การดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

ตั้งแต่ที่องค์การสหประชาชาติได้มีการประกาศใช้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) 17 ข้อ เมื่อปี ค.ศ.2015 ซึ่งครอบคลุมมิติการพัฒนาต่าง ๆ ทั้งในด้านการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากร การรักษาสิ่งแวดล้อม การขจัดความยากจน และการสร้างความเท่าเทียม เป็นต้น ซึ่งธนาคารออมสินได้ยึดมั่นต่อการตอบสนองตามแต่ละเป้าหมายการพัฒนา ที่จะนำไปสู่ความยั่งยืน โดยนําเสนอผ่านการเปิดเผยข้อมูลภายใต้ประเด็นความยั่งยืนที่มีนัยสําคัญตามตารางการเชื่อมโยงการดำเนินงานกับเป้าหมายการพัฒนาความยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) และรายละเอียดผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายต่าง ๆ ตามเนื้อหาในเล่มรายงาน

Sdg Content 1536x659 1
Sdg Content Sm

“ในปี 2564 ธนาคารออมสิน ได้แสดงถึงความมุ่งมั่นต่อการดำเนินงานตอบสนองต่อเป้าหมายหลักจํานวน 2 เป้าหมาย คือ เป้าหมายที่ 1 การแก้ไขปัญหาความยากจน และเป้าหมายที่ 10 การลดความเหลื่อมลํ้า ซึ่งสอดคล้องต่อบทบาทที่ทางธนาคารออมสินวางเป้าหมาย ที่จะมุ่งสู่การเป็นธนาคารเพื่อสังคม (Social Bank) เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกแก่สังคม ตามแนวคิด “Making POSITIVE Impact on Society” ผ่านการสร้างความยั่งยืนและดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสมดุล ทั้งมิติภายนอกองค์กร (External Sustainability) ในการสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก สังคม และ ชุมชน (Social Value proposition) ควบคู่กับมิติภายในองค์กร (Internal Sustainability) ในการดำเนินภารกิจเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางการเงินให้แก่องค์กรควบคู่ไปด้วยกัน”

เป้าหมายการพัฒนา
ที่ยั่งยืนที่สําคัญ
การดําเนินงานที่สําคัญ

1 No Poverty

  • ดําเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ทำหน้าที่เป็นผู้จัดหาเงินทุนให้กับหน่วยงานของรัฐ พัฒนาผู้ประกอบการรายย่อยและชุมชน ส่งเสริมการออม ดูแลประเทศ เช่น มาตรการ ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ทั้งมาตรการเยียวยาการให้สินเชื่อเสริมสภาพคล่องและฟื้นฟูเศรษฐกิจ และมาตรการฟื้นฟูเชิงพื้นที่เพื่อการช่วยเหลือเร่งด่วนโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า (SoftLoan) ให้กับสํานักงานสถานธนานุเคราะห์
  • การเสริมสร้างความแข็งแรงทางการเงิน โดยผ่านโครงการสินเชื่อเพื่อกลุ่มเศรษฐกิจฐานราก เช่น สินเชื่อประชารัฐสร้างไทย ธนาคารประชาชน สําหรับพ่อค้าแม่ค้าหาบเร่ แผงลอย ผู้ประกอบอาชีพอิสระรายย่อยและผู้มีรายได้น้อย
  • แก้ไขปัญหาความยากจนด้วยการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก เช่น สนับสนุนแหล่งเงินทุนสินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า และพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐให้สามารถนํา ไปประกอบอาชีพและเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้
  • ส่งเสริมการออม และพัฒนาทักษะทางการเงินด้วยผลิตภัณฑ์ และบริการทางการเงินครบวงจรที่ลํ้าสมัยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น เงินฝากเผื่อเรียก Digital Savings แบบไม่มีสมุดบัญชี สลากออมสินพิเศษดิจิทัล การเปิดสถาบันการเงินประชาชนแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อรับฝาก-ถอนเงิน และธุรกรรมทางการเงินให้กับสมาชิก และชุมชนรวมถึงเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพให้กับสมาชิกและชุมชน

