ส่วนตำแหน่งที่ปรึกษาของธนาคารออมสิน นับแต่จัดตั้งธนาคารออมสินเป็นต้นมา ธนาคารออมสินมีที่ปรึกษาดังนี้
1. นายเล้ง ศรีสมวงศ์ เป็นที่ปรึกษากิตติมาศักดิ์ ตั้งแต่ ๒ ตุลาคม ๒๔๙๑ ถึง ๒๘ ธันวาคม ๒๔๙
2. พระยาโทณวริกมนตรี เป็นที่ปรึกษาทั่วไป ตั้งแต่ ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๑ ถึงปัจจุบัน
3. นายเสริม วินิจฉัยกุล เป็นที่ปรึกษาทั่วไป ตั้งแต่ ๗ มิถุนายน ๒๔๙๙ ถึงปัจจุบัน
4. อธิบดีกรมที่ดิน เป็นที่ปรึกษาของคณะอนุกรรมการจัดหาผลประโยชน์ของธนาคารออมสิน ตั้งแต่ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒ ถึงพฤศจิกายน ๒๕๐๒
5. นายเสริม ศาลิคุปต เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการจัดหาผลประโยชน์ตั้งแต่ ธันวาคม ๒๕๐๑ จนถึงปัจจุบัน
6. นายหยุด แสงอุทัย เป็นการศึกษากฏหมายประจำธนาคารออมสินตั้งแต่ธันวาคม ๒๘๐๑ ถึง ปัจจุบันนี้
เนื่องจากคณะกรรมการธนาคารออมสิน ซึ่ง พลเอก หลวงสถิตยุทธการ เป็นประธานกรรมการ และตัวท่านได้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการเป็นเวลานานถึง ๔ วาระ ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการแต่ละท่านบ้างก็ตาม ฉะนั้น พลเอก หลวงสถิติยุทธการ จึงเป็นประธานกรรมการที่เจนจัดและเข้าใจในธุรกิจของธนาคารออมสินเป็นอย่างดี และตัวท่านมีเจตนาอันแรงกล้าที่จะขยายกิจการของธนาคารออมสินให้เจริญ ก้าวหน้าเรื่อยไปไม่หยุดยั้ง เพราะฉะนั้น ในการครองตำแหน่งอันนับว่าหลายอย่างดังจะได้กล่าวเป็นลำดับไป ดังนี้
การจัดทำพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง และระเบียบการ
๑. กฎกระทรวงฉบับที่ ๘ ( พ.ศ. ๒๔๙๔ ) ว่าด้วยการรับฝากเงินออมสินกฎกระทรวงฉบับนี้ได้เปลี่ยนแปลงความหมายของการ ฝากเงินออมสินประเภทประจำ เป็นฝากประจำหมายความว่า ฝากแล้วถอนได้เมื่อครบหกเดือน นอกจากนั้นก็มีการขยายวงเงินฝากเพื่อคิดดอกเบี้ยประเภทเผื่อเรียกและประจำ ให้สูงขึ้น
๒. กฎกระทรวงฉบับที่ ๙ ( พ.ศ. ๒๔๙๖ ) ว่าด้วยการรับฝากเงินออมสินกฎกระทรวงฉบับนี้ให้ขยายวงเงินฝากเพื่อคิด ดอกเบี้ยสำหรับเงินฝากประเภทประจำให้สูงขึ้น
๓. กฎกระทรวงฉบับที่ ๑๐ ( พ.ศ. ๒๔๙๗ ) ว่าด้วยการรับฝากเงินประเภทพันธบัตรออมสินกฎกระทรวงฉบับนี้บัญญัติให้มีการ โอนและรับโอนพันธบัตรออมสินแก่กันได้
๔. กฎกระทรวงฉบับที่ ๑๑ ( พ.ศ. ๒๔๙๗ ) ว่าด้วยการรับฝากเงินประเภทสลากออมสินพิเศษกฎกระทรวงฉบับนี้บัญญัติให้มีการ โอนและรับโอนสลากออมสินพิเศษแก่กันไดนอกจากกฎกระทรวง ๔ ฉบับดังกล่าว ธนาคารออมสินได้ออกระเบียบการธนาคารออมสิน ดังนี้
