 

วาระที่ ๒ คณะกรรมการธนาคารออมสินอันมีพระยาศรีเสนา ( นายศรีเสนา สมบัติศิริ ) เป็นประธานกรรมการ ( ๓๐ เมษายน ๒๔๙๒ – ๓ มิถุนายน ๒๔๙๕ )

เมื่อคณะกรรมการธนาคารออมสินชุดที่มี พระยานิติศาสตร์ไพศษลย์ เป็นประธานกรรมการ ได้พ้นวาระครองตำแหน่งตามแห่งมาตรา ๘ แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการในหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการและวาระ ครองตำแหน่งของกรรมการแห่งธนาคารออมสิน และได้มีประกาศกระทรวงการคลังเรื่องแต่งตั้งกรรมการธนาคารออมสิน ดังต่อไปนี้

และเนื่องด้วยนายสวัสดิ์ โสตถิทัต ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ได้พ้นหน้าที่ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ในโอกาสนี้ด้วย กระทรวงการคลังจึงได้ประกาศแต่งตั้งนายถนิม ปัทมสูต รองผู้อำนวยการเป็นผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการดังต่อไปนี้ เนื่องด้วยคณะกรรมการธนาคารออมสินชุดนี้ มีวาระครองตำแหน่งติดต่อกันถึง ๒ วาระ คือ ตั้งแต่ ๓๐ เมษายน ๒๔๙๒ ถึง ๓๐ เมษายน ๒๔๙๔ วาระหนึ่ง และตั้งแต่ ๓๐ เมษายน ๒๔๙๔ ถึง ๔ มิถุนายน ๒๔๙๕ อีกวาระหนึ่ง คณะกรรมการธนาคารออมสินชุดนี้ อันมี พระยาศรีเสนา ( นายศรีเสนา สมบัติศิริ ) เป็นประธานกรรมการ จึงมีโอกาสปรับปรุงและขยายกิจการอันเป็นวิวัฒนาการของธนาคารออมสินได้มากดังจะกล่าวเป็นลำดับต่อไปนี้

ก .การจัดทำพระราชกฤษฎีกา

กฎกระทรวงและระเบียบการ ได้ออกกฎกระทรวง ๓ ฉบับ คือ
๑.กฎกระทรวงฉบับทื่ ๖ ( พ.ศ. ๒๔๙๓ ) ว่าด้วยการรับฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว
๒.กฎกระทรวงฉบับที่ ๗ ( พ.ศ. ๒๔๙๓ ) ว่าด้วยการรับฝากเงินออมสิน

นอกจากกฏกระทรวงดังกล่าว ธนาคารออมสินได้ออกระเบียบการธนาคารออมสิน ดังต่อไปนี้
๑. ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๖ ) ว่าด้วยเงินลงทุนเลี้ยงชีพซึ่งสะสมจากเงินช่วยเหลือค่าครองชีพ
๒. ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๗ ) ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพของพนักงานธนาคารออมสิน

ข. การบริหารและขยายธุรกิจ

คณะกรรมการธนาคารออมสินชุดนี้ ได้บริหารและขยายธุรกิจธนาคารออมสิน ดังต่อไปนี้

๑.ที่ทำการสำนักงานใหญ่ ธนาคารออมสิน
เนื่องด้วยสถานที่ทำการสำนักงานใหญ่ธนาคารออมสินซึ่งตั้งอยู่ ณ ตึกอาคาร ๑ ฝั่งใต้ถนนราชดำเนิน คับแคบ ไม่เพียงพอกับปริมาณของพนักงานและสถานทำการประกอบด้วยในขณะนั้นทางสำนักงาน ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ทำการปลูกสร้างอาคารขึ้น ณ สี่แยกคอกวัว เป็นอาคารตึกขนาดใหญ่ ธนาคารออมสินจึงได้ติดต่อขอเช่าตึกหลังนี้จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหา กษัตริย์ เมื่อการปลูกสร้างแล้วเสร็จ สำนักงานใหญ่ธนาคารออมสินจึงได้ย้ายสถานที่ทำการจากอาคาร ๑ มาเปิดสถานที่ทำการ เมื่อวันที่ ๓ มกราคม ๒๔๙๓ และยังคงเป็นสถานที่ทำการมาตราบเท่าปัจจุบันนี้

๒.เปิดสำนักงานธนาคารออมสินสาขา
หลังจากการที่ธนาคารออมสินได้ทำการเปิดสาขาขึ้นเป็นเอกเทศในจังหวัด ต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาคตั้งแต่เป็นธนาคารออมสิน พ.ศ. ๒๔๙๐ ถึงปีพ.ศ. ๒๔๙๒ รวมถึง ๓๒ แห่ง นับได้ว่าเป็นการขยายงานในด้านเปิดสำนักงานธนาคารออมสินสาขามากที่สุด ฉะนั้น

จึงในระยะนี้ธนาคารออมสินจึงเปิดสำนักงานธนาคารออมสินสาขาเพิ่มขึ้นอีก ๔ แห่ง คือ
๑. ธนาคารออมสินสาขาระยอง เปิดทำการเมื่อ ๑ พฤษภาคม ๒๔๙๓
๒. ธนาคารออมสินสาขาสันป่าตอง เปิดทำการเมื่อ ๘ มกราคม ๒๔๙๔
๓. ธนาคารออมสินสาขาระโนต เปิดทำการเมื่อ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๔
๔.ธนาคารออมสินสาขาพัทลุง เปิดทำการเมื่อ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๙๔

๓.การใช้เครื่องจักรลงบัญชี
เนื่องด้วยปริมาณการฝากเงินออมสินนับแต่ก่อตั้งธนาคารออมสินขึ้นแล้วปรากฏเพิ่มทวีจำนวนมากขึ้นการลงบัญชีแสดงรายการฝากถอนเงินออมสินในสมุดคู่บัญชีและบัตรคู่บัญชี โดยเฉพาะอย่างยิ่งของธนาคารออมสินกลางและสาขาในพระนครธนบุรี ในวันหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนมากประการหนึ่ง และเพื่อการควบคุมการลงรายยการฝากถอนเงินของสาขาต่าง ๆ ในควบคุมของสาขาใหญ่ภาคกลาง ซึ่งมีสาขาอยู่ในควบคุมเป็นจำนวนมาก เพื่อให้การลงบัญชีฝากถอนเงินในสมุดและบัตรคู่บัญชีของสำนักงานธนาคารออมสิน กลางและสาขาในพระนคร – ธนบุรี เป็นการรวดเร็วและอำนวยความสะดวกยิ่งขึ้นและเพื่อให้การควบคุมการลงรายการฝากถอนเงินของสาขาต่าง ๆ ในภาคกลางรวดเร็วและรัดกุมยิ่งขึ้น ธนาคารออมสินจึงได้สั่งเครื่องจักรลงบัญชีจากต่างประเทศมาใช้สำหรับลงรายการ ฝากถอนเงินในธนาคารออมสินสาขาภาคกลางก่อนเริ่มใช้เครื่องจักรลงบัญชีตั้งแต่ ๑ กันยายน ๒๔๙๓ และในปีต่อมาได้ส่งเครื่องจักรลงบัญชีสำหรับใช้ประจำที่ธนาคารออมสินกลางและ สาขาในพระนคร – ธนบุรี เริ่มใช้ตั้งแต่ ๑ เมษายน ๒๔๙๔ เป็นต้นมา