10 Reduced
Inequalities

  • ให้ความสําคัญกับ การเพิ่มโอกาสทางการเข้าถึงบริการทางการเงินและการให้ความรู้ทางการเงิน กลุ่มลูกค้าฐานรากหรือผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล
  • การปล่อยสินเชื่อเสริมสภาพคล่องให้ระบบเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมกันด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมเป็นธรรม
  • ยกระดับสาขาสู่การเป็นศูนย์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสู่ความยั่งยืน (Social Branch) จุดให้บริการทางการเงิน Financial Logistic Center ซึ่งมีผลิตภัณฑ์เพื่อสังคม และประชาชนฐานราก เช่น สินเชื่อ StreetFood และสินเชื่อ Homestay สองสินเชื่อนี้จะช่วยลดความเหลื่อมลํ้า และเพิ่มโอกาสเข้าถึงบริการทางการเงินให้กลุ่มลูกค้าฐานราก
  • ส่งเสริมการออม และพัฒนาทักษะทางการเงินด้วยผลิตภัณฑ์ และบริการทางการเงินครบวงจรที่ลํ้าสมัยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น เงินฝากเผื่อเรียก Digital Savings แบบไม่มีสมุดบัญชี สลากออมสินพิเศษดิจิทัล การเปิดสถาบันการเงินประชาชนแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อรับฝาก-ถอนเงิน และธุรกรรมทางการเงินให้กับสมาชิก และชุมชนรวมถึงเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพให้กับสมาชิกและชุมชน
  • มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ต่างๆ เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติผลกระทบจากโรคระบาด การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายกนง.
  • ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนฐานรากผ่านกลไก 1. สร้างความรู้และอาชีพ 2. สร้างตลาดและรายได้3. สร้างประวัติทางการเงิน เพื่อยกระดับรายได้ของประชาชน ลดความเหลื่อมลํ้าในสังคม
  • การประกาศร่วมทุนเพื่อร่วมให้บริการสินเชื่อจํานําทะเบียนรถยนต์ที่จะทําให้ดอกเบี้ยสินเชื่อจํานํา ทะเบียนรถยนต์ลดตํ่าลง
  • สนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมให้เข้าถึงแหล่งทุนส่งเสริมการพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน
  • ร่วมพัฒนามาตรฐานสมรรถนะการใช้อีคอมเมิร์ชขับเคลื่อนธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย
  • โครงการคลินิกแก้หนี้ช่วยประชาชนแก้ไขปัญหาหนี้เสียบัตรเครดิต รวมถึงหนี้บัตรที่อยู่ในกระบวนการของศาลแ ละมีคําสั่งพิพากษาแล้ว พร้อมได้เริ่มโครงการ refinance หนี้บัตรดีลดภาระดอกเบี้ยให้แก่ประชาชนที่มีวินัยและมีประวัติการผ่อนชําระดีเยี่ยม
  • ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพ Startup และ SMEs ให้การสนับสนุนแหล่งเงินทุนแก่ผู้ประกอบการ Startup และ SMEs ที่มีศักยภาพและต้องการทุน เพื่อก่อตั้งกิจการ พัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการหรือขยายกิจการ

การรับหลักการ Responsible Banking : UNEPFI

ธนาคารออมสิน มุ่งมั่นการเป็นธนาคารเพื่อสังคมโดยลงนามรับใน “หลักการธนาคารที่มีความรับผิดชอบ” ของสํานักงานโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยข้อริเริ่มทางการเงิน หรือ UNEP Finance Initiative : UNEP FI ถือเป็นแบงก์รัฐแห่งแรกที่เข้าร่วมรับใน “หลักการเป็นธนาคารที่มีความรับผิดชอบ” หรือ “Principles for Responsible Banking(PRB)” โดยถือเป็นสถาบันการเงินของรัฐแห่งแรกของไทยที่เข้าร่วมสนับสนุน หลักการดังกล่าว

