วางใจให้ออมสิน

ดูแลความสุขของชีวิตคุณ

banner banner

พระมหากษัตริย์กับออมสิน

ร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระชนมายุครบ ๗๒ พรรษา

เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในมหามงคลรโวกาสพระชนมายุครบ ๗๒ พรรษา ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ และถือเป็น ปีมหามงคลยิ่งของประชาชนชาวไทย ที่จะได้ร่วมกันถวายความจงรักภักดีต่อพระองค์ท่าน ธนาคารออมสินในฐานะเป็นสถาบันเพื่อการออมทรัพย์ที่ถือกำเนิดจากองค์พระมหากษัตริย์ จึงได้จัดกิจกรรมเพื่อเป็นการเทิิดพระเกียรติแด่พระองค์ท่าน โดยดำเนินโครงการธนาคารออมสิน ร่วมเฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้

GSB and The King

 

กิจกรรมสนองพระราชดำรัส “เศรษฐกิจพอเพียง”

จัดนิทรรศการออมทรัพย์เฉลิมพระเกียรติฯ ๗๒ พรรษาและกิจกรรมบริการธุรกิจรวม ๗๒ ครั้ง โดยธนาคารออมสิน ทุกสาขาทั่วประเทศ

กิจกรรมเพื่อร่วมแสดงตราสัญลักษณ์เฉลิมพระเกียรติฯ ๗๒ พรรษา ถวายความจงรักภักดี

จัดพิมพ์ตราสัญลักษณ์เฉลิมพระเกียรติฯ ๗๒ พรรษา บนปกสมุดเงินฝากของธนาคาร ทุกประเภท

จัดทำป้ายตราสัญลักษณ์เฉลิมพระเกียรติฯ ๗๒ พรรษา

เพื่อประดับอาคารสำนักงานของธนาคารออมสินทั่วประเทศ

กิจกรรมก่อสร้างถาวรวัตถุเพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ

สร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติขึ้นภายในพระราชวังสวนจิตรลดาพร้อมทั้งเปิดเป็นที่ทำการธนาคารออมสินสาขาสวนจิตรลดา

กิจกรรมเกี่ยวกับหนังสือ

ร่วมกับสำนักพระราชวังจัดพิมพ์หนังสือ “ในหลวงกับประชาชน” จำนวน ๑๕,๐๐๐ เล่ม เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจ แก่ลูกค้า, สถานศึกษา ห้องสมุดและหน่วยงานต่างๆ

ร่วมสนับสนุนการจัดทำหนังสือพระราชนิพนธ์ “พระมหาชนก ฉบับการ์ตูน”

จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ เล่ม เพื่อออกเผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไปและมอบให้เป็นสมบัติของห้องสมุดประชาชนห้องสมุดตามสถานศึกษาต่างๆ

กิจกรรมเกี่ยวกับการจัดทำสารคดีเทิดพระเกียรติฯ สนับสนุนการจัดทำสารคดเีทิิดพระเกียรติ “ในดวงใจนิรันดร์” จำนวน ๑๗ ตอน ออกอากาศ

ทุกวันอาทิตย์เวลา ๒๐.๓๐ น.- ๒๑.๐๐ น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง ๙ อสมท. ตั้งแต่วันที่ ๑๕ ส.ค.- ๕ ธ.ค. ๒๕๔๒

จัดทำสารคดีเทิิดพระเกียรติ “๖๐ ล้าน ดวงใจตามรอยพระยุคลบาท”

จำนวน ๑๓ ตอน ออกอากาศทุกวันพุธและอาทิตย์ เวลา ๒๐.๐๐ น. – ๒๐.๓๐ น. (หลังข่าวในพระราชสำนัก) ออกอากาศสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง ๕ เริ่มออกอากาศตั้งแต่วันที่ ๑๔ พ.ย. – ๒๖ ธ.ค. ๒๕๔๒