๑. ระเบียบการธนาคารออมสินฉบับที่ ๘ ว่าด้วยการซื้อขาย หรือเก็บเงินตามตราสารเปลี่ยนมือระเบียบการฉบับนี้ ได้กำหนดชนิดของตราการเปลี่ยนมือลักษณะของผู้ขายส่วนลด อัตราค่าส่วนลด ตั๋วข้าว กรรมการราคาของตราสาร วงเงิน ระเบียบการนี้ใช้บังคับตั้งแต่ ๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๕
๒. ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๙ ) ว่าด้วยส่วนการบริหารธุรกิจของธนาคารออมสิน และหน้าที่ทั่วไปของหน่วยงานนั้น ๆ
ระเบียบการนี้ได้กำหนดให้วางระเบียบการบริหารธุรกิจใหม่ทั้งหมด โดยกำหนดส่วนการบริหารธุรกิจของธนาคารออมสิน ดังนี้
1. ฝ่ายธุรการ
2. ฝ่ายการบัญชี
3. ฝ่ายการออมสิน
4. ฝ่ายการสลากและพันธบัตรออมสิน
5. ฝ่ายการธนาคาร
5. ฝ่ายที่จัดตั้งขึ้นมีหน้าที่และแบ่งส่วนงานออกเป็นกอง ดังนี้
ก. ฝ่ายธุรการ มีหน้าที่ปฏิบัติกัจการของธนาคารโดยทั่วไป รักษาพระราชบัญญติ ,พระราชกฤษฎีกา กฎ ข้อบังคับ ระเบียบการและคำสั่งของธนาคารออมสินรักษาตราสารทำการสารบรรณและกฎหมาย รักษาห้องสมุด จัดการสวัสดิสงเคราะห์ชีวิตและจัดยานพาหนะและรักษาสถานที่ ดำเนินการรับฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว ทำการโฆษณาเผยแพร่กิจการออมสิน มีหัวหน้าฝ่ายเป็นผู้บังคับบัญชา และแบ่งกิจการออกเป็น ๓ กองคือ กองกลาง กองการสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว และกองการโฆษณา
ข. ฝ่ายการบัญชี มีหน้าที่วางระเบียบบัญชี ควบคุมบัญชี ทำการประมวลบัญชี ตรวจบัญชีทั่วไป ทำการรักษางบประมาณ ควบคุมรายได้และรายจ่าย ทำการพัสดุ ทำการสถิติ มีหน้าที่รับ จ่ายและรักษาเงินสด เก็บรัก ษาหลักทรัพย์ ตราสารและทรัพย์มีค่าอื่น ๆ มีหัวหน้าฝ่ายการบัญชีเป็นผู้บังคับบัญชา และแบ่งกิจการออกเป็น ๓ กอง คือ กองประมงบบัญชี กองตรวจบัญชี กองรักษาเงิน
ค. ฝ่ายการออมสิน มีหน้าที่ดำเนินการรับฝากเงินออมสิน มีหน้าที่ควบคุมบัญชีเงินฝากออมสิน และบังคับบัญชาควบคุมกิจการของธนาคารออมสินสาขาใหญ่และธนาคารออมสินสาขารอง ตลอดจนตัวแทนทั่วราชอาณาจักร มีห้วหน้าฝ่ายการออมสินเป็นผู้บังคับบัญชา แบ่งเขตควบคุมออกเป็น ๔ ภาค คือ สำนักงานธนาคารออมสินสาขาใหญ่ภาคกลาง สำนักงานธนาคารออมสินสาขาใหญ่ภาคเหนือ สำนักงานธนาคารออมสินสาขาใหญ่ภาคอีสาน และธนาคารออมสินสาขาใหญ่ภาคใต้ และให้ฝ่ายการออมสินแบ่งกิจการออกเป็น ๑ กอง คือ กองการออมสิน
ง. ฝ่ายการสลากและพันธบัตรออมสิน มีหหน้าที่ดำเนินกิจการและควบคุมบัญชีที่เกี่ยวกับการสลากออมสิน และพันธบัตรออมสิน มีหัวหน้าฝ่ายการสลากและพันธบัตรออมสิน เป็นผู้บังคับบัญชาออกเป็น ๒ กอง คือ กอง สลากออมสินและกองพันธบัตรออมสิน
จ. ฝ่ายการธนาคาร มีหน้าที่ดำเนินกิจการและควบคุมบัญชีในกิจการอันพึงเป็นงานธนาคาร มีหัวหน้าฝ่ายการธนาคารเป็นผู้บังคับบัญชานอกจากแบ่งธุรกิจออกเป็นฝ่าย ๆ แล้ว ยังมีหน่วยงานขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการธนาคารออมสิน คือ สำนักงานเลขานุการ ทำหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการ อำนวยการ และรองผู้อำนวยการ มีแลขานุการเป็นผู้บังคับบัญชา