๔.กำหนดวันออมสิน ๑ เมษายน
เนื่องด้วยเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๕๖ เป็นวันก่อกำเนิดการคลังออมสินของประเทศไทย โดยที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิรวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตราพระราชบัญญัติคลังออมสินขึ้นเป็น ครั้งแรกในประเทศไทย ธนาคารออมสินจึงถือว่าวันนี้เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของการคลังออมสินจึงควร กำหนดให้วันที่ ๑ เมษายน “ วันออมสิน ”

๑ เมษายน ๒๔๙๓ เริ่มจัดงาน “ วันออมสิน ” ขึ้นเป็นครั้งแรก

ในการจัดงาน “ วันออมสิน ” ธนาคารออมสินได้จัดให้มีพิธีศาสนา และการเลี้ยงอาหารค่ำแก่คณะกรรมการท่านผู้มีเกียรติที่ได้รับเชิญมา และบรรดาพนักงานธนาคารออมสิน ธนาคารออมสินจัดรถโฆษณาออกทำการรับฝากเงินเคลื่อนที่ ตั้งแต่

ก .การจัดทำพระราชกฤษฎีกา

กฎกระทรวงและระเบียบการ ได้ออกกฎกระทรวง ๓ ฉบับ คือ
๑.กฎกระทรวงฉบับทื่ ๖ ( พ.ศ. ๒๔๙๓ ) ว่าด้วยการรับฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว
๒.กฎกระทรวงฉบับที่ ๗ ( พ.ศ. ๒๔๙๓ ) ว่าด้วยการรับฝากเงินออมสิน

นอกจากกฏกระทรวงดังกล่าว ธนาคารออมสินได้ออกระเบียบการธนาคารออมสิน ดังต่อไปนี้
๑. ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๖ ) ว่าด้วยเงินลงทุนเลี้ยงชีพซึ่งสะสมจากเงินช่วยเหลือค่าครองชีพ
๒. ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๗ ) ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพของพนักงานธนาคารออมสิน

ข. การบริหารและขยายธุรกิจ

คณะกรรมการธนาคารออมสินชุดนี้ ได้บริหารและขยายธุรกิจธนาคารออมสิน ดังต่อไปนี้
๑.ที่ทำการสำนักงานใหญ่ ธนาคารออมสิน เนื่องด้วยสถานที่ทำการสำนักงานใหญ่ธนาคารออมสินซึ่งตั้งอยู่ ณ ตึกอาคาร ๑ ฝั่งใต้ถนนราชดำเนิน คับแคบ ไม่เพียงพอกับปริมาณของพนักงานและสถานทำการประกอบด้วยในขณะนั้นทางสำนักงาน ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ทำการปลูกสร้างอาคารขึ้น ณ สี่แยกคอกวัว เป็นอาคารตึกขนาดใหญ่ ธนาคารออมสินจึงได้ติดต่อขอเช่าตึกหลังนี้จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหา กษัตริย์ เมื่อการปลูกสร้างแล้วเสร็จ สำนักงานใหญ่ธนาคารออมสินจึงได้ย้ายสถานที่ทำการจากอาคาร ๑ มาเปิดสถานที่ทำการ เมื่อวันที่ ๓ มกราคม ๒๔๙๓ และยังคงเป็นสถานที่ทำการมาตราบเท่าปัจจุบันนี้

๒.เปิดสำนักงานธนาคารออมสินสาขา หลังจากการที่ธนาคารออมสินได้ทำการเปิดสาขาขึ้นเป็นเอกเทศในจังหวัด ต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาคตั้งแต่เป็นธนาคารออมสิน พ.ศ. ๒๔๙๐ ถึงปีพ.ศ. ๒๔๙๒ รวมถึง ๓๒ แห่ง นับได้ว่าเป็นการขยายงานในด้านเปิดสำนักงานธนาคารออมสินสาขามากที่สุดฉะนั้น จึงในระยะนี้ธนาคารออมสินจึงเปิดสำนักงานธนาคารออมสินสาขาเพิ่มขึ้นอีก ๔ แห่ง คือ

  1. ธนาคารออมสินสาขาระยอง เปิดทำการเมื่อ ๑ พฤษภาคม ๒๔๙๓
  2. ธนาคารออมสินสาขาสันป่าตอง เปิดทำการเมื่อ ๘ มกราคม ๒๔๙๔
  3. ธนาคารออมสินสาขาระโนต เปิดทำการเมื่อ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๔
  4. ธนาคารออมสินสาขาพัทลุง เปิดทำการเมื่อ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๙๔

ค. การสงเคราะห์พนักงาน

( ๑ ) ได้กำหนดให้มีการอนุเคราะห์ค่ารักษาการเจ็บป่วยแก่พนักงาน บิดา มารดา บุตรธิดา และภรรยาของพนักงาน โดยให้พนักงานแต่ละคนขอรับเงินอนุเคราะห์ได้ไม่เกินปีละ ๕๐๐ บาท

( ๒ ) ได้กำหนดวิธีการสวัสดิสงเคราะห์พนักงานกรณีพ้นหน้าที่ขึ้น เนื่องจากธนาคารออมสินพิจารณาเห็นว่าพนักงานที่ได้ปฏิบัติหน้าที่การงานมาด้วยความเรียบร้อย ควรที่เพื่อนพนักงานด้วยกันจะได้ทำการช่วยเหลือเช่นเดียวกับพนักงานที่ ถึงแก่กรรมตามระเบียบ ระเบียบสวัสดิสงเคราะห์ฉบับที่ ๑

( ๓ ) ซื้อที่ดินและปลูกสร้างอาคารให้พนักงานเช่าซื้อ ณ ซอยเอกมัย ตำบลคลองตัน อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร รวมทั้งที่ดิน ๒ แปลง และได้จัดซื้อที่ดินที่ตำบลบางน้ำชน อำเภอธนบุรี จังหวัดธนบุรี อีก ๑ แปลง รวมเป็นที่ดิน ๓ แปลง และธนาคารออมสินได้ทำการปลูกสร้างอาคารขึ้นทั้งหมดรวม ๔๘ หลัง ใช้ชื่อที่ดินที่ปลูกสร้างอาคารของแต่ละแปลงว่า “ ออมสินเสนา ” เพื่อเป็นกียรติอนุสรณ์แด่ท่านนายศรีเสนา สมบัติศิริ ประธานกรรมการธนาคารออมสิน ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มและดำเนินการให้ความสงเคราะห์

ง.จัดตั้งห้องสมุดธนาคารออมสิน

ด้วยห้องสมุดเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่จะได้ จัดให้มีขึ้นเพื่อพนักงานธนาคารออมสินจะได้ใช้เป็นสถานที่ค้นคว้าตำหรับตำรา หาวิชาความรู้จากการอ่านหนังสือและเป็นการพักผ่อนด้วยในเมื่อเลิกกิจการงาน ประจำวันแล้ว ธนาคารออมสินจึงได้จัดตั้งห้องสมุดและเปิดให้พนักงานเข้าอ่านหนังสือเมื่อ วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๙๔ การจัดหาหนังสือสำหรับห้องสมุดนั้น ธนาคารได้จัดซื้อหนังสือต่าง ๆ ทั้งไทยและต่างประเทศซึ่งเป็นหนังสือประเภทวิชาการ สารคดี และบันเทิงคดี และได้รับความร่วมมือร่วมใจจากพนักงานธนาคารออมสินหลายคน ที่ได้รับบริจาคหนังสือเข้าบำรุงห้องสมุดเป็นหนังสือจำนวนมาก

