พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวิชิราวุธพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวิชิราวุธพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวิชิราวุธ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชปรารภการรักษาสมบัติซึ่งประชาราษฏร์ได้อุตสาหประกอบการทำมาค้าขายมีกำไรออมไว้เป็นทุน นอนได้แล้วแต่การรักษาให้ปราศจากอันตรายยังเป็นการลำบากเพราะไร้ที่ฝากฝังอันมั่นคงส่วนการที่ประชาชนออมสินไว้เพื่อความเพลิดเพลินใจในชั่วขณะนั้นเป็นสิ่งที่ควรอุดหนุนอย่างยิ่ง ทรงพระราชดำริว่าการรักษาสินซี่งออมไว้เช่นนี้ มีทางที่จะทรงพระกรุณาพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ได้ด้วยการตั้งคลังออมสินเพื่อ ประโยชน์การรับรักษาเงินที่ประชาชนจะนำมาฝากเป็นรายย่อย และรับภาระจัดให้เงินนั้นเกิดผลแก่ผู้ฝากตามสมควรจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ตราพระราชบัญญัติไว้สืบไป ดังนี้
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงพระเยาว์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าของ ปวงชนชาวไทย ทรงเป็น พระราชโอรสพระองค์ที่ ๒๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระองค์ที่ ๒ ใน สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ (สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระบรมราชินีนาถ) ทรงพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ พระบรมราชสมภพเมื่อวันเสาร์ ขึ้น ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง โทศก ตรงกับวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๓ (ร.ศ.๙๙)
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวิชิราวุธ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อพระชนมายุได้ ๘ พรรษา ได้ทรงรับพระมหากรุณาสถาปนา พระอิสริยศักดิ์เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ กรมขุนเทพทวาราวดี ทรงมีพระอิสริยศักดิ์เป็นลำดับที่สองรองจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และเมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ทิวงคตเมื่อวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗ แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงพระมหากรุณาสถาปนาสมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนเทพทวาราวดี ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ตามคำกราบบังคุมทูลพระกรุณาของพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีสถาปนาพระอริสิยศักดิ์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗ แล้วโปรดให้ พระยาเสมอใจราช (ทองดี โชติกเสถียร) ซึ่งต่อมารัชกาลที่ ๖ ได้เป็นพระยาธรรมจรรยานุกูลมนตรี เป็นข้าหลวงต่างพระองค์อัญเชิญพระสุพรรณบัฎ เครื่องราชอิสริยยศ และเครื่องราช อริยาภรณ์ไปถวาย ณ ประเทศอังกฤษ
ทรงศึกษาวิชาการหลักสูตรที่จัดไว้สำหรับขัติยราชกุมาร
ในการประชุมประกาศสถาปนาพระอริสริยศักดิ์ ณ สถานอัครราชทูตสยามกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๓๗ นั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งขณะนั้นทรง มีพระชนมายุเพียง ๑๓ พรรษา ได้พระราชทายพระราชดำรัสไว้เป็นภาษาอังกฤษซึ่งต่อมาหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ถอดความไว้เป็นร้อยกรองภาษาไทย ดังนี้
เมื่อทรงพระเยาว์ได้ทรงศึกษาวิชาการหลักสูตรที่จัดไว้สำหรับขัติยราชกุมาร โดยมีพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) พระยาอิศรพันธุ์โสภณ (หนู อิศรางกูร ณ อยุธยา) และหม่อมเจ้าประภากรในสมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบ ปรปักษ์ เป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรภาษาไทยส่วนภาษาอังกฤษ ทรงศึกษาจากนายโรเบิร์ต มอแรนต์ (Robert Morant)