โรงพิมพ์ธนาคารออมสิน ทำการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ ของธนาคารออมสิน มีผู้จัดการโรงพิมพ์เป็นผู้บังคับบัญชา
๓. ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ 10 ) ว่าด้วยการแต่งตั้งและถอดถอนพนักงานธนาคารออมสิน ระเบียบการฉบับนี้ ได้วาง ระเบียบการแต่งตั้งและถอดถอนพนักงานและกำหนดอัตราเงินเดือนประจำ ตำแหน่งของพนักงานธนาคารออมสินใหม่โดยยกเลิกระเบียบการธนาคารออมสินฉบับที่๕
๔. ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ 11) ว่าด้วยการกำหนดอัตราเงินเดือนประจำตำแหน่งใหม่ทั้งหมด คือ ตำแหน่งในส่วนบริหาร แบ่งออกเป็น หัวหน้าฝ่าย หัวหน้ากอง พนักงานเอก พนักงานโท และพนักงานตรีส่วนบริการ แบ่งออกเป็นพนักงานบริการ
๕. ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ 12 ) ว่าด้วยการวินัยของพนักงานธนาคารออมสิน ระเบียบการนี้ได้กำหนดถึงวินัย โทษผิดวินัยของพนักงานตลอดจนการอุธรณ์การลงโทษ
๖. ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๑๓ ) ว่าด้วยการประกันของพนักงานธนาคารออมสิน ระเบียบการฉบับนี้ได้กำหนดให้พนักงานธนาคารออมสินตำแหน่งมีประกันการเข้า ทำงานในธนาคารออมสิน
๗ . ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๑๔ ) ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพของพนักงานธนาคารออมสิน ระเบียบการฉบับนี้ออกมาโดยให้ยกเลิกระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๑ ) ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพ ระเบียบการธนาคารออมสินฉบับที่ ๖ ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพซึ่งสะสมจากเงินช่วยเหลือค่าครองชีพ และระเบียบการฯ ฉบับที่ ๗ ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพพนักงาน
๘ . ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๑๕ ) ว่าด้วยการสงเคราะห์ของธนาคารออมสินใช้แก่พนักงานธนาคารออมสินหรือ ผู้มีอุปการคุณของธนาคารออมสินระเบียบการฉบับนี้ออกเพื่อเป็นการอนุเคราะห์ พนักงาน และผู้มีอุปการคุณของธนาคารออมสินซึ่งยังไม่มีเคหะสถานเพื่อเป็นที่ อยู่อาศัยของตนเอง ให้ได้มีที่อยู่อาศัยเป็นกรรมสิทธิ์ หรือให้มีที่อาศัยโดยเสียค่าบำรุงสถานที่ตามสมควรโดยแบ่งการ สงเคราะห์ออกเป็น ๓ ประเภท คือ
ก. ให้กู้ยืมเงินเป็นทุนในการปลูกสร้าง ต่อเติมหรือดัดแปลงอาคารในที่ดินของตน หรือซื้อที่ดินหรืออาคาร หรือช่วยเปลื้องการจำนอง
ข. การสร้างเคหสถานให้เช่าซื้อ
ค. การสร้างอาคารให้แก่ผู้มีรายได้น้อย โดยเสียค่าบำรุงสถานที่
