banner banner

๒๔๕๖ – ๒๔๗๑ กำเนิดคลังออมสิน

เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสยามมงกุฎ ราชกุมาร และได้เสด็จออกไปทรงศึกษาวิชาการอยู่ในประเทศอังกฤษเป็นเวลา ๙ ปี พระองค์ท่านได้ ทรงเห็นแบบอย่าง และวิธีการคลังออมสิน ซึ่งดำเนินการอยู่ในการประเทศอังกฤษภายใต้การอำนวยการของ เอดินเบอร์กเซฟวิงแบงค์( Edinburgh Savings Bank) ซึ่งเป็นการคลังออมสินที่ทันสมัย แห่งแรกของอังกฤษซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. ๑๙๑๐ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๕๓ ก็ทรงสนพระทัยที่จะให้มีการคลัง ออมสินขึ้นในประเทศไทยบ้าง ครั้นเมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว จึงในปีพุทธศักราช ๒๔๕๖ ได้ทรงมีพระราชปรารภว่า “การรักษาทรัพย์สมบัติซึ่งประชาราษฎรได้อุตสาหประกอบการทำมาค้าขาย มีกำไรออมไว้เป็นทุนรอนได้แล้ว แต่การรักษาให้ปราศจากอันตรายยังเป็นการลำบาก เพราะไร้ที่ฝากฝัง อันมั่นคง ส่วนการที่ประชาชนออมสินไว้เพื่อประโยชน์การยืนยาวข้างหน้าไม่จับจ่ายเพื่อความเพลิดเพลิน ใจชั่วขณะนั้นเป็นสิ่งที่ควรอุดหนุนอย่างยิ่ง”

ทรงพระราชดำริว่า “การรักษาสินซึ่งออมไว้เช่นนี้มีทางที่ จะทรงพระกรุณาพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ได้ ด้วยการตั้งคลังออมสินเพื่อประโยชน์ การรับรักษา เงินที่ประชาชนนำมาฝากเป็นรายย่อย และรับภาระให้เงินนั้นเกิดผล แก่ผู้ฝากตามสมควร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตราพระราชบัญญัติคลังออมสินขึ้น เรียกว่าพระราชบัญญัติคลังออมสิน พุทธศักราช ๒๔๕๖ และประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๕๖ เป็นต้นไป การคลังออมสิน ของประเทศไทยจึงได้ก่อกำเนิดขึ้นด้วยพระมหากรุณาธิคุณของล้นเกล้าล้น กระหม่อมพระองค์นี้ นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงมอบงานชิ้นสำคัญไว้ให้แก่ชาติไทย ตราบเท่าทุกวันนี้

เจ้าพระยาพลเทพ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร) ผู้เป็นกำลังสำคัญร่วมกับกรมพระจันทบุรี นฤนาท ในการก่อตั้งคลังออมสินครั้งแรก ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ ให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติเป็นผู้ดำเนินการ ส่วนเงินทุนประเดิมนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จ่ายจากเงินคงพระคลังมหาสมบัติหนึ่งแสนบาท เพื่อจะได้เริ่มหาผล ประโยชน์เป็นดอกเบี้ยไว้จ่ายให้ผู้ฝาก โดยให้จัดตั้งกรรมการจัดหาผลประโยชน์ขึ้น เงินผลประโยชน์ที่ได้มาเมื่อหักค่าดอกเบี้ยซึ่งจะต้องจ่ายให้ผู้ฝากแล้ว คงเหลือเท่าใด ให้นำไปเพิ่มเงินทุนหนึ่งแสนบาทที่โปรดเกล้าฯ พระราชทานถ้าผลประโยชน์ที่ได้มาไม่พอจ่ายเป็นดอกเบี้ยก็ ให้กระทรวงพระคลังมหาสมบบัติจ่ายเงินคงพระคลังมหาสมบัติเพิ่มเติมให้จนครบ จำนวนเงินฝาก คลังออมสิน รัฐบาลรับประกันทั้งสิ้น และตามพระราชบัญญัตินี้ มอบให้เสนาบดีกระทรวงพระคลัง มหาสมบัติเป็นผู้ดำเนินการ รวมตลอดถึงการออกระเบียบกฎข้อบังคับ ตลอดจนประกาศรายงาน ประจำปี แสดงจำนวนผู้ฝาก จำนวนเงินฝาก จำนวนดอกเบี้ยที่จ่ายให้ผู้ฝากผลประโยชน์ที่คลัง ออมสินได้มาในราชกิจจานุเบกษาด้วย ในการก่อตั้งคลังออมสินเป็นครั้งแรกนี้ กรมพระจันทบุรีนฤนาท ทรงเป็นกำลังสำคัญร่วม กับเจ้าพระยาพลเทพ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร )

คลังออมสินในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๗

ส่วนที่ทำการแห่งแรกเปิดที่กรมคลังและต่อมาเปิดทำการขึ้นที่กรมศุลกากรอีกแห่งหนึ่ง และเพื่อเป็นการขยายกิจการ จึงได้เปิดทำการขึ้น ณ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ที่ ๑, ที่ ๒, ที่ ๔,ที่ ๘, และอำเภอในจังหวัดพระนครและธนบุรี ในส่วนภูมิภาคก็เปิดทำการขึ้นที่คลังจังหวัดทุกจังหวัด คลังออมสินได้อยู่กับกรมพระคลังมหาสมบัติเป็นระยะเวลานานถึง ๑๔ ปีแต่การคลังออมสินไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ครั้นต่อมาในต้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริที่จะเปลี่ยนวิธีดำเนินการคลังออมสินให้ประชาชนได้รับความสะดวก เพื่อปลูกฝังความนิยมในการที่จะฝากเงินคลังออมสินให้มากยิ่งขึ้นโดยที่ทรง ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า เหตุที่คลังออมสินไม่เจริญนั้นเพราะเจ้าพนักงานมีการในหน้าที่อยู่เต็มเวลา ไม่ใคร่มีเวลามาเอื้อเฟื้อต่อการนี้ ดังปรากฎในสำเนาหนังสือของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และกรมราชเลขาธิการต่อไปนี้ พระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร ) อธิบดีกรมบัญชีกลาง เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) ราชเลขาธิการ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีดำเนินการตามสำเนาหนังสือกรมราช เลขาธิการดังกล่าวแล้ว

จึงได้มีการตกลงในที่ประชุมสภาเผยแผ่พาณิชย์ จะให้กรมไปรษณีย์โทรเลขรับการออมสินไปจัดทำเพือ่จะได้ทำการติดต่อกับประเทศ อื่น ๆ เขาทำกันอยู่ แต่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมในขณะนั้น ได้ทรงขอผลัดให้จัดการกรมไปรษณีย์โทรเลขซึ่งขึ้นอยู่กับกระทรวงพาณิชย์และ คมนาคมในเวลานั้นให้เรียบร้อยก่อน จึงจะรับงานคลังออมสินไปดำเนินการได้ ดังรายงานการกราบบังคมทูลชี้แจงถึงการที่จะรับงานคลังออมสินของกรมพระ กำแพงเพชรอัครโยธินว่า “ในการกำหนดโครงการ ซึ่งได้กราบบังคมทูลพระกรุณาในอภิรัฐมนตรีสภาและได้ชี้แจงไว้ในสภาเผยแผ่ พาณิชย์นั้น กำหนดว่าจะรับงานคลังออมสินจากกระทรวงพระคลังมหาสมัติใน พ.ศ. ๒๔๗๑ ด้วยเหตุต้องแสวงหาหนทาง ซึ่งจะให้เป็นการเหมาะสมที่สุด กับทั้งต้องเตรียมการโอนงานธนาณัติทั้งปวงจากกระทรวงพระคลังฯ ให้ล่วงแล้วไปเสียก่อน ซึ่งพึ่งตกลงกันจะเริ่มได้ในวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๔๗๑ จึงได้มีการตกลงในที่ประชุมสภาเผยแผ่พาณิชย์ จะให้กรมไปรษณีย์โทรเลขรับการออมสินไปจัดทำเพือ่จะได้ทำการติดต่อกับประเทศ อื่น ๆ เขาทำกันอยู่ แต่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมในขณะนั้น

