ครั้น เมื่อกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมได้ดำเนินการตามโครงการดังกล่าวข้างต้นแล้ว จึงได้ทำการส่งมอบและรับมอบงานคลังออมสิน เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ โดยให้แผนกคลังออมสิน กรมไปรษณีย์โทรเลข ซึ่งรับโอนงานจากกรมพระคลังมหาสมบัติและกรมศุลกากรมารวมจัดทำด้วยกันเป็น ที่ทำการคลังออมสินกลาง สถานที่ทำการคลังออมสินกลางในคลังนั้น ตั้งอยู่ที่ตัวตึกอันเป็นส่วนหนึ่งของสถานทูตอังกฤษเก่า ณ ตำบลบางรัก(ก่อนที่จะสร้างตึกที่ทำการไปรษณีย์กลางในปัจจุบันนี้ )
ส่วนการคลังออมสิน ณ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขและอำเภอในพระนครธนบุรีและคลังออมสินในต่างจังหวัด ซึ่งโอนจากคลังจังหวัดมาอยู่กับที่ทำหารไปรษณีย์โทรเลขจังหวัดนั้น ในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการคลังออมสินแล้ว ให้ขึ้นตรงต่อคลังออมสินกลาง
นับแต่บัดนี้เป็นต้นมา ประชาชนก็เริ่มรู้จักประโยชน์ของคลังออมสินขึ้นโดยลำดับ ภายในระยะเวลาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๒ ถึงต้นปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ปรากฎว่ามีผู้ฝากและจำนวนเงินรับฝากเพิ่มขึ้นดังนี้ คือ เมื่อแรกรับงานคลังออมสินจากกระทรวงพระคลังจากกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีจำนวนผู้ฝาก ๑๘,๖๘๒ ราย เงินที่รับฝาก ๒,๖๕๐,๐๗๔ บาท ใน พ.ศ. ๒๔๗๓ มีจำนวนผู้ฝาก ๒๓,๕๗๖ ราย เงินที่รับฝาก ๒,๘๙๐,๔๐๗ บาท ใน พ.ศ. ๒๔๗๔ มีจำนวนผู้ฝาก ๓๐,๘๓๙ ราย เงินที่รับฝาก ๓,๘๘๔,๔๓๓ บาท ทั้งนี้นับได้ว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราโชบายอันเลิศ ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินงานให้ประชาชนได้รับความสะดวกจนบังเกิดความนิยม เลื่อมใสในกิจการและความมีหลักฐานมั่นคงของคลังออมสิน จัดได้ว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณการคลังออมสินเป็นล้นเกล้าทั้งนี้ประกอบกับ พระปรีชาสามารถของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินเสนาบดีกระทรวง พาณิชย์และคมนาคมที่ได้ทรงวางแผนการดำเนินงานอย่างเหมาะสมยิ่ง
นับได้ว่าพระองค์ท่านได้เป็นผู้ทรงวางรากฐานในขณะนั้นอย่างเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งเมื่อประเทศไทยได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นประธิปไตย เมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ รัฐบาลในระบอบใหม่ได้เห็นความสำคัญของการคลังออมสินอยู่มากจึงได้ปรับปรุง ส่งเสริมละขยายกิจการเป็นอันดับ ทั้งในด้านวิธีการ จำนวนเงินฝาก เปิดการรับฝากเงินประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เป็นที่นิยมของผู้ฝาก และปรับปรุงด้านการโฆษณาเผยแพร่คุณประโยชน์และกิจการของคลังออมสินให้แพร่ หลายแก่ประชาชนมากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้เพราะรัฐบาลได้พิจารณาเห็นว่า คลังออมสินเป็นสถาบันของการรวมและระดมทุนซึ่งอยู่ในโครงการปรับปรุงเศรษฐกิจ ของบ้านเมือง อันควรส่งเสริมและปรับปรุงให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นกล่วคือ เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้มีพระราชกิจฏีกาจักวางระเบียบราชการสำนักงานและกรมในกระทรวงเสรษฐการ พุทธสักราช ๒๔๗๖ มาตรา ๑๗ แบ่งส่วนราชการคลังออมสินขึ้นเป็นกอง เรียกว่า “กองคลังออมสินและธนาณัติ ” ขึ้นอยู่กับกรมไปรษณีย์โทรเลข
ครั้นต่อมาเมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ได้มีพระราชกฤษฏีกาฉบับใหม่ขึ้นอีกฉบับเรียกว่า พระราชกฤาฏีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงานและกรมในกระทรวงเศรษฐการ พุทธศักราช ๒๔๗๗ มตรา ๑๙ ให้คลังออมสินคงเป็นกอง เรียกว่า “ กองคลังออมสิน ” โดยแต่งตั้งให้นายสวัสดิ์ โสตถิทัต เป็นหัวหน้ากอง นายสวัสดิ์ โสตถิทัต ได้พิจารณาเห็นว่าสถานที่ทำการซึ่งเป็นแผนกคลังออมสิน ซึ่งตั้งอยู่ ณ ตึกส่วนหนึ่งของกองบัญชีเดิมคับแคบไม่เหมาะสม