จ. การจัดทำหนังสือพิมพ์ออมสินสาร

เพื่อเป็นการเผยแพร่หลักวิชาการเกี่ยวกับการ ออมสิน การธนาคาร การเศรษฐกิจ ทั้งในทางทฤษฎีและการปฏิบัติแก่พนักงาน พร้อมกับเสนอข่าวสารที่เกี่ยวกับกิจการของธนาคารออมสิน ธนาคารออมสินจึงได้จัดให้ออกหนังสือพิมพ์ขขึ้นให้ชื่อว่า “ ออมสินสาร ”หนังสือพิมพ์นี้ออกเป็นรายไตรมาส ปีหนึ่งออก ๔ เล่ม และแจกให้เปล่าแก่พนักงานทุกคน

นอกจากนี้ธนาคารออมสินยังได้จัดส่งไปบำรุงห้องสมุดประชาชนในจังหวัดและอำเภอ ต่าง ๆ ตลอดจนโรงเรียนทุกแห่งทั่งราชอาณาจักรด้วย หนังสือพิมพ์ออมสินสารเริ่มออกตั้งแต่เดือน มกราคม ๒๔๙๔ เป็นต้นมาตราบเท่าปัจจุบันนี้ อนึ่งใคร่ที่จะขอบันทึกไว้ในที่นี้ด้วยว่า หนังสือออมสินสารนี้ นายสวัสดิ์ โสตถิทัต อดีตหัวหน้ากองคลังออมสิน และผู้อำนวยการธนาคารออมสินคนแรก ได้ป็นผู้ดำริและริเริ่มให้จัดทำขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ครั้งยังเป็นกองคลังออมสิน สำนักงานอยู่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ในการริเริ่มครั้งนั้น เนื่องจากเอาแบบอย่างมาจากธนาคารออมสินในต่างประเทศ แต่การออกหนังสือพิมพ์ออมสินสารในครั้งนั้นต้องประสบอุปสรรคไม่สามารถดำเนินการได้ตลอดในระหว่างสงครามคราวที่แล้ว

ฉ. จัดตั้งสโมสรธนาคารออมสิน

เพื่อที่จะให้พนักงานธนาคารออมสิน ได้มีการพักผ่อนหย่อนใจในยามว่างธนาคารออมสินจึงได้จัดตั้งสโมสรธนาคาร ออมสิน โดยจัดให้มีกีฬาในร่ม เช่น บิลเลียด หมากรุกไทย และหมากรุกฝรั่ง และมีเครื่องดื่มจำหน่ายแก่สมาชิก ได้ทำการเปิดสโมสรขึ้นเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๙๔ ฉ. การจัดส่งพนักงานธนาคารออมสินไปดูกิจการออมสินในต่างประเทศ ครั้งที่ ๑ เนื่องในโอกาสท่ี สถาบันการออมสินระหว่างประเทศ ( International Thrift Institute ) ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ที่เมือง Amsterdam , Holland ได้จัดให้มีการประชุมและอบรมที่เรียกกันว่า Summer School ประจำปี ค.ศ. ๑๙๕๐ ขึ้น ณ เมือง Worcester Collage Oxford ประเทศอังกฤษ ธนาคารออมสินซึ่งเพิ่งได้เข้าเป็นสมาชิกของสถาบันนี้ ก็ได้รับเชิญจากสถาบันแห่งนี้ให้จัดส่งผู้แทนของธนาคารไปร่วมประชุมด้วย ธนาคารออมสินจึงได้แต่งตั้งและมอบหมายให้
๑. นายถนิม ปัทมสูต เป็นหัวหน้าคณะ
๒. นายสนิท ธีรบุตร และ
๓. นายผ่านพบ บุษยากร

เดินทางไปประชุมสถาบันการออมสินระหว่างประเทศ คณะผู้แทนได้ออกเดินทางโดยเครื่องบิน เค. แอล. เอ็ม. ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๔๙๓ ในการไปประชุมคราวนี้ มีผู้แทนธนาคารออมสินจาก ๑๒ ประเทศเข้าประชุมอบรมประมาณ ๑๐๐ คน คณะผู้แทนได้ถือโอกาสดูกิจการออมสิน ณ ประเทศฮอลแลนด์, เบลเยี่ยม, เดนมาร์ค, เยอรมันนี, สวีเด็น, นอร์เวย์, และฝรั่งเศสด้วย คณะผู้แทนได้เดินทางกลับมาถึงประเทศไทยเมื่อ ๒๘ สิงหาคม ๒๔๙๓ ครั้งที่ ๒ จากการที่ธนาคารออมสินจัดส่งผู้แทนของธนาคารฯ ซึ่งมี นายถนิม ปัทมสูต เป็นหัวหน้าคณะ ได้เข้าประชุมและอบรมที่Oxford University ครั้งที่แล้วเท่ากับเป็นการแผ้วถางทางให้ธนาคารออมสินได้จัดส่งพนักงานไป ศึกษาและดูงานของธนาคารออมสินในประเทศต่าง ๆ ในภาคยุโรปอีกในโอกาสต่อมากล่าวคือในปีพ.ศ. ๒๔๙๔ ธนาคารออมสินได้จัดส่ง นายเจือ จักษุรักษ์, นายสนิท ยศสุนทร, และ นายมี เขียวพันธ์ ไปดูการออมสินและการรับฝากเงินออมสินเคลื่อนที่ ในประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมันนี ฮอลแลนด์ เบลเยี่ยม เดนมาร์ค และสวีเด็น รวมทั้งสิ้นประมาณ ๓๐ แห่ง

คณะผู้แทนคณะนี้ได้ออกเดินทางโดยเครื่องบินจากพระนคร เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๔๙๔ และกลับถึงประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๔๙๔ วาระที่ ๓ คณะกรรมการธนาคารออมสินอันมี พลเอก หลวงสถิตยุทะการเป็นประธานกรรมการ ( ๔ มิถุนายน ๒๔๙๕ – ปัจจุบัน ) เมื่อคณะกรรมการธนาคารออมสิน ซึ่งมีนายศรีเสนา สมบัติศิริ เป็นประธานกรรมการธนาคารออมสิน มีวาระครองตำแหน่งครบวาระแล้ว กระทรวงการคลังจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการธนาคารออมสินขึ้นใหม่ ดังประกาศกระทรวงการคลังต่อไปนี้

คณะกรรมการธนาคารออมสินชุดนี้ ได้ทำการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๔๙๕ และประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ พลตรี หลวงสถิตยุทธการ เป็นประธานกรรมการธนาคารออมสิน เนื่องจาก พลตรี หลวงสถิตยุทธการ ซึ่งในปัจจุบันได้รับพระราชทานยศเป็นพลเอก หลวงสถิตยุทธการ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการธนาคารออมสินเป็นเวลานานติดต่อกันถึง ๔ วาระ กล่าวคือ ตั้งแต่ ๔ มิถุนายน ๒๔๙๙ เป็นวาระที่สองตั้งแต่ ๔ มิถุนายน ๒๔๙๙ ถึง ๑๒ ธันวาคม ๒๕๐๐