ได้ทรงขอผลัดให้จัดการกรมไปรษณีย์โทรเลขซึ่งขึ้นอยู่กับกระทรวงพาณิชย์และ คมนาคมในเวลานั้นให้เรียบร้อยก่อน จึงจะรับงานคลังออมสินไปดำเนินการได้ ดังรายงานการกราบบังคมทูลชี้แจงถึงการที่จะรับงานคลังออมสินของกรมพระ กำแพงเพชรอัครโยธินว่า “ในการกำหนดโครงการ ซึ่งได้กราบบังคมทูลพระกรุณาในอภิรัฐมนตรีสภาและได้ชี้แจงไว้ในสภาเผยแผ่ พาณิชย์นั้น กำหนดว่าจะรับงานคลังออมสินจากกระทรวงพระคลังมหาสมัติใน พ.ศ. ๒๔๗๑ ด้วยเหตุต้องแสวงหาหนทาง ซึ่งจะให้เป็นการเหมาะสมที่สุด กับทั้งต้องเตรียมการโอนงานธนาณัติทั้งปวงจากกระทรวงพระคลังฯ ให้ล่วงแล้วไปเสียก่อน ซึ่งพึ่งตกลงกันจะเริ่มได้ในวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๔๗๑ เผอิญได้มีโอกาสกราบถวายบังคมลาไปพักผ่อนที่ออสเตรเลีย จึงได้ถือโอกาสนั้นทำการตรวจวิธีคลังออมสินในออสเตรเลีย ซึ่งนับว่ารุ่งเรืองมากกว่าในประเทศอื่น ๆ หลายประเทศมีผู้นิยมนับถือใช้กันมากยิ่งกว่าแบงค์อื่นๆ จนมีทั้ง Federal Savings Bank และ State Savings Bank ซ้อนกันอยู่ทุกหัวเมือง แม้แต่ที่ซ้อนกันนี้ต่างก็ตั้งตึกรามใหญ่โต เช่นในซิดนีย์ แห่งละหลายสิบล้านปอนด์

จนรัฐบาลหาดอกเบี้ยได้เกินกว่าที่จะต้องจ่ายให้พระยาเชาวนานนุสถิติ ผู้จะต้องได้รับฉลองพระเดชพระคุณเรื่องคลังออมสินนี้ ได้ไปดูงานให้ละเอียดลออยิ่งกว่าที่ได้ดูมาแล้วจะได้ประโยชน์แก่แผ่นดินและ ราษฎรยิ่งขึ้นเป็นอันมาก จึงได้เห็นจำเป็นรอบมาจนถึงบัดนี้ เผอิญได้มีโอกาสกราบถวายบังคมลาไปพักผ่อนที่ออสเตรเลีย จึงได้ถือโอกาสนั้นทำการตรวจวิธีคลังออมสินในออสเตรเลีย ซึ่งนับว่ารุ่งเรืองมากกว่าในประเทศอื่น ๆ หลายประเทศมีผู้นิยมนับถือใช้กันมากยิ่งกว่าแบงค์อื่นๆ จนมีทั้ง Federal Savings Bank และ State Savings Bank ซ้อนกันอยู่ทุกหัวเมือง แม้แต่ที่ซ้อนกันนี้ต่างก็ตั้งตึกรามใหญ่โต เช่นในซิดนีย์ ต่างแห่งต่างมีตึกขนาดใหญ่ ๕ ชั้น ทั้งนี้เป็นเพราะมีผู้นิยมมาก เงินเข้าในเมืองใหญ่ ๆ แห่งละหลายสิบล้านปอนด์ จนรัฐบาลหาดอกเบี้ยได้เกินกว่าที่จะต้องจ่ายให้พระยาเชาวนานนุสถิติ ผู้จะต้องได้รับฉลองพระเดชพระคุณเรื่องคลังออมสินนี้ ได้ไปดูงานให้ละเอียดลออยิ่งกว่าที่ได้ดูมาแล้วจะได้ประโยชน์แก่แผ่นดินและ ราษฎรยิ่งขึ้นเป็นอันมาก จึงได้เห็นจำเป็นรอบมาจนถึงบัดนี้ แต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้กระทรวงพาณิชย์และคมนาคมรับโอนงานคลังออมสิน มาให้กรมไปรษณีย์โทรเลขจัดทำโดยด่วนแล้วเสด็จในกรมพระกำแพงเพชร จึงได้วางแผนงานคลังออมสินที่จะรับมาดำเนินการโดยทรงวางแผนงานออกเป็นแผนก ต่าง ๆ ดังนี้