หลักการเป็นธนาคารที่มีความรับผิดชอบฉบับนี้ถือเป็นแนวทางใน การกําหนดกรอบกลยุทธ์และเป้าหมายที่สร้างผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล และมีกระบวนการนําไปใช้ติดตาม ประเมินผล และบูรณาการอย่างเป็นระบบ รวมถึงการได้รับข้อเสนอแนะประจําปีและองค์ความรู้ จากการแลกเปลี่ยนมุมมอง และแนวทางปฏิบัติที่ดีกับกลุ่มธนาคารที่เป็นสมาชิก UNEP FI เพื่อนํามาปรับปรุงแนวนโยบายและการดําเนินงาน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Alignment

การดำเนินงานที่สอดคล้อง
กับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

Impact & Target Setting

การกำหนดเป้าหมายที่เพิ่มผลกระทบ
เชิงบวก หรือลดผลกระทบเชิงลบ

Clients & Customers

การให้บริการลูกค้าด้วยความรับผิดชอบ

Stakeholders

การร่วมดำเนินงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ด้วยความรับผิดชอบ

Governance & Culture

การมีธรรมาภิบาลและการปลูกฝัง วัฒนธรรม
การเป็นธนาคารที่มีความรับผิดชอบ

Transparency & Accountabillity

เป็นองค์กรที่มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้

การดําเนินงานตามนโยบายสนับสนุนการธนาคารเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Banking) ของธนาคารแห่งประเทศไทย

จากปัญหาความท้าทายการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับโลกที่ยังคงส่งผล กระทบต่อด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อันเป็นความท้าทายสําคัญต่อการพัฒนาความยั่งยืนของโลกร่วมกันนั้นธุรกิจภาคสถาบันการเงิน ถือเป็นภาคส่วนหนึ่งที่สําคัญในการถูกคาดหวังจากสังคมเป็นอย่างมากที่จะปรับเปลี่ยนบทบาทการดำเนินงาน ทั้งการสนับสนุนองค์กรธุรกิจส่วนต่าง ๆ ให้คํานึงถึงการดำเนินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมสังคม และธรรมาภิบาล รวมถึงการมีส่วนช่วยผลักดันให้ภาคส่วนอื่นๆ มีการดำเนินงานในทิศทางที่นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะผู้กำกับดูแลสถาบันการเงินได้ตระหนักถึงความสำคัญด้านความยั่งยืน จึงได้กำหนดประเด็นด้านความยั่งยืนเป็นประเด็นท้าทายในแผนยุทธศาสตร์ปี 2563-2565 โดยระบุว่า ในการดำเนินงานต้องคำนึงถึงความยั่งยืน ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล และกำหนดนโยบายส่งเสริมให้ระบบสถาบันการเงินไทย ตระหนักและให้ความสำคัญตามหลักการธนาคารเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Banking) ภายใต้แนวคิด “การเงินเพื่อความยั่งยืน”

ธนาคารออมสิน ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลังที่ได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตรวจสอบและการกำกับดูแล ได้ให้ความสําคัญต่อการดำเนินงานที่รับผิดชอบ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล โดยถือเป็นพื้นฐานการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาอันมุ่งไปสู่การเป็นธนาคารเพื่อสังคมอย่างเต็มรูปแบบและเป็นรูปธรรม โดยมีการกำหนดการดำเนินงาน ที่สําคัญต่าง ๆ ดังนี้

