การขยายกิจการธนาคาร
เน้นให้มีสายการบังคับบัญชาสั้นลง โดยให้ความสำคัญของลูกค้าเป็นหลัก(Customer Oriented) ที่เป็นธุรกิจรายย่อย ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพิ่มหน่วยงาน เพื่อขยายธุรกิจของธนาคาร ดังต่อไปนี้
- สำนักกลยุทธ์และแผนงาน
- สำนักบริหารงบประมาณ
- สำนักวิจัยและพัฒนา
- สำนักสื่อสารองค์การ
- ฝ่ายธุรกิจตราสารหนี้และสินเชื่อภาครัฐ
- สำนักธุรกิจการเงินส่วนบุคคล
- ฝ่ายสินเชื่อนครหลวง
- ฝ่ายสินเชื่อภูมิภาค
- ฝ่ายสินเชื่อนโยบายรัฐ
- ฝ่ายสินเชื่อเพื่อสังคมและชุมชน
- สำนักปรับหนี้สินภาคประชาชน
- ฝ่ายธุรกิจอิสลาม
- ฝ่ายบัตรเครดิต
- ฝ่ายปฏิบัติการและเครือข่ายสารสนเทศ
- ฝ่ายจัดการทรัพย์สิน
- ฝ่ายจัดหาพัสดุและบริการ
การพัฒนาระบบบริหารงานบุคคล
กำหนดเป้าหมายหลัก ๔ ประการ ในการปรับปรุงระบบการบริหารงานบุคคล
- สอดคล้องเชิงยุทธศาสตร์
- ประสิทธิภาพของการบริหารทรัพยากรบุคคล
- ประสิทธิผลของการบริหารทรัพยากรบุคคล
- คุณภาพชีวิตการทำงานที่ดี
การบริหารงานบุคคลที่ได้ปรับปรุงแล้ว ได้แก่
- การสรรหาพนักงานทั้งระดับบริหารและปฏิบัติการ ใช้วิธีประกาศรับสมัครจากบุคคลภายนอก ทางหนังสือพิมพ์ และ เว็บไซต์
- การเลื่อนตำแหน่งของพนักงานใช้ระบบ Fast Track
- การพัฒนาบุคลากรโดยให้ทุนการศึกษาต่อทั้งภายในประเทศและต่างประเทศขยาย ถึงระดับปริญญาโท และ เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกรับทุนการศึกษาจากธนาคารได้
- เพิ่มหลักสูตรพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษแก่ผู้บริหารและพนักงานระดับปฏิบัติการ เสริมสร้างความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์ของพนักงาน
- การประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี ให้ประเมินผลการปฏิบัติงานตามเป้าหมาย การทำงานรายบุคคล (KPI)
- เพิ่มเงินช่วยเหลือค่าเลี้ยงดูบุตรคนละ ๓๐๐ บาทต่อเดือน
- เพิ่มเงินช่วยเหลือและการทำประกันอุบัติเหตุให้กับพนักงานและลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นคนละ ๕,๐๐๐ บาท
- เพิ่มเงินช่วยเหลือค่าเครื่องแบบพนักงานทุกคนเป็นคนละ ๒,๕๐๐ บาท ต่อปี และแจกผ้าตัดชุดทำงานให้พนักงานหญิงและเนคไทให้พนักงานชาย
- ขยายวงเงินกู้สวัสดิภาพเป็น ๑๒ เท่าของเงินเดือนไม่เกินค่าใช้จ่ายจริงระยะเวลาผ่อนชำระ ๖๐ เดือน
- ปรับการเบิกจ่ายค่ารับรองประจำของผู้บริหารระดับผู้จัดการสาขาหรือเทียบเท่าขึ้นไปเป็นรายไตรมาส
- ตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ พนักงานจะได้รับโบนัส ๒ งวด งวดแรกในเดือนกุมภาพันธ์ งวดที่ ๒ เดือนมีนาคม
พัฒนาธุรกิจ
ธนาคารได้พัฒนาธุรกิจด้านเงินฝาก เงินให้สินเชื่อเพื่อบริการประชาชนเพิ่มขึ้นหลายประเภท นอกจากนี้ยังขยายประเภทสินทรัพย์เพื่อรับเป็นหลักประกันในการลงทุนของประชาชนตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ได้แก่
- หนังสือรับรองของการจำหน่ายสินค้าในพื้นที่ผ่อนผัน แผลค้าและตลาดที่อยู่ในกำกับดูแลของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (เทศบาล อบต. อบจ.)