1. แผนกกฎหมาย ในที่ประชุมสภาเผยแผ่พาณิชย์คราวหน้านะได้ขอตั้งกรรมการพิจารณาพระราช บัญญัติและกฎข้อบังคับคลังออมสินพ.ศ. ๒๔๕๖ ว่าในการที่จะเปลี่ยนเจ้าหน้าที่เสนาบดีผู้บังคับบังชาการคลังออมสินนั้น การเปลี่ยนแปลงจะต้องแก้ไขพระราชบัญญัติและกฎหมายข้อบังคับในข้อใดบ้าง ในชั้นต้นนี้คิดว่าจะให้เพียงแค่โอนงานกัน คงใช้พระราชบัญญัติเดิมไปให้มากที่สุดที่จะทำได้ ที่ใดควรเปลี่ยนก็ต้องขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเปลี่ยนไปพลางก่อน

2. แผนกตรวจเตรียมการงาน จะได้ ให้พระยาเชาวนานุสถิติไปเรียนคลังออมสินและการธนาณัติในออสเตรเลีย นำวิธีที่ดีมาใช้สำหรับราชการไทย กับในระหว่างนี้ กองบัญชากรมไปรษณีย์โทรเลขจะต้องหาคนเพิ่มเติมไว้สำหรับแผนกคลังออมสินเมื่อ ได้รับมาทำ คนเหล่านี้จะต้องได้เริ่มหัดไปก่อนแต่บัดนี้ เพื่อให้ได้รับความชำนาญไม่น้อยกว่า ๔ เดือน

3. แผนกโฆษณา จะได้ให้ข้าราชการกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมมีนักเรียนต่างประเทศเป็นต้น

เรียบเรียงข้อความกล่าวถึงประโยชน์ของคลังออมสิน สำหรับลงพิมพ์เป็นใบปลิวแถลงในหนังสือพิมพ์จดหมายเหตุรายวันภาษาไทย ชักจูงโน้มใจราษฎรในการประหยัดทรัพย์ให้ดี เมื่อได้ทำไปดังนี้แล้ว เชื่อว่ากรมไปรษณีย์โทรเลขจะรับมาทำได้ในต้นเดือนมกราคม ศกนี้ ส่วนการท่าจะได้ออกพระราชบัญญัติใหม่และแก้ไขให้เข้ารูปอย่างใดนั้นจะนำมา จากออสเตรเลีย อย่างหนึ่งกับแห่งนี้ได้ทดองระหว่างเดือนมกราคมศกนี้ได้ทดลองระหว่างเดือน มกราคมศกนี้เป็นต้นไปอีกส่วนหนึ่ง ตามแผนงานที่เสด็จในกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้ทรงกำหนดไว้นี้กระทรวงพาณิชย์คมนาคม ได้ดำเนินการจัดทำดังต่อไปนี้