เมื่อทรงเจริญพระชนมายุได้ ๑๒ พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถได้โปรดให้เสด็จออกไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ โดยมีพระมนตรี พจนกิจ (ม.ร.ว.เปีย มาลากุล) ซึ่งต่อมาได้เป็นพระยาวิสุทธิ์สุริยศักดิ์ แล้วเป็นพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี เสนาบดีกระทรวงธรรมการเป็นพระอภิบาลและพระอาจารย์ถวายพระอักษรไทย เมื่อแรกเสด็จถึงประเทศอังกฤษ ได้โปรดเกล้าฯ ให้เซอร์ เบซิล ทอมสัน (Sir Basil Thomson) เป็นผู้ถวายพระอักษรความรู้เบื้องต้น และพันโท ซี.วีฮูม (C.V.Hume) ถวายการสอนวิชาทหาร โดยมีนายโอลิวียร์ (Olivier) ถวายการสอนวิชาการพลเรือน และนายบูริเยร์ (Bouvier) ถวายการสอนภาษาฝรั่งเศส
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๐ ได้เสด็จเข้าทรงศึกษาทหารที่โรงเรียนนายร้อยบกแซนด์เฮริ์ส (Royal Military Academy Sandhurst) และเมื่อทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกแล้ว ได้ทรงเข้ารับราชการในกรมทหารราบเบาเดอรัม (Duhram Light Infantry) ที่นอร์ธแคมป์ (North Camp) จากนั้นได้เสด็จเข้าไปอบรมวิชาปืนเล็กที่เมืองไฮท์ (Hythe) ทรงได้รับรางวัลวิชาแม่นปืนแล้วได้เสด็จเข้าอบรมวิชาทหารภูเขาที่เมืองโอคแฮมตัน (Okehampton) และได้เสด็จไปอบรมวิชาทหารปืนใหญ่ที่ออลเดอร์ช็อต (Aldershot) ภายหลังจากที่ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ดแล้ว
จากนั้นในปี พ.ศ.๒๔๔๒ ได้เสด็จไปทรงศึกษาวิชาการพลเรือน ณ วิทยาลัยไคร์สเชิช (Christ Church) มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด (Oxford University) ตามหลักสูตรพิเศษที่ทางมหาวิทยาลัยจัดถวายพระราชวงศ์อังกฤษ วิชาที่ได้ทรงศึกษามีอาทิ ประวัติศาสตร์ กฎหมาย และการปกครอง ฯลฯ และก่อนที่จะเสด็จออกจากมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ดนั้นได้ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือทำนองวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษเรื่อง The War of Polish Succession เพื่อเป็นที่ระลึกในการที่ได้เสด็จมาทรงศึกษา ณ สถาบันการศึกษานี้ พระราชนิพนธ์นี้ ต่อมาพระยาบุรีนวราษฐ (ชวน สิงหเสนี) ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้แปลเป็นภาษาไทยในชื่อว่า “สงครามสืบราชสมบัติโปลันด์”
ในระหว่างที่ประทับทรงศึกษาวิทยาการ ณ ประเทศอังกฤษนั้น สมเด็จพระโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงเป็นผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปร่วมในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระเจ้าอัลฟองโซที่ ๑๓ แห่งประเทศสเปน พระเจ้าเอ็ดวาร์ดที่ ๗ แห่ง สหราชอาณาจักรรวมทั้งได้เสด็จไปทรงเยี่ยมเยียนพระราชาธิบดีและประมุขของประเทศต่างๆ ในยุโรปเป็นการเจริญทางพระราชไมตรีระหว่างกรุงสยามกับประเทศนั้นๆ ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จฯ นิวัติประเทศไทยผ่านทางประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น เรือพระที่นั่ง“ฟิสต์ บิส มาร์ค” ออกจากเมืองเซาธ์แฮมตัน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๔๕ ได้ทรงพบกับประธานาธิบดีเธโอดอร์ โรสเวลท์ ที่ทำเนียบขาว วันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๕ และในระหว่างที่ประทับในสหรัฐอเมริการาว ๓ สัปดาห์นั้น ได้เสด็จฯ ทรงเยี่ยมรัฐสภา ศาล หอสมุด พิพิธภัณฑสถาน โรงงานต่างๆ อู่ต่อเรือ โรงเรียนนายร้อยเวสปอยต์ โรงเรียนนายเรือที่แอนนาโพลิส โรงทหารม้าที่ฟอร์ดไมเยอร์ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ฯลฯ จากนั้นได้ประทับเรือเอมเปรส ออฟ ไชน่า ข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกไปประเทศญี่ปุ่น เสด็จฯ ถึงเมืองโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๕