ซึ่งนับแต่ตั้งธนาคารออมสินจนถึงปัจจุบัน นับว่าเป็นคณะกรรมการธนาคารออมสินชุดที่ ๗ โดยที่ท่านดำรงตำแหน่งประธานกรรมการตั้งแต่ชุดที่ ๔ เป็นต้นมาเป็นเวลานานถึง ๕ ปีเศษ อันนับได้ว่าท่านได้ทำคุณประโยชน์ให้ธนาคารออมสินได้วิวัฒนาการก้าวหน้าเป็น ลำดับมา ดังจะได้ลำดับการวิวัฒนาการต่อไป สำหรับตำแหน่งผู้อำนวยการธนาคารออมสินนั้น นับตั้งแต่นายสวัสดิ์ โสตถิทัต พ้นหน้าที่ และนายถนิม ปัทมสูต รองผู้อำนวยการรักษาการแทนเป็นลำดับมานั้นครั้นต่อมากระทรวงการคลัง ได้แต่งตั้งให้หลวงเสถียรโชติสาร ปลัดกระทรวงการคลังมารักษาการตำแหน่งผู้อำนวยการ ตั้งแต่ ๑๕ มิถุนายน ๒๔๙๓ และหลวงเถียร โชติสาร ได้ดำรงตำแหน่งนี้อยู่จนถึง ๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๔

ต่อแต่นั้นมา นายถนิม ปัทมสูต ก็ทำหน้าที่ผู้รักษาการในหน้าที่ผู้อำนวยการธนาคารออมสินด้วยอีกตำแหน่ง หนึ่งเป็นลำดับจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๔ กระทรวงการคลังจึงได้แต่งตั้งให้พระยาเชาวนานุสถิตติ์ เป็นผู้อำนวยการธนาคารออมสิน และนายถนิม ปัทมสูต เป็นรองผู้อำนวยการดังสำเนาประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องแต่งตั้งผู้อำนวยการธนาคารออมสินดังต่อไปนี้

พระยาเชาวนานุสถิติ์ ได้ดำรงตำแน่งผู้อำนวยการธนาคารออมสินมาจนถึงวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๔๙๙ นับได้ว่าท่านดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการนาน และได้ทำความเจริญก้าวหน้าให้แก่กิจการของธนาคารออมสินเป็นอันมาก เมื่อพระยาเชาวนานุสถิติ์ ต้องพ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการธนาคารออมสินดังกล่าวแล้ว กระทรวงการคลังจึงได้แต่งตั้งให้ พระเสริมพาณิชย์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เป็นการชั่วคราว ตามประกาศกระทรวงการคลังลงวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๔๙๙ ครั้นในเดือน เมษายน ๒๔๙๙ กระทรวงการคลังจึงได้ประกาศแต่งตั้งพระเสริมพาณิชย์เป้นผู้อำนวยการธนาคาร ออมสิน ดังสำเนาประกาศต่อไปนี้ ประกาศกระทรวงการคลังลงวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๔๙๙ แต่งตั้งพระเสริมพาณิชย์ ให้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการธนาคารออมสินตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๔๙๙ นั้น

พระเสริมพาณิชย์ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการมาจนถึงวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๐๐ และกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ผู้อำนวยการมาจนถึงวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๐๐ และกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้หม่อมหลวงปืนไทย มาลากุล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ดังสำเนาประกาศกระทรวงการคลังต่อไปนี้

สำหรับรองผู้อำนวยการธนาคารออมสินนั้น นายถนิม ปัทมสูต ได้ถึงแก่กรรม เมื่อวันศุกร์ที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๙๗ กระทรวงการคลังจึงแต่งตั้งให้นายพงส์ สรีพันธ์ หัวหน้าฝ่ายการออมสิน ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๔๙๘ เป็นลำดับมาตราบเท่านายพงส์ สรีพันธ์ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษจิกายน ๒๕๐๐ กระทรวงการคลังจึงแต่งตั้งให้นายธง เพ่งเพียร หัวหน้าฝ่ายตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๐๐ เป็นต้นมา

ในปี ๒๕๐๙ ธนาคารออมสินมีคณะกรรมการผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการบริหารธุรกิจของธนาคารออมสิน ดังนี้

คณะกรรมการธนาคารออมสิน
1. พลเอก หลวงสถิตยุทธการ ประธานกรรมการ
2. พลเอก หลวงจุลยุทธ์ยรรยง กรรมการ
3. พลอากาศเอก บุญชู จันทรุเบกษา กรรมการ
4. อธิบดีกรมมหาดไทย กรรมการ
5. อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข กรรมการ
6. อธิบดีกรมวิสามัญศึกษา กรรมการ
7. ผู้อำนวยการกองงบประมาณ กรรมการ
8. พระวุฒิศาสสตร์เนติญาณ กรรมการ
9. พระเสริมพาณิชย์ กรรมการ

ส่วนตำแหน่งที่ปรึกษาของธนาคารออมสิน นับแต่จัดตั้งธนาคารออมสินเป็นต้นมา ธนาคารออมสินมีที่ปรึกษาดังนี้
1. นายเล้ง ศรีสมวงศ์ เป็นที่ปรึกษากิตติมาศักดิ์ ตั้งแต่ ๒ ตุลาคม ๒๔๙๑ ถึง ๒๘ ธันวาคม ๒๔๙
2. พระยาโทณวริกมนตรี เป็นที่ปรึกษาทั่วไป ตั้งแต่ ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๑ ถึงปัจจุบัน
3. นายเสริม วินิจฉัยกุล เป็นที่ปรึกษาทั่วไป ตั้งแต่ ๗ มิถุนายน ๒๔๙๙ ถึงปัจจุบัน
4. อธิบดีกรมที่ดิน เป็นที่ปรึกษาของคณะอนุกรรมการจัดหาผลประโยชน์ของธนาคารออมสิน ตั้งแต่ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒ ถึงพฤศจิกายน ๒๕๐๒
5. นายเสริม ศาลิคุปต เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการจัดหาผลประโยชน์ตั้งแต่ ธันวาคม ๒๕๐๑ จนถึงปัจจุบัน
6. นายหยุด แสงอุทัย เป็นการศึกษากฏหมายประจำธนาคารออมสินตั้งแต่ธันวาคม ๒๘๐๑ ถึง ปัจจุบันนี้

เนื่องจากคณะกรรมการธนาคารออมสิน ซึ่ง พลเอก หลวงสถิตยุทธการ เป็นประธานกรรมการ และตัวท่านได้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการเป็นเวลานานถึง ๔ วาระ ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการแต่ละท่านบ้างก็ตาม ฉะนั้น พลเอก หลวงสถิติยุทธการ จึงเป็นประธานกรรมการที่เจนจัดและเข้าใจในธุรกิจของธนาคารออมสินเป็นอย่างดี และตัวท่านมีเจตนาอันแรงกล้าที่จะขยายกิจการของธนาคารออมสินให้เจริญ ก้าวหน้าเรื่อยไปไม่หยุดยั้ง เพราะฉะนั้น ในการครองตำแหน่งอันนับว่าหลายอย่างดังจะได้กล่าวเป็นลำดับไป ดังนี้

 

การจัดทำพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง และระเบียบการ

๑. กฎกระทรวงฉบับที่ ๘ ( พ.ศ. ๒๔๙๔ ) ว่าด้วยการรับฝากเงินออมสินกฎกระทรวงฉบับนี้ได้เปลี่ยนแปลงความหมายของการ ฝากเงินออมสินประเภทประจำ เป็นฝากประจำหมายความว่า ฝากแล้วถอนได้เมื่อครบหกเดือน นอกจากนั้นก็มีการขยายวงเงินฝากเพื่อคิดดอกเบี้ยประเภทเผื่อเรียกและประจำ ให้สูงขึ้น

๒. กฎกระทรวงฉบับที่ ๙ ( พ.ศ. ๒๔๙๖ ) ว่าด้วยการรับฝากเงินออมสินกฎกระทรวงฉบับนี้ให้ขยายวงเงินฝากเพื่อคิด ดอกเบี้ยสำหรับเงินฝากประเภทประจำให้สูงขึ้น