โดยหลังจากที่ธนาคารออมสินได้ลงนามรับหลักการฯ ฉบับนี้แล้ว ธนาคารมีแผนงานการพัฒนาการดําเนินงานภารกิจ และกระบวนการทุกด้านให้สอดคล้องกับหลักการฯ เพื่อมุ่งให้เกิดผลดีกับสังคมอย่างชัดเจน พร้อมรายงานผลการดำเนินงานตามหลักการฯ ดังกล่าว พร้อมทั้งนํา เสนอผลความคืบหน้าและปรับปรุงการดําเนินงานให้เป็นธนาคารที่มีความรับผิดชอบตามมาตรฐานสากลต่อไป

Esg

การดำเนินงานด้าน ESG ที่สำคัญของธนาคาร (ESG Approach)

1. Financial Inclusion

การทำให้คนในสังคมโดยเฉพาะกลุ่มฐานรากสามารถเข้าถึงบริการทางด้านการเงินที่เหมาะสม และเป็นประโยชน์ เช่น การให้เงินกู้เสริมพลังฐานราก ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) 10,000บาท และ 50,000 บาทต่อรายผ่าน MYMO เป็นต้น

2. Impact Investment

การลงทุนให้สินเชื่อที่สร้างผลกระทบ (Impact) แก่สังคมโดยเฉพาะการเข้าไปลดต้นทุนทางการเงินแก่คนในสังคม เช่น สินเชื่อจำนำ ทะเบียนรถด้วยต้นทุนที่เหมาะสมซึ่งเป็นกลไกหลักของรัฐในการเข้าไปลดอัตราดอกเบี้ย ที่สูงเกินจริงในตลาดให้ตํ่าลงและอยู่ในระดับที่ เหมาะสม เป็นต้น

3. Exclusion

การไม่สนับสนุนบริการทางการเงินแก่ธุรกิจที่สร้างผล กระทบเชิงลบแก่สังคม (Negative List)

4. Positive List

สนับสนุนธุรกิจที่เป็นธุรกิจที่สร้างผลกระทบเชิงบวกแก่สังคม เช่น การร่วมกับสมาคมธุรกิจเพื่อสังคม หรือ “SE Thailand” เพื่อสนับสนุนสินเชื่อให้กับบริษัทขนาดเล็กที่แข็งแรงและมีความสามารถในชำระหนี้ให้กับ ธนาคารได้การปล่อยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยตํ่าปล่อยสินเชื่อวงเงินไม่มากโดย ไม่ต้องมีหลักประกันการคิดอัตราดอกเบี้ยเท่าทุน เป็นต้น

5. ESG score (อยู่ระหว่างดำเนินการ)

การพัฒนาการให้คะแนนด้าน ESG เพื่อการพิจารณาดอกเบี้ยกับลูกค้าธุรกิจที่จะขอสินเชื่อ ตัวอย่างเช่น ลูกค้าธุรกิจที่มี ESG Score ที่ดีมีความเสี่ยงตํ่า เมื่อขอสินเชื่อจะได้รับการพิจารณาดอกเบี้ยที่ 5% ลบอีก 0.5% และในทางตรงข้ามหากลูกค้าธุรกิจที่มี ESG score ตํ่ามาก มีความเสี่ยงสูง เป็นบริษัท ที่มีปัญหาสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล อาจจะไม่ได้รับการพิจารณาปล่อยสินเชื่อหรือถ้าลูกค้าธุรกิจมี ESG score ในเกณฑ์ตํ่า แต่อยู่ในระดับ ไม่ตํ่ามากนัก อาจพิจารณาเพิ่มดอกเบี้ยขึ้นไปตามลําดับ เป็นต้น

นอกจากนี้ธนาคารออมสินยังได้มีการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาเพื่อรับผิดชอบในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ที่สอดคล้อง และเกี่ยวข้องกับประเด็นความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญต่าง ๆ โดยมีรายละเอียด ทั้งการดำเนินงาน และผลการดำเนินงาน หัวข้อเกี่ยวกับธนาคารออมสิน หัวข้อย่อย “ผลการดำเนินงานที่สําคัญปี 2563”

แชร์เนื้อหา :
Skip to content