กิจกรรมเกี่ยวกับการหารายได้ขึ้นทูลถวายฯ ตามเสด็จพระราชกุศล

ร่วมสนับสนุนการจำหน่าย เข็มที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติฯ ๗๒ พรรษา ของสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน ๕๐,๐๐๐ เข็ม โดยผู้สนใจสามารถซื้อได้ที่ธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศ

จัดทำกระป๋องออมสินเฉลิมพระเกียรติฯ ๗๒ พรรษา จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ ใบ

ออกจำหน่ายเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้เก็บไว้เป็นที่ระลึก จำหน่ายในราคาใบละ ๑๐ บาท ทุกสาขาทั่วประเทศ และนำรายได้ขึ้นทูลเกล้าถวายฯ ตามเสด็จพระราชกุศล

ร่วมโครงการโภชนาการ ไอโอดีน เฉลิมพระเกียรติฯ ๗๒ พรรษา

จัดกิจกรรมไข่สดไอโอดีนสู่ถิ่นทุรกันดาร และมอบเงินเข้ามูลนิธิโภชนาการไอโอดีน จำนวน ๕,๑๘๔,๐๐๐ บาท

ในโอกาสนี้จะขอกล่าวถึงกิจกรรมก่อสร้างถาวรวัตถุเพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารเฉลิมพระเกียรติ “ธนาคารออมสินสาขาสวนจิตรลดา” ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

พิธีเปิดธนาคารสาขาสวนจิตรลดา

พุทธศักราช ๒๔๕๐ พระตำหนักสวนจิตรลดาพระตำหนัก หลังเหนืออันรวมอยู่ ในบริเวณสวนปารุสกวัน วังอันเป็นที่ประทับ ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยาม มกุฎราชกุมาร……

ณ ที่แห่งนี้ เอง…….คือ ที่ก่อกำเนิด แบงค์ลีฟอเทีย ธนาคารทดลองที่พระองค์ ทรงจัดเตรียม เพื่อเป็นสำนักงานคลังออมสิน เป็น บันทึกของประวัติศาสตร์ หน้าแรก แห่งการออมของชาติไทย

นับจากครั้งนั้น ถึงแม้จะเป็นเวลานานกว่า ๙๐ ปี ธนาคารออมสิน ซาบซึ้ง ในพระมหากรุณา-ธิคุณ ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีพระราชานุญาต ให้ธนาคารออมสินได้กลับมา ถวายการรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท และให้บริการ ณ พระตำหนักสวนจิตรลดา อีกครั้ง

สูจิบัตร “พิธีเปิดธนาคารออมสิน
สาขาสวนจิตรลดา”

บัตรเชิญ “พิธีเปิดธนาคารออมสิน
สาขาสวนจิตรลดา”

หมายกำหนดการ “พิธีเปิดธนาคาร
ออมสินสาขาสวนจิตรลดา”

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

วันจันทร์ที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๔๒ เวลา ๐๙.๐๐ น.สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็น องค์ประทานในพิธีเปิดธนาคารออมสินสาขาสวนจิตรลดาโดยทรงทอดพระเนตรการปฏิบัติงานภายในธนาคารออมสินสาขา สวนจิตรลดา โดย มีนายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ผู้อำนายการธนาคารออมสินคณะผู้บริหาร และ์ ผู้จัดการธนาคารออมสิน สาขาสวนจิตรลดา พร้อมด้วยพนักงานสาขาสวนจิตรลดา ถวายการตอนรับ

ธนาคารออมสินสาขาสวนจิตรลดา เป็นส่วนหนึ่งของโครงการธนาคารออมสิน เฉลิมพระเกียรติฯ ๗๒ พรรษาซึ่งธนาคารออมสิน ได้จัดทำขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระเกียรติพระชนมพรรษา ครบ ๖ รอบ ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ ประกอบด้วยกิจกรรมหลายประการ อาทิ กิจกรรมสนองพระราชดำรัส “เศรษฐกิจพอเพียง” โครงการโภชนาการไอโอดีน เฉลิมพระเกียรติฯ ๗๒ พรรษา กิจกรรมจัดทำป้ายตราสัญลักษณ์เฉลิมพระเกียรติฯ ๗๒ พรรษา จัดพิมพ์หนังสือ “ในหลวงกับประชาชน” สนับสนุนการจัดทำหนังสือ พระราชนิพนธ์ “พระมหาชนก ฉบับการ์ตูน” และกิจกรรมก่อสร้างถาวรวัตถุเพื่อ เฉลิมพระเกียรติฯ