๙ . ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๑๖) ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินยังชีพให้พนักงานธนาคารออมสินบางจังหวัดในภาคใต้ ระเบียบการฉบับนี้ออกมาเพื่อช่วยเหลือพนักงานธนาคารออมสินทุกตำแหน่งที่ ปฎิบัติงานประจำ ณ สำนักงานธนาคารออมสินที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัด สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล ตรัง ภูเก็ต กระบี่และระนอง
๑๐ . ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๑๗ ) ว่าด้วยระเบียบการลาไปศึกษา ณ ต่างประเทศด้วยทุนส่วนตัวของพนักงาน ระเบียบการฉบับนี้ออกมาเพื่อเป็นการสงเคราะห์และสนับสนุนแก่พนักงานที่ ประสงค์จะลาไปศึกษาวิชาเพิ่มเติม ณ ค่างประเทศด้วยทุนส่วนตัวของพนักงานเอง อันเป็นการส่งเสริมวิทยฐานะ และจะได้นำวิชาที่ศึกษามาใช้ประโยชน์แก่ธนาคาร
๑๑ . ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๑๘ ) ว่าด้วยการส่งเสริมสวัสดิภาพของพนักงานธนาคารออมสิน ระเบียบการฉบับนี้ได้กำหนดการส่งเสริมออกเป็น ๓ ประเภท คือ
ก. ให้กู้เงินไปใช้จ่ายในกรณีประสพวินาศภัย
ข. ให้กู้เงินไปเพื่อใช้จ่ายในกรณีประสพโรคภัยไข้เจ็บ
ค. ให้กู้เงินไปใช้จ่ายในกรณีจำเป็น
๑๒ . ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๑๙ ) ว่าด้วยการจัดซื้อสังหาริมทรัพย์เพื่อปลูกสร้างสำนักงาน เนื่องด้วยธนาคารออมสินมีความจำเป็นต้องขยายธุรกิจโดยการเปิดสำนักงานธนาคาร ออมสินสาขาในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น
๑๓ . ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๒๐ ) ว่าด้วยการจ่ายเงินค่ารับรองผู้จัดการธนาคารออมสินภาค และผู้จัดการธนาคารออมสินสาขารอง
๑๔ . ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๒๑ ) ว่าด้วยการจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษให้แก่ทายาทของพนักงานธนาคารออมสินผู้ถึงแก่กรรม และจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษให้แก่พนักงานธนาคารออมสินผู้ได้รับอันตรายถึง ทุพพลภาพในระหว่างปฎิบัติงานในหน้าที่ระเบียบการฉบับนี้ได้วางหลัก เกณฑ์ และเงื่อนไขต่าง ๆ ในกรณีที่พนักงานต้องได้รับอันตรายถึงแก่กรรม และทุพพลภาพ เนื่องในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้เพื่อเป็นบำเหน็จแก่พนักงานเป็นพิเศษ
๑๕ . ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๒๒) ว่าด้วยการเคหสงเคราะห์ของธนาคารออมสินใช้แก่พนักงานธนาคารออมสิน หรือผู้มีอุปการคุณของธนาคารออมสินระเบียบการนี้ได้แก้ไขปรับปรุงวิธีการว่า ด้วยการเคหสงเคราะห์แก่พนักงานและผู้มีอุปการคุณแก่ธนาคารออมสินให้เหมาะสม รัดกุมขึ้น โดยยกเลิกระเบียบการเดิม ( ฉบับ ๑๕ ) นี้เสีย