๓. กฎกระทรวงฉบับที่ ๑๐ ( พ.ศ. ๒๔๙๗ ) ว่าด้วยการรับฝากเงินประเภทพันธบัตรออมสินกฎกระทรวงฉบับนี้บัญญัติให้มีการ โอนและรับโอนพันธบัตรออมสินแก่กันได้

๔. กฎกระทรวงฉบับที่ ๑๑ ( พ.ศ. ๒๔๙๗ ) ว่าด้วยการรับฝากเงินประเภทสลากออมสินพิเศษกฎกระทรวงฉบับนี้บัญญัติให้มีการ โอนและรับโอนสลากออมสินพิเศษแก่กันไดนอกจากกฎกระทรวง ๔ ฉบับดังกล่าว ธนาคารออมสินได้ออกระเบียบการธนาคารออมสิน ดังนี้

๑. ระเบียบการธนาคารออมสินฉบับที่ ๘ ว่าด้วยการซื้อขาย หรือเก็บเงินตามตราสารเปลี่ยนมือระเบียบการฉบับนี้ ได้กำหนดชนิดของตราการเปลี่ยนมือลักษณะของผู้ขายส่วนลด อัตราค่าส่วนลด ตั๋วข้าว กรรมการราคาของตราสาร วงเงิน ระเบียบการนี้ใช้บังคับตั้งแต่ ๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๕

๒. ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๙ ) ว่าด้วยส่วนการบริหารธุรกิจของธนาคารออมสิน และหน้าที่ทั่วไปของหน่วยงานนั้น ๆ

ระเบียบการนี้ได้กำหนดให้วางระเบียบการบริหารธุรกิจใหม่ทั้งหมด โดยกำหนดส่วนการบริหารธุรกิจของธนาคารออมสิน ดังนี้
1. ฝ่ายธุรการ
2. ฝ่ายการบัญชี
3. ฝ่ายการออมสิน
4. ฝ่ายการสลากและพันธบัตรออมสิน
5. ฝ่ายการธนาคาร

5. ฝ่ายที่จัดตั้งขึ้นมีหน้าที่และแบ่งส่วนงานออกเป็นกอง ดังนี้

ก. ฝ่ายธุรการ มีหน้าที่ปฏิบัติกัจการของธนาคารโดยทั่วไป รักษาพระราชบัญญติ ,พระราชกฤษฎีกา กฎ ข้อบังคับ ระเบียบการและคำสั่งของธนาคารออมสินรักษาตราสารทำการสารบรรณและกฎหมาย รักษาห้องสมุด จัดการสวัสดิสงเคราะห์ชีวิตและจัดยานพาหนะและรักษาสถานที่ ดำเนินการรับฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว ทำการโฆษณาเผยแพร่กิจการออมสิน มีหัวหน้าฝ่ายเป็นผู้บังคับบัญชา และแบ่งกิจการออกเป็น ๓ กองคือ กองกลาง กองการสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว และกองการโฆษณา

ข. ฝ่ายการบัญชี มีหน้าที่วางระเบียบบัญชี ควบคุมบัญชี ทำการประมวลบัญชี ตรวจบัญชีทั่วไป ทำการรักษางบประมาณ ควบคุมรายได้และรายจ่าย ทำการพัสดุ ทำการสถิติ มีหน้าที่รับ จ่ายและรักษาเงินสด เก็บรัก ษาหลักทรัพย์ ตราสารและทรัพย์มีค่าอื่น ๆ มีหัวหน้าฝ่ายการบัญชีเป็นผู้บังคับบัญชา และแบ่งกิจการออกเป็น ๓ กอง คือ กองประมงบบัญชี กองตรวจบัญชี กองรักษาเงิน

ค. ฝ่ายการออมสิน มีหน้าที่ดำเนินการรับฝากเงินออมสิน มีหน้าที่ควบคุมบัญชีเงินฝากออมสิน และบังคับบัญชาควบคุมกิจการของธนาคารออมสินสาขาใหญ่และธนาคารออมสินสาขารอง ตลอดจนตัวแทนทั่วราชอาณาจักร มีห้วหน้าฝ่ายการออมสินเป็นผู้บังคับบัญชา แบ่งเขตควบคุมออกเป็น ๔ ภาค คือ สำนักงานธนาคารออมสินสาขาใหญ่ภาคกลาง สำนักงานธนาคารออมสินสาขาใหญ่ภาคเหนือ สำนักงานธนาคารออมสินสาขาใหญ่ภาคอีสาน และธนาคารออมสินสาขาใหญ่ภาคใต้ และให้ฝ่ายการออมสินแบ่งกิจการออกเป็น ๑ กอง คือ กองการออมสิน

ง. ฝ่ายการสลากและพันธบัตรออมสิน มีหหน้าที่ดำเนินกิจการและควบคุมบัญชีที่เกี่ยวกับการสลากออมสิน และพันธบัตรออมสิน มีหัวหน้าฝ่ายการสลากและพันธบัตรออมสิน เป็นผู้บังคับบัญชาออกเป็น ๒ กอง คือ กอง สลากออมสินและกองพันธบัตรออมสิน

จ. ฝ่ายการธนาคาร มีหน้าที่ดำเนินกิจการและควบคุมบัญชีในกิจการอันพึงเป็นงานธนาคาร มีหัวหน้าฝ่ายการธนาคารเป็นผู้บังคับบัญชานอกจากแบ่งธุรกิจออกเป็นฝ่าย ๆ แล้ว ยังมีหน่วยงานขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการธนาคารออมสิน คือ สำนักงานเลขานุการ ทำหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการ อำนวยการ และรองผู้อำนวยการ มีแลขานุการเป็นผู้บังคับบัญชา

โรงพิมพ์ธนาคารออมสิน ทำการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ ของธนาคารออมสิน มีผู้จัดการโรงพิมพ์เป็นผู้บังคับบัญชา

๓. ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ 10 ) ว่าด้วยการแต่งตั้งและถอดถอนพนักงานธนาคารออมสิน ระเบียบการฉบับนี้ ได้วาง ระเบียบการแต่งตั้งและถอดถอนพนักงานและกำหนดอัตราเงินเดือนประจำ ตำแหน่งของพนักงานธนาคารออมสินใหม่โดยยกเลิกระเบียบการธนาคารออมสินฉบับที่๕

๔. ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ 11) ว่าด้วยการกำหนดอัตราเงินเดือนประจำตำแหน่งใหม่ทั้งหมด คือ ตำแหน่งในส่วนบริหาร แบ่งออกเป็น หัวหน้าฝ่าย หัวหน้ากอง พนักงานเอก พนักงานโท และพนักงานตรีส่วนบริการ แบ่งออกเป็นพนักงานบริการ

๕. ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ 12 ) ว่าด้วยการวินัยของพนักงานธนาคารออมสิน ระเบียบการนี้ได้กำหนดถึงวินัย โทษผิดวินัยของพนักงานตลอดจนการอุธรณ์การลงโทษ

๖. ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๑๓ ) ว่าด้วยการประกันของพนักงานธนาคารออมสิน ระเบียบการฉบับนี้ได้กำหนดให้พนักงานธนาคารออมสินตำแหน่งมีประกันการเข้า ทำงานในธนาคารออมสิน

๗ . ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๑๔ ) ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพของพนักงานธนาคารออมสิน ระเบียบการฉบับนี้ออกมาโดยให้ยกเลิกระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๑ ) ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพ ระเบียบการธนาคารออมสินฉบับที่ ๖ ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพซึ่งสะสมจากเงินช่วยเหลือค่าครองชีพ และระเบียบการฯ ฉบับที่ ๗ ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพพนักงาน

๘ . ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๑๕ ) ว่าด้วยการสงเคราะห์ของธนาคารออมสินใช้แก่พนักงานธนาคารออมสินหรือ ผู้มีอุปการคุณของธนาคารออมสินระเบียบการฉบับนี้ออกเพื่อเป็นการอนุเคราะห์ พนักงาน และผู้มีอุปการคุณของธนาคารออมสินซึ่งยังไม่มีเคหะสถานเพื่อเป็นที่ อยู่อาศัยของตนเอง ให้ได้มีที่อยู่อาศัยเป็นกรรมสิทธิ์ หรือให้มีที่อาศัยโดยเสียค่าบำรุงสถานที่ตามสมควรโดยแบ่งการ สงเคราะห์ออกเป็น ๓ ประเภท คือ
ก. ให้กู้ยืมเงินเป็นทุนในการปลูกสร้าง ต่อเติมหรือดัดแปลงอาคารในที่ดินของตน หรือซื้อที่ดินหรืออาคาร หรือช่วยเปลื้องการจำนอง
ข. การสร้างเคหสถานให้เช่าซื้อ
ค. การสร้างอาคารให้แก่ผู้มีรายได้น้อย โดยเสียค่าบำรุงสถานที่

๙ . ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๑๖) ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินยังชีพให้พนักงานธนาคารออมสินบางจังหวัดในภาคใต้ ระเบียบการฉบับนี้ออกมาเพื่อช่วยเหลือพนักงานธนาคารออมสินทุกตำแหน่งที่ ปฎิบัติงานประจำ ณ สำนักงานธนาคารออมสินที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัด สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล ตรัง ภูเก็ต กระบี่และระนอง

๑๐ . ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๑๗ ) ว่าด้วยระเบียบการลาไปศึกษา ณ ต่างประเทศด้วยทุนส่วนตัวของพนักงาน ระเบียบการฉบับนี้ออกมาเพื่อเป็นการสงเคราะห์และสนับสนุนแก่พนักงานที่ ประสงค์จะลาไปศึกษาวิชาเพิ่มเติม ณ ค่างประเทศด้วยทุนส่วนตัวของพนักงานเอง อันเป็นการส่งเสริมวิทยฐานะ และจะได้นำวิชาที่ศึกษามาใช้ประโยชน์แก่ธนาคาร

๑๑ . ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๑๘ ) ว่าด้วยการส่งเสริมสวัสดิภาพของพนักงานธนาคารออมสิน ระเบียบการฉบับนี้ได้กำหนดการส่งเสริมออกเป็น ๓ ประเภท คือ
ก. ให้กู้เงินไปใช้จ่ายในกรณีประสพวินาศภัย
ข. ให้กู้เงินไปเพื่อใช้จ่ายในกรณีประสพโรคภัยไข้เจ็บ
ค. ให้กู้เงินไปใช้จ่ายในกรณีจำเป็น

๑๒ . ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๑๙ ) ว่าด้วยการจัดซื้อสังหาริมทรัพย์เพื่อปลูกสร้างสำนักงาน เนื่องด้วยธนาคารออมสินมีความจำเป็นต้องขยายธุรกิจโดยการเปิดสำนักงานธนาคาร ออมสินสาขาในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น

๑๓ . ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๒๐ ) ว่าด้วยการจ่ายเงินค่ารับรองผู้จัดการธนาคารออมสินภาค และผู้จัดการธนาคารออมสินสาขารอง

๑๔ . ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๒๑ ) ว่าด้วยการจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษให้แก่ทายาทของพนักงานธนาคารออมสินผู้ถึงแก่กรรม และจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษให้แก่พนักงานธนาคารออมสินผู้ได้รับอันตรายถึง ทุพพลภาพในระหว่างปฎิบัติงานในหน้าที่ระเบียบการฉบับนี้ได้วางหลัก เกณฑ์ และเงื่อนไขต่าง ๆ ในกรณีที่พนักงานต้องได้รับอันตรายถึงแก่กรรม และทุพพลภาพ เนื่องในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้เพื่อเป็นบำเหน็จแก่พนักงานเป็นพิเศษ

๑๕ . ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๒๒) ว่าด้วยการเคหสงเคราะห์ของธนาคารออมสินใช้แก่พนักงานธนาคารออมสิน หรือผู้มีอุปการคุณของธนาคารออมสินระเบียบการนี้ได้แก้ไขปรับปรุงวิธีการว่า ด้วยการเคหสงเคราะห์แก่พนักงานและผู้มีอุปการคุณแก่ธนาคารออมสินให้เหมาะสม รัดกุมขึ้น โดยยกเลิกระเบียบการเดิม ( ฉบับ ๑๕ ) นี้เสีย

๑๖ . ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๒๓ ) ว่าด้วยการออกตั๋วแลกเงินเพื่อเดินทาง ระเบียบการฉบับนี้ได้กำหนดให้ธนาคารออมสินออกตั๋วแลกเงินเพื่อเดินทาง

๑๗ . ระเบียบการธนาคารออมสิน (ฉบับที่ ๒๔) ว่าด้วยระเบียบการลาไปศึกษา ณ ต่างประเทศด้วยทุนส่วนตัวของพนักงานระเบียบการฉบับนี้ได้แก้ไข เปลี่ยนแปลงความบางประการในระเบียบการฉบับที่ ๑๗ ว่าด้วยการนี้

๑๘. ระเบียบการธนาคารออมสิน (ฉบับที่ ๒๕) ว่าด้วยเงินค่ารับรองของผู้จัดการสาขาใหญ่ และผู้จัดการสาขารองเสียใหม่โดยให้ยกเลิกระเบียบการธนาคารออมสินฉบับที่ ๒๐

๑๙. ระเบียบการธนาคารออมสิน (ฉบับที่ ๒๖) ว่าด้วยการกำหนดอัตราเงินเดือนประจำตำแหน่งของพนักงานธนาคารออมสินใหม่ โดยยกเลิกระเบียบการธนาคารออมสินฉบับที่ ๑๑ ใหม่ทั้งหมด

๒๐. ระเบียบการธนาคารออมสิน (ฉบับที่ ๒๗) ว่าด้วยส่วนการบริหารธุรกิจของธนาคารออมสิน และกำหนดหน้าที่ ระเบียบการฉบับนี้ได้กำหนดส่วนการบริหารธุรกิจใหม่โดยให้ยกเลิกระเบียบ ธนาคารออมสิน ฉบับที่ ๙ เสียทั้งหมด และให้ใช้ระเบียบการฉบับนี้ต่อไป ฉะนั้น ส่วนการบริหารธุรกิจของธนาคารออมสินแบ่งออกเป็นดังนี้
๑. ฝ่ายการออมสิน
๒. ฝ่ายการบัญชี
๓. ฝ่ายธนาคาร
๔. ส่วนขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการธนาคารออมสิน

ฝ่ายการออมสิน มีหัวหน้าฝ่ายการออมสินเป็นผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ดำเนินการรับฝากเงิน ออมสิน ดำเนินกิจการและควบคุมบัญชีที่เกี่ยวกับการสลากและพันธบัตรออมสิน รับฝากเงินออมสินเพื่อสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว ทำหน้าที่ควบคุมบัญชีเงินฝากออมสิน และบังคับบัญชาธุรกิจของธนาคารออมสินกลาง ธนาคารออมสินสาขา ตลอดจนตัวแทนทั่วราชอาณาจักร
1. กองการออมสิน
2. กองการสลากและพันธบัตรออมสิน
3. กองการสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว
4. ธนาคารออมสินกลาง
5. ธนาคารออมสินภาค ๑
6. ธนาคารออมสินภาค ๒
7. ธนาคารออมสินภาค ๓
8. ธนาคารออมสินภาค ๔
9. ธนาคารออมสินภาค ๕
10. ธนาคารออมสินภาค ๖
11. ธนาคารออมสินภาค ๗

