ความรับผิดชอบต่อสังคม
ธนาคารออมสินดำเนินงานทางด้านความรับผิดชอบต่อสังคมบนพื้นฐานของปรัชญา กรอบวิสัยทัศน์และพันธกิจ ของธนาคาร และมุ่งมั่นที่จะเป็นสถาบันทางการเงินที่เชื่อมโยงสังคมไทยให้มีความมั่นคงภายใต้สภาพสังคมและ สิ่งแวดล้อมที่ดีเพ่ืออนาคตที่ยั่งยืน โดยแนวทางการดำเนินงานทางด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของธนาคารได้ถูก ถ่ายทอดไปยังหน่วยงานภายในธนาคารออมสิน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเป็นการ ปลูกฝังความรับผิดชอบต่อสังคมแก่บุคคลากรของธนาคาร การสร้างมาตรฐานการทำงานตามหลักสากล การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน เยาวชน และสิ่งแวดล้อม เพื่อเชื่อมโยงสังคมไทยให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน
ธนาคารออมสินได้แสดงถึงความมุ่งมั่นในการส่งเสริมนโยบายทางด้านความรับผิดชอบต่อสังคมให้มีความเป็น รูปธรรมมากยิ่งขึ้น โดยได้มีการเพิ่มนโยบายการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมในภาระ หน้าที่และความรับผิดชอบ ของธนาคาร ทั้งนี้ได้มีการจัดทำแผนแม่บทด้านความรับผิดชอบต่อสังคม พ.ศ. 2553 – 2557 เพื่อกำหนดกรอบ นโยบาย แผนกลยุทธ์ให้มีความชัดเจนตามมาตรฐานสากลและให้ทุกหน่วยงานนำไปปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน อย่างเหมาะสม
โดยการดำเนินงานทางด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่ธนาคาร กำหนดมีวัตถุประสงค์ที่จะตอบสนองความต้องการและความจำเป็น ของ 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ลูกค้า (Stakeholders Interst) การดำเนินงานภายในองค์กรณ์ (In-House Interest) และการดำเนินงานภายนอก (Public Relation Interest)
ลูกค้า (Stakeholders Interest) :
การให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของธนาคาร เป็นหนึ่งใน แนวทางด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่ธนาคารให้ความสนใจ โดยมุ่งหวังให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของธนาคารได้รับรู้เข้าใจ และ ตระหนักถึงสิ่งที่ธนาคารออมสินได้มีส่วนช่วยเหลือสังคมและเยาวชน ซึ่งอยู่ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ หรือบริการทางการเงินที่แสดงถึงความ รับผิดชอบต่อสังคม เยาวชน และสิ่งแวดล้อม เช่น ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สนองตอบต่อคุณภาพชีวิต (สินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายใหม่ สินเชื่อสานฝันสู่อาชีพ สินเชื่อพัฒนาชนบท สินเชื่อเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการ เป็นต้น) ผลิตภัณฑ์ทางการเงินพิเศษในโครงการระบบผลิตไฟฟ้า ด้วยพลังงานทดแทนแบบผสมผสาน โครงการธนาคารชุมชน โครงการธนาคารโรงเรียน ซึ่งต่อยอดเป็น โครงการกีฬาธนาคารโรงเรียน และการประกวดวงดนตรี Symphonic band ในปี 2552 อีกด้วย
การดำเนินงานภายในองค์กร (In-House Interest) :
ธนาคารออมสินมุ่งเน้นในการเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรจากภายในด้วยการพัฒนางานให้เป็นทั้งคนดีและ คนเก่ง โดยเริ่มจากการตอบสนองต่อความต้องการของพนักงานในขั้นพื้นฐาน ด้วยการให้ผลตอบแทนจากการ ตอบสนองต่อความต้องการของพนักงานในขั้นพื้นฐาน ด้วยการให้ผลตอบแทนจากการทำงานและสวัสดิการต่างๆ แก่พนักงานอย่างเหมาะสม การสร้างขวัญกำลังใจให้แก่พนักงานผู้เป็นแบบอย่างที่ดี การสนับสนุนและส่งเสริมด้าน การศึกษาให้แก่พนักงานอย่่างต่อเนื่อง การสร้างสภาวะแวดล้อมในการทำงานที่ดีตามหลัก 5ส และหลักความ ปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน การใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า การปฏิบัติต่อ พนักงานอย่างเท่าเทียม การสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติงาน รวมถึงการส่งเสริมให้พนักงานร่วม กิจกรรมที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ทำให้อัตราการลาออกของพนักงานออมสินเมื่อคิดเป็นสัดส่วนมีเพียง ประมาณร้อยละ 0.5 ของพนักงานทั้งหมด
อีกทั้งธนาคารออมสินยังให้ความสำคัญกับการสนับสนุนธุรกิจในท้องถิ่นในพื้นที่สาขาของธนาคารโดยทางธนาคาร ได้มีนโยบายให้ส่วนกลางตั้งงบประมาณให้แก่สาขาต่างๆ ในการเลือกสรรและจัดหาคู่ค้าในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น โดยในปี 2552 งบประมาณที่ธนาคารออมสินได้มีการจัดสรรสำหรับค่าใช้จ่ายดังกล่าวมีมากกว่า 60.8 ล้านบาท
การดำเนินงานภายนอก (Public Relation Interest) :