๑๖ . ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๒๓ ) ว่าด้วยการออกตั๋วแลกเงินเพื่อเดินทาง ระเบียบการฉบับนี้ได้กำหนดให้ธนาคารออมสินออกตั๋วแลกเงินเพื่อเดินทาง
๑๗ . ระเบียบการธนาคารออมสิน (ฉบับที่ ๒๔) ว่าด้วยระเบียบการลาไปศึกษา ณ ต่างประเทศด้วยทุนส่วนตัวของพนักงานระเบียบการฉบับนี้ได้แก้ไข เปลี่ยนแปลงความบางประการในระเบียบการฉบับที่ ๑๗ ว่าด้วยการนี้
๑๘. ระเบียบการธนาคารออมสิน (ฉบับที่ ๒๕) ว่าด้วยเงินค่ารับรองของผู้จัดการสาขาใหญ่ และผู้จัดการสาขารองเสียใหม่โดยให้ยกเลิกระเบียบการธนาคารออมสินฉบับที่ ๒๐
๑๙. ระเบียบการธนาคารออมสิน (ฉบับที่ ๒๖) ว่าด้วยการกำหนดอัตราเงินเดือนประจำตำแหน่งของพนักงานธนาคารออมสินใหม่ โดยยกเลิกระเบียบการธนาคารออมสินฉบับที่ ๑๑ ใหม่ทั้งหมด
๒๐. ระเบียบการธนาคารออมสิน (ฉบับที่ ๒๗) ว่าด้วยส่วนการบริหารธุรกิจของธนาคารออมสิน และกำหนดหน้าที่ ระเบียบการฉบับนี้ได้กำหนดส่วนการบริหารธุรกิจใหม่โดยให้ยกเลิกระเบียบ ธนาคารออมสิน ฉบับที่ ๙ เสียทั้งหมด และให้ใช้ระเบียบการฉบับนี้ต่อไป ฉะนั้น ส่วนการบริหารธุรกิจของธนาคารออมสินแบ่งออกเป็นดังนี้
๑. ฝ่ายการออมสิน
๒. ฝ่ายการบัญชี
๓. ฝ่ายธนาคาร
๔. ส่วนขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการธนาคารออมสิน
ฝ่ายการออมสิน มีหัวหน้าฝ่ายการออมสินเป็นผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ดำเนินการรับฝากเงิน ออมสิน ดำเนินกิจการและควบคุมบัญชีที่เกี่ยวกับการสลากและพันธบัตรออมสิน รับฝากเงินออมสินเพื่อสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว ทำหน้าที่ควบคุมบัญชีเงินฝากออมสิน และบังคับบัญชาธุรกิจของธนาคารออมสินกลาง ธนาคารออมสินสาขา ตลอดจนตัวแทนทั่วราชอาณาจักร
1. กองการออมสิน
2. กองการสลากและพันธบัตรออมสิน
3. กองการสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว
4. ธนาคารออมสินกลาง
5. ธนาคารออมสินภาค ๑
6. ธนาคารออมสินภาค ๒
7. ธนาคารออมสินภาค ๓
8. ธนาคารออมสินภาค ๔
9. ธนาคารออมสินภาค ๕
10. ธนาคารออมสินภาค ๖
11. ธนาคารออมสินภาค ๗
ฝ่ายการบัญชี มีหัวหน้าฝ่ายการบัญชี เป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางระเบียบการบัญชี การประมวลบัญชี การงบประมาณควบคุมดูแลเกี่ยวกับ ผลประโยชน์ของธนาคาร ควบคุมรายได้และรายจ่าย การสถิติ ทั้งนี้มีหน้าที่รับ-จ่ายและรักษาเงินสด เก็บรักษาหลีกทรัพย์ ตารสาร และทรัพย์สินอื่น ๆ ของธนาคาร
ฝ่ายการบัญชี แบ่งกิจการออกเป็น ๔ กอง
1. กองประมวล
2. กองผลประโยชน์
3. กองรักษาเงิน
4. กองสถิติ
ฝ่ายการธนาคาร มีหัวหน้าฝ่ายการธนาคาร เป็นผู้บังคับบัญชา ดำเนินธุรกิจอันเป็นงานธนาคาร และแบ่งงานธนาคาร และแบ่งกิจการออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้