ฝ่ายการบัญชี มีหัวหน้าฝ่ายการบัญชี เป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางระเบียบการบัญชี การประมวลบัญชี การงบประมาณควบคุมดูแลเกี่ยวกับ ผลประโยชน์ของธนาคาร ควบคุมรายได้และรายจ่าย การสถิติ ทั้งนี้มีหน้าที่รับ-จ่ายและรักษาเงินสด เก็บรักษาหลีกทรัพย์ ตารสาร และทรัพย์สินอื่น ๆ ของธนาคาร

ฝ่ายการบัญชี แบ่งกิจการออกเป็น ๔ กอง
1. กองประมวล
2. กองผลประโยชน์
3. กองรักษาเงิน
4. กองสถิติ

ฝ่ายการธนาคาร มีหัวหน้าฝ่ายการธนาคาร เป็นผู้บังคับบัญชา ดำเนินธุรกิจอันเป็นงานธนาคาร และแบ่งงานธนาคาร และแบ่งกิจการออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้
1. ส่วนเลขานุการ
2. ส่วนกระแสรายวัน
3. ส่วนการเงิน
4. ส่วนการบัญชี
5. ส่วนผลประโยชน์

ส่วนที่ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการ ส่วนที่ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการ คือ
1. ผู้ชำนาญาการ
2. สำนักเลขานุการ
3. กองสารบรรณ
4. กองการปกครอง
5. กองการตรวจการ
6. กองการโฆษณา
7. กองพัสด

ผู้ชำนาญการ มีหน้าที่ทำการค้นคว้าเพื่อความวิวัฒนาการในธุรกิจของธนาคารออมสิน เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำในธุรกิจทั่วไป สำนักเลขานุการ มีเลขานุการธนาคารออมสินเป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่เกี่ยวกับการเลขานุการของคณะกรรมการ การเลขานุการ ของผู้อำนวยการ และรองผู้อำนวยการ กองสารบรรณ มีหัวหน้ากองสารบรรณ เป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่ปฏิบัติกิจการโดยทั่วไปของธนาคาร รักษาพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฏข้อบังคับ ระเบียบการ และคำสั่งของธนาคาร ทำหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายและสัญญา รักษาตราธนาคาร รักษาสถานที่ ทำหน้าที่เกี่ยวกับยานพาหนะ และการอื่น ๆ อันเป็นงานสารบรรณ กองการปกครอง มีหัวหน้ากองการปกครอง เป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่เกี่ยวกับการทะเบียนประวัติ รักษาห้องสมุด การสวัสดิสงเคราะห์ เก็บและรักษาเอกสารต่าง ๆ ของธนาคาร ดำเนินธุรกิจในด้านการปกครอง เพื่อรักษาไว้ซึ่งกฎข้อบังคับ ระเบียบการคำสั่งต่าง ๆ ทำหน้าที่เกี่ยวกับเงินเดือนและการเงินของพนักงาน กองการตรวจการ มีหัวหน้ากองตรวจการ เป้นผู้บัคับบัญชา มีหนาที่ตรวจสอบบัญชีทั่วไป รวมทั้งรายได้รายจ่ายของธนาคาร ดำเนินการเกี่ยวกับคดีทุจริต สืบสวนและสอบสวนคดีทุจริต ตรวจตราในธุรกิจทั่วไปของธนาคาร

ตลอดจนสอดส่องดูแลความประพฤติและการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงาน กองการโฆษณา มีหัวหน้ากองการโฆษณา เป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่ทำการโฆษณาเผยแพร่ชักชวนให้ประชาชนประหยัดและออมทรัพย์ ตลอดจนให้นิยมฝากเงินไว้กับธนาคารออมสินทุกวิถีทาง กองพัสดุ มีหัวหน้ากองพัสดุเป็นผู้บังคับบัญชามีหน้าที่เกี่ยวกับการพัสดุจัดหาและ เก็บรักษาสิ่งของและครุภัณฑ์ต่าง ๆ ของธนาคาร และการจ่าย ระเบียบการฉบับนี้ เป็นวิวัฒนาการอีกขั้นหนึ่งในการดำเนินการบริหารธุรกิจของธนาคารออมสิน นับตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษจิกายน ๒๔๙๕ เป็นลำดับมา จนกระทั่งธนาคารออมสินได้กำหนดระเบียบการฉบับนี้ และใช้ระเบียบการฉบับนี้ตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๐๐ เป็นต้นไป

๒๑. ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๒๘ ) ว่าด้วยการกำหนดอัตราเงินเดือนประจำตำแหน่งของพนักงาน ระเบียบการฉบับนี้ แก้ข้อความบางประการในระเบียบการฉบับที่ ๒๖

๒๒. ระเบียบการธนาคารออมสิน (ฉบับที่ ๓๐ ) ว่าด้วยการประกันของพนักงานระเบียบบการฉบับนี้เปลี่ยนแปลงการแก้ไขระเบียบ การธนาคารออมสิน ฉบับที่ ๑๓ กล่าวคือวางอัตราหลักทรัพย์ เงินสด หรือหลักประกันอื่น ๆ ของพนักงานให้สูงขึ้น

๒๓. ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๓๑ ) ว่าด้วยส่วนการบริหารธุรกิจของธนาคารออมสินและกำหนดหน้าที่ ระเบียบการฉบับนี้กำหนดให้ยุบเลิกตำแหน่งผู้ชำนาญการ

๒๔. ระเบียบการธนาคารออมสิน (ฉบับที่ ๓๒ ) ว่าด้วยเงินค่ารับรองของผู้จัดการธนาคารออมสินภาค และผู้จัดการธนาคารออมสินสาขา

๒๕. ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๓๓ ) ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้สอยในการเดินทางธุรกิจของธนาคารออมสินและเงินค่า อาหารทำการล่วงเวลา ระเบียบ การฉบับนี้ได้วางระเบียบการเบิกจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะเดินทาง ค่าเช่าที่พักตลอดจนการทำงานล่วงเวลาของพนักงาน

๒๖. ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๓๔ ) ว่าด้วยการซื้อขายหรือเก็บเงินตามตราสารเปลี่ยนมือ ระเบียบการฉบับนี้ให้ธนาคารออมสินรับซื้อตราสารเปลี่ยนมือเพิ่มขึ้น คือตั๋วแลกเงิน ( Bill of Exchange ) และตั๋วสัญญาใช้เงิน ( Promissory Note )

รวมระเบียบการที่ออกใช้ทั้งสิ้น ๒๗ ฉบับ แต่ที่แสดงไว้ในที่นี้เพียง ๒๖ ฉบับอีก ๑ ฉบับ ธนาคารออมสินถือเป็นการลับ คือระเบียบการธนาคารออมสินฉบับที่ ๒๙

ข. การขยายธุรกิจ ในด้านการขยายธุรกิจ ธนาคารออมสินได้เปิดสำนักงานธนาคารออมสินสาขาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๕ ถึง ๒๕๐๑ เพิ่มขึ้นดังนี้ ( พ.ศ. ๒๔๙๕ ไม่มีการเปิดสาขา)

