- ความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ
- ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม
- ปัญหาการดำเนินงานที่ไม่โปร่งใสในองค์กร
เพื่อให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจ
ตามแนวคิดการเติบโตอย่างยั่งยืน
(Sustainable Developement)
ในการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบ
ต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
(Environment Social and Governance: ESG)
ธปท. ได้กำหนดประเด็นด้านความยั่งยืนเข้าเป็นหนึ่งในประเด็นท้าทายในแผนยุทธศาสตร์ของธปท. ปี 2563 – 2565 โดยระบุว่า “การดำเนินงานที่ต้องคำนึงถึงความยั่งยืน (Sustainability) ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล นั้นถือเป็นเรื่องที่ธนาคารไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้”
นอกจากนี้ ธปท. ได้ร่วมลงนามกับสมาคมธนาคารไทย และ 15 ธนาคารพาณิชย์ในบันทึกข้อตกลง “แนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ในด้านการให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ (Sustainable Banking Guidelines-Responsible Lending) ” เพื่อเป็นแนวทางให้ธนาคารพาณิชย์ดำเนินกิจการภายใต้หลักการธนาคาร เพื่อความยั่งยืน (Sustainable Banking)
ธนาคารออมสิน มีความมุ่งมั่นที่จะก้าวไปสู่การเป็นธนาคารเพื่อความยั่งยืน จึงได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก “สำนักงานโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยข้อริเริ่มทางการเงิน หรือ UNEP Finance Initiative (UNEP FI)” เพื่อเข้าร่วม “หลักการเป็นธนาคารที่มีความรับผิดชอบ (Principles for Responsible Banking : PRB)” โดยถือเป็นสถาบันการเงินของรัฐรายแรกของไทยที่เข้าร่วมสนับสนุนหลักการดังกล่าว
เกิดจากการรวมตัวกันของ สำนักงานโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNEP (United Nations Environment Programme) กับสถาบันการเงิน โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ภาคการเงินมีความตระหนักถึง การพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน
UNEP FI ได้ประกาศ “หลักการธนาคารที่มีความรับผิดชอบ” หรือ “Principle for Responsible Banking (PRB)” เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 62 ถือเป็น ความริเริ่มสำคัญในแวดวงธนาคารในด้าน ESG ซึ่งประกอบไปด้วยปัจจัย ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
ปัจจุบัน (ณ วันที่ 8 ธ.ค. 2563) มีสมาชิก 335 แห่ง ครอบคลุมสถาบันการเงิน 3 ด้าน คือ Banking Investment และ Insurance
ปรับกลยุทธ์ขององค์กรให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หรือสอดคล้องกับกรอบอนุสัญญาอื่นที่เกี่ยวข้อง
กำหนดเป้าหมาย เพื่อเพิ่มผลกระทบเชิงบวก และลดผลกระทบเชิงลบที่มีต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อม อันเป็นผลมาจากผลิตภัณฑ์ บริการ และการดำเนินงานของธนาคาร
ให้บริการลูกค้าด้วยความรับผิดชอบ เพื่อผลักดันให้เกิดแนวปฏิบัติที่ยั่งยืน
ปรึกษาหารือ สานสัมพันธ์ และเป็นหุ้นส่วน พร้อมร่วมมือกันในการดำเนินงาน กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องด้วยความรับผิดชอบ
การกำกับดูแลที่มีประสิทธิผล และการปลูกฝังให้มีวัฒนธรรมการเป็นธนาคารที่มีความรับผิดชอบ
ตรวจสอบการปฏิบัติตาม “หลักการเป็นธนาคารที่มีความรับผิดชอบ” อย่างต่อเนื่อง ภายใต้ความโปร่งใสและตรวจสอบได้
ธนาคารออมสิน ได้วางเป้าหมายที่จะมุ่งสู่การเป็น Social Bank หรือ “ธนาคารเพื่อสังคม” อย่างเต็มรูปแบบ โดยมุ่งเน้นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goal หรือ SDGs) 2 ด้านหลัก คือ ด้านที่ 1 ลดความยากจน และด้านที่ 10 ลดความเหลื่อมล้าทางสังคม