1. ส่วนเลขานุการ
2. ส่วนกระแสรายวัน
3. ส่วนการเงิน
4. ส่วนการบัญชี
5. ส่วนผลประโยชน์
ส่วนที่ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการ ส่วนที่ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการ คือ
1. ผู้ชำนาญาการ
2. สำนักเลขานุการ
3. กองสารบรรณ
4. กองการปกครอง
5. กองการตรวจการ
6. กองการโฆษณา
7. กองพัสด
ผู้ชำนาญการ มีหน้าที่ทำการค้นคว้าเพื่อความวิวัฒนาการในธุรกิจของธนาคารออมสิน เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำในธุรกิจทั่วไป สำนักเลขานุการ มีเลขานุการธนาคารออมสินเป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่เกี่ยวกับการเลขานุการของคณะกรรมการ การเลขานุการ ของผู้อำนวยการ และรองผู้อำนวยการ กองสารบรรณ มีหัวหน้ากองสารบรรณ เป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่ปฏิบัติกิจการโดยทั่วไปของธนาคาร รักษาพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฏข้อบังคับ ระเบียบการ และคำสั่งของธนาคาร ทำหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายและสัญญา รักษาตราธนาคาร รักษาสถานที่ ทำหน้าที่เกี่ยวกับยานพาหนะ และการอื่น ๆ อันเป็นงานสารบรรณ กองการปกครอง มีหัวหน้ากองการปกครอง เป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่เกี่ยวกับการทะเบียนประวัติ รักษาห้องสมุด การสวัสดิสงเคราะห์ เก็บและรักษาเอกสารต่าง ๆ ของธนาคาร ดำเนินธุรกิจในด้านการปกครอง เพื่อรักษาไว้ซึ่งกฎข้อบังคับ ระเบียบการคำสั่งต่าง ๆ ทำหน้าที่เกี่ยวกับเงินเดือนและการเงินของพนักงาน กองการตรวจการ มีหัวหน้ากองตรวจการ เป้นผู้บัคับบัญชา มีหนาที่ตรวจสอบบัญชีทั่วไป รวมทั้งรายได้รายจ่ายของธนาคาร ดำเนินการเกี่ยวกับคดีทุจริต สืบสวนและสอบสวนคดีทุจริต ตรวจตราในธุรกิจทั่วไปของธนาคาร
ตลอดจนสอดส่องดูแลความประพฤติและการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงาน กองการโฆษณา มีหัวหน้ากองการโฆษณา เป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่ทำการโฆษณาเผยแพร่ชักชวนให้ประชาชนประหยัดและออมทรัพย์ ตลอดจนให้นิยมฝากเงินไว้กับธนาคารออมสินทุกวิถีทาง กองพัสดุ มีหัวหน้ากองพัสดุเป็นผู้บังคับบัญชามีหน้าที่เกี่ยวกับการพัสดุจัดหาและ เก็บรักษาสิ่งของและครุภัณฑ์ต่าง ๆ ของธนาคาร และการจ่าย ระเบียบการฉบับนี้ เป็นวิวัฒนาการอีกขั้นหนึ่งในการดำเนินการบริหารธุรกิจของธนาคารออมสิน นับตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษจิกายน ๒๔๙๕ เป็นลำดับมา จนกระทั่งธนาคารออมสินได้กำหนดระเบียบการฉบับนี้ และใช้ระเบียบการฉบับนี้ตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๐๐ เป็นต้นไป