๑. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่งประกอบด้วยพระยาประกิตกลศาสตร์เป็น ประธานกรรมการ, พระยาพิพิธสมบัติ, พระอจิรกิจจารณ์ และพระสุทัศน์พงษ์พิสุทธิ์เป็นกรรมการพิจารณายกร่างพระราชบัญญัติคลังออมสิน แก้ไขเพิ่มเติม เพราะตามพระราชบัญญัติคลังออมสิน พุทธศักราช ๒๔๕๖ ให้อำนาจเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินั้น เมื่อจะโอนการดำเนินงานมาให้กรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงพาณิชย์และคมนาคมแล้ว จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคลังออมสิน คณะกรรมการชุดนี้ได้ประชุมปรึกษาหรือร่างพระราชบัญญัติคลังออมสิน พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ ในการประชุมนี้ คณะอนุกรรมการด้เชิญพระยาเชาวนานุสถิติผู้ชำนายการเงิน เข้าประชุมเป็นพิเศษด้วย และคณะอนุกรรมการชุดนี้ได้ถวายร่างพระราชบัญญัติคลังออมสินแก้ไขต่อเสนาบดี กระทรวงพาณิชย์และคมนาคมกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมได้ส่งร่างไปให้กระทรวง

ต่อมาร่างพระราชบัญญัตินี้ได้นำเข้าพิจารณาในที่ประชุมแต่ในการประชุมครั้งนี้ ยังไม่ประสบความสำเร็จ จึงให้ที่ปรึกษากฎหมายของสภาเผยแผ่พาณิชย์แก้ไขร่างมาใหม่ และได้นำขึ้นหารือกันในที่ประชุมสภาเผยแผ่พาณิชย์อีกครั้งหนึ่งที่ประชุมได้ ตกลงให้กระทรวงพาณิย์และคมนาคมดำเนินการนำร่างพระราชบัญญัติขึ้นกราบบังคม ทูลพระกรุณาต่อไป กระทรวงพาณิชย์และคมนาคมได้ส่งร่างนี้ไปยังกระทรวงยุติธรรม เพื่อขอให้กรมร่างกฎหมายตรวจอีกครั้งหนึ่ง แต่ทางกระทรวงยุติธรรม เพื่อขอให้ส่งร่างนี้ไปให้เสนาบดีสภาตกลงรับหลักการตามระเบียบเสียก่อน กระทรวงพาณิชย์แคมนาคมจึงได้ส่งร่างพระราชบัญญัติไปยังกรมราชเลขาธิการ เพื่อขอให้นำความขึ้นกราบบังคับทูลพระกรุณาทราบใต้ผ่าธุลีพระบาท แต่ทางกรมราชเลขาธิการได้ส่งกลับคืนมาอีกเพื่อขอให้กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ส่งคำอธิบายประกอบพระราชบัญญัติไปพร้อมกับร่างนั้นด้ววย ต่อมากรมไปรษณีย์โทรเลขได้รายงานกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมว่า เพื่อที่กรมไปรษณีย์โทรเลขจะดำเนินการต่อไปโดยสะดวกแล้ว จะต้องมีกฎกระทรวงเพิ่มเติมเพื่อให้อำนาจหน้าที่ขึ้นอีก