ในระหว่างเสด็จประพาสประเทศญี่ปุ่นกว่า ๔ สัปดาห์ นอกจากจะได้เสด็จไปเฝ้าเสด็จพระจักรพรรดิและพระจักรรดินีแล้ว ยังได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรกิจการต่างๆ ทั้งการทหาร และสรรพาวุธ และได้เสด็จฯเยี่ยมมหาวิทยาลัยอิมพิเรียล (Imperial University) รวมทั้งวัดในพระพุทธศาสนาและศาสนาชินโตอีกด้วย
สมเด็จพระโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ โดยเรือพระที่นั่งมหาจักรีจากประเทศญี่ปุ่นมาถึงกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๕ แล้วได้เสด็จเข้ารับราชการทหารได้รับพระราชทานพระยศเป็นนายพลเอก นายพลเรือเอก จเรทัพบก ทัพเรือ และราชองครักษ์พิเศษ จ.ป.ร. กับทรงเป็นนายพันโท ผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ (ปัจจุบันคือ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) นอกจากนั้นยังได้ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ รวมทั้งได้ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการรักษาพระนครทุกครั้งที่สมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จฯ แปรพระราชฐานต่างจังหวัด กับได้ทรงเป็นผู้แทนพระองค์เสด็จฯ เลียบหัวเมืองมณฑลทั้งฝ่ายเหนือและปักษ์ใต้ ทำให้ทรงพบเห็นความเป็นไปของบ้านเมืองตลอดจนพสกนิกรในท้องถิ่นอย่างทั่วถึง
ทรงรับรัชทายาทเสด็จเถลิง
ถวัลยราชสมบัติเป็น พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖ แห่งพระบรมราชจักรี
มื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ แล้วบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งอำมาตย์ราชเสนาได้พร้อม กันกราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระบรมวงโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงรับรัชทายาทเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็น พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เฉลิมพระปรมาภิไชย ว่า พระบามสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็น ๒ คราว คราวแรกโปรดให้เรียกว่า“การพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียร” เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๓ เป็นการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณีแต่งดการเสด็จฯ เลียบพระนครส่วนครั้งที่สองซึ่งโปรดให้เรียกว่า “การพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช” เมื่อวันเสาร์ที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ นั้น เป็นการพระราชพิธีเต็มตามโบราณราชประเพณี
มีการเสด็จฯ เลียบพระนครทั้งสถลมารคและชลมารครวมทั้งได้ทรงเชิญผู้แทนพระราชาธิบดีและประธานาธิบดีจากประเทศต่างๆ ให้เสด็จและเดินทางมาร่วมในงาน พระราชพิธีครั้งนี้กว่าสิบประเทศ นับเป็นการประชาสัมพันธ์ประเทศไทยให้ชาวโลกได้ ประจักษ์ถึงขนบประเพณีและวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของไทยซึ่งมีมาแต่โบราณ
ทรงผนวชเป็นพระภิกษุใน
พระบวรพุทธศาสนา
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเลื่อมใสและพอพระราชหฤทัยในหลักธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง ได้เสด็จออกทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระบวรพุทธศาสนา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส (ต่อมาทรงเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส) ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ และหม่อมเจ้าพระสถาพรพิริยพรต (ต่อมาทรงเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า) ทรงเป็นพระกรรมวาจารย์ ทรงได้รับพระสมณฉายาว่า “วชิราวุโธ” ประทับจำพรรษา ณ พระปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร ตราบจนทรงลาสิกขาเมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๗