๒๑. ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๒๘ ) ว่าด้วยการกำหนดอัตราเงินเดือนประจำตำแหน่งของพนักงาน ระเบียบการฉบับนี้ แก้ข้อความบางประการในระเบียบการฉบับที่ ๒๖
๒๒. ระเบียบการธนาคารออมสิน (ฉบับที่ ๓๐ ) ว่าด้วยการประกันของพนักงานระเบียบบการฉบับนี้เปลี่ยนแปลงการแก้ไขระเบียบ การธนาคารออมสิน ฉบับที่ ๑๓ กล่าวคือวางอัตราหลักทรัพย์ เงินสด หรือหลักประกันอื่น ๆ ของพนักงานให้สูงขึ้น
๒๓. ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๓๑ ) ว่าด้วยส่วนการบริหารธุรกิจของธนาคารออมสินและกำหนดหน้าที่ ระเบียบการฉบับนี้กำหนดให้ยุบเลิกตำแหน่งผู้ชำนาญการ
๒๔. ระเบียบการธนาคารออมสิน (ฉบับที่ ๓๒ ) ว่าด้วยเงินค่ารับรองของผู้จัดการธนาคารออมสินภาค และผู้จัดการธนาคารออมสินสาขา
๒๕. ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๓๓ ) ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้สอยในการเดินทางธุรกิจของธนาคารออมสินและเงินค่า อาหารทำการล่วงเวลา ระเบียบ การฉบับนี้ได้วางระเบียบการเบิกจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะเดินทาง ค่าเช่าที่พักตลอดจนการทำงานล่วงเวลาของพนักงาน
๒๖. ระเบียบการธนาคารออมสิน ( ฉบับที่ ๓๔ ) ว่าด้วยการซื้อขายหรือเก็บเงินตามตราสารเปลี่ยนมือ ระเบียบการฉบับนี้ให้ธนาคารออมสินรับซื้อตราสารเปลี่ยนมือเพิ่มขึ้น คือตั๋วแลกเงิน ( Bill of Exchange ) และตั๋วสัญญาใช้เงิน ( Promissory Note )
รวมระเบียบการที่ออกใช้ทั้งสิ้น ๒๗ ฉบับ แต่ที่แสดงไว้ในที่นี้เพียง ๒๖ ฉบับอีก ๑ ฉบับ ธนาคารออมสินถือเป็นการลับ คือระเบียบการธนาคารออมสินฉบับที่ ๒๙
ข. การขยายธุรกิจ ในด้านการขยายธุรกิจ ธนาคารออมสินได้เปิดสำนักงานธนาคารออมสินสาขาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๕ ถึง ๒๕๐๑ เพิ่มขึ้นดังนี้ ( พ.ศ. ๒๔๙๕ ไม่มีการเปิดสาขา)
พ.ศ. ๒๔๙๖ เปิดสสำนักงานธนาคารออมสินสาขา ๒๒ แห่ง คือ
๑.ธนาคารออมสินสาขาปัตตานี เปิดทำการเมื่อ ๒๘ กรกฎาคม ๒๔๙๖
๒. ธนาคารออมสินสาขาบุรีรัมย์ เปิดทำการเมื่อ ๑๗ สิงหหาคม ๒๔๙๖
๓. ธนาคารออมสินสาขาพะเยา เปิดทำการเมื่อ ๒๑ สิงหาคม ๒๔๙๖
๔. ธนาคารออมสินสาขาโพธาราม เปิดทำการเมื่อ ๑ กันยายน ๒๔๙๖
๕. ธนาคารออมสินสาขาป่าซาง เปิดทำการเมื่อ ๙ กัยยยายน ๒๔๙๖
๖. ธนาคารออมสินสาขาตราด เปิดทำการเมื่อ ๒ พฤศจิกายน๒๔๙๖
๗. ธนาคารออมสินสาขากบินทร์บุรี เปิดทำการเมื่อ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๙๖
๘. ธนาคารออมสินสาขาประจวบคีรีขันธ์ เปิดทำการเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๖
๙. ธนาคารออมสินสาขาหัวหิน เปิดทำการเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๖