จึงได้เสนอกฎกระทรวงเสนอไปด้วย กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ได้ตรงให้พระยาเชาวนานุสถิติเป็นประธานกรรมการพระอจิรกิจวิจารณ์ พระชินดิษฐบดี เป็นกรรมการพิจารณาร่างกฎกระทรวงนี้ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง กรรมการคณะนี้ได้ประชุมร่างกฎกระทรวงแล้วเสนอกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม พร้อมด้วยคำอธิบายร่างนั้นกระทรวงพาณิชย์ละคมนาคมได้ส่งคำอธิบายพระราช บัญญัติแก้ไขใหม่และกฎข้อบังคับคลังออมสินฉบับที่ ๓ นั้นไปยังกรมราชเลขาธิการ เพื่อขอให้นำความกราบทูล จอมพล สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ควรพินิต ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนครในขณะนั้นทรงทราบฝ่าละอองพระบาท ครั้นแล้วผู้สำเร็จราชการรักษาพระนครได้โปรดให้เสนอเสนาบดีสภา เสนาบดีสภาได้ประชุมเห็นชอบตามร่างนี้ และได้ส่งร่างไปยังกระทรวงยุติธรรมเพื่อให้กรมร่างตรวจพิจารณาตามระเบียบ กระทรวงยุติธรรมได้ส่งร่างพระราชบัญญัติและกฎข้อบังคับซึ่งกรมร่างกฎหมายได้ ตรวจและยกร่างขึ้นใหม่กลับคืนมาให้กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม กระทรวงพาณิชย์และคมนาคมได้ส่งไปให้กรมราชเลขาธิการเพื่อนำขึ้นกราบทูลผู้ สำเร็จราชการรักษาพระนคร และได้โปรดให้เสนอที่ประชุมเสนาบดีสภา

ในที่สุดที่ประชุมสภาได้ประชุมกันเมื่อวันที่ ๑๔ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้ตกลงเห็นชอบด้วยตามร่างนั้น และผู้สำเร็จราชการรักษาพระนครได้โปรดพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประกาศใช้ได้ตามร่างนั้น ร่างพระราชบัญญัติและกฎข้อบังคับคลัง ออมสินนี้ ก็ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ใช้เป็นกฎหมายได้เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ( ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๖ หน้า ๑๖๔ และ ๑๖๖ )

๑. ได้จัดส่งพระยาเชาวนานุสถิติผู้อำนวยการบัญชีใหญ่ กรมรัฐพาณิชย์พร้อมด้วยข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขและกรมรถไฟหลวงอีก ๖ นาย ไปดูงานคลังออสิน ณ ประเทศออสเตรเลีย คือ

๑. หลวงเจริญรถสิน ( กิมช้ นิงสานนท์ ) กรมรถไฟหลวง
๒. นายเจือ จักษุรักษ์
๓. นายวัลลภ ธนศิริ
๔. ขุนชำนาญวรกิจ ( หลุย อินทุโสภณ ) กรมไปรษณีย์โทรเลข
๕. จมื่นสิทธิกฤดากร ( เชื้อ สุนทราชุน )
๖. นายสวัสดิ์ โสถิทัต ข้าราชการชุดนี้ได้เดินทางประเทศไทยเมื่อ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๑ ถึงเมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย คณะข้าราชการชุดนี้ได้ดูงานอยู่เป็นเวลา ๖ เดือน และกลับประเทศไทยเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๗๑

๒. ให้ข้าราชการกองบัญชี กรมไปรษณีย์โทรเลข ๒ นาย ไปศึกษาวิธีปฏิบัติงานออมสินที่กรมพระคลังมหาสมบัติ คิอ นายพงส์ สรีพันธุ์ และนายสนิท ธีระบุตร

๓. รับสมัครบุคคลเข้าเป็นเสมียนฝึกหัด ๗๐ คน ไปเรียนงานคลังออมสินที่คลังจังหวัดต่าง ๆ เพื่อสำหรับใช้ประจำที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขจังหวัดนั้นๆ

๔. ได้จัดพิมพ์หนังสือและภาพโฆษณา แนะนำและชักจูงแจกประชาชนและในโอกาสนี้ได้นำสิ่งพิมพ์และภาพสมเด็จพระ ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ ๔ สิงหาคม ๒๔๗๓ ด้วย

Skip to content