โดยสร้างอาคาร ๒ ชั้น มีดาดฟ้า ขึ้่นภายในพระตำหนัก สวนจิตรลดา เพื่อน้อมเกล้าถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าุ่อยู่หัว เนื่องในโอกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ เมื่อวัันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ อาคารที่จัดสร้างดังกล่าวประกอบด้วยพื้นที่ใช้งา่น ๒ ส่วนส่วนแรกเปิดเป็น ที่ทำการธนาคารออมสินสาขาสวนจิตรลดา เป็นธนาคารออมสิน สาขาลำดับที่ ๕๗๑ ซึ่งให้บริการทางการเงินทั้งบริการ รับฝากเงิน บริการสินเชื่อ และบริการATM. ส่วนที่ ๒ เป็นที่ทำการประสานงานโครงการตามพระราชดำริ ที่ทำการกองบำรุงรักษาราชอุทยาน และโครงการวิจัยการปลูกพืชบนอาคาร และห้องปฏิบัติการตรวจสอบสารพิษในอาหารและพืชผัก kingorm_24.jpg

ธนาคารออมสินสาขาสวนจิตรลดา เป็นธนาคารออมสิน สาขาลำดับที่ ๕๗๑ ตั้งอยู่ในอาณาริเวณของพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เยื้องกับอาคารชัยพัฒนา กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ ๑๐๓๐๓ เปิดดำเนินการในวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๔๒

การบริหารดำเนินการ ธนาคารออมสินสาขาสวนจิตรลดา เป็นสาขาในสังกัดธนาคารออมสินภาคราชดำเนิน(ปัจจุบันสังกัดฝ่าย กิจการนครหลวง) เปิดให้บริการทางการเงินทุกประเภท ด้วยระบบออนไลน์ พร้อมตู้ ATM.

มีพนักงานปฏิบัติงาน ในหน้าที่ต่างๆ จำนวน ๘ คน ดังนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๑)

* ผู้จัดการสาขา จำนวน ๑ คน
* ผู้ช่วย ผู้จัดการสาขา จำนวน ๑ คน
* พนักงานปฏิบัติการ ๕-๗ จำนวน ๖ คน

เวลาทำการ ทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ ในเวลา ๐๘.๓๐-๑๕.๓๐ น. เว้นวันหยุดราชการ

รายละเอียดการก่อสร้าง

สถานที่ก่อสร้าง

ตั้งอยู่บริเวณเขตพระราชฐานชั้นนอก พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

รูปแบบ

สร้างเป็นอาคารแบบยุโรปประมาณปลายรัชสมัยรัชกาลที่ ๖ เป็นอาคาร ๒ ชั้น มีดาดฟ้าภายในอาคารแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ตอนหน้า ๔๐ % เป็นพื้นที่ส่วนของธนาคารฯ อีก ๖๐ % น้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในมหามงคลวโรกาสพระชนมายุครบ ๗๒ พรรษา พร้อมครุภัณฑ์ภายใน

พื้นที่

๓๒๕ ตร.ม. กว้าง ๘ – ๑๐ เมตร ลึก ๓๒ เมตร

ระยะเวลาในการก่อสร้าง

เริ่มก่อสร้าง ๑ มิถุนายน ๒๕๔๒ (เตรียมการล่วงหน้า่ ๑ เดือน) สิ้นสุดการก่อสร้าง ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๒ รวม ๒๐๓ วัน

งบประมาณในการก่อสร้าง

รวมทั้งสิ้น ๑๒,๕๙๓,๙๐๐ บาท

วิศวกรผู้ออกแบบ/สถาปนิกและควบคุมการก่อสร้าง

งานออกแบบ ธนาคารออมสิน

Skip to content