- สัญญาอนุญาตให้ใช้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
- สัญญาอนุญาตให้ใช้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
- สิทธิการเช่าที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์
- สิทธิการเช่าเพื่อจำหน่ายสินค้าในแผงค้าของกรุงเทพมหานคร
- สิทธิการเช่าแฟลต แผงค้า ร้านค้า อาคารพาณิชย์ของการเคหะแห่งชาติ
- ทรัพย์สินทางปัญญาประเภทเครื่องหมายการค้าสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร
การปรับปรุงภาพลักษณ์ขององค์การและการสื่อสาร
ใช้สีชมพูและทองมาเป็นสีหลักของธนาคารให้เด่นสะดุดตา ได้แก่ ตราสัญลักษณ์ของธนาคาร เครื่องแต่งกายพนักงาน รูปแบบของสาขาตู้เอทีเอ็ม สมุดบัญชีธนาคาร บัตรเครดิตอุปกรณ์และเอกสารต่างๆ รวมทั้งอินทราเน็ตและจัดการประชุมแบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ ทางไกลกับธนาคารออมสินในส่วนภูมิภาคมาใช้
สำหรับแนวทางการดำเนินงานใน พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้กำหนดนโยบายหลักของธนาคาร ๔ ด้าน
ภายใต้วิสัยทัศน ์ “เป็นสถาบันที่มั่นคงของประเทศ เพื่อการออม การลงทุน การสร้างเศรษฐกิจชุมชน การพัฒนาประเทศ และการบริหารทางการเงินที่ครบวงจรแก่ประชาชนทุกระดับทั่วประเทศ” ดังต่อไปนี้
1. นโยบายส่งเสริมการออมและสร้างวินัยทางการเงิน
มุ่งเน้นการพัฒนาธุรกิจด้านการออมให้มีความหลากหลายและครอบคลุมกลุ่มลูกค้าทุกกลุ่ม ด้วยการทำประชาสัมพันธ์และการตลาดเชิงรุก พร้อมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมการออมและการสร้างวินัยทางการเงิน
2. นโยบายส่งเสริมศักยภาพทางเศรษฐกิจและสังคมนระดับฐานรากตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มุ่งเน้นสนับสนุนเงินทุนหรือเงินกู้ยืมแก่ลูกค้าในระดับฐานรากและวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมการพัฒนาอาชีพลูกค้าฐานราก การสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินการของสถาบันการเงินชุมชน
3. นโยบายเพิ่มและขยายการให้บริการและธุรกรรมทางการเงิน
มุ่งเน้นการพัฒนาธุรกิจและบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ขยายขอบเขตธุรกรรมในส่วนที่ธนาคารยังไม่ชำนาญ ขยายสินเชื่อข้อตกลงกับหน่วยงานและให้สินเชื่อต่อยอดแก่ลูกค้าชั้นดี ดำเนินการพ่วงผลิตภัณฑ์ (Cross Selling) รวมถึงการขยายช่องทางให้บริการในรูปแบบสาขา หน่วยให้บริการ รถเคลื่อนที่และช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเพิ่มการลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจเพื่อสนับสนุนการลงทุนพัฒนาประเทศ
4. นโยบายเพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถทางการแข่งขัน
มุ่งเน้นการบริหารและพัฒนาด้านทรัพยากรบุคคลให้เพียงพอทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ การปรับปรุงภาพลักษณ์สำนักงานสาขาและสำนักงานใหญ่ตลอดจนปรับปรุงประสิทธิภาพการวางแผน โดยใช้ Balanced Seorecard และ Economic Value Addedการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน พัฒนาระบบ Core Banking และระบบข้อมูลเพื่อการบริหาร
ในเดือนธันวาคม ๒๕๔๙ นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร ผู้อำนวยการธนาคารออมสินได้รับเลือกจากกองบรรณาธิการนิตยสารดอกเบี้ยและหนังสือพิมพ์ดอกเบี้ยธุรกิจให้เป็นนักการธนาคารแห่งปี ๒๕๔๙ (Banker of The Year 2006)