พระมเหสีและพระราชธิดา ในบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงหมั้นกับหม่อมเจ้าหญิงวัลลภาเทวี (ต่อมาโปรดสถาปนาขึ้นเป็น พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี) พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๓ และทรงประกาศเลิกการพระราชพิธีหมั้นด้วยเหตุที่พระราชอัธยาศัยมิต้องกันเมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม พงศ. ๒๔๖๓ พร้อมกับโปรดให้ออกนามใหม่ว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลาเทวี
ต่อมาได้โปรดเกล้าฯ สถาปนาหม่อมเจ้าหญิงลักษมีลาวัณ พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ เมื่อวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๔ และเป็นพระนางเธอลักษมีลาวัณ เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ เนื่องจากพระนางเธอไม่สามารถถวายพระประสูติการได้ ต่อมาจึงได้ทรงแยกไปประทับตามลำพังพระองค์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงอภิเษกสมรสกับคุณเปรื่อง สุจริตกุล ธิดาเจ้าพระยา สุธรรมมนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล) กับท่านผู้หญิงสุธรรมมนตรี (กิมไล้ สุจริตกุล) ซึ่งได้โปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นพระสุจริตสุดา พระสนมเอก เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ และทรงอภิเษกสมรสกับคุณประไพ สุจริตกุล น้องสาวของพระสุจริตสุดา ซึ่งต่อมาโปรดสถาปนาขึ้นเป็นพระอินทราณี และเป็นสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี และเป็นสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี ก่อนที่จะโปรดให้ออกพระนามในท้ายที่สุดว่า สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชายา
ในช่วงท้ายแห่งพระชนม์ชีพได้ทรงอภิเษกสมรสครั้งสุดท้ายกับคุณเครือแก้ว อภันวงศ์ ธิดาพระยาอภัยภูเบศร์ (เลื่อม อภัยวงศ์) กับคุณเล็ก บุนนาค เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ และได้โปรดสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าจอมสุวัทนา ก่อนที่จะโปรดสถาปนาขึ้นเป็นพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ได้ถวายพระประสูติกาลพระราชธิดา คือ สมเด็จพระเจ้าภคินิเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘
พระเกียรติคุณและพระบรมราชานุสรณ์
เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระอัจฉริยภาพในด้านอักษรศาสตร์ ได้ทรงสร้างสรรค์มรดกทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมากให้ประชาชนชาวไทยได้อ่าน และชื่นชมสืบทอดกันมา อีกทั้งทรงประกอบพระราชกรณียกิจอื่นๆ อันเป็นคุณประโยชน์แก่ประชาชนชาวไทยและชาติไทยนานัปการ ปวงชนชาวไทยจึงพร้อมใจกันเฉลิมพระราชสมัญญาภิไธยให้ปรากฏพระเกียรติคุณสืบไปว่า “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” ซึ่งหมายถึงมหาราชผู้ทรงเป็นจอมปราชญ์
องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติได้เฉลิมพระเกียรติพระองค์ไว้ในฐานะบุคคลสำคัญผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมระดับโลก และกระทรวงศึกษาธิการได้จัดงานฉลองพระบรมราชสมภพครบ ๑๐๐ ปี เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๔
เสด็จสู่สวรรคาลัย
วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มพระปราชวรด้วยโรคทางเดินอาหารขัดข้องพระกระยาหารไม่สามารถผ่านไปได้ พระอาการกำเริบในวันต่อๆ มาจนเกิดโรคพระโลหิตเป็นพิษในพระอุทรเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ เวลา ๑.๔๕ น. พระชนมายุ ๔๔ พรรษา ๑๑ เดือน ๒๖ วัน เสด็จดำรงสิริราชสมบัติ ๑๕ ปี ๑ เดือน ๓ วัน