๑๐. ธนาคารออมสินสาขานราธิวาส เปิดทำการเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๖
๑๑. ธนาคารออมสินสาขายะลาเปิดทำการเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๖
๑๒. ธนาคารออมสินสาขาสตูล เปิดทำการเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๖
๑๓. ธนาคารออมสินสาขากระบี่ เปิดทำการเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๖
๑๔. ธนาคารออมสินสาขาพังงา เปิดทำการเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๖
๑๕.ธนาคารออมสินสาขาระนอง เปิดทำการเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๖
๑๖. ธนาคารออมสินสาขาเลย เปิดทำการเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๖
๑๗. ธนาคารออมสินสาขากาฬสินธุ์ เปิดทำการเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๖
๑๘. ธนาคารออมสินสาขาศรีษะเกษ เปิดทำการเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๖
๑๙. ธนาคารออมสินสาขาชัยภูมิ เปิดทำการเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๖
๒๐.ธนาคารออมสินสาขาพิจิตร เปิดทำการเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๖
๒๑. ธนาคารออมสินสาขากำแพงเพชร เปิดทำการเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๖
๒๒. ธนาคารออมสินสาขาเพชรบูรณ์ เปิดทำการเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๖
พ.ศ. ๒๔๙๗ เปิดสำนักงานธนาคารออมสินสาขา ๑๐ แห่ง คือ
๑. ธนาคารออมสินสาขาพระพุทธบาท เปิดทำการเมื่อ ๑ กุมพาพันธ์ ๒๔๙๗
๒. ธนาคารออมสินสาขาหล่มสัก เปิดทำการเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๗
๓.ธนาคารออมสินสาขาตะพานหิน เปิดทำการเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๗
๔. ธนาคารออมสินสาขายโสธรเปิดทำการเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๗
๕. ธนาคารออมสินสาขาดำเนินสะดวก เปิดทำการเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๗
๖. ธนาคารออมสินสาขาศรีราชา เปิดทำการเมื่อ ๒๐ กันยายน ๒๔๙๗
๘. ธนาคารออมสินสาขาพยุหคีรี เปิดทำการเมื่อ ๒๗ กันยายน ๒๔๙๗
๙. ธนาคารออมสินสาขาโคกกะเทียม เปิดทำการเมื่อ ๑ ตุลาคม ๒๔๙๗
๑๐. ธนาคารออมสินสาขาประจันตคาม เปิดทำการเมื่อ ๙ ตุลาคม ๒๔๙๗
๑๑. ธนาคารออมสินสาขาอรัญญประเทศ เปิดทำการเมื่อ ๑๖ ธันวาคม ๒๔๙๗
พ.ศ. ๒๔๙๘ เปิดสำนักงานธนาคารออมสินสาขา ๑๐ แห่ง คือ
๑. ธนาคารออมสินสาขาทุ่งสอง เปิดทำการเมื่อ ๑๐ มกราคม ๒๔๙๘
๒. ธนาคารออมสินสาขาสะพานแดง เปิดทำการเมื่อ ๑๗ มิถุนายน ๒๔๙๗
๓.ธนาคารออมสินสาขาสันกำแพง เปิดทำการเมื่อ ๑ เมษายน ๒๔๙๘
สำนักงานธนาคารออมสินภาค และ สำนักงานธนาคารออมสินสาขา