พ.ศ. ๒๔๙๖ เปิดสสำนักงานธนาคารออมสินสาขา ๒๒ แห่ง คือ
๑.ธนาคารออมสินสาขาปัตตานี เปิดทำการเมื่อ ๒๘ กรกฎาคม ๒๔๙๖
๒. ธนาคารออมสินสาขาบุรีรัมย์ เปิดทำการเมื่อ ๑๗ สิงหหาคม ๒๔๙๖
๓. ธนาคารออมสินสาขาพะเยา เปิดทำการเมื่อ ๒๑ สิงหาคม ๒๔๙๖
๔. ธนาคารออมสินสาขาโพธาราม เปิดทำการเมื่อ ๑ กันยายน ๒๔๙๖
๕. ธนาคารออมสินสาขาป่าซาง เปิดทำการเมื่อ ๙ กัยยยายน ๒๔๙๖
๖. ธนาคารออมสินสาขาตราด เปิดทำการเมื่อ ๒ พฤศจิกายน๒๔๙๖
๗. ธนาคารออมสินสาขากบินทร์บุรี เปิดทำการเมื่อ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๙๖
๘. ธนาคารออมสินสาขาประจวบคีรีขันธ์ เปิดทำการเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๖
๙. ธนาคารออมสินสาขาหัวหิน เปิดทำการเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๖
๑๐. ธนาคารออมสินสาขานราธิวาส เปิดทำการเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๖
๑๑. ธนาคารออมสินสาขายะลาเปิดทำการเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๖
๑๒. ธนาคารออมสินสาขาสตูล เปิดทำการเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๖
๑๓. ธนาคารออมสินสาขากระบี่ เปิดทำการเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๖
๑๔. ธนาคารออมสินสาขาพังงา เปิดทำการเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๖
๑๕.ธนาคารออมสินสาขาระนอง เปิดทำการเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๖
๑๖. ธนาคารออมสินสาขาเลย เปิดทำการเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๖
๑๗. ธนาคารออมสินสาขากาฬสินธุ์ เปิดทำการเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๖
๑๘. ธนาคารออมสินสาขาศรีษะเกษ เปิดทำการเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๖
๑๙. ธนาคารออมสินสาขาชัยภูมิ เปิดทำการเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๖
๒๐.ธนาคารออมสินสาขาพิจิตร เปิดทำการเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๖
๒๑. ธนาคารออมสินสาขากำแพงเพชร เปิดทำการเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๖
๒๒. ธนาคารออมสินสาขาเพชรบูรณ์ เปิดทำการเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๖

พ.ศ. ๒๔๙๗ เปิดสำนักงานธนาคารออมสินสาขา ๑๐ แห่ง คือ
๑. ธนาคารออมสินสาขาพระพุทธบาท เปิดทำการเมื่อ ๑ กุมพาพันธ์ ๒๔๙๗
๒. ธนาคารออมสินสาขาหล่มสัก เปิดทำการเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๗
๓.ธนาคารออมสินสาขาตะพานหิน เปิดทำการเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๗
๔. ธนาคารออมสินสาขายโสธรเปิดทำการเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๗
๕. ธนาคารออมสินสาขาดำเนินสะดวก เปิดทำการเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๗
๖. ธนาคารออมสินสาขาศรีราชา เปิดทำการเมื่อ ๒๐ กันยายน ๒๔๙๗
๘. ธนาคารออมสินสาขาพยุหคีรี เปิดทำการเมื่อ ๒๗ กันยายน ๒๔๙๗
๙. ธนาคารออมสินสาขาโคกกะเทียม เปิดทำการเมื่อ ๑ ตุลาคม ๒๔๙๗
๑๐. ธนาคารออมสินสาขาประจันตคาม เปิดทำการเมื่อ ๙ ตุลาคม ๒๔๙๗
๑๑. ธนาคารออมสินสาขาอรัญญประเทศ เปิดทำการเมื่อ ๑๖ ธันวาคม ๒๔๙๗

พ.ศ. ๒๔๙๘ เปิดสำนักงานธนาคารออมสินสาขา ๑๐ แห่ง คือ
๑. ธนาคารออมสินสาขาทุ่งสอง เปิดทำการเมื่อ ๑๐ มกราคม ๒๔๙๘
๒. ธนาคารออมสินสาขาสะพานแดง เปิดทำการเมื่อ ๑๗ มิถุนายน ๒๔๙๗
๓.ธนาคารออมสินสาขาสันกำแพง เปิดทำการเมื่อ ๑ เมษายน ๒๔๙๘

สำนักงานธนาคารออมสินภาค และ สำนักงานธนาคารออมสินสาขา

สัญลักษณ์รูปโล่ไทย เครื่องป้องปวงภัยภิบัติทั้งผอง ที่จะนำมาสู่ทรัพย์สินของประชาชน

ช่องบนด้านซ้ายมีรูปวัชระ

หมายถึง เครื่องหมายประจำ พระองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิรวุธพระมงกุฎเกล้าพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6

ช่องบนด้านขวามีรูปฉัตร

หมายถึง เครื่องหมายประจำ พระองค์พระเจ้าบรมงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน

ช่องกึ่งกลางมีรูปต้นไทร

หมายถึง ความร่มเย็น ความมั่นคง และความเจริญงอกงามตลอดกาลนาน

ม.ล.ปืนไทย มาลากุล

ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน

อ่านรายงานการก่อสร้างสำนักงานใหญ่ ธนาคารออมสิน ต่อ พลอากาศเอก บุญชู จันทรุเบกษา (ประธานกรรมการธนาคารออมสิน) ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์

ผู้ร่วมพิธีวางศิลาฤกษ์

อ่านรายงานการก่อสร้างสำนักงานใหญ่ ธนาคารออมสิน ต่อ พลอากาศเอก บุญชู จันทรุเบกษา (ประธานกรรมการธนาคารออมสิน) ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์

ม.ล.ปืนไทย มาลากุล ผู้อำนวยการธนาคารออมสินจุดธูปบูชาเทพารักษ์ ในวันประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ สำนักงานใหญ่ ธนาคารออมสิน

พลอากาศเอก บุญชู จันทรุเบกษา ประธานกรรมการธนาคารออมสินประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ เจิมแผ่นศิลาฤกษ์

ประธานกรรมการธนาคารออมสิน ประกอบพิธี วางศิลาฤกษ์ (จากซ้าย นาวาอากาศ สรรเสิญ วานิชย์ ม.ล.ปืนไทย มาลากุล)

การก่อสร้างสำนักงานใหญ่ธนาคารออมสิน

พนักงานธนาคารออมสิน กอง แบบแผนควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด ทุกระยะทุกรายการ

บริเวณลานหน้าสำนักงานใหญ่

ธนาคารออมสิน ถนนพหลโยธิน สมโพธิ แสงเดือนฉาย ถ่ายจากดาดฟ้าชั้นที่ ๑๐ ของโรงแรมแคปบีตอล

ยุคที่ 1

คลังออมสินสังกัดกรมพระคลังมหาสมบัติกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ พ.ศ. ๒๔๕๖ – ๒๔๗๑

ยุคที่ 2

คลังออมสินสังกัดกรมไปรษณีย์โทรเลขกระทรวงพาณิชย์และ คมนาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ – ๒๔๘๙

ยุคที่ 3

ธนาคารออมสิน กระทรวงการคลัง พ.ศ. ๒๔๙๐ – ๒๕๔๐